(เงินล้าน) เปิดรับโอกาสใหม่แห่งปี 2563 เมื่อเอเชียถึงคราวผงาด กับ กองทุน Principal APDI

HIGHLIGHTS : จุดเด่นต่างๆ ของ Principal APDI

  • Principal APDI เป็นกองทุนที่มี FINNOMENA 3D Diagram ขนาดใหญ่ สิ่งนี้บ่งบอกถึงสถิติที่ดีทุกด้าน ทั้ง ผลการดำเนินงานย้อนหลัง (past performance), ผลตอบแทนปรับด้วยความเสี่ยง (risk-adjusted return) และ จุดขาดทุนสูงสุด (max drawdown) ซึ่งสามเหลี่ยมที่ไปสุดทุกด้านแบบนี้ไม่ได้พบเจอกันบ่อยๆ ส่วนใหญ่ก็จะมีไปสุดได้แค่ 2 ใน 3 เท่านั้น
  • เมื่อลองดูแบบผลตอบแทนทบต้นของกองหลักตั้งแต่จัดตั้งดูแล้ว ตัว absolute return 8% จะให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 92.35% แต่กองทุนนี้ทำได้ 168.10% ซึ่งชนะดัชนีไป 75.75% นั่นหมายความว่า หากเราลงทุนเงิน 100,000 บาทตั้งแต่กองทุนก่อตั้ง วันนี้จะกลายเป็น 268,100 บาท เรียกได้ว่าเกือบๆ จะสามเด้งภายในเวลาไม่ถึง 10 ปี และถ้าสังเกตดูดีๆ ก็จะพบว่ากองทุนสามารถเอาชนะดัชนีชี้วัดได้ทุกช่วงเวลา
  • กองทุน Principal APDI เป็นกองทุนที่คัดเลือกหุ้นกันแบบ Bottom-Up เพื่อให้มั่นใจว่าหุ้นที่เลือกนั้นจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีพอจะนำไปสู่เป้าหมายเฉลี่ย 8% ต่อปีได้ โดยผสมผสานทั้งหุ้นปันผล และหุ้นเติบโตเร็ว ในประเทศต่างๆ รอบภูมิภาค Asia ex-Japan ซึ่งมีแนวโน้มว่าสดใสในช่วงปีนี้ถึงปีหน้า

หากสนใจลงทุนใน Principal APDI สามารถสร้างแผนเพื่อเปิดบัญชีลงทุนได้ที่
https://www.finnomena.com/nter-space-create/

PRINCIPAL APDI คือกองทุน 10 ดาว มาพร้อมผลตอบแทนย้อนหลังที่ไม่ธรรมดา

จากการได้ไปสัมภาษณ์คุณวิน พรหมแพทย์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน แห่ง บลจ. Principal ซึ่งเราได้รวบรวมข้อมูลมาสรุปไว้ในบทความนี้ คุณวินนิยาม Principal APDI ไว้ว่าเป็น “กองทุน 10 ดาว” เนื่องจากกอง Master Fund อย่าง CIMB-Principal Asia Pacific Dynamic Income Fund ได้ Morningstar ห้าดาว ส่วน Principal APDI นั้นก็ได้ 5 ดาวเหมือนกัน

ส่วนคุณภาพจะ 10 ดาวขนาดไหนนั้น ลองมาดูรายละเอียดไปพร้อมๆ กันเลย

เปิดรับโอกาสใหม่แห่งปี 2563 เมื่อเอเชียถึงคราวผงาด กับ กองทุน Principal APDI

3D Diagram ของ Principal APDI
ข้อมูล ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2562
ที่มา:
FINNOMENA

ก่อนอื่น หากดูกันแบบเร็วๆ Principal APDI เป็นกองทุนที่มี FINNOMENA 3D Diagram ขนาดใหญ่ สิ่งนี้บ่งบอกถึงสถิติที่ดีทุกด้าน ทั้ง ผลการดำเนินงานย้อนหลัง (past performance), ผลตอบแทนปรับด้วยความเสี่ยง (risk-adjusted return) และ จุดขาดทุนสูงสุด (max drawdown) ซึ่งสามเหลี่ยมที่ไปสุดทุกด้านแบบนี้ไม่ได้พบเจอกันบ่อยๆ ส่วนใหญ่ก็จะมีไปสุดได้แค่ 2 ใน 3 เท่านั้น

