Highlight


เคยคิดเล่น ๆ ไหมว่า ถ้าเรามีโอกาสย้อนเวลากลับไปในยุคที่อินเทอร์เน็ตเพิ่งเริ่มต้น เราจะลงทุนอะไร? ในยุคนั้นบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่เราคุ้นเคยอย่าง Google, Amazon หรือ Microsoft กำลังเริ่มต้นจากศูนย์ และใครที่จะมองเห็นศักยภาพของเทคโนโลยีนี้ ก็มีโอกาสที่จะกลายเป็นมหาเศรษฐีได้อย่างง่ายดาย

จำได้ไหมว่าครั้งหนึ่งอินเทอร์เน็ตเคยเป็นเทคโนโลยีที่ดูลึกลับและเข้าถึงยาก? วันนี้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของเราไปแล้ว บล็อกเชนก็กำลังก้าวตามรอยอินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้น และยังมีศักยภาพที่จะปฏิวัติระบบเศรษฐกิจ รวมถึงสังคมของเราในระดับที่ลึกซึ้งยิ่งกว่า

บทความนี้จะพาคุณไปสำรวจโอกาสในการลงทุนของบล็อกเชน และทำความเข้าใจถึงศักยภาพที่ซ่อนอยู่ภายใต้เทคโนโลยีแห่งอนาคตที่น่าจับตามองที่สุดในยุคนี้

บล็อกเชน: เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอนาคต

บล็อกเชน คือ เทคโนโลยีการจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์ที่เชื่อมโยงกันเป็นห่วงโซ่ โดยข้อมูลแต่ละชิ้นจะถูกบันทึกใน “บล็อก” และบล็อกเหล่านี้จะถูกเชื่อมโยงกันเป็น “เชน” ทำให้ข้อมูลมีความปลอดภัยสูงและตรวจสอบย้อนกลับได้ยาก เนื่องจากการแก้ไขข้อมูลในบล็อกเชนต้องได้รับการยืนยันจากสมาชิกในเครือข่ายทั้งหมด

ทำไมโลกถึงต้องการบล็อกเชน?

  • ความโปร่งใส: ทุกคนในเครือข่ายสามารถตรวจสอบข้อมูลได้ ทำให้มีความโปร่งใสและน่าเชื่อถือ
  • ความปลอดภัย: ข้อมูลถูกกระจายไปยังหลาย ๆ เครื่อง ทำให้การเจาะระบบและแก้ไขข้อมูลเป็นเรื่องยาก
  • ตรวจสอบย้อนกลับได้: สามารถตรวจสอบประวัติการทำธุรกรรมได้อย่างละเอียด ทำให้เกิดความน่าเชื่อถือ
  • ลดต้นทุน: ลดการพึ่งพาตัวกลาง ทำให้ลดต้นทุนในการทำธุรกรรม


บล็อกเชนแก้ปัญหาอะไรได้บ้าง?

ในอดีต ระบบการจัดเก็บข้อมูลแบบรวมศูนย์มักประสบปัญหาเรื่องความซับซ้อน ค่าใช้จ่ายสูง และการขาดความโปร่งใส บล็อกเชนเข้ามาช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ โดยเฉพาะในด้านการเงิน ธุรกรรม และการจัดการเอกสาร

ทำไมบล็อกเชนถึงน่าลงทุนตอนนี้?

คาดการณ์ขนาดตลาดบล็อกเชนทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2022 – 2032 | ที่มา: market.us | ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2024

นึกถึงตอนที่อินเทอร์เน็ตเพิ่งเริ่มเป็นที่นิยม ทุกคนต่างตื่นเต้นกับความเป็นไปได้ใหม่ ๆ แต่ยังไม่มีใครรู้ว่ามันจะเปลี่ยนโลกได้มากขนาดไหน 

บล็อกเชนเองก็เช่นกัน มันไม่ใช่แค่เทคโนโลยีธรรมดา แต่คือโครงสร้างพื้นฐานที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าของโลกดิจิทัล เหมือนกับที่อินเทอร์เน็ตเคยทำมาแล้วในช่วงปี 2000 เรียกได้ว่าบล็อกเชนคือเส้นทางสายไหม (Silk Road) ในโลกไซเบอร์ที่จะเชื่อมต่อทุกอย่างเข้าด้วยกันอย่างปลอดภัยและโปร่งใส

