ในวันนี้เวลา 15:00 น. พล. อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ศาลรัฐธรรมนูญได้มีการอ่านคำวินิจฉัยกรณี การใช้บ้านพักรับรองของกองทัพบก ในขณะที่ตนเกษียณอายุราชการ โดยศาลได้มีการตัดสินว่า “เพิกเฉยข้อกล่าวหาดังกล่าว” โดยระบุไว้ว่า พล. อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ได้ละเมิดกฎในการเข้าใช้บ้านพัก
เรามาดูไทม์ไลน์ของเหตุการณ์นี้กันว่ามีที่มาที่ไปเป็นอย่างไร
พลเอก ประยุทธ์ ได้มีการใช้บ้านพักรับรองของทางกองทัพบก ในขณะที่ตนเกษียณอายุราชการ จนทำให้เกิดคำร้องตามมาตรา 184 (3) ประกอบมาตรา 186 ที่ได้กำหนดไว้ว่า “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และรัฐมนตรี ต้องไม่รับเงินหรือประโยชน์ใดๆ จากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจเป็นพิเศษนอกเหนือไปจากที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจปฏิบัติต่อบุคคลอื่นๆ ในธุรกิจการงานปกติ”
หรือกล่าวสั้น ๆ ว่าหากดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะต้องไม่มีการรับเงินหรือผลประโยชน์จากหน่วยงานของราชการในส่วนอื่นนอกเหนือขอบเขต
ตามระเบียบของกองทัพบกสิทธิในการใช้บ้านพักทหารจะจบลงหลังบุคคลนั้น ๆ “เสียชีวิตหรือออกจากราชการ”
อย่างไรก็ตามยังมีข้อยกเว้นอยู่จุดหนึ่ง ที่อาจทำให้บุคคลนั้น ๆ สามารถใช้งานบ้านพักดังกล่าวได้ต่อ โดยบุคคลนั้นต้องเป็นบุคคลที่ได้ทำประโยชน์ให้กับกองทัพบก ประเทศชาติ และต้องเป็นผู้ที่เคยดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบกมาแล้ว จึงอาจเป็นประเด็นที่ต้องนำมาหยิบยกและถกเถียง เพราะ เนื่องจาก พล. อ. ประยุทธ์ เองก็ได้เคยดำรงตำแหน่งดังกล่าวมาก่อนหน้า
หลังจากที่ทางพรรคเพื่อไทยได้มีการฟ้องร้องกรณีดังกล่าวทางฝ่ายของ พล. อ. ประยุทธ์ เองก็ได้มีการทำหนังสือชี้แจงว่าตนได้เข้าพักในบ้านพักทหารจริง ในส่วนที่ไม่ใช่บ้านพักรับรอง เพราะ บ้านพักรับรองดังกล่าวยังอยู่ในการซ่อมแซมปรับปรุง
แต่ถึงอย่างนั้นตามหนังสือชี้แจง ตามระเบียบของกองทัพบกว่าด้วยการเข้าพักในบ้านพักทหารปี 2555 พล. อ. ประยุทธ์สามารถอยู่ในบ้านพักรับรอง ไม่ใช่บ้านพักสวัสดิการ จึงอาจเป็นที่มาของประเด็นโต้แย้งดังกล่าวก็ว่าได้
อย่างไรก็ตาม พล. อ. อภิรัชต์ ผู้จัดทำหนังสือชี้แจงดังกล่าวก็ได้การันตีว่า พล. อ. ประยุทธ์ นั้นอาศัยอยู่ในบ้านพักรับรองจึงอาจไม่ผิดเงื่อนไขแต่อย่างใด แต่ก็ยังมีเรื่องประเด็นค่าน้ำ ค่าไฟ ที่อาจต้องนำมาพิจารณา เพราะ หากทางราชการจ่ายให้ก็อาจเข้าข่ายรับเงินหรือผลประโยชนือื่น ๆ แต่หากจ่ายเองก็จะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด
แรกเริ่มแต่เดิมทีหากศาลตัดสินว่ามีความผิดจริง พล. อ. ประยุทธ์ สถานะการเป็นนายกรัฐมนตรีของ พล. อ. ประยุทธ์ก็อาจจะต้องสิ้นสุดลงทันทีตามมาตรา 170 และหากผู้ใดสิ้นสุดสถานะการเป็นรัฐมนตรีตามมาตราดังกล่าว ก็จะโดนมาตรา 167 พ่วงไปได้ ซึ่งเป็นมาตราที่ได้ระบุไว้ว่า “รัฐมนตรีทั้งคณะต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามมาตรา 170”
หรืออาจสรุปได้ว่าพล. อ. ประยุทธ์และคณะรัฐมนตรีของตน อาจต้องพ้นจากตำแหน่งทั้งหมด แต่จะให้มีการปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรีใหม่ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาแทนที่
ทางด้านโฆษกพรรคเพื่อไทย นางสาว อรุณี กาสยานนท์ เองก็ได้มีการแสดงความเห็นเพิ่มเติมเอาไว้ว่า
“ทางลงเดียวที่สง่างามที่สุดของพลเอกประยุทธ์ในเวลานี้คือการลาออกก่อนวันที่ 2 ธ.ค. เพราะไม่สามารถบริหารประเทศต่อไปได้ ตลอดเวลาที่ผ่านมาพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า พลเอกประยุทธ์เป็นนายกฯ ที่มีความสามารถอยู่อย่างเดียว คือ ดึงเอาองคาพยพ ทั้งรัฐราชการ ทหาร ตำรวจ มาปกป้องตัวเอง จนทำให้ประชาชนหมดศรัทธากับเจ้าหน้าที่ ระบบยุติธรรม ระบบข้าราชการเสียหาย กลายเป็นปัญหาฝังลงลึกจนแก้ไขได้ยากและหนักกว่าเดิม ทั้งหมดเพียงเพราะการกระหายอำนาจของคนคนเดียว”
สถานการณ์การเมืองในไทยตอนนี้ถือว่าเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง และสร้างความไม่แน่นอนให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในอนาคต
ประกอบกับการที่ธุรกิจหลัก ๆ ในดัชนีหุ้นมีความเป็นธุรกิจแบบเก่า ซึ่งมีความผันผวนตามภาวะเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจน้ำมัน หรือธนาคารเองก็ตาม
ยังไงก็ขอเอาใจช่วยให้ประเทศเราหาจุดสมดุลลงตัวจนเจอ และพัฒนาไปด้วยกันครับ
ที่มา: https://www.thairath.co.th/home, https://www.bangkokbiznews.com/, https://www.bloomberg.com/asia