Highlight (คลิกเลือกหัวข้อที่สนใจได้เลย)


หากเราลองจินตนาการถึงโลกที่ปราศจากสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ หรือรถยนต์ไฟฟ้า มันคงเป็นโลกที่ลำบากน่าดู การติดต่อสื่อสารจะกลายเป็นเรื่องยุ่งยาก การทำงานที่ช้าลง และการเข้าถึงข้อมูลจะจำกัดอยู่เพียงตำราเรียนหรือห้องสมุด ซึ่งอาจดูเหมือนเป็นเรื่องไกลตัว แต่รู้หรือไม่ว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ล้วนขับเคลื่อนด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดจิ๋วที่เรียกว่า “เซมิคอนดักเตอร์” ซึ่งเปรียบเสมือนสมองของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด 

เซมิคอนดักเตอร์: หัวใจสำคัญของอนาคต

เซมิคอนดักเตอร์ถือเป็นหัวใจสำคัญใจของเทคโนโลยีสมัยใหม่ เนื่องจากเป็นวัสดุสำคัญที่ใช้ทำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รวมถึงแผงวงจรต่าง ๆ และมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมใหม่ ๆ ตั้งแต่สมาร์ทโฟน รถยนต์ไฟฟ้า ไปจนถึงระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทำให้ความต้องการเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกเติบโตอย่างต่อเนื่อง

โดยสมาคมอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor Industry Association) หรือ SIA คาดการณ์ว่ามูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้นกว่า 100% ในช่วงปี 2020-2030 จาก 4.67 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 16 ล้านล้านบาท) เป็น 9.4 แสนนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 32 ล้านล้านบาท) ซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูงกว่าอัตราการเติบโตของ GDP โลกเสียอีก

โอกาสการลงทุนในเซมิคอนดักเตอร์ กับกองทุน SCBSEMI(A)

กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Semiconductor (ชนิดสะสมมูลค่า) หรือ SCBSEMI(A) เป็นกองทุนรวมหุ้นประเภท Feeder Fund ซึ่งมีนโยบายลงทุนในหุ้นกลุ่มอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นสหรัฐอเมริกา

โดยลงทุนผ่านกองทุนหลัก VanEck Semiconductor UCITS ETF ที่มุ่งเน้นสร้างผลตอบแทนให้เคลื่อนไหวตามดัชนี MVIS US Listed Semiconductor 25 Index (Passive) โดยดัชนีดังกล่าวจะคัดเลือกบริษัทเซมิคอนดักเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และมีสภาพคล่องสูงที่สุดจำนวน 25 บริษัท

ทั้งนี้ กองทุนหลักมีกลยุทธ์การคัดเลือกหุ้นด้วยการโฟกัสที่ธุรกิจตั้งแต่ต้นน้ำยันปลายน้ำ แล้วเลือกมาเฉพาะ บริษัทขนาดใหญ่ที่มี Market Cap สูงกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 6.83 แสนล้านบาท) โดยสัดส่วนของบริษัทดังกล่าวมีมากถึง 98.6% ของพอร์ต 

สิ่งที่น่าสนใจคือ กองทุนหลักมีการลงทุนแบบกระจุกตัวมากกว่ากองทุนหุ้นเซมิคอนดักเตอร์อื่น โดยสัดส่วน Top 5 Holdings อยู่ที่ 50.52% และ Top 10 Holdings ที่ 74% ทำให้หากหุ้นกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ปรับฟื้นตัวขึ้นมา จะสามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่ากองทุนหุ้นเซมิคอนดักเตอร์อื่น ๆ

รายละเอียดอื่น ๆ ของ SCBSEMI(A)

  • ความเสี่ยงระดับ 7 : เสี่ยงสูง (กองทุนรวมหุ้นหมวดอุตสาหกรรม) ลงทุนในหุ้น โดยเน้นเพียงบางหมวดอุตสาหกรรมโดยเฉลี่ยในรอบปี ไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
  • นโยบายการจ่ายเงินปันผล ไม่จ่าย
  • มีการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน 67.14%
  • มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อครั้งแรก: 1 บาท
  • มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อครั้งถัดไป: 1 บาท
  • ค่าธรรมเนียมขาย (Front-end Fee) 1.07%
  • ค่าธรรมเนียมรับซื้อคืน (Back-end Fee) ไม่มี
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ (Management Fee) 1.07% ต่อปี
  • รวมค่าใช้จ่าย 1.17% ต่อปี