ตอนนี้บล็อกเชนยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น เหมือนกับอินเทอร์เน็ตในยุค Y2K ที่หลายคนยังสงสัยว่ามันจะไปรอดหรือไม่? จะเป็นแค่ของเล่นสำหรับสาย IT หรือเปล่า? แต่เราก็รู้กันแล้วว่าเกิดอะไรขึ้นกับอินเทอร์เน็ตหลังจากช่วงปี 2000 เป็นต้นมา

นี่คือโอกาสสำหรับนักลงทุนที่มองการณ์ไกล เพราะในอนาคตเรามีโอกาสได้เห็นการเติบโตแบบพุ่งทะยานของเทคโนโลยีบล็อกเชน เหมือนกับที่เราเคยเห็นบริษัทอินเทอร์เน็ตยักษ์ใหญ่เติบโตอย่างก้าวกระโดด

บล็อกเชน: กุญแจสู่โลกดิจิทัลเต็มรูปแบบ

เทคโนโลยีบล็อกเชนได้ปฏิวัติวงการเทคโนโลยีและการเงินอย่างมาก ทำให้เกิดสินทรัพย์ดิจิทัลรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า Digital Asset ซึ่งกำลังได้รับความสนใจทั่วโลก

เทคโนโลยีบล็อกเชนได้ปฏิวัติโลกดิจิทัล สร้างโอกาสใหม่ ๆ ให้กับสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ ๆ โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา กระแสของคริปโตเคอร์เรนซีได้จุดประกายความสนใจทั่วโลก และผลักดันให้เกิดสินทรัพย์ดิจิทัลหลากหลายรูปแบบที่น่าจับตามอง

Digital Asset: มากกว่าแค่คริปโตเคอร์เรนซี

Digital Asset คือ สินทรัพย์ดิจิทัลที่แทนสินทรัพย์ที่มีอยู่จริงในโลกแห่งความเป็นจริง แต่ถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล ทำให้สามารถซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ง่ายและรวดเร็ว ผ่านระบบออนไลน์โดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง เช่น ธนาคาร

ทั้งนี้ Digital Asset แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

  1. Cryptocurrency หรือสกุลเงินดิจิทัล ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน เช่น Bitcoin, Ethereum
  2. Digital Token แบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภท คือ

2.1) Investment Token หรือโทเคนเพื่อการลงทุน สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิในการร่วมลงทุน เช่น สิทธิในส่วนแบ่งรายได้ สิทธิในผลกำไรจากการลงทุน

2.2) Utility Token หรือโทเคนเพื่อการใช้ประโยชน์ สร้างขึ้นเพื่อกำหนดสิทธิในการได้รับสินค้าและบริการที่เฉพาะเจาะจง เช่น บัตรโดยสารรถไฟฟ้า คูปองในศูนย์อาหาร หรือชิปในคาสิโน

บล็อกเชนไม่ได้มีดีแค่คริปโต 

ส่วนแบ่งตลาดของบล็อกเชน แบ่งตามภาคอุตสาหกรรม | ที่มา: Grand View Research | ข้อมูล ณ ปี 2022

แม้จะถือกำเนิดมาเพื่อสร้างสกุลเงินดิจิทัล แต่ปัจจุบันบล็อกเชนได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่หลายอุตสาหกรรมนำไปใช้เพื่อพัฒนาธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเงิน การแพทย์ หรือแม้แต่การจัดการห่วงโซ่อุปทาน ทำให้โอกาสในการเติบโตของบล็อกเชนยังมีอีกมาก

เทคโนโลยีบล็อกเชนได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการปฏิวัติรูปแบบการดำเนินงานในหลากหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการเพิ่มประสิทธิภาพและความโปร่งใสของกระบวนการทางธุรกิจ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือการนำบล็อกเชนไปประยุกต์ใช้ในภาคส่วนต่าง ๆ ดังนี้

