กองทุน semiconductor

โลกในอนาคตที่คาดว่าจะเต็มไปด้วยนวัตกรรมล้ำสมัยที่เข้ามาปฏิวัติการใช้ชีวิตของมวลมนุษยชาติ จากในอดีตที่ผ่านมาเทคโนโลยีเติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดด และในปัจจุบันการมาของ Generative AI ก็ทำให้เรารู้สึกประหลาดใจอยู่ไม่น้อย เพราะ AI สามารถเรียนรู้และสร้างสรรค์ผลงานได้มีประสิทธิภาพทัดเทียมพอ ๆ กับที่มนุษย์ทำอยู่

ซึ่งนวัตกรรมที่ล้ำยุคต่าง ๆ เหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้ หากไม่มีฟันเฟือนสำคัญอย่าง ‘ไมโครชิป’ ที่ฝังอยู่ภายใน Microchip, Semiconductor หรือ Integrated Circuit หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า ‘ชิป’ 

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แทบทุกชนิดที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน ล้วนมีชิปเป็นส่วนประกอบด้วยกันทั้งสิ้น และไม่แน่ว่าอุปกรณ์ที่คุณกำลังใช้อยู่ ณ​ ตอนนี้ ก็อาจจะมีชิปอยู่ภายในก็เป็นได้

นอกจากด้านการใช้งานในอุปกรณ์ส่วนบุคคล ตัวชิปเองก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการแสดงถึงแสนยานุภาพด้านทางการทหาร เพราะชิปเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิตอาวุธที่ล้ำสมัย เช่น เครื่องบินรบ, เรือดำน้ำ และขีปนาวุธ ที่ควบคุมได้จากระยะไกล 

หากจะบอกว่าผู้ที่ครอบครองชิป ก็จะสามารถผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ล้ำสมัยก็คงไม่เกินจริงไปนัก ซึ่งอาจพูดได้ว่านี่คือสาเหตุของความขัดแย้งของประเทศมหาอำนาจอย่างจีน, สหรัฐฯ และไต้หวัน ในปัจจุบัน

ลงทุน Semiconductor

Semiconductor คืออะไร?

หากให้คำจำกัดความ Semiconductor คือ สารกึ่งตัวนำที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำไฟฟ้าและฉนวน

หากอธิบายให้เข้าใจง่าย ขอยกตัวอย่างจากการเปิด-ปิดไฟ 

  • ถ้าเราต้องการให้ไฟเปิดสว่างจ้า > ต้องใช้คุณสมบัติการนำไฟฟ้า
  • ในทางตรงกันข้ามหากต้องการปิดไฟ > ใช้คุณสมบัติความเป็นฉนวน
  • ซึ่งในไมโครชิปจะมี Transistor ที่เป็นตัวควบคุมการเปิด-ปิด คล้ายกับสวิซต์ไฟ

หลักการเหล่านี้ก็เป็นพื้นฐานของการทำงานของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความซับซ้อน 

สรุปง่าย ๆ ก็คือ ไม่ว่าจะเป็น PC หรือ Smartphone ที่มีวงจรที่สลับซับซ้อนอยู่ภายใน 

วงจรนั้น ๆ จะประกอบด้วย Transistor จำนวนมากที่ใช้ควบคุมสั่งการเปิด-ปิดกว่าหมื่นล้านตัว 

ด้วยพัฒนาการของชิปที่มีการต่อยอดมาตั้งแต่อดีต จึงทำให้สามารถลดขนาดชิปให้เล็กลงและสามารถประมวลผลได้ไวยิ่งขึ้น เรียกได้ว่าขนาดของ Transistor บนชิปในปัจจุบันนั้นเล็กจนน่าประหลาดใจเลยทีเดียว

อุตสาหกรรม Semiconductor ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

เราจะมาอธิบายเป็น Timeline ของอุตสาหกรรม Semiconductor ที่มีจุดเริ่มต้นในสหรัฐอเมริกา