มาว่ากันที่เรื่องผลตอบแทนย้อนหลังก่อน

ส่วนหนึ่งคงต้องยกเครดิตให้กองแม่อย่าง CIMB-Principal Asia Pacific Dynamic Income Fund ที่มีดัชนีเปรียบเทียบ (Benchmark) เป็น Absolute Return ตั้งเป้า 8% เฉลี่ยต่อปี เรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ที่หาได้ยากมากๆ ไม่ว่าจะในประเทศไทยหรือทั่วโลก

การที่กองทุนเป็น Absolute Return 8% นั้นคือการตั้งมั่นว่าต้องมีผลตอบแทนย้อนหลังสะสมเฉลี่ย 8% ต่อปี นั่นแปลว่า เวลากองทุนจะลงทุนอะไรก็ตาม ต้องคิดถึงการเก็บกำไรเข้ากระเป๋า เพื่อให้กองทุนสามารถสะสมกำไรไปเรื่อยๆ เฉลี่ยปีละ 8% ดังนั้น พอเจอช่วงที่ตลาดขึ้นยาวๆ กองทุนก็เก็บกำไรมาก้อนหนึ่ง พอตลาดลงก็เปลี่ยนไปถือเงินสดแทน เรียกได้ว่ามีการบริหารจัดการเงินสดด้วย ซึ่งกลยุทธ์นี้ก็สะท้อนความสำเร็จออกมาผ่านผลตอบแทนย้อนหลังที่เกินค่าเฉลี่ย 8% ต่อปี

เปิดรับโอกาสใหม่แห่งปี 2563 เมื่อเอเชียถึงคราวผงาด กับ กองทุน Principal APDI

ผลตอบแทนทบต้นย้อนหลังของกองทุน CIMB-Principal Asia Pacific Dynamic Income
ที่มา: CIMB-Principal Asia Pacific Dynamic Income Fund Review
ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2562

ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

เมื่อลองดูแบบผลตอบแทนทบต้นของกองหลักตั้งแต่จัดตั้งดูแล้ว ตัว absolute return 8% จะให้ผลตอบแทนอยู่ที่ 92.35% แต่กองทุนนี้ทำได้ 168.10% ซึ่งชนะดัชนีไป 75.75% นั่นหมายความว่า หากเราลงทุนเงิน 100,000 บาทตั้งแต่กองทุนก่อตั้ง วันนี้จะกลายเป็น 268,100 บาท เรียกได้ว่าเกือบๆ จะสามเด้งภายในเวลาไม่ถึง 10 ปี และถ้าสังเกตดูดีๆ ก็จะพบว่ากองทุนสามารถเอาชนะดัชนีชี้วัดได้ทุกช่วงเวลา

เห็นผลตอบแทนของกองทุนหลักกันไปแล้ว เราย้อนมาดูกองทุนฝั่งไทยบ้าง กองทุน Principal APDI ก็ไม่น้อยหน้า เพราะทำผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีได้ 8.46% ถือว่าเกินดัชนี้ชี้วัดของกองแม่อย่าง absolute return 8%

เปิดรับโอกาสใหม่แห่งปี 2563 เมื่อเอเชียถึงคราวผงาด กับ กองทุน Principal APDI

ผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีย้อนหลังของกองทุน Principal APDI
ที่มา: Principal APDI Factsheet
ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2562

ผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต

หากสังเกตดีๆ ก็จะเจอว่า กองฝั่งไทยอย่าง Principal APDI ไม่ได้ใช้ดัชนีชี้วัดเป็น absolute return 8% แต่ใช้เป็น MSCI AC Asia-Pacific ex Japan เหตุเพราะกฏของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนดว่าถ้าเป็นกองทุนรวมหุ้นก็ต้องใช้ดัชนีชี้วัดเป็นดัชนีหุ้น ซึ่งเมื่อนำมาเทียบกับตัวกองทุนแล้ว ก็จะเห็นว่าผลตอบแทนย้อนหลังสามารถเอาชนะดัชนี MSCI AC Asia-Pacific ex Japan ได้ทุกช่วงเวลา (อีกแล้ว) โดยตั้งแต่ต้นปี 2562 มานี่ดัชนีทำผลตอบแทนได้ 4.37% ในขณะที่ Principal APDI ทำได้ 10.20%

จุดที่น่าสนใจคือช่วงระยะเวลา 6 เดือนย้อนหลัง ซึ่งตลาดหุ้นปรับตัวลง ก็จะเจอว่าดัชนี MSCI AC Asia-Pacific ex Japan ปรับตัวลง 6.54% ในขณะที่ Principal APDI ปรับตัวลงเพียง 1.05% เท่านั้น แสดงให้เห็นว่ากองทุนควบคุมความเสี่ยงได้ดี

ถึงอย่างนั้น ผู้ลงทุนต้องเข้าใจก่อนว่า กองทุนไม่ได้การันตี 8% ทุกปี และต้องลงทุนนานๆ โดยแนะนำให้อยู่อย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป เพื่อให้ผลตอบแทนสะสมไปเรื่อยๆ จึงเหมาะกับผู้ที่สนใจจะลงทุนแบบระยะยาว อย่างไรก็ดี เนื่องจากกองทุนนี้ลงทุนเฉพาะเจาะจงในภูมิภาคเดียว จึงมีความเสี่ยงเฉพาะภูมิภาคที่นักลงทุนต้องจับตามอง ผู้ลงทุนจึงควรศึกษารายละเอียดและจังหวะช่วงเวลาการลงทุนให้ดีนะ

อีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับกองทุน Principal APDI คือกลยุทธ์การป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน (hedge)

ด้วยความที่ Principal APDI ลงทุนในกองแม่ซึ่งเป็นหน่วยดอลล่าร์สหรัฐฯ โดยปกติแล้วกองทุนก็จะ hedge ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ และค่าเงินบาทประมาณ 85-90% ซึ่งก็ถือว่าครอบคลุมส่วนใหญ่ การป้องกันความเสี่ยงค่าเงินบาทในปีนี้ช่วยให้กองทุนไม่สูญเสียผลตอบแทนไปจากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น สิ่งนี้สำคัญมากเพราะช่วยให้ผลตอบแทนของ Principal APDI เกาะกับไปกองหลัก

STRATEGY: 4 เสาหลักของ CIMB-Principal Asia Pacific Dynamic Income Fund

พูดถึงผลตอบแทนกันไปแล้ว ทีนี้หลายคนน่าจะอยากรู้ว่าผลตอบแทนแบบนี้กองทุนทำได้อย่างไร มีเบื้องหลังอะไรที่แตกต่างจากกองทุนอื่นๆ บ้าง? สำหรับกองแม่อย่าง CIMB-Principal Asia Pacific Dynamic Income เห็นทีจะมีอยู่ 4 คำที่อธิบายกองทุนได้ดีที่สุด นั่นก็คือ Alpha, Dynamic, Unconstrained และ Barbell ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักของกองทุน ทำให้กองทุนทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เราลองมาเจาะดูไปทีละตัวกันเลย

Alpha

อัลฟ่า (Alpha) คือผลตอบแทนส่วนที่เกินมาจากดัชนีมาตรฐาน การที่กองทุนมุ่งเน้นค่าอัลฟ่าสูงๆ นั่นก็หมายความว่ากองทุนจะเฟ้นหาหุ้นที่ทำกำไรได้เยอะ แน่นอนว่ายิ่งสูงกว่ามาตรฐาน 8% เท่าไรได้ยิ่งดี ด้วยเหตุนี้กองทุนจึงมีทีมที่จะคัดเลือกหุ้นรายตัวทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยหวังว่าซื้อหุ้นนี้จะมีกำไร นั่นหมายความว่า กองทุนจะเลือกหุ้นโดยดูที่คุณภาพจริงๆ ไม่ได้อิงกับดัชนีว่าดัชนีถือหุ้นตัวนี้เท่าไร ด้วยน้ำหนักเท่าไร