  • ภาครัฐ: บล็อกเชนถูกนำมาใช้ในการเพิ่มความโปร่งใสในการดำเนินงานของภาครัฐ เช่น การติดตามโครงการสาธารณะ การจัดการเอกสาร และการจัดการการเลือกตั้ง
  • ภาคอุตสาหกรรม: ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุตสาหกรรมที่มีความซับซ้อน เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และอุตสาหกรรมอาหาร
  • ภาคการเงิน: บล็อกเชนเป็นพื้นฐานของสกุลเงินดิจิทัลและเทคโนโลยีทางการเงินใหม่ ๆ ที่ช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกรรมและเพิ่มความปลอดภัย
  • ภาคสุขภาพ: บล็อกเชนยังถูกนำไปใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยอย่างปลอดภัยและเป็นส่วนตัว ช่วยให้แพทย์สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ

จากข้อมูลข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่าเทคโนโลยีบล็อกเชนมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม และมีแนวโน้มที่จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอนาคต

อยากก้าวเข้าสู่โลกบล็อกเชน? มีทางเลือกมากกว่าแค่ซื้อคริปโต

การลงทุนในกองทุนดัชนีที่ติดตามสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชน (Digital Asset & Blockchain ETF) นับเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายความเสี่ยงและเข้าถึงตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลอย่างมีระบบ

โดยการลงทุนลงในบริษัทที่ถือสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นจำนวนมาก หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อกเชนผ่าน Digital Asset & Blockchain ETF มีข้อดีดังนี้

  1. การกระจายความเสี่ยง: กองทุน ETF จะลงทุนในหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชนในสัดส่วนที่เหมาะสม ช่วยลดความเสี่ยงจากการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลเพียงรายการเดียว
  2. การเข้าถึงตลาดที่กว้างขึ้น: นักลงทุนสามารถเข้าถึงตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลได้อย่างสะดวกสบายผ่านบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ทั่วไป โดยไม่จำเป็นต้องมีกระเป๋าเงินดิจิทัล
  3. การบริหารจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญ: กองทุน ETF มีผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาคอยคัดเลือกและบริหารพอร์ตการลงทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
  4. การกำกับดูแล: กองทุน ETF อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานกำกับหลักทรัพย์ ทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจในความโปร่งใสและความปลอดภัย

โอกาสลงทุนในบล็อกเชนกับ ASP-DIGIBLOC

กองทุนเปิด แอสเซทพลัส ดิจิทัล บล็อกเชน (ASP-DIGIBLOC) เป็นกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศ ที่มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active) โดยลงทุนในบริษัทสินทรัพย์ดิจิทัล บริษัทที่มีรายได้จากการดำเนินธุรกิจ หรือมีความเกี่ยวข้องกับระบบสินทรัพย์ดิจิทัลและเทคโนโลยีบล็อกเชน

โดย ASP-DIGIBLOC มีกลยุทธ์ลงทุนในบริษัทที่อยู่เบื้องหลังโลกคริปโต และเป็นบริษัทชั้นนำที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีบล็อกเชน ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล เหมืองขุดชั้นนำ หรือบริษัทที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของโลกดิจิทัล ลงทุนกับผู้เล่นหลักในอุตสาหกรรมนี้เพื่อร่วมสร้างอนาคตของโลกดิจิทัล

ASP-DIGIBLOC ลงทุนผ่านกองทุนหลักคือ VanEck Digital Transformation ETF ที่มีวัตถุประสงค์การลงทุนโดยพยายามสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนี MVIS Global Digital Assets Equity Index มากที่สุด

ทั้งนี้ ดัชนี MVIS Global Digital Assets Equity Index มีวัตถุประสงค์ในการติดตามผลประกอบการของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดและมีสภาพคล่องมากที่สุดในอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัล และรวมเฉพาะบริษัทที่มีรายได้อย่างน้อย 50% จากบริการและผลิตภัณฑ์ด้านสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น ศูนย์แลกเปลี่ยน (Exchange) เกตเวย์การชำระเงิน เหมืองขุด (Miner) บริการซอฟต์แวร์ อุปกรณ์และเทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐานของสินทรัพย์ดิจิทัล และการอำนวยความสะดวกทางการค้าด้วยการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล

Finnomena 3D Diagram | ที่มา: Finnomena Funds | ข้อมูล ณ วันที่ 16 กันยายน 2024

รายละเอียดอื่น ๆ ของ ASP-DIGIBLOC

  • ความเสี่ยงระดับ 6 (กองทุนรวมหุ้น)
  • นโยบายการจ่ายเงินปันผล: ไม่จ่าย
  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ 1.61% ต่อปี
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) 1.25%
  • ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืน (Back-end Fee) ไม่มี
  • ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนเข้า (Switching-in) 1.25%
  • ค่าธรรมเนียมการสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนออก (Switching-out) ไม่มี
  • ค่าใช้จ่ายรวม 3.50% ต่อปี
  • การลงทุนครั้งแรก ขั้นต่ำ 1,000 บาท
  • การลงทุนครั้งต่อไป ขั้นต่ำ 1,000 บาทเช่นกัน
  • มีการป้องกันความผันผวนด้านค่าเงิน (Fx Hedging) 86.22 %

ทำความรู้จักกับกองทุนหลัก VanEck Digital Transformation ETF (DAPP)

กองทุน VanEck Digital Transformation ETF (DAPP) มีนโยบายการลงทุนในบริษัททั่วโลกที่มีสัดส่วนรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล เกินกว่าร้อยละ 50 หรือมีศักยภาพในอนาคตที่จะสามารถสร้างรายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล สัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 50

ทั้งนี้ กองทุนมีการกระจายการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Digital Assets คลอบคลุมในหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็น ด้านธุรกิจการขุดเหมืองคริปโต การทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล ธนาคารตัวกลางด้านสินทรัพย์ดิจิทัล และธุรกิจด้านซอฟแวร์อื่น ๆ

7 ธีมหลักที่ DAPP เลือกลงทุน

7 ธีมหลักที่ VanEck Digital Transformation ETF (DAPP) ลงทุน | ที่มา: VanEck | ข้อมูล ณ เดือนมกราคม 2022

  1. Payment Gateways

บริษัทที่ให้บริการดำเนินการชำระเงินบนเว็บไซต์ แพลตฟอร์มการซื้อขาย รวมถึงร้านค้าแบบดั้งเดิม ด้วย

การใช้สินทรัพย์ดิจิทัล ตัวอย่างบริษัท เช่น Block (เดิมชื่อ Square), GreenBox POS

  1. Hardware 

บริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์สำหรับการขุดหรือจัดเก็บสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น บริษัท Semiconductor อย่าง Canaan และ Ebang

  1. Crypto Miners

บริษัทที่ทำหน้าที่ประมวลผลธุรกรรมระหว่างผู้ใช้บัญชีแยกประเภทแบบกระจายศูนย์ หรือนักขุด เช่น Marathon, Riot Blockchain, Bitfarm

  1. Exchanges

บริษัทที่ให้บริการแพลตฟอร์มสำหรับการแลกเปลี่ยนหรือซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ตัวอย่างบริษัท เช่น Coinbase, Voyager Digital

  1. Crypto Holding and Trading

บริษัทที่มีสินทรัพย์ดิจิทัลใน Balance Sheet หรือมีการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นจำนวนสูง เช่น Microstrategy, Coinshares

  1. Software and Value Added Services

บริษัทที่สร้างซอฟต์แวร์หรืออำนวยความสะดวกเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินทรัพย์ดิจิทัล เช่น Northern Data

  1. Banking & Asset Management

บริษัทที่เป็นจุดเชื่อมระหว่างระบบการให้บริการทางการเงินแบบดั้งเดิม และระบบการให้บริการสำหรับ

สินทรัพย์ดิจิทัลยุคใหม่ อาจอยู่ในรูปแบบของการให้บริการชำระเงิน และการดูแลลูกค้า ตัวอย่างบริษัท เช่น Silvergate, BC Technology Group (Brokerage service)

