สรุปผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ

1. ศาลมีมติ 5:4 ให้พรบ.งบประมาณ 63 ไม่เป็นโมฆะ โดยการพิจารณาวาระ 2 และ 3 พบการกระทำอันไม่สุจริต ทำให้ผลการลงมติในวันเวลาดังกล่าว ขัด รธน

2. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 5 เสียงข้างมากมีมติให้สภาผู้แทนราษฎรโหวตร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯ ใหม่ ในวาระ 2-3 ส่วน 4 เสียงข้างน้อย เห็นว่า “ให้ผ่านไปเลย” ไม่ต้องโหวตใหม่ แต่ให้ตัดคะแนนไม่สุจริตที่เสียบบัตรแทนกันออกไป แล้วนำขึ้นทูลเกล้าฯ

ดังนั้นใจความหลักของผลการวินิจฉัยคือ พรบ.งบประมาณปี63 ไม่เป็นโมฆะนั้น ถือเป็นการลงมติอย่างเอกฉันท์ (ไม่ใช่อย่างที่หลายฝ่ายเข้าใจว่า 5 เสียงให้ไม่เป็นโมฆะ และ 4 เสียงให้เป็นโมฆะ)

3. ศาลมองคดีการลงคะแนนแทนใน พรบ งบปี 63 แตกต่างจากคดีแก้ไข รธน เมื่อ 2556 และ พรบ.เงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาทเมื่อปี 2557 เนื่องจาก คดี พรบ งบปี 63 ไม่ปรากฎข้อความที่มีสาระสำคัญอันเป็นเหตุ พรบ งบปี 63 ขัด รธน แต่มีปัญหาที่กระบวนการตรา พรบ เท่านั้น

4. ศาลมองการลงมติรับร่าง พรบ งบปี 63 และการพิจารณาของ กมธ ก่อนเสนอให้สภาฯพิจารณาในวาระ 2 เป็นไปโดยชอบของ รธน

5. ศาลมองว่า มีเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่ พรบ งบปี 63 จะไปแก้ปัญหาการเบิกจ่ายที่ล่าช้า ศาลจึงอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการพิจารณาของศาล รธน ม.74 กำหนดให้ สภาฯดำเนินการให้ถูกต้องในวาระ 2 และ 3 (โดยวาระ 1 และการพิจารณาของ กมธ ชอบด้วยกฎหมายไปแล้ว) หลังจากนั้นให้วุฒิสภาให้ความเห็นชอบ พร้อมให้สภาฯรายงานผลการปฎิบัติตามคำสั่งภายใน 30 วันนับตั้งแต่ 7 กพ

6. การออกคำสั่งต้องทำทุกอย่างให้เสร็จใน 30 วัน เท่ากับล็อกให้สภาฯต้องเร่งพิจารณา พรบ งบปี 63 ให้ทันภานในสมัยการประชุมสภาฯปัจจุบันที่จะปิดประชุม 29 กพ นี้

7. ล่าสุดประธานสภาฯ ชวน หลีกภัย กำหนดให้พิจารณา พรบ.งบปี 63 ในวันที่ 13 กพ คาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน 1-2 วัน หลังจากนั้นส่งให้วุฒิสภา และส่งกลับมาให้รัฐบาล ซึ่งมีเวลา 5 วันก่อนนำขึ้นทูลเกล้า ภายใน กพ

8. คาดว่าจะมีการโปรดเกล้างบปี 63 ในช่วงต้น มีค. เท่ากับว่า ประเด็นการเสียบบัตรแทนทำให้การบังคับใช้ พรบ ล่าช้าไปจากเดิมราว 1 เดือน ถือว่าดีกว่าที่ตลาดคาดไว้มากๆ (จากเดิมคาดไว้ว่าต้องล่าช้าไปอีก 2-3 เดือน)

9. คาดว่ารัฐบาลจะเร่งเบิกจ่าย โดยเฉพาะงบลงทุนแบบเร่งด่วนในช่วงเดือน มีค (ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของงวดไตรมาส 2 ของปีงบประมาณ) และเร่งเบิกจ่ายอย่างเต็มที่ในงวดไตรมาส 3 (เมย-มิย)

10. ถือเป็นบวกต่อกลุ่มรับเหมา นิคม จากงบลงทุนกว่า 6 แสนล้านบาท และกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งจะได้ประโยชน์จากการใช้งบกลางกว่า 5 แสนล้านบาทเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ศาลฯท่านเมตตาและเร่งทุกอย่างให้แล้ว ได้แต่หวังใจว่าสภาฯจะเห็นแก่ประเทศ และเดินหน้าพิจารณาให้แล้วเสร็จ เพื่อที่การเบิกจ่ายงบจะได้มาช่วยเศรษฐกิจที่กำลังย่ำแย่ในตอนนี้

ประกิต สิริวัฒนเกตุ

TSF2024