เวียดนามเป็นอีกหนึ่งประเทศดาวรุ่งที่เติบโตโดดเด่นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทั้งเรื่องการลงทุนจากต่างประเทศ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน หรือแม้แต่การท่องเที่ยวที่เริ่มกลายเป็นอีกหนึ่งจุดขายของเวียดนาม จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเวียดนามถึงกลายเป็นอีกหนึ่งตลาดที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่มองหาผลตอบแทนและโอกาสการเติบโตในภูมิภาคเอเชีย
ด้วยเสน่ห์ของตลาดเวียดนามที่นับวันยิ่งน่าจับตา บลน. ฟินโนมีนา และ บลจ.พรินซิเพิล ได้จัดงานสัมมนา Unlocking Opportunities: Investing in Vietnam Stock Market เพื่ออัปเดตมุมมองการลงทุนในตลาดดาวรุ่งแห่งเอเชีย ในวันที่ 12 กรกฎาคม ที่ผ่านมา โดยมี ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนวีไอชั้นนำของไทย ร่วมให้สัมภาษณ์ในงานสัมมนาครั้งนี้ เกี่ยวกับโอกาสการลงทุนระยะยาวในเวียดนาม พร้อมด้วย บลจ.พรินซิเพิล ที่ได้มาแชร์ข้อมูลเชิงลึกจากการทำ Company & Site Visits ที่ประเทศเวียดนาม
รายละเอียดจะเป็นอย่างไร บทความนี้สรุปมาให้แล้ว
โอกาสการลงทุนในเวียดนามระยะยาว โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ทำไมต้องเป็นเวียดนาม?
สัดส่วนการลงทุนของ ดร.นิเวศน์ ในปัจจุบัน มีหุ้นไทย 70% และ หุ้นเวียดนาม 30%
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา รวมถึงในครึ่งปีแรก ในช่วงที่หุ้นไทยย่ำแย่ก็มีหุ้นเวียดนามที่คอยชดเชยเป็นเสาหลักพยุงพอร์ต ดร.นิเวศน์ยังเผยว่ามีแนวโน้มว่าจะเพิ่มการลงทุนในเวียดนามมากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อได้รับเงินปันผลจากตลาดหุ้นไทย ก็อาจจะซื้อหุ้นเวียดนามเพิ่ม
และในอนาคต สัดส่วนของหุ้นเวียดนามอาจจะแซงหน้าหุ้นไทยที่มีอยู่ก็เป็นได้ เนื่องด้วยในระยะยาวเวียดนามยังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก ทั้งในเรื่องของการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วเป็นอันดับต้น ๆ ในอาเซียน ทำให้ขนาดเศรษฐกิจเวียดนามอาจจะไล่ตามประเทศไทยทันและแซงหน้าในสักวัน
นี่คือมุมมองของ ดร.นิเวศน์ ที่เคยลงทุนในหุ้นไทยในช่วงที่รุ่งโรจน์ และคล้ายว่ามันจะเกิดขึ้นเช่นเดียวกันกับเวียดนาม
4 ปัจจัยที่ทำให้ถนนทุกสายมุ่งสู่เวียดนาม
- ตัวเลขการส่งออก
ตั้งแต่เหนือจรดใต้ของเวียดนามนั้นติดทะเล อาชีพประมงนั้นอยู่คู่กับวิถีคนเวียดนามมาอย่างช้านาน เวียดนามมีทรัพยากรสัตว์น้ำที่หลากหลาย และได้ส่งออก ‘กุ้ง’ เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก นอกจากนี้ยังเป็นผู้ส่งออกกาแฟอันดับ 2 ของโลก
หรือแม้กระทั่งสินค้าการเกษตรอย่างข้าว ที่ไทยเคยเป็นผู้นำในการส่งออกมากที่สุด ก็ถูกเวียดนามแซงเป็นที่เรียบร้อย ส่วนอีกเรื่องที่น่าสนใจคือเวียดนามเป็นฐานผลิตสำคัญบริษัทระดับโลก เช่น Apple และ Samsung จึงมีการส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ไม่น้อยเหมือนกัน
- ภูมิประเทศ
ทางเหนือของเวียดนามนั้นติดกับประเทศจีน อีกทั้งยังใกล้กับเกาหลีและญี่ปุ่น ซึ่งทั้งหมดถือเป็นประเทศยักษ์ใหญ่ในเอเชีย และพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเวียดนามติดกับทะเลเปิด เกื้อหนุนการขนส่งเดินเรือ รวมถึงการสร้างท่าเรือน้ำลึก