  • ปี 1920s: มีการค้นพบว่า Silicon และ Germanium เป็นสารที่สามารถนำพาไฟฟ้า
  • ปี 1950s : นับว่าเป็นทศวรรษของการพัฒนาของ Semiconductor Robert Noyce ได้ทดลองโดยการใช้ Silicon แทน Germanium ในการสร้างวงจรรวมและเป็นต้นแบบที่ใช้มาจนถึงทุกวันนี้
  • ปี 1960s: Gordon Moore ค้นพบว่าสามารถลดขนาด Transistor ให้เล็กลงได้ ดังนั้นจึงสามารถเพิ่มจำนวน Transistor บนชิปได้มากยิ่งขึ้น จึงทำให้พลังการคำนวณของชิปเพิ่มขึ้นตามไปด้วยหรือที่เรียกว่า Moore’s law ซึ่งเขาคาดการณ์ว่าพลังการคำนวณของชิปนั้นจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า ทุก ๆ 2 ปี
  • ปี 1970s: Moore ได้เปลี่ยนการคาดการณ์ว่าประสิทธิภาพในการคำนวณของชิปนั้นจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ในทุก ๆ 2 ปี

พัฒนาการของ Semiconductor ก้าวกระโดดแค่ไหน?

ลงทุน Semiconductor

กฎของมัวร์กล่าวไว้ว่าประสิทธิภาพในการคำนวณของชิปจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในทุก ๆ 2 ปี สาเหตุมาจาก Transistor เพิ่มขึ้น 2 เท่า ในทุก ๆ 2 ปีเช่นเดียวกัน

สรุปคือสามารถผลิตชิปให้มีขนาดเล็กลงและประมวลผลไวขึ้น โดยใส่ Transistor ให้ซ้อนทับกันเป็นชั้น ๆ 

ลงทุน Semiconductor

รูปแสดงถึงจำนวน Transistor ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ภาพจาก wikipedia ณ วันที่ 17/06/2566

ในเรื่องของขนาด ต้องเรียกได้ว่าเล็กจนคาดไม่ถึง เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ขอยกตัวอย่างชิปที่อยู่ใน iPhone 14 pro ที่เปิดตัวในปี 2022 ขนาดของชิป A16 ที่ Apple ได้บอกไว้อยู่ที่ 4nm (คาดว่าเป็นระยะห่างระหว่าง Transistor) ซึ่งหากเทียบจากภาพด้านล่างจะเห็นได้ว่ามีขนาดเล็กยิ่งกว่าไวรัสเสียอีก

ลงทุน Semiconductor

ภาพจาก researchgate.net ณ วันที่ 17/06/2566

ลงทุน Semiconductor

ในปี 1961 ชิปในยุคเริ่มต้น มี Transistor 4 ตัว ภาพจาก chiphistory.org ณ วันที่ 17/06/2566

ลงทุน Semiconductor

ชิป A16 ที่ Apple เปิดตัวในปี 2022 มี Transistor 16,000 ล้านตัว ภาพจาก Apple Event ณ วันที่ 17/06/2566

ในทางกลับกันการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของชิปนั้นก็ตามมาด้วยต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น การที่จะควบคุมการผลิตชิปตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำนั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่าย

หนึ่งในสาเหตุสำคัญคือเครื่องมือที่ใช้ผลิตชิปนั้นต้องทันสมัยและตามมาด้วยเงินลงทุนที่สูงมาก ด้วยกฏของ Moore จึงแข่งกันเพื่อจะผลิตชิปให้เล็กลงในทุก ๆ 2 ปี เมื่อถึงจุดหนึ่งที่ไม่สามารถทำให้เล็กลงไปกว่านี้ได้แล้ว จำเป็นต้องลงทุนซื้อเครื่องจักรใหม่

ด้วยต้นทุนอันมหาศาลนี้จึงเป็นกำแพงที่คอยกันผู้เล่นหน้าใหม่ที่จะเข้ามาในอุตสาหกรรมชิป เหลือเพียงแค่ผู้เล่นยักษ์ใหญ่ที่มีเงินทุนหน้าตักมหาศาล