Dynamic

การเลือกหุ้นที่ดี มีศักยภาพทำกำไรสูงๆ เข้าพอร์ต ก็สอดคล้องกับมาตรฐานของกองทุนที่ต้องการจะสร้าง Absolute Return เฉลี่ย 8% ต่อปี การจะทำแบบนี้ได้ กองทุนต้องปรับเปลี่ยนการลงทุนไปยังประเทศที่สนใจได้ตลอดเวลา และสามารถซื้อขายและทำกำไรได้ตลอดเวลา เมื่อผู้จัดการกองทุนรู้สึกพอใจในผลตอบแทนที่ตัวเองได้รับ

Unconstrained

สืบเนื่องจากข้อก่อนๆ กองทุนไม่ยึดติดว่าดัชนีมีหุ้นอะไรบ้าง หากกองทุนเจอของดีก็จะซื้อเข้าพอร์ตเลย ถ้าไม่ดีก็ไม่ซื้อ ถือเป็นการ “ปลดล็อกตัวเองจาก index” ทำให้มีความยืดหยุ่นในการลงทุนมากขึ้น อย่างในกรณีของกองทุนนี้ก็คือไม่จำเป็นต้องผูกติดตัวเองกับดัชนี MSCI AC Asia-Pacific ex Japan ตัวเลขหนึ่งที่สามารถอธิบายได้คือ tracking error ซึ่งก็คือการวัดความเสี่ยงเทียบดัชนี หากใกล้ๆ ดัชนี ค่าเปอร์เซ็นต์ก็จะน้อย สำหรับกองนี้ได้ 6.6% ต่อปี (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562) ซึ่งถือว่าต่างออกมาเยอะ ข้อดีคือถ้าชนะก็จะชนะดัชนีได้เยอะ แต่ข้อเสียคือก็คือถ้าแพ้ก็แพ้มากกว่า

Barbell

อีกความน่าสนใจของกองทุนคือการสมดุลระหว่างการเติบโตและความมั่นคง กล่าวคือ กองทุนจะเลือกทั้งหุ้นที่กำไรมีโอกาสเติบโตสูง ในขณะเดียวกันก็จะเลือกหุ้นที่ราคานิ่งๆ แต่จ่ายปันผลเยอะ เมื่อเป็นแบบนี้ พอร์ตก็จะมีกำไรสองข้าง ข้างหนึ่งคือราคาส่วนต่างกำไร (Capital Gain) จากหุ้นเติบโต อีกข้างหนึ่งรับปันผลจากหุ้นที่มั่นคง ทั้งหมดทั้งมวลนี้สร้างความสมดุลของพอร์ต เรียกได้ว่าแม้ตลาดหุ้นไม่ขึ้น ก็มีปันผลมาเก็บไว้

หากสนใจลงทุนใน Principal APDI สามารถสร้างแผนเพื่อเปิดบัญชีลงทุนได้ที่
https://www.finnomena.com/nter-space-create/

STOCK SELECTION: เลือกหุ้นแบบคัดมือ คุณภาพบริษัทต้องคับแก้ว

อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนน่าจะอยากรู้มากขึ้นเกี่ยวกับรายละเอียดของหุ้นในพอร์ตของกองแม่อย่าง CIMB-Principal Asia Pacific Dynamic Income ซึ่งเป็นหุ้นที่อยู่ในภูมิภาค Asia Pacific ex-Japan