เจาะข้อมูลบริษัท Top 5 Holdings

*ข้อมูล ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2024 สัดส่วนการลงทุนอาจเปลี่ยนแปลง

1. Block (SQ) 8.96%

Block (เดิมชื่อว่า Square) เป็นผู้ให้บริการด้านการเงิน ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ และผู้ประมวลผลการชำระเงินที่ช่วยให้ธุรกิจเพิ่มรายได้ผ่านการใช้โซลูชันที่เข้าถึงได้ง่าย 

สิ่งที่น่าสนใจคือ Block เป็นการร่วมมือกันของบริษัทต่าง ๆ อย่าง Cash App, Spiral, TIDAL และ TBD โดยเป้าหมายหลักของบริษัทคือทำให้คนทั่วไปเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าหรือลูกค้า ควบคู่ไปกับการพัฒนาแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับ Bitcoin 

Block เป็นบริษัทใหญ่ที่สนับสนุน Bitcoin อย่างจริงจัง พวกเขารับชำระเงินด้วย Bitcoin มาตั้งแต่ปี 2014  ผ่านแอปพลิเคชัน Cash ซึ่งอนุญาตให้ผู้ใช้ส่งและรับการชำระเงินด้วย Bitcoin 

ข้อดีคือ Block คิดค่าธรรมเนียมแค่ 1% สำหรับธุรกรรม Bitcoin เทียบกับ 2.75% สำหรับบัตรเครดิตหรือเดบิต ทำให้การใช้ Bitcoin ผ่าน Block มีโอกาสได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในอนาคต โดยตอนนี้ Block ถือเป็นหนึ่งในผู้ให้บริการรายใหญ่ไม่กี่รายที่เปิดให้ธุรกิจรับชำระเงินด้วย Bitcoin ได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

2. MicroStrategy (MSTR) 7.01%

เดิมที MicroStrategy เป็นที่รู้จักในฐานะผู้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงธุรกิจ ซึ่งอาจจะไม่ได้มีชื่อเสียงอะไรในวงกว้าง แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา MicroStrategy ได้กลายเป็นที่พูดถึงอย่างมากในฐานะ “บริษัทที่ถือครอง Bitcoin มากที่สุดในโลก”

ถ้าถามว่ามากแค่ไหน? เมื่อสิ้นสุดไตรมาส 2 ปี 2024 (31 มิถุนายน 2024) MicroStrategy เป็นเจ้าของ Bitcoin อยู่ที่ประมาณ 226,500 BTC คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 4.9 แสนล้านบาท (เมื่อคิดจากราคา 1 BTC = 64,000 ดอลลาร์สหรัฐ) 

เพื่อให้เห็นภาพชัด ๆ มูลค่า Bitcoin ที่ MicroStrategy ถืออยู่นี่เกือบเท่ากับมูลค่าตลาดของ CP ALL (5.38 แสนล้านบาท) เลยทีเดียว

3. Terawulf Inc (WULF) 6.43%

Terawulf Inc ไม่ใช่แค่บริษัทขุด Bitcoin ธรรมดา แต่เป็น “นักขุดสีเขียว” ที่ใช้พลังงานจากธรรมชาติ ทั้งน้ำ ลม หรือแม้แต่นิวเคลียร์ ในการขุดสินทรัพย์ดิจิทัล นับว่าตอบโจทย์กับทั้งนักลงทุนและนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน

แต่ Terawulf Inc ไม่ได้หยุดแค่การขุด Bitcoin เท่านั้น พวกเขายังลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานสุดล้ำ เช่น ศูนย์ข้อมูล (Data Center)ที่ใช้พลังงานสะอาด และระบบระบายความร้อนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังทุ่มงบพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขุดและลดต้นทุน

4. Coinbase Global (COIN) 6.31%

Coinbase เป็นแพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล (Exchange) ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นในปี 2012 

Coinbase ไม่ใช่แค่ตลาดแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัลธรรมดา แต่เป็นอาณาจักรคริปโตครบวงจร ตั้งแต่ซื้อขายแลกเปลี่ยน ไปจนถึงการเป็นตู้เซฟดิจิทัลให้กับนักลงทุนทั้งรายย่อยและสถาบัน 