ข้อมูลจากหนังสือชี้ชวนส่วนสรุปข้อมูลสำคัญ ณ วันที่ 30/06/2024

ศึกษารายละเอียดของกองทุนเพิ่มเติมได้ที่ https://www.finnomena.com/fund/

ทำความรู้จักกองทุนหลัก VanEck Semiconductor UCITS ETF

กองทุน VanEck Semiconductor ETF มุ่งหวังที่จะลงทุนในหุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในสหรัฐอเมริกา ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการออกแบบ การผลิต หรือการขายเซมิคอนดักเตอร์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือบริการที่เกี่ยวข้อง

โดยข้อมูลที่น่าสนใจของ VanEck Semiconductor UCITS ETF มีดังนี้

  • เป็น ETF เซมิคอนดักเตอร์แรกของยุโรป
  • เลือกเฉพาะหุ้นเซมิคอนดักเตอร์ Pure-play ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับรายได้อย่างน้อย 50% จากเซมิคอนดักเตอร์ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
  • มูลค่าสินทรัพย์ทั้งหมดภายใต้การจัดการ (AUM) 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 9 หมื่นล้านบาท) ณ วันที่ 20/08/2024
  • ไม่รวมบริษัทที่ละเมิดหลักการ UN Global Compact Principles อย่างร้ายแรง หรือได้รับรายได้ใด ๆ จากอาวุธซึ่งเป็นที่ถกเถียงในสังคม (Controversial Weapons) ตามข้อมูลของ ISS-ESG ซึ่งเป็นมาตรฐาน ESG ระดับสากลที่ได้รับการยอมรับจากนักลงทุนสถาบันมากที่สุดในโลก
  • ไม่รวมบริษัทที่ได้รับรายได้มากกว่า 5% จากภาคส่วนต่อไปนี้ เชื้อเพลิงถ่านหิน เชื้อเพลิงฟอสซิล ทรายน้ำมัน (Oil Sand) พลังงานนิวเคลียร์ อาวุธปืนสำหรับพลเรือน ยุทโธปกรณ์ทางทหาร และยาสูบ

กลยุทธ์การลงทุน

กองทุน VanEck Semiconductor ETF เลือกหุ้นที่จะลงทุนโดยใช้กระบวนการคัดกรองแบบหลายขั้นตอน ดังนี้

  • ขั้นตอนแรก กองทุนจะพิจารณาขนาดของบริษัท มูลค่าตลาด และสภาพคล่อง
  • ขั้นตอนที่สอง กองทุนจะวิเคราะห์ปัจจัยทางการเงินของบริษัท เช่น รายได้ กำไร และอัตรากำไรขั้นต้น
  • ขั้นตอนที่สาม กองทุนจะประเมินคุณภาพของการจัดการของบริษัท กลยุทธ์ทางธุรกิจ และโอกาสการเติบโต

เจาะข้อมูลบริษัท Top 5 Holdings

*ข้อมูล ณ วันที่ 20 สิงหาคม 2024

1. Broadcom Inc (AVGO) 11.93%

Broadcom เป็นบริษัทข้ามชาติชั้นนำระดับโลกที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ พัฒนา และจัดหาโซลูชันเซมิคอนดักเตอร์ที่หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านวงจรรวมดิจิทัลและอนาล็อกที่ซับซ้อน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่มากมาย

ปัจจุบัน Broadcom มีธุรกิจอยู่ 2 ส่วนหลัก ๆ นั่นคือ

  1. ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ (Semiconductor)
  2. ธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานด้านซอฟต์แวร์ (Software Infrastructure)

โดย Broadcom จะทำทั้งธุรกิจรับออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์เหล่านี้ แล้วจึงส่ง Outsource ว่าจ้างให้โรงงานข้างนอกผลิตให้อีกทีหนึ่ง

ผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมและมีส่วนแบ่งตลาดสูง

– Optical Mouse Sensor

Broadcom เป็นผู้นำในการพัฒนาและผลิตเซ็นเซอร์แสงสำหรับตรวจจับการเคลื่อนไหวของเมาส์แบบออปติคัล ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ปฏิวัติวงการคอมพิวเตอร์ ทำให้เมาส์มีความแม่นยำและใช้งานง่ายขึ้น โดยเมาส์ไร้สายที่เราใช้งานอยู่ทุกวันนี้ก็ใช้เทคโนโลยี Optical Mouse Sensor ที่พัฒนาจาก Broadcom

– ชิป ASIC (Application Specific Integrated Circuit) 

ASIC หรือ Application Specific Integrated Circuit คือชิปวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ถูกออกแบบมาให้ทำงานเฉพาะเจาะจงสำหรับแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น ศูนย์ข้อมูล (Data Center) ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการขุดคริปโตเคอร์เรนซี ไม่เหมือนกับชิปทั่วไปที่ออกแบบมาให้ทำงานได้หลากหลาย

– FBAR Filters (Film Bulk Acoustic Resonator Filters)

FBAR Filters ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญในการกรองสัญญาณความถี่ โดยเฉพาะสำหรับสมาร์ทโฟนที่รองรับ 5G ช่วยให้สมาร์ทโฟนสามารถรับส่งสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

2. Nvidia Corp (NVDA) 10.92%

Nvidia (NVDA) เป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลก ที่มุ่งเน้นพัฒนาชิปประมวลผลกราฟิก (GPU) หรือที่เรียกกันว่าการ์ดจอ และเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งผลิตภัณฑ์ของ Nvidia ถูกนำไปใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น เกมมิ่ง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ศูนย์ข้อมูล และยานยนต์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ Nvidia ที่เน้นการผลิต GPU ครองส่วนแบ่งการตลาดไปถึง 88% (ข้อมูล ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2024)

ธุรกิจหลักของ Nvidia สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

  • เกมมิ่ง

การ์ดจอ GeForce เป็นผลิตภัณฑ์ที่โด่งดังที่สุดของ Nvidia โดยถูกออกแบบมาเพื่อมอบประสบการณ์การเล่นเกมที่สมจริงและราบรื่นให้กับเกมเมอร์ทั่วโลก

  • ศูนย์ข้อมูล (Data Center)

Nvidia ผลิตชิป GPU ที่ทรงพลังเพื่อใช้ในการประมวลผลด้าน AI เช่น การเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และการเรียนรู้เชิงลึก (Deep Learning) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนานวัตกรรมในหลากหลายอุตสาหกรรม

  • ยานยนต์

Nvidia พัฒนาแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในรถยนต์ไร้คนขับ และรถยนต์ที่มีระบบช่วยเหลือผู้ขับขี่ หรือ ADAS (Advanced Driver Assistance Systems) ซึ่งชิป GPU ของ Nvidia ช่วยให้รถยนต์สามารถรับรู้สภาพแวดล้อมพร้อมทั้งตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

  • วิทยาศาสตร์และการแพทย์:

Nvidia ได้สร้าง New S-Curve ด้วยการรุกธุรกิจการแพทย์ โดยนำเทคโนโลยี GPU ไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เช่น การวิเคราะห์ข้อมูลทางชีววิทยา การพัฒนายา และการวินิจฉัยโรค

3. Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC) 10.69%

TSMC หรือ Taiwan Semiconductor Manufacturing Company เป็นบริษัทข้ามชาติสัญชาติไต้หวัน ที่เชี่ยวชาญด้านการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์แบบครบวงจร อีกทั้งยังเป็นบริษัทผู้ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์รายใหญ่ที่สุดในโลก มีส่วนแบ่งการตลาดธุรกิจกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์สูงถึง 55.6%

แม้ว่า TSMC จะไม่ได้ออกแบบชิปเอง แต่ลูกค้าที่ TSMC รับผลิตชิปให้ก็เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ชั้นนำระดับโลกทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น Apple Qualcomm AMD หรือ Nvidia สะท้อนถึงความเป็นผู้นำและความสำคัญของ TSMC ในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์

ธุรกิจหลักของ TSMC

  • ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์

ธุรกิจหลักของ TSMC คือการผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ให้กับลูกค้ารายใหญ่ทั่วโลก โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง

  • พัฒนาเทคโนโลยีการผลิต 

TSMC มุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตชิปอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ชิปที่มีขนาดเล็กลง ประสิทธิภาพสูงขึ้น และตอบสนองความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว

ผลิตภัณฑ์และบริการที่โดดเด่น

TSMC ผลิตชิปเซมิคอนดักเตอร์ที่หลากหลายเพื่อรองรับกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่ เช่น

– สมาร์ทโฟน: ชิป A-series สำหรับ iPhone และ iPad ของ Apple

– คอมพิวเตอร์: ชิปสำหรับคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อปและโน้ตบุ๊กของ AMD และ Nvidia

– อุปกรณ์ IoT (Internet of Things) : เซ็นเซอร์ แกดเจ็ตอัจฉริยะ (Smart Gadget) และอุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ (Smart Wearable)

ยานยนต์: ชิปสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าและรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

ปัจจุบัน TSMC ได้ผลิตชิปมากกว่า 10,000 รายการ ให้กับลูกค้ามากกว่า 500 ราย โดยมีโรงงานผลิตชิปตั้งอยู่ในไต้หวัน จีน สหรัฐฯ และยังมีแผนที่จะขยายโรงงานไปยังเยอรมันและญี่ปุ่นอีกด้วย 

นอกจากนี้ TSMC ยังมีความสามารถในการผลิตชิปให้มีขนาดเล็กลงไปถึง 3 นาโนเมตร ซึ่งถือว่าล้ำสมัยที่สุดในตอนนี้ ทำให้ชิปมีขนาดเล็กลง ประสิทธิภาพสูงขึ้น และประหยัดพลังงาน

4. ASML Holding NV (ASML) 9.31%

ASML เป็นบริษัทข้ามชาติ สัญชาติดัตช์ ที่เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาและผลิตเครื่องจักรสำหรับพิมพ์ลายลงบนชิปเซมิคอนดักเตอร์ให้แก่บริษัทผู้ผลิตชิปทั่วโลก เช่น TSMC Samsung และ Intel เป็นต้น

โดยเฉพาะเครื่องจักรที่เรียกว่า “EUV Lithography” ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการผลิตชิปสมัยใหม่ทุกตัวที่เราใช้กันอยู่ในปัจจุบัน และส่งผลให้ ASML สามารถครองส่วนแบ่งการตลาดเครื่องผลิตชิปเป็นอันดับ 1 ของโลกที่ราว 80%

เครื่องผลิตชิปที่ ASML ขาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้

  1. เครื่อง Deep Ultraviolet Lithography (DUV) มีราคาต่อเครื่องเฉลี่ยราว 950 ล้านบาท มักใช้กับการผลิตชิปทั่วไป เช่น ชิปในอุปกรณ์ Internet of Things (IoT) และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
  2. เครื่อง Extreme Ultraviolet Lithography (EUV) มีราคาต่อเครื่องเฉลี่ยราว 6,700 ล้านบาท ซึ่งเป็นเครื่องที่มีความละเอียดสูงกว่าเครื่อง DUV และปัจจุบันมีเพียง ASML เจ้าเดียวในโลกที่ทำ โดยสามารถพิมพ์ลวดลายที่ซับซ้อนลงบนชิป มักใช้ในการผลิตชิปขั้นสูงซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 7 นาโนเมตรลงไป เช่น ชิปในสมาร์ทโฟน เป็นต้น 

ปัจจุบัน ASML เป็นผู้คิดค้นเทคโนโลยี Extreme Ultraviolet Lithography (EUV) ในเครื่องผลิตชิปแต่เพียงผู้เดียวในโลก ใช้สำหรับการผลิตชิปขั้นสูง ซึ่งถือเป็นจุดแข็งที่สุดของบริษัท ทำให้เป็นผู้ผูกขาดตลาดเครื่องผลิตชิปอย่างแท้จริง โดยครองส่วนแบ่งการตลาดกว่า 80% ทั่วโลก

5. Advanced Micro Devices Inc (AMD) 8.13%

AMD หรือ Advanced Micro Devices เป็นบริษัทเทคโนโลยีข้ามชาติสัญชาติอเมริกัน ที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อ CPU 

