มุมมองการลงทุน (January 2024)
เริ่มต้นปีใหม่ 2025 เราแนะนำปรับพอร์ตเข้าสู่สมดุล เพื่อรับมือกับความผันผวนระยะสั้นที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปี เนื่องจากการปรับความคาดหวังของตลาดเกี่ยวกับจำนวนครั้งของการลดดอกเบี้ยของ Fed และความกังวลต่อนโยบายการค้าของสหรัฐฯ ที่มีผลกระทบต่อประเทศคู่ค้าหลัก แต่ระยะกลาง-ยาว เรายังมีมุมมองเชิงบวกต่อการลงทุนในหุ้นต่างประเทศ
กลยุทธ์หลักในช่วงนี้ เน้นกระชับพอร์ตด้วยการลดจำนวนกองทุนในพอร์ต และเน้นลงทุนกองทุนรวมดัชนี (Index Fund) เป็นหลัก โดยเรามีมุมมองเชิงบวกต่อหุ้นสหรัฐฯ แม้อาจผันผวนตามภาวะตลาดหุ้นโลก แต่น่าจะมีความแข็งแกร่งกว่าหลายตลาด ด้วยแรงหนุนจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของพรรครีพับลิกันและการเติบโตของกำไรบริษัทจดทะเบียน ส่วนตราสารหนี้ต่างประเทศ แม้ Bond Yield สหรัฐฯ อาจมีความผันผวนระยะสั้น แต่การที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปี พุ่งขึ้นเข้าใกล้ระดับ 5% ถือว่า มีความน่าสนใจสำหรับการเพิ่มน้ำหนักกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศในพอร์ต เพราะเราเชื่อว่า การลดดอกเบี้ยของ Fed ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้ในปีนี้ ซึ่งเมื่อทิศทางดอกเบี้ยมีความชัดเจนมากขึ้น น่าจะช่วยให้ Bond Yield มีแนวโน้มลดลงในระยะถัดไป
การปรับพอร์ต
- เพิ่มน้ำหนักกองทุนตราสารหนี้ต่างประเทศ SCBINCA จาก 5% เป็น 15%
- เพิ่มน้ำหนักกองทุนหุ้นโลก (Developed Markets) SCBWORLD(A) จาก 25% เป็น 33%
- กองทุนหุ้นสหรัฐฯ ปรับกองทุน SCBDJI(A) และ SCBRS2000(A) ออกจากพอร์ต แล้วเพิ่มกองทุน SCBNDQ(A) เข้าพอร์ตแทน ด้วยน้ำหนัก 5%
- เพิ่มน้ำหนักกองทุนหุ้น Asia ex Japan SCBAXJ(A) จาก 5% เป็น 7%
- ปรับกองทุนทองคำ SCBGOLD ออกจากพอร์ต
*กองทุน SCBGLOWP (ระดับความเสี่ยง 5) เป็นกองทุนรวมที่มีความเสี่ยงสูงหรือซับซ้อน
ภาพแสดงการปรับสัดส่วนน้ำหนักการลงทุนของพอร์ต
SCB Grow Together ที่มา: SCBAM วันที่ 13 มกราคม 2025
ดู Fund Fact Sheet กองทุนที่เพิ่มน้ำหนัก/ปรับเข้า
เริ่มสร้างแผนลงทุนกับ บลจ. ชั้นนำทั่วฟ้าเมืองไทยที่คุณชื่นชอบ ได้ที่ลิงก์ด้านล่าง
👉 สร้างแผน คลิก >>> https://finno.me/plan-select-playlists-web
คำเตือน: ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน ทั้งนี้ ผลการดำเนินงานในอดีตของกองทุนรวม และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน อาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนหรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ กองทุนที่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเต็มจำนวน อาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงเล็กน้อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น กองทุนอาจลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอันดับความน่าเชื่อถือต่ำกว่าอันดับที่สามารถลงทุนได้ (non-investment grade) หรือไม่มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (unrated bond) ผู้ลงทุนจึงอาจมีความเสี่ยงสูงขึ้นจากการไม่ได้รับชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ย เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือได้ ณ วันที่แสดงข้อมูลแต่บริษัทฯ มิอาจรับรองความถูกต้องความน่าเชื่อถือ และความสมบูรณ์ของข้อมูลทั้งหมด โดยบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์เปลี่ยนแปลงข้อมูลทั้งหมดโดยไม่จำเป็นต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด โทร 02 777 7777 สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299