- ทรัพยากรมนุษย์
ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เวียดนามเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว ประเทศเวียดนามมีประชากรทั้งหมด 100 ล้านคน อายุเฉลี่ยประมาณ 30 ปี ซึ่งเป็นคนวัยหนุ่มสาวที่พร้อมสำหรับการทำงานได้อีกเป็นสิบ ๆ ปี อีกทั้งยังมีมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่าง FPT University ด้วย ก่อตั้งโดยบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม
ภาพจาก archdaily.com | ณ วันที่ 14/07/2566
FPT University ผลิตเด็กจบใหม่ โดยเน้นสอนเกี่ยวกับ IT การเขียนโปรแกรม ตอบโจทย์สายงานเทคโนโลยีที่เป็นที่ต้องการของโลก โดย FPT มีบริษัทชั้นนำที่เป็นลูกค้าอยู่ทั่วโลก อย่าง Apple ก็ถือเป็นคู่ค้าของทาง FPT เช่นเดียวกัน
เมืองไทยคือที่อยู่ แต่ถ้ามอง Growth ต้องไปเวียดนาม
- ตัวเลขการลงทุน
หากพลิกดูป้ายเสื้อ ป้ายรองเท้าที่ใส่ เราอาจจะเห็นคำว่า ‘Made in Vietnam’ เป็นเครื่องบ่งบอกว่า ตั้งแต่สินค้าอย่างสิ่งทอ เสื้อผ้า รองเท้า ไปจนถึงโทรศัพท์มือถืออย่าง Smartphone ทั้งหมดนั้นผลิตและประกอบในเวียดนามทั้งสิ้น เราจะเห็นสินค้าแบรนด์ดังอย่าง Nike, Lego, Adidas, Samsung และอื่น ๆ ต่างก็เลือกที่จะมุ่งสู่เวียดนาม
ในภาคตลาดทุน ปัจจุบันตลาดหุ้นเวียดนามยังถือว่าเป็น ‘ตลาดชายขอบ’ (Frontier Market) คำจำกัดความง่าย ๆ คือ ตลาดหุ้นยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น มีขนาดเล็ก และมีความเสี่ยงสูงกว่า อีกทั้งมีข้อจำกัดในเรื่องของ Foreign Room ซึ่งก็คือการจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติ เช่นในหุ้นกลุ่มธนาคาร อาจจะอนุญาตให้ต่างชาติถือได้เพียง 30% เท่านั้น
ทั้งนี้ทั้งนั้นเมื่อเวียดนามก้าวขึ้นเป็นตลาดพัฒนาแล้ว (Emerging Market) จะปลดล็อกในเรื่องของ Foreign Room ทำให้ต่างชาติสามารถเข้าซื้อเพิ่มได้ รองรับ Fund Flow จากกองทุนต่างประเทศ โดยเฉพาะจากตะวันตก
อ่านบทความ: 7 สิ่งที่ต้องรู้ ลงทุนเวียดนาม ปี 2023
ความเสี่ยงของเวียดนาม
- เป็นสังคมนิยม
เช่น ตัวอย่างที่เกิดขึ้นกับประเทศจีน เห็นได้ชัดว่านโยบายของผู้นำในแต่ละช่วงมีอิทธิพลสำคัญในการเติบโตของเศรษฐกิจจีน แต่ในทางกลับกันอาจจะเป็นอุปสรรคขัดขวางการเติบโตได้ อย่างนโยบายของสี จิ้นผิง ในช่วง Covid-19
- ค้าขายกับตะวันตก แต่อยู่ใกล้จีน
ความขัดแย้งของสหรัฐฯ และจีนนั้นส่งผลไปทั่วโลก เวียดนามนั้นเน้นที่จะคบค้ากับประเทศตะวันตกเป็นหลัก เห็นได้จากข้อตกลงการค้าเสรีที่มีกับชาติเหล่านี้อย่างครบถ้วน แต่ก็มีพรมแดนที่ติดกับจีน ซึ่งอาจจะเป็นปัญหาเช่นเดียวกับที่ไต้หวันประสบพบเจออยู่
เปรียบหุ้นไทยกับเวียดนาม ไทยมีเวียดนามก็มี
AOT กับ ACV
- AOT : Airport of Thailand Market Cap 1.01 ล้านล้านบาท
- ACV : Airports Corporation of Vietnam Market Cap 2.5 แสนล้านบาท
(ข้อมูลจาก investing.com | ณ วันที่ 22/07/66 โดยคำนวณจาก 1 THB = 687 VND)
ภาพจาก vietrade.gov.vn/ และ msfsaddons.com/ | ณ วันที่ 14/07/2566
CPN กับ VRE
- CPN : Central Pattana Market Cap 2.89 แสนล้านบาท
- VRE : Vincom Retail JSC Market Cap 9.45 หมื่นล้านบาท
(ข้อมูลจาก investing.com | ณ วันที่ 22/07/66 โดยคำนวณจาก 1 THB = 687 VND)