จากภาพด้านล่างที่แสดงถึง Supply Chain ของการผลิต Smartphone ที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนมากมาย หนึ่งในนั้นก็มีชิปรวมอยู่ด้วยเราจะเห็นได้ว่าแต่ละกระบวนการผลิตกระจายอยู่หลากหลายทวีปบนโลก

ลงทุน Semiconductor

ภาพจาก Boston Consulting Group ณ วันที่ 17/06/2566

  1. เริ่มกระบวนการออกแบบในสหรัฐโดยยึดตามสิทธิ์บัตรในยุโรป
  2. เครื่องมือในการผลิตที่ถูกพัฒนาขึ้นในสหรัฐฯ, ญี่ปุ่น และยุโรป
  3. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต จากสหรัฐฯ และส่งไปผลิตต่อที่ญี่ปุ่นและเกาหลี
  4. กระบวนการผลิตในไต้หวันและมาเลเซีย แล้วส่งต่อประกอบที่จีน

ด้วยช่องว่างเหล่านี้จึงมีบริษัทในอุตสาหกรรมชิป Semiconductor ที่ต่างก็มีแนวทางการประกอบธุรกิจที่แตกต่างกันออกไป 

ตัวอย่างหุ้น Semiconductor ระดับโลก

ลงทุน Semiconductor

TSMC (Taiwan Semiconductor)

ลงทุน Semiconductor

บริษัทสัญชาติไต้หวันยักษ์ใหญ่ที่เน้นในเรื่องของการรับผลิตชิปเพียงอย่างเดียว ด้วยความชำนาญในการผลิต มีโรงงานที่สร้างเป็นของตัวเอง รวมไปถึงเครื่องมือที่ทันสมัย จึงทำให้บริษัทที่ต้องการสร้างนวัตกรรมล้ำสมัยอย่าง Apple ก็มาจ้าง TSMC ผลิตชิปด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น iPhone iPad หรือ Macbook

ในปี 2022 ที่ผ่านมา TSMC

  • มี Market Cap. 15.27 ล้านล้านดอลลาร์ไต้หวัน
  • มีรายได้ 2.26 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์ไต้หวัน (+42.61% YoY) 
  • กำไรสุทธิ 1.02 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์ไต้หวัน (+70.40% YoY)

ข้อมูลจาก Google Finance ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2566

ศักยภาพของ TSMC ที่ผ่านมาสามารถลดขนาดชิปให้เล็กลงในทุก ๆ 2 ปีได้มาโดยตลอด

  • นับตั้งแต่ปี 2018 สามารถผลิต 7nm
  • ต่อมาในปี 2020 สามารถผลิต 5nm 
  • ถัดมาในปี 2021 สามารถผลิต 4nm 

และในปี 2025 ก็ตั้งเป้าไว้ว่าจะเริ่มผลิตที่ 2nm ซี่งถือว่าเป็นความท้าทายครั้งใหม่ของทาง TSMC เพราะการที่จะผลิตขนาดที่เล็กไปกว่า 3nm จำเป็นที่จะต้องใช้สถาปัตยกรรมใหม่ (จากเดิม FinFET เปลี่ยนเป็น Gate-All-Around) นอกจากนั้นต้องเปลี่ยนเครื่องที่ใช้สำหรับผลิตชิปด้วย

ทั้งนี้ก็ต้องมาดูกันว่า TSMC ยังจะสามารถยืนเป็นเบอร์ 1 ในการรับผลิตชิปได้ต่อไปหรือไม่

เพราะจากปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังมีปัญหาด้านความขัดแย้งของทั้ง 3 ประเทศ อย่างจีน, สหรัฐฯ และไต้หวัน ที่อาจจะลุกลามเป็นสงครามทางการค้าได้ในอนาคต

หากสนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในรายการ Alpha Investor | TSMC