ถามว่า แล้วมันต่างจาก Asia ex-Japan อย่างไร? Asia ex-Japan ประกอบไปด้วย 11 ประเทศ คือ จีน ฮ่องกง อินโดนีเซีย อินเดีย เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ ปากีสถาน สิงคโปร์ ไทย และไต้หวัน ส่วน Asia Pacific ex-Japan นั้นมีประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์เพิ่มเข้ามาด้วย รวมทั้งหมดเป็น 13 ประเทศ ดังนั้น ขอบเขตของสิ่งที่ลงทุนได้ก็กว้างขึ้น ถือว่าเป็นข้อดีที่จะช่วยให้กองทุนมีโอกาสรับผลตอบแทนมากขึ้น เพราะแค่หุ้นไทยนั้นไม่พอที่จะทำ absolute return 8% ได้

เวลาพูดถึงเอเซีย-แปซิฟิก ประเทศที่หลายคนนึกถึงน่าจะเป็นจีน ด้วยขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ รวมถึงมีธุรกิจยักษ์ใหญ่อย่าง Tencent และ Alibaba แต่กองทุนหลักไม่ได้เทน้ำหนักไปที่จีนอันดับแรก กองทุนมีการกระจายไปหลายประเทศ

เปิดรับโอกาสใหม่แห่งปี 2563 เมื่อเอเชียถึงคราวผงาด กับ กองทุน Principal APDI

สัดส่วนการลงทุนของ CIMB-Principal Asia Pacific Dynamic Income ในแต่ละประเทศ
ที่มา: CIMB-Principal Asia Pacific Dynamic Income Fund Factsheet
ข้อมูล ณ วันที่: 31 ตุลาคม 2562

จะเห็นได้ว่า กองทุนไปลงทุนในสิงคโปร์เกือบๆ 25% ถ้าไปดูไส้ในเราก็จะพบว่าส่วนใหญ่คือ REITs ซึ่งการตัดสินใจนี้ก็อ้างอิงมาจากการที่ทีมงานเดาทางออกว่าปีนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ Fed จะลดดอกเบี้ยลง ซึ่งจะหนุนให้ REITs ราคาสูงขึ้น เรียกได้ว่ากองทุนเดาทางปีนี้ถูกต้อง และที่สำคัญคือสามารถขายทำกำไรได้ทันเวลาก่อนที่ REITs จะปรับตัวลง

ตัวอย่างหนึ่งของการทำ Barbell หรือการสร้างสมดุลให้พอร์ต คือการลงทุนในหุ้นธนาคารอินเดียที่เติบโตสูงๆ อย่าง HDFC และลงทุนในหุ้นธนาคารออสเตรเลียอย่าง Westpac ที่ค่อนข้างอิ่มตัวแต่จ่ายปันผลเยอะ

ประเทศอินเดียนั้นถือได้ว่ามีอัตราการเติบโตของ GDP สูง เฉลี่ย 7-8% ต่อปี สิ่งที่ตามมาคือประชาชนที่เริ่มเข้าถึงธนาคารได้มากขึ้น มีศักยภาพในการกู้เงินมากขึ้น ดังนั้นธนาคารอินเดียยังมีโอกาสโตได้อีกมาก

ทางด้านธนาคาร Westpac ของออสเตรเลีย เป็นธนาคารเก่าแก่อายุ 200 ปี นับเป็น 1 ใน 4 ธนาคารใหญ่ของออสเตรเลีย แม้ธุรกิจจะอิ่มตัวตามอัตราการเติบโตของ GDP ที่เฉลี่ย 2% ต่อปี แต่ความเด็ดคือจ่ายปันผลเฉลี่ย 6% กว่า

จะเห็นได้ว่าธนาคารฝั่งอินเดียได้รับอานิสงส์จากเศรษฐกิจที่เติบโตเร็ว ส่วนธนาคารฝั่งออสเตรเลียนั้นแม้จะไม่เติบโตมากแต่มีความมั่นคงสูงกว่า ดังนั้นการถือหุ้นของทั้ง 2 บริษัทจาก 2 ประเทศ จึงเป็นการสร้างสมดุลของผลตอบแทนได้ดี