ภาพจาก vietnamnet.vn | ณ วันที่ 14/07/2566
การจัดพอร์ตหุ้นเวียดนาม 2 พอร์ตของ ดร.นิเวศน์
- พอร์ตหุ้น 100 ตัวที่คัดด้วยกลยุทธ์ Magic Formula
- พอร์ตหุ้นหลัก 8 ตัว Super Stock ประกอบด้วยกลุ่มหุ้นในอุตสาหกรรม ดังนี้
-
- เทคโนโลยี
- ค้าปลีก
- ห้างสรรพสินค้า
- ท่าอากาศยาน
- สาธารณูปโภค เช่น โรงไฟฟ้า เขื่อน ทางด่วน
- โรงพยาบาล เครือร้านขายยา
จะเห็นได้ว่า ตัดกลุ่มธนาคารและอสังหาริมทรัพย์ออก เนื่องจากเห็นตัวอย่างในไทยว่าทั้งสองกลุ่มนี้ไม่ค่อยเติบโตเท่าไรในระยะยาว
ส่องหุ้นหลัก 8 ตัวใน Core Port ของ ดร. นิเวศน์
- VN Diamond ETF
- FPT : FPT Corporation บริษัทเทคโนโลยี ซอฟต์แวร์
- MWG : Mobile World Group ค้าปลีกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
- REE : Refrigeration Electrical Engineering Corp สาธารณูปโภค
- ACV : Airport Corporation of Vietnam ท่าอากาศยาน
- VRE : Vincom Retail JSC ห้างสรรพสินค้า
- NT2 : PetroVietnam Power Nhon Trach 2 JSC โรงไฟฟ้า
- VSH : Vinh Son-Song Hinh Hydropower JSC เขื่อนพลังน้ำ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันตลาดหุ้นเวียดนามเต็มไปด้วยรายย่อยที่เก็งกำไรเสียเป็นส่วนใหญ่ ชอบหุ้นขนาดเล็กเพราะราคาถูก ง่ายต่อการเก็งกำไร
แต่หากมองดูที่พื้นฐานกิจการในระยะยาวแล้ว เราอาจจะได้เห็นหุ้นที่เป็น Super Stock เติบโตระเบิดในอนาคต รวมถึงหากคนเวียดนามเริ่มให้ความสำคัญกับการลงทุน อาจมีผลิตภัณฑ์ทางการเงิน เช่น SSF RMF มีการเปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนเพิ่ม รวมทั้งการมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบบที่ไทยเคยมีมา ทั้งหมดที่กล่าวไปเป็นวิวัฒนาการของประเทศกำลังพัฒนา ที่จำเป็นต้องมี เพื่อตอบสนองความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
หากซื้อและถือลงทุนในระยะยาว เวียดนามยังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้ในอีกสิบ ๆ ปี จึงเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไม ดร.นิเวศน์ ถึงได้มองเวียดนามดีเหลือเกิน
เพราะจากมุมมอง ดร.นิเวศน์ ที่เคยตีแตกหุ้นไทย ดูคล้ายว่ามันจะเกิดขึ้นซ้ำกับหุ้นเวียดนาม
มุมมองตลาดเวียดนามจาก Principal และ FINNOMENA
สถานการณ์ตลาดหุ้นในเวียดนามถือว่าดูดีขึ้นมาก จากที่ในปีก่อนได้มีความตึงเครียดเรื่อง Corporate Bond ที่มีแนวโน้มว่าจะผิดนัดชำระหนี้และมีการจับกุมผู้บริหาร อีกอย่างคือ คาดกันว่า GDP ไตรมาส 2 ของเวียดนามได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว ทำให้นักลงทุนรายย่อยที่มีสัดส่วนในตลาดหุ้นเวียดนามกว่า 90% กลับเข้ามาในตลาดอีกครั้ง
VN Index มีประมาณการกำไรอยู่ที่ 16% หากมาเจาะดูราย Sector จะเห็นได้ว่า หุ้นในกลุ่มสินค้าวัสดุก่อสร้างและธนาคารถือว่าเป็นตัวนำดัชนีขึ้นจากปีที่แล้ว แต่บางกลุ่มยัง Underperform เข่น Food & Beverage และ Real Estate
เวียดนามโดยภาพรวมยังเป็นอันดับต้น ๆ ของอาเซียน ทั้งในเรื่องการเติบโตเฉลี่ย 5 ปีหลัง (CAGR) อยู่ที่ 13.3% และ ROE ปี 2023 อยู่ที่ประมาณ 14%
สำรวจเวียดนาม จากการทำ Company Visit