นอกจากนี้ Coinbase ยังเป็นผู้พัฒนา USDC เหรียญ Stablecoin ยอดนิยม ซึ่งเป็นสกุลเงินที่ผูกติดกับมูลค่าของดอลลาร์สหรัฐ เรียกได้ว่าเป็น “เงินดอลลาร์ในโลกคริปโต” เลยทีเดียว

5. Northern Data Ag (NDTAF) 5.95%

Northern Data AG ไม่ใช่แค่บริษัทขุดสินทรัพย์ดิจิทัลธรรมดา ๆ แต่เป็นผู้บุกเบิกเทคโนโลยีที่กำลังเปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมดิจิทัล Northern Data AG เป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนำระดับโลกที่มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาและให้บริการโซลูชันด้านบล็อกเชน และระบบคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (High Performance Computing หรือ HPC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการขุดสินทรัพย์ดิจิทัล 

บริษัทมีศูนย์ข้อมูล (Data Center) ขนาดใหญ่ที่กระจายอยู่ทั่วโลก และมีเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดการพลังงานและความร้อน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินธุรกิจด้านการขุดสินทรัพย์ดิจิทัล

นอกจากนี้ Northern Data AG ยังคิดค้นพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานและช่วยลดต้นทุนอยู่เสมอ เช่น ระบบระบายความร้อนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีในการจัดการพลังงาน

สรุปจุดเด่นที่น่าสนใจของ ASP-DIGIBLOC

  • ลงทุนในบริษัทชั้นนำของโลกบล็อกเชน

ไม่ได้ลงทุนในเหรียญคริปโตโดยตรง แต่ลงทุนในบริษัทใหญ่ ๆ ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น แพลตฟอร์มแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ดิจิทัล บริษัทพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชน หรือบริษัทที่ให้บริการด้านสินทรัพย์ดิจิทัลอื่น ๆ

  • เติบโตไปกับสินทรัพย์ดิจิทัล

กองทุนนี้จะเติบโตไปพร้อม ๆ กับอุตสาหกรรมสินทรัพย์ดิจิทัลที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวใกล้เคียงกับ Bitcoin อีกด้วย

  • ความผันผวนน้อยกว่า 

แม้จะเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัล แต่ความผันผวนของกองทุนนี้จะน้อยกว่าการลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซีโดยตรง

ASP-DIGIBLOC เหมาะสำหรับใคร?

  • ผู้ที่เชื่อมั่นในอนาคตของเทคโนโลยีบล็อกเชน และมองหาโอกาสเติบโตในระยะยาว
  • ผู้ที่สนใจลงทุนในคริปโตเคอร์เรนซี แต่กังวลเรื่องความผันผวนของราคา
  • ผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงได้สูง และลงทุนในระยะกลางถึงยาวได้ 

 

แม้ว่าโลกของบล็อกเชนจะเต็มไปด้วยโอกาสที่น่าตื่นเต้น แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงที่ต้องตระหนักเสมอ การลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลมีความผันผวนสูง และตลาดอาจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ก่อนตัดสินใจลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้รอบคอบ และทำความเข้าใจถึงเทคโนโลยีบล็อกเชนอย่างถ่องแท้


ที่มา: Financial Times, MicroStrategy, VanEck, VanEck, VanEck

คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุนรวมนี้ลงทุนกระจุกตัวในผู้ออกตราสารหรือประเทศใดประเทศหนึ่ง จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของ พอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | คำแนะนำการลงทุนนี้เป็นไปตามกรอบการพิจารณาของ Finnomena Funds ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างโอกาสรับผลตอบแทนในระยะเวลาตามแต่ละประเภทของพอร์ตเท่านั้น บริษัทมิได้การันตีถึงผลตอบแทนที่จะได้จากคำแนะนำการลงทุนดังกล่าว มีความเสี่ยงที่ผลตอบแทนอาจไม่เป็นไปตามคาดหวัง หรือมีผลขาดทุนได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE @FinnomenaPort | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299

TSF2024