SCMAN FHP June 2024

มุมมองการลงทุน (June 2024)

หลังจบฤดูกาลรายงานผลประกอบการหรือ Earnings Season 1Q24 นักลงทุนกลับมาให้น้ำหนักต่อปัจจัยมหภาคเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ดัชนีเศรษฐกิจที่รายงานออกมามีความผสมผสาน สะท้อนไปสู่คาดการณ์ GDP ไตรมาส 2/2024 จากโมเดล GDPNow (Atlanta Fed) ที่ค่อนข้างสวิง ล่าสุด (7 มิ.ย.) อยู่ที่ระดับ 3.1% แต่ช่วงต้นเดือน มิ.ย. เคยลงไปถึงระดับต่ำสุดราว 1.8%

อีกปัจจัยสำคัญ คือการประชุม Fed วันที่ 11-12 มิ.ย. มีการเปิดเผย Dot Plot รอบใหม่ ส่งสัญญาณลดดอกเบี้ย 1 ครั้งในปีนี้ เทียบกับรายงานเมื่อเดือน มี.ค. ที่ส่งสัญญาณลด 3 ครั้ง พร้อมกันนี้มีการปรับคาดการณ์เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core PCE) ขึ้นจากเดิม 2.6% เป็น 2.8%

แม้ปัจจัยมหภาคมีความไม่แน่นอน แต่เรายังมองเห็นโอกาสในการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง บนสมมุติฐานว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงบ้าง แต่ไม่ถึงขั้นถดถอย และ Fed ยังมีโอกาสลดดอกเบี้ยได้ในปีนี้ หนุนการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง ธีมการลงทุนหลัก เน้นกลุ่มเทคโนโลยีที่ได้ประโยชน์จากกระแส AI และอีกธีมคือ ตลาดหุ้นเอเชีย ที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัวและมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น

ภาพรวม Asset Allocation ในรอบนี้ ปรับลดน้ำหนักตราสารหนี้ จาก 30% เหลือ 15%, เพิ่มน้ำหนักหุ้น จาก 70% เป็น 75% และเพิ่มสินทรัพย์ทางเลือก คือ ทองคำ เข้ามา 10% เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตลงทุน

การปรับพอร์ต

  • ตราสารหนี้ ปรับลดน้ำหนักกองทุน SCBINCA ลงจาก 15% เป็น 5% และนำกองทุน SCBFP เข้ามาแทนกองทุน SCBSFFPLUS-I ให้น้ำหนัก 10%
  • ตราสารทุน ปรับกอง SCBPGF และ SCBTHAICGA ออกจากพอร์ต แล้วใส่กองทุน SCBEUEQA SCBAEM และ SCBCTECHA เข้ามาในพอร์ตแทน
  • เพิ่มกองทุนทองคำ SCBGOLDH เข้ามาในพอร์ต น้ำหนัก 10% เพื่อช่วยกระจายความเสี่ยงของพอร์ตโดยรวม

ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับเข้า

 

SCMAN FHP June 2024

SCMAN FHP June 2024

ภาพแสดงการปรับสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนของพอร์ต SCB Grow Together ที่มา: SCBAM วันที่ 20 มิถุนายน 2024

เริ่มสร้างแผนลงทุนกับ บลจ. ชั้นนำทั่วฟ้าเมืองไทยที่คุณชื่นชอบ ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง
👉 สร้างแผน คลิก >>> https://finno.me/plan-select-playlists-web


คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน  ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้   กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น   กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้  (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย  เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด โทร 02 777 7777 สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299