เปิดรับโอกาสใหม่แห่งปี 2563 เมื่อเอเชียถึงคราวผงาด กับ กองทุน Principal APDI

สัดส่วนการลงทุนของ CIMB-Principal Asia Pacific Dynamic Income ในหุ้นแต่ละตัว
ที่มา: CIMB-Principal Asia Pacific Dynamic Income Fund Update
ข้อมูล ณ วันที่: 31 ตุลาคม 2562

สำหรับการคัดเลือกหุ้น ธีมของพอร์ตคือเทคโนโลยี อย่างหุ้นที่มีสัดส่วนเยอะสุด 2 ตัวแรกก็คือ Samsung และ Taiwan Semiconducter โดย Samsung นั้นหลายคนอาจจะคุ้นเคยกับสมาร์ตโฟน แต่จริงๆ แล้วตัวที่ทำเงินให้ Samsung เป็นหลักคือ Memory ซึ่งกินส่วนแบ่งตลาดไปถึง 50% ของโลก รับเทรนด์ Internet of Things (IoT) และ Cloud Computing

TEAM: ทีมบริหารกองทุนระดับเซียนจากหลากหลายประเทศ

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเบื้องหลังความสำเร็จของการเลือกหุ้นนั้นคือทีมงานที่แข็งแกร่ง สำหรับกองทุน CIMB-Principal Asia Pacific Dynamic Income ก็มีทีมช่วยกันดูถึง 4 ประเทศ นั่นคือ ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยประเทศไทยนั้นนำทีมโดยคุณวิน พรหมแพทย์ ส่วนทีมผู้จัดการกองทุนหลักคือคุณ Christopher Leow คุณ Serene Chng และคุณ Jeffrey Chong เป็นหัวเรือหลักซึ่งประจำการอยู่ที่สิงคโปร์ แต่ละคนล้วนมีประสบการณ์กว่า 20 ปี ดูแลทีมที่มีสมาชิกประมาณ 10 กว่าคน

เปิดรับโอกาสใหม่แห่งปี 2563 เมื่อเอเชียถึงคราวผงาด กับ กองทุน Principal APDI

ประวัติผู้จัดการกองทุน CIMB-Principal Asia Pacific Dynamic Income
ที่มา: Principal Asia Pacific Dynamic Income Fund Factsheet
ข้อมูล ณ วันที่: 31 ตุลาคม 2562

เห็นทีมแบ่งเป็นหลายๆ ประเทศแบบนี้ แต่ความเชี่ยวชาญไม่ได้ถูกจำกัดแค่แต่ละประเทศ ในทีมนี้แต่ละคนจะมีความเชี่ยวชาญในแต่ละอุตสาหกรรมโดยไม่เกี่ยงว่าเป็นประเทศไหน ดังนั้น ใครที่เชี่ยวชาญ REITs ก็จะเข้าใจทั้ง REITs ไทยหรือสิงคโปร์ สามารถเห็นภาพรวมของสินทรัพย์ได้มากขึ้น

วิธีการเลือกหุ้นของทีม จะอิงกับ 3 ปัจจัย คือ พื้นฐาน (Fundamental) แนวโน้ม (Momentum) และมูลค่า (Valuation) ซึ่งทุกคนในทีมจะใช้มาตรฐานนี้เหมือนกันหมด ทำให้แม้ว่าจะเปรียบเทียบหุ้นจากแต่ละประเทศ ก็จะไม่เกิดการลำเอียง สเกลของการให้คะแนนอยู่ที่ 5 คะแนน หากได้คะแนนเกิน ⅗ ก็จะพิจารณาให้ลงทุน ถ้าได้ 3 หรือต่ำกว่า 3 หน่อยก็จะแนะนำให้ Hold แต่ถ้าต่ำกว่า 2 ก็แนะนำขาย ทุกคนในทีมจะเขียนรายงานในอีเมล และมีการทำ Conference Call ทุกๆ สัปดาห์

