FINNOMENA The Opportunity Morning Brief 13/09/2021

“เงินเฟ้อผู้ผลิตสหรัฐฯ พุ่งสูงสุดรอบ 11 ปี ตลาดรอดู CPI สัปดาห์นี้”

ภาพความเคลื่อนไหวล่าสุดของตลาดหุ้นทั่วโลก 

ตลาดหุ้นสหรัฐฯ Dow Jones -271.66 จุด (-0.78%) S&P500 -34.70 จุด (-0.77%) Nasdaq -132.76 จุด (-0.87%) Small Cap 2000 -16.44 จุด (-0.73%) VIX index อยู่ที่ 20.95 (+11.44%)

ตลาดหุ้นยุโรป Euro Stoxx 50 -6.76 จุด (-0.16%) Dax เยอรมัน -13.34 จุด (-0.09%) CAC 40 ฝรั่งเศส -20.95 จุด (-0.31%)

ตลาดหุ้นเอเชียล่าสุด (เช้าวันที่ 13 ก.ย. 2564) ตลาดหุ้นญี่ปุ่น ตลาดหุ้นจีน CSI 300 และตลาดหุ้นฮ่องกง เคลื่อนไหวในแดนลบ ดัชนี Hang Seng ลดลงใกล้ -2% และ SET Index วันทำการล่าสุดปิดตลาดที่ 1,635.35 (+0.38%)

ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (เช้าวันที่ 13 ก.ย. 2564) ราคาทองคำ 1,790.55 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Silver ราคา 23.753 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบ WTI 70.09 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Brent 73.27 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ

ราคา Cryptocurrency (เช้าวันที่ 13 ก.ย. 2564) Bitcoin 44,991.1 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Ethereum 3,303.97 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Dogecoin 0.241543 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Binance Coin 403.61 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ

ภาพรวมสินทรัพย์ทั่วโลกที่ปรับตัวบวกและลบสูงที่สุดในรอบ 1 สัปดาห์ 3 อันดับแรก กลุ่มที่ปรับตัวในทิศทางบวก – หุ้นญี่ปุ่น (+2.4%), น้ำมัน (+1.2%) และ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ (+0.6%) ปรับตัวในทิศทางลบ – REITs โลก (-3.6%), หุ้นอังกฤษ (-2.2%) และทองคำ (-2.0%)

ภาพรวมตลาดหุ้นทั่วโลกที่ปรับตัวบวกและลบสูงที่สุดในรอบ 1 สัปดาห์ 3 อันดับแรก กลุ่มที่ปรับตัวในทิศทางบวก – ญี่ปุ่น (+2.4%), จีน A-Shares (+1.6%) และฟิลิปปินส์ (+1.4%) ปรับตัวในทิศทางลบ – เกาหลีใต้ (-2.5%), อังกฤษ FSTE100 (-2.2%) และ Dow Jones (-2.1%)

ราคาน้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วง 1 เดือน ที่ผ่านมาจากภาวะ supply ที่จำกัดจากพายุเฮอริเคนไอด้า ลดช่วงลบของราคาก่อนหน้านี้ ที่ปรับตัวลงแรง

เงินเฟ้อฝั่งผู้ผลิตสหรัฐฯ พุ่งสูงสดในรอบ 11 ปี +0.7% MoM และ +8.3% YoY สาเหตุมาจากต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น เช่น ราคาอลูมิเนียม ทองแกง นิกเกิ้ล เป็นต้น รวมถึงปัญหาการขนส่ง และ Supply Chain

ปัจจุบัน ดัชนี PPI ของสหรัฐฯ จีน EU ญี่ปุ่น ไทย มีการเพิ่มขึ้นมากกว่าการปรับเพิ่มของ CPI (PPI – CPI เป็นบวก)

Bond Yield พันธบัตรสหรัฐฯ 10 ปี อยู่ที่ 1.34 Breakeven Inflation อยู่ที่ระดับ 2.38 ทำให้ Real Yield ติดลบ -1.05

Earning Yield Gap ของ S&P500 และ Nasdaq อยู่ที่ค่าเฉลี่ยระยะยาว ยังไม่ได้แพงเกินไป แต่หลังจากนี้มีโอกาสลดลง หาก Bond Yield ปรับเพิ่มขึ้น

ผลตอบแทนดัชนีหุ้นสหรัฐฯ S&P500 ให้ผลตอบแทนที่ดีที่สุด รองลงมาเป็น Nasdaq และ Dow Jones ตามลำดับ

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ต่อสายคุยกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กว่า 90 นาที เพื่อทำการปรับความเข้าใจ แม้ยังไม่เห็นบทสรุปที่ชัดเจน แต่เป็นสัญญาณเริ่มต้นที่ดี

เวียดนามกลายมาเป็นประเทศที่มีอัตราการเสียชีวิตจาก COVID-19 สูงที่สุดในอาเซียนที่ 2.54% แม้จะมีการล็อคดาวน์ รองลงมา คือ ไทย 1.82% และมาเลเซีย 1.81% อัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยของโลกอยู่ที่ 0.2%

สิงคโปร์เป็นประเทศเดียวของอาเซียนที่มีการปรับคาดการณ์ GDP ปี 2021 เพิ่มขึ้น นับตั้งแต่ต้นปี ขณะที่ประเทศอื่นถูกปรับลดจากการแพร่ระบาดระลอกใหม่

คาดการณ์ GDP จากBloomberg จีนเติบโตโดดเด่นที่สุดในปี 2021 +8.4% ตามมาด้วยเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) +7.3% และสหราชอาณาจักร +6.8% ขณะที่ปี 2022 อินเดียโตมากที่สุด +9.2% (ปี 2021 อินเดียติดลบ) และเวียดนาม +7% ขณะที่ GDP โลก คาดการณ์ปี 2021 +5.9% และมี 2022 +4.5%

ค่า P/E ของหุ้นเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) เทียบกับ S&P500 เริ่มปรับเพิ่มขึ้นแต่ยังไม่ถึงค่าเฉลี่ยเดิม ขณะที่คาดการณ์ EPS เทียบกับ S&P500 ยังทำได้ต่ำกว่า

หุ้น Apple ปรับลดลง หลังจากศาลสหรัฐฯ สั่งห้ามผูกขาดการเก็บเงินจากผู้ใช้งานโดยตรง

สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในรายใหม่ไทยอยู่ที่ 12,583 ราย จากเรือนจำ 163 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 132 ราย หายป่วยกลับบ้าน 16,304 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,394,756 ราย หายป่วยสะสม 1,248,377 ราย