ASML

ลงทุน Semiconductor

บริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการสร้างและพัฒนาเครื่องผลิตชิป หรือที่เรียกว่าเครื่อง EUV (Extreme Ultraviolet) ซึ่งใช้เวลาในการพัฒนากว่า 20 ปี และด้วยนวัตกรรนนี้จึงทำให้สามารถผลิตชิปที่ลดขนาด Transistor ได้เล็กลงกว่าเดิมและประหยัดพลังงานมากขึ้นด้วย 

ในปัจจุบันนี้ยังไม่มีบริษัทใดที่สามารถสร้างเครื่องผลิตชิปที่มีนวัตกรรมล้ำหน้าได้ทัดเทียมกับ ASML จึงเป็นเพียงบริษัทเดียวที่ครอง Market Share กว่า 90% เลยที่เดียว ถือว่าเป็นต้นนำ้ของการผลิตชิปอย่างแท้จริง

โดยทาง ASML ได้พัฒนาต่อยอดเครื่อง High-NA EUV ที่สามารถย่อความละเอียดของวงจรได้ถึง 2nm ซึ่งลูกค้าหลักอย่าง TSMC, Intel และ Samsung ที่ต้องการผลิตชิปที่ล้ำสมัย ต่างก็ต้องสั่งจองเครื่องผลิตล่วงหน้าจาก ASML เป็นปี ๆ

ในปี 2022 ที่ผ่านมา ASML

  • มี Market Cap. 15.27 ล้านยูโร
  • มีรายได้ 21,170 ล้านยูโร (+13.77% YoY) 
  • กำไรสุทธิ 5,620 ล้านยูโร (-4.40% YoY)

ข้อมูลจาก Google Finance ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2566

Apple

ลงทุน Semiconductor

นับตั้งแต่ปี 2007 ที่ได้เปิดตัว iPhone เครื่องแรก จากนั้นเป็นต้นมาผลิตภัณฑ์ของ Apple ก็ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการใช้ชีวิต และถือว่าประสบความสำเร็จอย่างล้นหลาม 

ในงานประชุมประจำปี Berkshire Hathaway 2023 Warren Buffett ได้พูดถึง Apple บริษัทที่เขาลงทุนไปกว่า 40% ของพอร์ต
Buffett กล่าวว่า “ถ้าให้เลือกว่าจะให้ยึดรถหรือยึด iPhone ส่วนมากยอมให้รถไปดีกว่า” 
แสดงให้เห็นว่า Smartphone นั้นเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำของมนุษย์เราแบบที่ขาดไม่ได้

ในปี 2022 ที่ผ่านมา Apple

  • มี Market Cap. 2.91 ล้านล้านดอลลาร์
  • มีรายได้ 394,330 ล้านเหรียญ (+7.79% YoY)
  • กำไรสุทธิ 99,800 ล้านเหรียญ (+5.41% YoY)

ข้อมูลจาก Google Finance ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2566

ถึงจะเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ Apple ก็ไม่ได้มีโรงงานในการผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ เป็นของตนเอง ขั้นตอนแรกคือการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ฟลอริดา สหรัฐฯ แล้วจึงส่งต่อให้เจ้าอื่นผลิตและประกอบ เพื่อให้ได้เทคโนโลยีที่ดีที่สุดและต้นทุนที่ต่ำที่สุด 

ทั้งนี้ รวมไปถึงชิปภายในอุปกรณ์ Apple ที่ถูกออกแบบในสหรัฐฯ และส่งต่อให้ทางบริษัท TSMC ผลิตตามที่ถูกออกแบบมา

สนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในรายการ Alpha Investor | Apple

Nvidia

ลงทุน Semiconductor

บริษัทที่เป็นกระแสพูดถึงมากในช่วงนี้ เพราะได้กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่า 1 ล้านล้านเหรียญไปเป็นที่เรียบร้อย ตั้งแต่เริ่มปี 2023 NVIDIA เป็นบริษัทที่ Outperform มากที่สุดในบรรดาบริษัทใน S&P500