นอกจากนี้ คุณวินเล่าให้ฟังว่าอีกสิ่งที่คุณ Christopher ให้ความสำคัญมากๆ คือความเสี่ยง ทีมจะคิดถึงฝั่ง downside เสมอ เพราะเชื่อว่าอะไรๆ ที่ไม่คาดคิดนั้นเกิดขึ้นได้ตลอด ดังนั้น กองทุนมีกฏคือเวลาเลือกหุ้น น้ำหนักที่ให้ต้องไม่มากเกินไป โดยมีกรอบว่าลงหุ้นได้อย่างมาก 10% ต่อตัว และขนาดว่ามีกรอบอย่างนี้แล้ว เรายังเห็นได้ว่า หุ้นที่มีน้ำหนักเยอะที่สุดอย่าง Samsung ยังมีสัดส่วนแค่ประมาณ 5.70% เท่านั้น นั่นแสดงให้เห็นว่ากองทุนมีการจำกัดความเสี่ยงไว้ระดับหนึ่ง และกระจายการลงทุนมากๆ

TIMING: ทำไมเวลานี้ถึงต้องลงทุนใน Principal APDI

Fundamental

มาว่ากันที่ฝั่งพื้นฐานก่อน จากการคาดการณ์ของ IMF เศรษฐกิจโลกปีที่แล้ว (2018) โตขึ้นเล็กน้อย ประมาณ 3.6% แต่ในปี 2019 เหลือเพียง 3% และในปี 2020 เหลือ 3.4% ยังมีผงกหัวขึ้นมาบ้าง

แต่ทางด้านเศรษฐกิจอเมริกานั้นเราจะเห็นได้ว่าลงเอาๆ จาก 2.9% (2018) 2.4% (2019) 2.1% (2020)

พอมาดูตลาดเกิดใหม่ ก็จะเห็นตัวเลขที่สูงขึ้นมาหน่อย จาก 4.5% (2018) 3.9% (2019) 4.6% (2020)

เปิดรับโอกาสใหม่แห่งปี 2563 เมื่อเอเชียถึงคราวผงาด กับ กองทุน Principal APDI

มุมมองการเติบโตของเศรษฐกิจจาก IMF
ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2562
ที่มา: Principal Asset Management

โดยรวมเราจะเห็นว่าปีหน้า มีความเป็นไปได้ว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ได้หมายความว่าทุกภูมิภาคจะขึ้นเหมือนกันหมดนะ อย่างอเมริกาจะโตช้าลง ส่วนภูมิภาคที่จะฟื้นได้ดีขึ้น ก็คือตลาดเกิดใหม่ ว่าก็ว่าอยู่ ปีก่อนๆ ทางคุณวินเองมีมุมมองว่าหุ้นอเมริกาขึ้นมาเยอะมาก แน่นอนว่ามันไม่ขึ้นตลอดไปแน่ๆ ต้องมีการหมุนเงินไปยังภูมิภาคอื่นๆ บ้าง

ในฝั่งของนโยบายการเงิน ธนาคารกลางทั่วโลกผ่อนคลายด้วยการใช้นโยบายลดดอกเบี้ย ในเอเชียก็เช่นกัน ทำให้เศรษฐกิจยังสามารถไปได้เรื่อยๆ เงินเฟ้อเองก็ยังไม่มา ภาคอุตสาหกรรมที่ก่อนหน้านี้ชะลอตัวลงก็ฟื้นขึ้นมาบ้างแล้ว

Valuation

เปิดรับโอกาสใหม่แห่งปี 2563 เมื่อเอเชียถึงคราวผงาด กับ กองทุน Principal APDI

Valuation ของแต่ละภูมิภาค
ที่มา: Principal Asia Pacific Dynamic Income Fund Update
ข้อมูล ณ วันที่: 30 กันยายน 2562

จากรูปภาพด้านบน ตัวเลขสีดำๆ ฝั่งซ้ายมือของแต่ละภูมิภาคคือ P/E ซึ่งบอกว่ามูลค่าถูกแพงแค่ไหน (ยิ่งสูงยิ่งแพง) ส่วนตัวเลข % หลากสีด้านขวามือ กำลังจะบอกว่า มีโอกาสกี่เปอร์เซ็นต์ที่ราคาในอดีต 15 ปีย้อนหลังจะถูกกว่าปัจจุบัน