- ภาคการบริโภค ยังคึกคัก แต่ว่าผู้บริโภคเริ่มใช้จ่ายประหยัดมากขึ้น เนื่องจากมีความกังวลเรื่องการจ้างงาน และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น อาทิ ดอกเบี้ยบ้าน
- ภาคอสังหาฯ กำลังฟื้นตัวจากเหตุการณ์ผิดนัดชำระหนี้หุ้นกู้ รวมถึงการจับกุมผู้บริหาร ซึ่งการฟื้นตัวเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างในอสังหาฯ ระดับกลางที่ฟื้นตัวจาก Real Demand ที่มีคนซื้อและอยู่อาศัย รวมทั้งยังมีลมหนุนจากภาครัฐที่ลดดอกเบี้ยไปแล้ว 1.5% ตั้งแต่ต้นปีซึ่งคาดว่าจะลดลงอีกภายในสิ้นปี
- การปรับลดดอกเบี้ยเงินฝาก เนื่องจากคนเวียดนามนิยมลงทุนอยู่ 3 อย่าง ได้แก่ อสังหาฯ ทองคำ และหุ้น เมื่อดอกเบี้ยเงินฝากลดลงจึงมีการโยกเงินจาก Fixed Income ไปยังหุ้น เป็นสาเหตุที่ทำให้ตลาดหุ้นกลับมาคึกคักอีกครั้ง
- บริษัท Technology มีบริษัทชั้นนำด้านเทคโนโลยี รวมถึงมีมหาวิทยาลัยผลิตเด็กจบใหม่ที่มีความรู้ทางด้าน IT ซึ่งค่าแรงในด้าน IT ของเวียดนามยังถูกกว่าอินเดียอยู่ประมาณ 10-15%
อ่านบทความ: อัปเดตมุมมอง ‘กองทุนหุ้นเวียดนาม’ ลุ้นไปต่อได้ไหม?
มุมมองต่อตลาดหุ้นเวียดนาม จาก FINNOMENA Investment Team
- ปัจจัยมหภาคดูดีขึ้น จากการสนับสนุนนโยบายการคลัง เช่น การลด VAT เพื่อกระตุ้นการบริโภค รวมถึงนโยบายการเงิน เช่น การลดอัตราดอกเบี้ยเพื่อเพิ่มสภาพคล่องแก่ระบบการเงิน
- แนวโน้มเศรษฐกิจเวียดนามเติบโตดีกว่าคาด จากภาคการบริโภคที่แข็งแกร่ง แม้จะโดนกดดันจากอุปสงค์ภายนอกที่อ่อนแอ ทำให้ภาคการผลิตและส่งออกของเวียดนามยังคงชะลอตัว
- การปรับประมาณการกำไรอ่อนแอกว่าหุ้นโลก
- แต่ Valuation อยู่ในระดับถูกมาก (deep value) ช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อการลงทุนในหุ้นเวียดนาม
FINNOMENA Investment Team แนะนำ ทยอยเข้าสะสมหุ้นเวียดนามผ่านกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A
ลงทุนในเวียดนาม ผ่านกองทุน PRINCIPAL VNEQ-A
สำหรับกองทุนแนะนำ FINNOMENA Pick ที่คัดเลือกมาแล้วโดย FINNOMENA Investment Team และเป็นกองทุนตามคำแนะนำ MEVT Call ได้แก่ PRINCIPAL VNEQ-A กองทุนเปิดพรินซิเพิล เวียดนาม อิควิตี้ ชนิดสะสมมูลค่า
PRINCIPAL VNEQ-A เป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในบริษัทจดทะเบียนของเวียดนามโดยตรง ใช้กลยุทธ์บริหารจัดการลงทุนแบบ Active Management คัดเลือกบริษัทที่เชื่อว่ามีศักยภาพการเติบโตในอนาคต จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6
ความพิเศษของ PRINCIPAL VNEQ-A จาก บลจ. พรินซิเพิล ถือเป็นกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นเวียดนามเป็นหลักกองทุนแรกในประเทศไทย โดยจดทะเบียนตั้งแต่ปี 2017 ทำให้มี tracking record มาอย่างยาวนาน ด้วยทีมผู้จัดการกองทุนที่มีประสบการณ์ ศึกษารายละเอียดกองทุนเพิ่มเติม คลิกที่นี่
ทรัพย์สินที่ PRINCIPAL VNEQ-A ลงทุน 5 อันดับแรก as of 30 Jun 2023, Source: principal.th
สามารถศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/
อ้างอิง
คำเตือน
การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทนและความเสี่ยง โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | กองทุนมีการลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม และประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”