1. มีความมั่นใจมากเกินไป!
นักลงทุนที่มีความมั่นใจในตนเองสูงมีแนวโน้มที่จะขาดทุนได้มากกว่า!
โดยจะมีความมั่นใจในทักษะและศักยภาพในการลงทุนของตนเองมากเกินความเป็นจริงจนทำให้เกิดการลงทุนที่ไม่เหมาะสม เช่น มีความเสี่ยงมากกว่าระดับที่รับไหว, ใช้เงินลงทุนเยอะเกินไปและขาดสภาพคล่องทางการเงิน ดังนั้นนักลงทุนควรประเมินทักษะความสามารถของตนเองอย่างระมัดระวัง จะได้มีพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมและสอดคล้องกับเป้าหมายทางการเงินของคุณ
2. คิดว่ารู้จักดีเลยไม่ศึกษาให้ดี ๆ ก่อนลงทุน! (Familiarity/Home bias)
เมื่อเรารู้สึกว่าเราคุ้นเคยและรู้จักกับอุตสาหกรรม/ธุรกิจ/บริษัทนี้เป็นอย่างดี เรามักจะคิดว่าการศึกษางานวิจัยและข้อมูลต่าง ๆ ไม่ค่อยมีความจำเป็นเท่าไรนักเมื่อจะเข้าไปลงทุน นี่อาจนำไปสู่การคาดการณ์และการประเมินความเสี่ยงที่ผิดได้ ในการลงทุนทุก ๆ ครั้งเราจำเป็นต้องศึกษาสิ่งที่เราจะนำเงินไปวางไว้ให้ดี เข้าใจธุรกิจและสภาพแวดล้อมของกิจการนั้น ๆ รวมถึงข้อมูลเชิงสถิติที่จำเป็นต่อการประกอบการตัดสินใจเลือกลงทุน เช่น อัตราการเติบโตเฉลี่ย, ประมาณหนี้สินของบริษัทและกำไรจากผลประกอบการ
3. FOMO (fear of missing out) การกลัวตกรถ!
FOMO (Fear of Missing Out) หรือ การกลัวตกขบวน เป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยเฉพาะเมื่อมีการพูดถึงสินทรัพย์ใด ๆ อย่างแพร่หลายในสังคม เราจะเกิดความกลัวและความกังวลว่า “ถ้าเราไม่เข้าไปร่วมลงทุนด้วย เราจะตกขบวนรถนี้และทำให้พลาดโอกาสในการสร้างกำไรไป” ขบวนรถนี้อาจจะพาเราไปยังจุดที่เราพึงพอใจได้ แต่หลายครั้งผลลัพธ์ก็ไม่เป็นไปในแบบที่เราต้องการ ทำให้เราขาดทุนและเสียโอกาสในการลงทุนในสินทรัพย์อื่นไป ดังนั้น ในการพิจารณาการลงทุน ผู้ลงทุนควรคำนึงถึงปัจจัยอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยเฉพาะเรื่องของระดับความเสี่ยงที่เราสามารถรับได้
4. ดูพอร์ตการลงทุนบ่อยเกินไป!
นิสัยการเปิดพอร์ตการลงทุนดูบ่อย ๆ นั้นเป็นนิสัยที่แก้ได้ยาก แต่สำคัญเป็นอย่างมากที่จะหลีกเลี่ยงนิสัยนี้หากคุณต้องการให้การลงทุนระยะยาวของคุณนั้นประสบความสำเร็จ การลงทุนนั้นต้องอาศัยการละวางอารมณ์ การเข้าไปดูพอร์ตบ่อยเกินไปจะส่งผลเสียต่อสุขภาพใจของคุณเอง อาจเกิดภาวะเครียด ความวิตกกังวลและความเคลือบแคลงใจ และที่สำคัญที่สุดคือมันจะกินเวลาชีวิตของคุณ!
5. ไม่มีเป้าหมายในการลงทุน!
การไม่มีเป้าหมายในการลงทุนนั้นก็สามารถทำลายพอร์ตการลงทุนของคุณได้! อย่างที่ทราบกันดีว่าในการลงทุนนั้นจะต้องมีการกำหนดระยะเวลาและแผนการลงทุนอย่างชัดเจน และคุณควรทำตามแผนนั้น ระหว่างทางอาจมีการเปลี่ยนแปลงแผนการหรือเครื่องมือการลงทุนบ้างโดยขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ ณ ขณะนั้น การมีเป้าหมายในการลงทุนจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้คุณสามารถกำหนดทิศทางการลงทุน, ระดับความเสี่ยงที่รับไหวและระยะเวลาในการลงทุนได้ หากไร้ซึ่งเป้าหมายที่ชัดเจนก็อาจนำไปสู่การตัดสินใจที่ผิดพลาดหรือการล้มเลิกแผนการลงทุนในที่สุด!
TechToro
Reference
- https://money.usnews.com/money/personal-finance/mutual-funds/slideshows/7-bad-investing-habits-that-are-holding-you-back?slide=11
- https://www.forbes.com/advisor/investing/psychology-investment-returns/
- https://www.discovermagazine.com/mind/the-emotional-psychology-behind-investing
- https://passiveincomemd.com/how-to-avoid-fomo-when-investing/
- https://blocktrade.com/5-psychological-traps-and-how-to-overcome-them/
- https://www.stou.ac.th/stouonline/Lom/data/sec/Alternative/03-02-01.html
- https://www.canstar.com.au/investor-hub/bad-investment-habits/
- https://themomentum.co/are-you-checking-the-portfolio-too-often/
คำเตือน
การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความเสี่ยงสูง อาจสูญเสียเงินลงทุนผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจและศึกษาข้อมูลรวมทั้งลงทุนให้เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้