สังเกตดีๆ ยิ่งตัวเลข % สูงเท่าไร ก็จะเป็นสีแดง ตัวอย่างเช่น ประเทศไทย มี P/E ที่ 15.2 และมีเปอร์เซ็นต์ที่เคยถูกกว่านี้ที่ 91% นั่นหมายความว่าในราคาปัจจุบันนี้ มีโอกาสถึง 91% ที่ราคาเคยถูกกว่านี้ แปลง่ายๆ ว่าตอนนี้หุ้นไทยแพงแล้ว (T_T) สหรัฐฯ เองก็เช่นกัน

อีกฝั่งหนึ่งเราจะเห็นเลขเปอร์เซ็นต์สีฟ้ากับสีเขียว นี่คือภูมิภาคที่ราคายังไม่สูงมาก ยิ่งเป็นสีเขียวยิ่งถูก และถ้าดู Asia ex-Japan แบบรวมๆ P/E ก็อยู่แค่ 12.6 และเปอร์เซ็นต์ที่ราคาเคยถูกกว่านี้ก็มีแค่ 44% แสดงให้เห็นได้ว่ามูลค่ายังไม่แพงเกินไป

Momentum

คุณวินเล่าว่าที่ผ่านมาคนไปเกาะรถไฟที่อเมริกา ทำ new high ตลอดเวลา จึงต้องมีจุดที่วนกลับมาเล่นที่อื่นบ้าง เหตุที่ปีหน้ามีโอกาสที่จะเป็นเวลาผงาดของหุ้น Asia ex-Japan นั่นเพราะกองทุนหลายๆ แห่งทั่วโลกยัง underweight เอเชียอยู่ แสดงว่ายังมีโอกาสที่เงินจะเข้าต่อ นั่นแปลว่าถ้าเราเชื่อว่าพื้นฐานดี ตัว underweight จะน่าสนใจ อีกทั้งแต่ละประเทศต่างแข่งกันลดดอกเบี้ย ก็เลยทำให้เงินมีโอกาสที่จะไหลมาเอเชีย

CONCLUSION

กองทุน Principal APDI เป็นกองทุนที่คัดเลือกหุ้นกันแบบ Bottom-Up เพื่อให้มั่นใจว่าหุ้นที่เลือกนั้นจะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีพอจะนำไปสู่เป้าหมายเฉลี่ย 8% ต่อปีได้ โดยผสมผสานทั้งหุ้นปันผล และหุ้นเติบโตเร็ว ในประเทศต่างๆ รอบภูมิภาค Asia ex-Japan ซึ่งมีแนวโน้มว่าสดใสในช่วงปีนี้ถึงปีหน้า ไม่ว่าจะเป็นมูลค่าที่ยังไม่แพงมาก เงินทุนที่มีโอกาสไหลเข้ามา และอัตราการเติบโตที่อาจฟื้นตัว เมื่อเทียบกับภูมิภาคหรือประเทศอื่นแบบเดี่ยวๆ Asia ex-Japan ก็เป็นภูมิภาคที่น่าสนใจ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการกระจายความเสี่ยง เพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนจากรถไฟขบวนใหม่

PortRomeo

ใครยังไม่จุใจ เร็วๆ นี้เตรียมติดตามบทความรีวิวกองทุน Principal APDI เวอร์ชั่นเต็ม จาก FundTalk และวิดีโอสัมภาษณ์คุณวิน พรหมแพทย์ ได้เลย

—————————-

Jessada Sookdhis
Investment Analyst (IA)
ตรวจทานบทความ

ดูข้อมูลกองทุน Principal APDI เพิ่มเติมได้ที่ https://finnomena.com/fund/PRINCIPAL%20APDI

หากอยากลงทุนใน Principal APDI ต้องทำอย่างไร?

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน |  ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน