FINNOMENA The Opportunity Morning Brief 03/08/2021
“หุ้นจีนเด้งแรง รอบ 10 สัปดาห์ รับข่าวทางการจีนเตรียมกระตุ้นเศรษฐกิจ”
ภาพความเคลื่อนไหวล่าสุดของตลาดหุ้นทั่วโลก
ตลาดหุ้นสหรัฐฯ Dow Jones -97.31 จุด (-0.28%) S&P500 -8.15 จุด (-0.19%) Nasdaq +8.4 จุด (+0.06%) Small Cap 2000 -7.74 จุด (-0.35%) VIX index อยู่ที่ 19.46 (+6.69%) บริษัทใน S&P500 ประกาศผลประกอบการแล้วประมาณ 88% ซึ่งโดยส่วนใหญ่ดีกว่าคาดการณ์
ตลาดหุ้นยุโรป Euro Stoxx 50 +27.32 จุด (+0.67%) Dax เยอรมัน +24.34 จุด (+0.16%) CAC 40 ฝรั่งเศส +63.14 จุด (+0.96%) หุ้น Allianz ปรับตัวลดลง -7% หลังมีข่าวกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เตรียมจะออกมาสอบสวน Allianz Global Investor
ตลาดหุ้นเอเชียล่าสุด (เช้าวันที่ 3 ส.ค. 2564) ตลาดหุ้นญี่ปุ่นติดลบ -0.8% ตลาดหุ้นจีน CSI 300 +0.23% ตลาดหุ้นฮ่องกงปรับตัวลบ -0.67% และ SET Index ปรับตัวบวก +0.5%
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ (เช้าวันที่ 3 ส.ค. 2564) ราคาทองคำ 1,815.05 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Silver ราคา 25.398 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบ WTI 71.20 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Brent 72.82 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ
ราคา Cryptocurrency (เช้าวันที่ 3 ส.ค. 2564) Bitcoin 38,397 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Ethereum 2,510.08 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Dogecoin 0.198 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ Binance Coin 324.11 เหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ
ดัชนี ISM (ภาคการผลิต) สหรัฐฯ ในเดือนกรกฎาคม ออกมาที่ 59.5 อยู่ในโซนขยายตัว แต่ออกมาต่ำกว่าคาดการณ์ และต่ำที่สุดตั้งแต่ต้นปี
หุ้นจีนเด้งแรง รอบ 10 สัปดาห์ รับข่าวทางการจีนเตรียมกระตุ้นเศรษฐกิจ
ตลาดหุ้นจีน CSI300 เข้าใกล้สู่ภาวะตลาดหมี (ลดลงจากจุดสูงสุดเกิน20%) หลังจากปรับตัวลดลงรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม เมื่อวานนี้ดัชนีปรับตัวขึ้นมาแรง ทำให้ภาพทางเทคนิคเริ่มดูดีขึ้นเล็กน้อย
ตัวเลข PMI ทั้งในภาคการผลิตและนอกภาคการผลิตจีนอ่อนตัวลงต่อเนื่อง แม้จะยังอยู่เกินระดับ 50 จุด
ผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของจีน ปรับตัวลดลงสู่จุดต่ำสุดตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2020 และเป็นการปรับตัวลดลง 7 สัปดาห์ติดต่อกัน
กรมการเมืองของจีนมีการประชุมเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา จากแถลงการล่าสุด มีการตัดถ้อยคำที่จะไม่กลับมาใช้นโยบายการเงินแบบขยายตัวออกไป มีการเพิ่มคำพูดว่าจะใช้นโยบายการเงินในการช่วยเหลือ SME เพิ่มมากขึ้น ในส่วนของนโยบายการคลัง ใช้คำพูดในทิศทางที่เป็นเชิงรุกมากขึ้น มีการพูดถึงการจะเข้ามาตรวจสอบตลาดทุนมากขึ้น
อัตราสวอปเรท (ต้นทุนในการทำธุรกรรม) อายุ 1 ปี ของจีนปรับตัวลดลงทำจุดต่ำสุดในรอบ 1 ปี อาจจะทำให้มีการใช้เงินหยวนเพิ่มขึ้นได้
ต้นทุนการกู้ยืมจากธนาคารปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ส่วนต่างระหว่าง NCD และ MLF ขยายตัวสูงสุดในรอบปี
ดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่างธนาคารปรับตัวลดลงต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรรัฐบาลจีนอายุ 7 วัน
CSI300 และ MSCI China มี valuation ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับ S&P500 แต่มีการเคลื่อนไหวของราคาที่น้อยกว่า และมีการปรับประมาณการกำไรต่อหุ้นที่ต่ำกว่า
นักลงทุนจีนแห่ข่ายหุ้น ByteDance ในตลาดรอง เนื่องจากกลัวความเสี่ยงทางนโยบายจากภาครัฐ
วันนี้จะมีการประชุมของธนาคารกลางออสเตรเลีย โดยตลาดคาดการณ์ว่าจะคงดอกเบี้ย และคงนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจไว้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ยังน่ากังวล
