ความขัดแย้งที่ทวีความรุนแรงขึ้นในยูเครนกำลังทำให้ราคาวัตถุดิบสำคัญของเศรษฐกิจโลกที่แพงอยู่แล้ว ยิ่งแพงขึ้นไปอีกตั้งแต่ราคาก๊าซธรรมชาติ อาหาร โลหะ ไปจนถึงน้ำมัน
ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ความตึงเครียดในยูเครนได้ดันราคาก๊าซธรรมชาติจนพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่ราคาน้ำมัน ข้าวสาลี อลูมิเนียม นิกเกิล และแพลเลเดียม เริ่มซื้อขายกันที่ราคาสูงขึ้น แม้ปธน.วลาดิมีร์ ปูติน จะออกมาชี้แจงแล้วว่า รัสเซียไม่ได้มีแผนบุกยูเครนก็ตาม
ตอนนี้รัฐบาลยุโรปกำลังต่อสู้กับทั้งวิกฤตพลังงาน เงินเฟ้อระดับสูง รวมถึงปัญหาค่าครองชีพ ซึ่งหากสงครามหรือการคว่ำบาตรเกิดขึ้นจริงจะยิ่งทำให้ทุกประเด็นที่กล่าวมาแย่ลงไปอีก
ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครนส่งผลกระทบต่อประเด็นใดบ้าง?
⛽ ก๊าซ: ตลาดก๊าซของยุโรปเป็นหนึ่งในตลาดที่ได้รับผลกระทบใหญ่ที่สุด โดยความหวาดกลัวในสงครามทวีความรุนแรงขึ้นด้วยอุปทานที่จำกัดจากรัสเซีย จนทำให้ราคาก๊าซในภูมิภาคยุโรปพุ่งขึ้นกว่าเท่าตัวในช่วง 6 เดือนทีผ่านมา แต่นักวิเคราะห์มองว่า โอกาสที่รัสเซียจะระงับการส่งออกก๊าซอย่างเต็มรูปแบบนั้นน้อยมาก เพราะจะเกิดผลกระทบร้ายแรงต่อเสถียรภาพทางการเงินและอำนาจทางการเมืองของรัสเซีย
🍲 อาหาร: ทั้งยูเครนและรัสเซียเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ในข้าวสาลี ข้าวโพด และน้ำมันดอกทานตะวัน ซึ่งความขัดแย้งที่รุนแรงขึ้นจะทำให้ผู้ซื้อจากทั้งเอเชีย แอฟริกา และตะวันออกกลาง ที่กำลังเผชิญกับต้นทุนสินค้าประเภทอาหารซึ่งมีราคาพุ่งสูงที่สุดในรอบทศวรรษอยู่แล้วนั้น ยิ่งมีราคาแพงขึ้นไปอีก
🪙 โลหะ: หากรัสเซียถูกคว่ำบาตรจะทำให้ประเทศถูกตัดขาดจากระบบการชำระเงินระหว่างประเทศของ Swift ซึ่งจะทำให้กระแสเงินทุนไหลช้าลงและส่งผลกระทบต่อการส่งออก นอกจากนี้การหยุดชะงักในตลาดก๊าซธรรมชาติจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตโลหะในยุโรป โดยตลาดโลหะที่มีโอกาสได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ พาลาเดียม ซึ่งรัสเซียครองสัดส่วนประมาณ 40% ของอุปทานทั่วโลก
🛢️ น้ำมัน: ตอนนี้กำลังการผลิตน้ำมันสำรองของประเทศอื่นๆ อยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นหากอุปทานน้ำมันจากฝั่งรัสเซียหยุกชะงักลงจะดันราคาน้ำมันให้สามารถพุ่งขึ้นได้อย่างง่ายดาย โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เริ่มปรับคาดการณ์ราคาน้ำมันโลกที่ $100 ซึ่งหากมีมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียเพิ่มเติมจะยิ่งทำให้ราคาไปถึงจุดดังกล่าวได้ไวขึ้นกว่าเดิม
ตลาดมีความผันผวนมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ความขัดแย้งระหว่างยูเครนและรัสเซียจะส่งผลกระทบต่ออุปทานของสินค้าโภคภัณฑ์รวมถึงการส่งออก จนเป็นเหตุให้ราคาพลังงาน โลหะ และสินค้าเกษตรกรรมมีแนวโน้มพุ่งขึ้นต่อเนื่อง
——————-
- Facebook: https://finno.me/the-opp-fb
- Youtube: https://finno.me/youtube-channel