นอกจากนี้ AMD ยังออกแบบและผลิตหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) และผลิตภัณฑ์เซมิคอนดักเตอร์อื่น ๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เซิร์ฟเวอร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ อีกด้วย

ธุรกิจหลักของ AMD

  • ไมโครโปรเซสเซอร์ (CPU)

AMD ผลิต CPU ที่ใช้ในคอมพิวเตอร์เดสก์ท็อป โน้ตบุ๊ก รวมถึงเซิร์ฟเวอร์ โดยมีผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่นอย่าง Ryzen ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไป และการโอเวอร์คล็อก (การปรับให้เครื่องทำงานได้เร็วกว่าสเปคที่ระบุมา โดยเพิ่มความเร็ว CPU หรือ GPU) เนื่องจากมีประสิทธิภาพสูงและราคาที่คุ้มค่า

  • หน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU)

การ์ดจอ Radeon ของ AMD เป็นคู่แข่งโดยตรงกับ Nvidia GeForce การ์ดจอเหล่านี้ถูกนำไปใช้ในคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกมส์ คอมพิวเตอร์สำหรับงานกราฟิก และศูนย์ข้อมูล

  • ชิปเซ็ต 

AMD ผลิตชิปเซ็ตที่ใช้ควบคุมการทำงานของส่วนประกอบต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ เช่น หน่วยความจำ และอุปกรณ์ต่อพ่วง

  • โซลูชั่นด้านศูนย์ข้อมูล (Data Center Solutions)

AMD พัฒนาโซลูชันสำหรับศูนย์ข้อมูล ซึ่งรวมถึงโปรเซสเซอร์และชิปเร่งความเร็ว เพื่อรองรับการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่และงานด้าน AI

ผลิตภัณฑ์ที่โดดเด่น

– Ryzen: ซีรีส์โปรเซสเซอร์ (CPU) สำหรับคอมพิวเตอร์ โดย Ryzen ได้รับการออกแบบมาเพื่อแข่งขันกับ Intel Core โดยตรง

– Radeon: การ์ดจอสำหรับคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเร่งประสิทธิภาพการแสดงผลกราฟิก ทำให้สามารถเล่นเกม วิดีโอ หรือทำงานด้านกราฟิกได้อย่างราบรื่นและสวยงามมากขึ้น โดย Radeon เป็นคู่แข่งโดยตรงกับ GeForce ของ Nvidia

– EPYC: ซีรีส์ของโปรเซสเซอร์ (CPU) สำหรับเซิร์ฟเวอร์ที่ออกแบบมาเพื่อออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการในการประมวลผลข้อมูลขนาดใหญ่และซับซ้อน จากศูนย์ข้อมูล คลาวด์ และระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์

สรุปจุดเด่นที่น่าสนใจของ SCBSEMI(A)

  • ตลาดใหญ่และโตเร็ว 

อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์มีแนวโน้มเติบโตสูงมากในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยคาดว่ามูลค่าตลาดจะเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เนื่องจากความต้องการชิปที่เพิ่มขึ้นในหลากหลายอุตสาหกรรม

  • มี Barrier to Entry

ธุรกิจผลิตชิปนั้นมีความซับซ้อนสูง มีเทคโนโลยีที่เป็นเอกลักษณ์ และยังถูกใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรมที่เป็น Mega Trends ของโลก ถือเป็นข้อได้เปรียบทางการแข่งขันทำให้บริษัทสามารถครองตลาดและเติบโตได้ในระยะยาว

  • ผลตอบแทนสูงเมื่อตลาดดี

เนื่องจากกองทุนมีการลงทุนแบบกระจุกตัวในหุ้นขนาดใหญ่ โดย Top 5 Holdings อยู่ที่ 50.52% ทำให้เมื่อตลาดหุ้นเซมิคอนดักเตอร์ปรับตัวดีขึ้น กองทุนนี้ก็มีโอกาสสร้างผลตอบแทนที่สูงกว่ากองทุนหุ้นเซมิคอนดักเตอร์อื่น ๆ


ที่มา: Vaneck, SET Investnow, Finnomena, SCBAM

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

TSF2024