ธุรกิจของ NVIDIA แน่นอนว่าใครที่เป็นสาย Gamer ต้องรู้จักอย่างแน่นอน ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ยอดฮิตอย่างการ์ดจอ GPU NVIDIA Geforce ที่ติดตลาด Gaming มาอย่างยาวนาน

โดยรายได้จากธุรกิจ Gaming คิดเป็น 32% ของรายได้ทั้งหมด แต่อีกหนึ่งธุรกิจที่มาแรงแซงหน้า Gaming ก็คือธุรกิจ Data Center คิดเป็น 60% ของรายได้ 

เรียกได้ว่าเป็นธุรกิจใหม่ที่เริ่มทำรายได้ให้กับ NVIDIA และนอกเหนือจากนี้ยังมีธุรกิจชิปประมวลผลสำหรับรถยนต์ ที่คาดว่าจะรองรับการมาถึงของ EV Car ในอนาคต

ในปี 2022 ที่ผ่านมา NVIDIA

  • มี Market Cap. 1.05 ล้านล้านดอลลาร์
  • มีรายได้ 26,970 ล้านเหรียญ (+0.22% YoY)
  • กำไรสุทธิ 4,370 พันล้านเหรียญ (-55.21% YoY)

ข้อมูลจาก Google Finance ณ วันที่ 17 มิถุนายน 2566

ทั้งนี้ ก็ต้องมาดูกันว่าทิศทางของ NVIDIA ในอนาคตจะเป็นอย่างไร และรายได้ของ NVIDIA ในปี 2023 จะเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด เมื่อเทียบกับราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นจากความคาดหวังของผู้ลงทุน

หากสนใจสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในรายการ Alpha Investor | NVIDIA

เจาะลึกกองทุน Semiconductor

กองทุน semiconductor

หากใครที่มองเห็นโอกาสไปกับอุตสาหกรรมที่กำลังขับเคลื่อนโลกยุคใหม่ และอยากลงทุนในธุรกิจ Semiconductor 

หนึ่งในทางเลือกที่ทำได้ก็คือการลงทุนผ่านกองทุนรวม ไม่ว่าจะเป็นกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในธีม Semiconductor โดยตรง รวมถึงกองทุนที่มี Key Player เป็นธุรกิจ Semiconductor อยู่ใน Top Holdings ของกองทุน 

โดยกองทุนไทยในธีม Semiconductor ปัจจุบันมีเลือกจากหลากหลาย บลจ. ได้แก่ 

SCBSEMI บลจ. ไทยพาณิชย์

เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ VanEck Vectors Semiconductor UCITS ETF ซึ่งลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่สร้างรายได้จาก Semiconductor อย่างน้อย 50% ของรายได้ทั้งหมด 

LHSEMICON บลจ. แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์

เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมในต่างประเทศ iShares Semiconductor ETF ที่ประกอบไปด้วยบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ ที่ออกแบบ ผลิต และจัดจำหน่าย Semiconductor

KKP SEMICON บลจ. เกียรตินาคินภัทร (FINNOMENA PICK)

เน้นลงทุนใน iShares Semiconductor ETF ซึ่งลงทุนในบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐฯ และมีขนาด Market Cap. ใหญ่ที่สุด 30 บริษัทแรก โดยครอบคลุมทั้งอุตสาหกรรมการใช้งาน Semiconductor และมีการกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม

DAOL-EVOSEMI บลจ. ดาโอ (อยู่ในพอร์ต BIC – Global Technology)

เน้นลงทุนในกองทุนรวม ETF ต่างประเทศที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของความเชื่อมโยงเครือข่ายทางธุรกิจของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductors Business Ecosystem) โดยกระจายการลงทุนในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลก ซึ่งปัจจุบันได้ลงทุนผ่าน iShares PHLX Semiconductor ETF, VanEck Vectors Semiconductor UCITS ETF และ Invesco Dynamic Semiconductors ETF 

สามารถศึกษาข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ www.finnomena.com/funds


แหล่งข้อมูลอ้างอิง

คำเตือน

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในในหมวดอุตสาหกรรม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

TSF2024