สหรัฐฯ ฉีดวัคซีน COVID-19 ครบ 70% ล่าช้าที่ตั้งใจไว้ประมาณ 1 เดือน
กรรมการ FED Christopher Waller สนับสนุนการลดขนาดวงเงินมาตรการ QE ในเดือนกันยายนนี้
คาดการณ์ตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ สัปดาห์นี้เพิ่มขึ้น 9 แสนตำแหน่ง และคาดการณ์อัตราการว่างงานที่ 5.7%
Dot Plot ใหม่ของสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่ามีคณะกรรมการ FOMC บางส่วนมองว่า FED จะมีการขึ้นดอกเบี้ยในปี 2022 คาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายจะปรับเพิ่มขึ้นจากระดับ 0.09% ในปัจจุบัน ไปอยู่ที่ระดับ 0.26% ณ ต้นปี 2023
อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงของสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงทำจุดต่ำสุดตั้งแต่ปี 2016 เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา อยู่ที่ -1.18 ขณะที่ Bond Yield 10 ปีอยู่ที่ 1.18 และคาดการณ์เงินเฟ้ออยู่ที่ 2.40
สถิติของตลาดหุ้นในช่วงลดมาตรการกระตุ้นในปี 2013 พบว่าหุ้นโลกมีการปรับตัวลดลงสูงสุดประมาณ 7% ขณะที่ MSCI China มีการปรับตัวลดลงสูงสุดที่ 16.92% แต่หากดูผลตอบแทนตั้งแต่ช่วงลดมาตรการกระตุ้นจนถึงสิ้นปี รวมทั้งผลตอบแทนทั้งปี 2013 พบว่าเป็นบวกทั้งหมด โดยหุ้นโลกให้ผลตอบแทนในปี 2013 ประมาณ 23% แต่หากมาดูที่ทองคำ พบว่าให้ผลตอบแทนติดลบค่อนข้างมากในช่วงที่มีการลดมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และในปี 2013 ราคาติดลบถึง -28.6%
สมาชิก IMF อนุมัติเงินช่วยเหลือต่อสู้ COVID-19 6.5 แสนล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐฯ สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยสัดส่วนสิทธิในการออกเสียงรายประเทศใน IMF – สหรัฐฯ 16.5%, ญี่ปุ่น 6.2%, จีน 6.1%, เยอรมัน 5.3%, ฝรั่งเศสและอังกฤษ 4.0%
สถานการณ์ผู้ติดเชื้อในรายใหม่ไทยอยู่ที่ 18,901 ราย (ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 18,158 ราย จากในเรือนจำ 743 ราย) เสียชีวิตเพิ่ม 147 ราย หายป่วยกลับบ้าน 18,590 ราย หายป่วยสะสม 410,405 ราย ผู้ป่วยสะสม 623,322 ราย
The Opportunity
KFHHCARE-A ของบลจ. กรุงศรี เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่ม Health Care ที่ได้รับประโยชน์จากความก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรมการรักษาโรค และการที่ประชากรโลกเข้าสู่วัยชรา ทำให้ความต้องการทางด้านสุขภาพสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสนับสนุนอาทิ นโยบายของโจ ไบเดน รวมถึงนโยบายอื่นๆ เช่น การเพิ่มค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับโรคติดต่อ การปรับปรุงระบบ supply chain ในอุตสาหกรรม การเพิ่มขึ้นของการรักษาทางไกลผ่านระบบ online และการเพิ่มขึ้นของนวัตกรรมเกี่ยวกับระบบ bio technology
ลงทุนในกองทุนหลัก คือ JPMorgan Funds จัดตั้งมาแล้วเกือบ 12 ปี เน้นลงทุนประมาณ 50 – 90 หลักทรัพย์ โดยกองทุนหลักมีจุดเด่น คือ การขยายโอกาสหลังจากโรคระบาด COVID-19 การเน้นบริษัทเกี่ยวกับยาที่มีการเติบโตเร็ว การเข้าสู่ตลาดใหม่ที่มีศักยภาพ เน้นการคัดเลือกบริษัทที่มีความได้เปรียบเชิงโครงสร้าง และเน้นบริษัทที่มีการพัฒนาด้านนวัตกรรม
สัดส่วน sector หลัก – Biotech 29.2%, Pharma 28%, Medtech 23.6% และ Healthcare Services 19.2%
ประเทศ/ ภูมิภาคหลักที่ลงทุน – อเมริกาเหนือ 78.8%, ยุโรปและตะวันออกกลาง 18.3%, ประเทศกำลังพัฒนา 1.9%
กองทุนหลักมีการปรับพอร์ตการลงทุนให้ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ในตลาด มีการปรับเพิ่มลดสัดส่วน sector ตามสถานการณ์
KFHHCARE-A มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน และแบ่งออกเป็น 2 class คือ สะสมมูลค่าและจ่ายเงินปันผล
ผลการดำเนินงานในรอบ 1 ปีของ KFHHCARE-A อยู่ที่ 20.60% VS KFHEALTH-A 26.72% (ป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจ โดยปกติจะไม่ป้องกันความเสี่ยง) และ K-GHEALTH 15.01% (มีการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน)