อย่างที่ทราบกันดีว่า “สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency)” อย่าง Bitcoin นั้นมีระบบหลังบ้านสำคัญที่คอยหนุนหลังคือ “Blockchain” ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องของความโปร่งใส ความเป็นส่วนตัวและความน่าเชื่อถือ แต่นอกจากนี้แล้วยังมีเทคโนโลยีอื่น ๆ อีก ที่ช่วยสนับสนุนให้สกุลเงินดิจิทัล (Cryptocurrency) นั้นสามารถดำเนินการในแบบที่มันเป็นอย่างทุกวันนี้ได้ จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย!
1. เริ่มกันที่พระเอกอย่าง “Blockchain Technology”
Blockchain Technology คือเทคโนโลยีการประมวลผลและการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ (Distributed Ledger Technology) และไม่อาศัยตัวกลาง (Third-party) โดยข้อมูลที่ถูกบันทึกในระบบ Blockchain นั้นจะสามารถทำการแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ยากเพราะมีการบันทึกข้อมูลต่อกันเป็น Block และมีการเชื่อมต่อกันโดยอาศัย Cryptography หากต้องการจะเปลี่ยนแปลงข้อมูลบน Block หนึ่งจึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงทั้งสาย Block ซึ่งเป็นไปได้ยากมาก เมื่อมีการนำ Blockchain Technology มาใช้ จะไม่มีใครหรือองค์กรใดมีอำนาจเบ็ดเสร็จในระบบ ไม่มีใครสามารถบิดเบือนหรือแก้ไขข้อมูลได้
จุดเด่นของ Blockchain Technology
- ลดค่าใช้จ่ายในเรื่องของตัวกลาง (Third-party)
- การทำธุรกรรมต่าง ๆ มีความปลอดภัย เป็นส่วนตัวและมีประสิทธิภาพ
- ยกระดับความโปร่งใสเนื่องจากเมื่อมีการเพิ่มข้อมูลลงไปในระบบ ทุกคนจะเห็นและรับทราบข้อมูลนั้นร่วมกัน
2. ระบบการกระจายศูนย์ หรือ Decentralized System
ระบบการกระจายศูนย์ (Decentralized System) คือระบบที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาหรือไว้ใจใครคนใดคนหนึ่งในระบบ ทุกคนจะมีตัว Copy ของข้อมูลการทำธุรกรรมต่าง ๆ ในระบบ Blockchain เหมือนกัน เมื่อมีใครทำการบิดเบือนหรือแก้ไขข้อมูลนั้นก็จะไม่เป็นที่ยอมรับของคนหมู่มาก เนื่องจากทุกคนมีข้อมูลชุดนั้นอยู่เหมือนกัน
ข้อควรรู้
การกระจายศูนย์ (Decentralization) ใน Blockchain หมายถึงการโอนย้ายอำนาจในการตัดสินใจและการควบคุมจากศูนย์กลางไปยังเครือข่ายแบบกระจาย (Distributed Network) นอกจากนี้ การกระจายศูนย์ (Decentralization) จะช่วยลดจุดอ่อนของระบบเพราะมันไม่ต้องพึ่งพาสมาชิกคนใดคนหนึ่ง ซึ่งจะช่วยลดข้อผิดพลาดของระบบได้
3. Smart Contract
Smart Contract คือ โปรแกรมที่ดำเนินการโดยอัตโนมัติระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยจะมี Code และข้อตกลงอยู่บนเครือข่าย Blockchain มีความเป็นอัติโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ หรืออาจเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าเป็นกระบวนการทางดิจิทัลที่กำหนดขั้นตอนการทำธุรกรรมไว้ล่วงหน้า โดยไม่ต้องอาศัยตัวกลาง
กระบวนการทำงาน 3 ขั้นตอนของ Smart Contract (พอสังเขป)
- ร่างเงื่อนไขสัญญาและเปลี่ยนเงื่อนไขนั้นเป็น Code หรือภาษาที่คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ ตัวอย่างเช่น ร่างสัญญาโอนเงิน ร่างสัญญาการเข้าถึงข้อมูล เป็นต้น
- เมื่อมี Trigger Event หรือสิ่งที่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด ระบบจะดำเนินการทำตามเงื่อนไขให้อัตโนมัติ
- ให้สิทธิ์การเข้าถึงสินค้า/บริการ หรือสัญญาที่ใส่ไว้ใน Smart Contract ลุล่วงไปได้ด้วยดี
4. วิทยาการเข้ารหัสลับ หรือ Cryptography
Cryptography หรือ วิทยาการเข้ารหัสลับ หมายถึง กระบวนการทางคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ในการเข้ารหัสและถอดรหัส มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยให้ผู้ที่มีสิทธิ์และได้รับอนุญาตให้อ่านได้เท่านั้น Crypto Graphy ได้ฉายาว่าเป็น “วิทยาศาสตร์แห่งการซ่อนข้อมูล”
Cryptography ใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เช่น เพิ่มความปลอดภัยให้กับการทำธุรกรรมบนเครือข่าย ใช้ยืนยันการทำธุรกรรมของสินทรัพย์ดิจิทัลและโทเคน ผู้ส่งจะทำการเข้ารหัส/ซ่อนข้อมูลโดยใช้กุญแจและอัลกอริทึมเฉพาะ ผู้รับจะทำการถอดรหัสและแปลงข้อความกลับ
5. Asymmetric Encryption
Asymmetric Encryption หมายถึง การเข้ารหัสโดยใช้ Key 2 แบบ ได้แก่ Private Key (ใช้เข้ารหัส) และ Public Key (ใช้ถอดรหัส) ทุกคนสามารถเข้าถึง Public Key และเข้ารหัสข้อมูลได้ แต่เมื่อข้อมูลถูกเข้ารหัสแล้ว การจะถอดรหัสได้นั้นต้องใช้ Private Key เท่านั้น โดย Key ทั้งสองประเภทนี้จะเป็นคู่กัน หรือที่เรียกว่า Key Pair นั่นเอง
TechToro
References
- https://www.investopedia.com/terms/b/blockchain.asp
- https://www.investopedia.com/tech/explaining-crypto-cryptocurrency/
- https://academy.binance.com/en/glossary/cryptography
- https://aws.amazon.com/th/blockchain/decentralization-in-blockchain/
- https://sectigostore.com/blog/what-is-asymmetric-encryption-how-does-it-work/
- https://www.investopedia.com/terms/s/smart-contracts.asp
คำเตือน
การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง อาจสูญเสียเงินลงทุนผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจและศึกษาข้อมูลรวมทั้งลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้