ความหวังของชาวโลก

วันนี้โลกมีข่าวดีคือ STAT News ซึ่งเป็นนิตยสารด้านสุขภาพ รายงานว่า ผลการทดสอบยา Remdesivir ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสที่ผลิตโดยบริษัท Gilead Sciences ของสหรัฐ พบว่า ยาดังกล่าวสามารถใช้รักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จนหายดีได้

โดยการทดลองนี้เป็นการทดลองระยะที่ 3 ดำเนินการโดย มหาวิทยาลัยชิคาโก ซึ่งได้ทดลองยา Remdesivir ในผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 125 คน โดยในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยที่มีอาการหนัก 113 คน โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ไม่ระบุไม่จำนวน) สามารถฟื้นตัวขึ้นอย่างรวดเร็วจากอาการไข้ และปัญหาด้านระบบทางเดินหายใจ

จากข่าวข้างต้น ดูเหมือนว่าจะเป็นข่าวดีแต่ก็มีคำถามตามมาว่าหลังจากการทดลองในระยะที่ 3 แล้วเรายังต้องรออีกนานเท่าไหร่ถึงจะมียารักษาอาการป่วยจากโควิด-19 ได้

จากรูปด้านล่างแสดงกระบวนการผลิตยาชนิดหนึ่ง ๆ นั้นกินเวลาไม่น้อยเลย ตั้งแต่การพัฒนาตัวสารเคมีจนมาเป็นยาและกระบวนการนำไปทดสอบทั้งในสัตว์ทดลองจนถึงมนุษย์ก่อนจะไปสู่ขั้นตอนขออนุญาตและกระจายให้ได้ใช้กัน

ความหวังของชาวโลก

ตอนนี้ Remdesivir ได้ผ่านการทดสอบระยะที่ 3 มาแล้ว ขั้นตอนถัดจากนี้คือการขออนุญาติจาก Regulatory อย่างองค์การอาหารและยา (FDA หรือ USFDA) ของสหรัฐ ซึ่งอาจต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน อาจถึง 1 ปีหรือเป็น 2 ปีก็ได้

อย่างไรก็ตาม การค้นพบยาต้านไม่ใช่หัวใจสำคัญที่จะทำให้ปัญหาไวรัสโควิด-19 จบลง เพราะทุกวันนี้ที่โลกของเรายังไม่มียาต้าน ผู้ป่วยโควิด-19 ส่วนใหญ่สามารถที่จะรักษาให้หายได้เองอยู่แล้ว (โดยใช้ยาอื่น ๆ แก้ตามอาการ และผู้ป่วยที่ยังอายุไม่มาก ภูมิคุ้มกันในร่างกายจะช่วยให้สามารถฟื้นฟูขึ้นมาได้เอง) ดังจะเห็นได้จากอัตราส่วนของผู้ที่รักษาหายอยู่ที่ 25% และเสียชีวิตเพียง 6%

ปัญหาจริง ๆ มันจึงอยู่ที่การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ที่มันสามารถติดกันง่ายและรวดเร็วเหลือเกิน ซึ่งปัญหานี้จะแก้ได้ก็ต้องเป็นเรื่องการค้นพบวัคซีนเท่านั้น

ล่าสุด สองบริษัทผู้นำด้านวัคซีนของโลก GSK และ Sanofi ประกาศจับมือร่วมกัน แบ่งปันนวัตกรรมเพื่อพัฒนาวัคซีนต้าน COVID-19 (Material Transfer Agreement) โดยความร่วมมือนี้ได้ทำให้เกิดความก้าวหน้าในการผลิตวัคซีนเป็นอย่างมาก โดยคาดว่าวัคซีนนี้จะสามารถทดลองในมนุษย์ได้ในครึ่งหลังของปี 2020 และหากประสบความสำเร็จสำเร็จ อาจจะสามารถผลิตใช้จริงได้ภายในช่วงครึ่งหลังของปี 2021

ผมคิดว่าดีไม่ดี วัคซีน จะมีการผลิตออกมาได้เร็วกว่ายาต้าน เพราะการผลิตสารเคมีเพื่อมาเป็นยาไม่ใช่เรื่องที่ง่าย ๆ เลย ส่วนการผลิตวัคซีนนั้นยังมีตัวช่วยจากภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยที่สามารถหายจากอาการป่วยได้

ประกิต สิริวัฒนเกตุ
เป็นคนที่ไม่ได้มีความรู้เรื่องเภสัชศาสตร์เลย ผู้อ่านจึงควรเพิ่มความระมัดระวังในการอ่านด้วย

ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/prakitsiriwattanaket

TSF2024