“รายการที่จะพาทุกคนไปเจาะลึก กับปรัชญา แนวคิดของนักลงทุนระดับ World Class”
หัวข้อ
0:00 Start
1:15 ประวัติคร่าว ๆ เกี่ยวกับ Benjamin Graham
2:50 แนวคิดและกลยุทธ์การลงทุนที่น่าสนใจของ Benjamin Graham
8:40 สูตรการคิดมูลค่าหุ้นอันเลื่องชื่อของ Benjamin Graham
11:47 ผลตอบแทนการลงทุนย้อนหลังของ Benjamin Graham
วิลเลียม โอนีล คือใคร?
วิลเลียม โอนีลเป็นนักลงทุนหุ้นลูกผสมกึ่งกลางระหว่างสายพื้นฐานและเทคนิคอล เป็นคนแรก ๆ ที่บุกเบิกการลงทุนผสานผ่านระบบคอมพิวเตอร์ในการวิจัยและใช้ในการตัดสินใจ และเริ่มต้นเส้นทางชีวิตผ่านการเป็นโบรคเกอร์หุ้น
อีกทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มการทำกราฟราคารายวันให้กับนักลงทุน โดย William O’Neil มีสไตล์การลงทุนที่เป็นแรงบันดาลใจมาจาก Gerald Loeb ผู้ที่เชื่อว่าตลาดหุ้นนั้นมีความเสี่ยงเกินไป เกินกว่าที่จะลงทุนไปในระยะยาว ซึ่งเป็นมุมมองตรงข้ามกับสไตล์การลงทุนแบบนักลงทุน VI
Bernard Baruch นักลงทุนผู้เติบโตมากับตลาดขาขึ้นในยุคหลังสงคราม และทำการขายหุ้นก่อนที่จะเกิดการสิ้นสุดของตลาดขาขึ้นในรอบดังกล่าว
รวมถึง Jesse Livermore นักลงทุนผู้เชี่ยวชาญทางด้านการสังเกตพฤติกรรมราคา ทำการ short จน JPMorgan จนถึงกับต้องรอขอชีวิตให้ Jesse Livermore ช่วยปิดสถานะดังกล่าวลง
กลยุทธ์การลงทุนของ วิลเลียม โอนีล
สุดยอดโมเดลการลงทุนลูกผสม ‘CANSLIM’
หากพูดถึง วิลเลียม โอนีล ถ้าไม่พูดถึงกลยุทธ์อันเลื่องชื่อของเขาก็คงจะไม่ได้
วิลเลียม โอนีล เป็นเจ้าของผู้คิดค้นโมเดลการลงทุนอย่าง CANSLIM โมเดลการลงทุนอันโด่งดัง ที่ใช้เฟ้นหาหุ้นเติบโตที่ใช้ส่วนผสมระหว่างการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยทางเทคนิคอลเข้ามาช่วย
โดยโมเดล CANSLIM เป็นโมเดลกลยุทธ์การลงทุนที่มุ่งเน้นการหาหุ้นให้เจอ ก่อนที่นักลงทุนสถาบันจะเข้าไปลงทุนอย่างเต็มสูบซึ่งส่งผลหาราคาถูกผลักดันขึ้นไปอย่างรวดเร็ว
รายละเอียดของโมเดลการลงทุน CANSLIM
CANSLIM นั้นจะถูกแยกออกมาเป็นรายละเอียดยิบย่อยตามตัวอักษรที่มีเป็น 7 ตัวอักษร ซึ่งจะใช้เลือกหุ้นที่มีแนวโน้มเติบโตได้สูงกว่าค่าเฉลี่ย ซึ่งตัวอักษรแต่ละตัวจะมีรายละเอียดดังนี้
- C: Current quarterly EPS (กำไรต่อหุ้นไตรมาสล่าสุด) กำไรต่อหุ้นในไตรมาสล่าสุดต้องปรับตัวสูงขึ้นกว่าไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วในระดับที่สูง โดยอาจจะต้องสูงกว่าในระดับที่มากกว่า 20% และยิ่งปรับตัวสูงขึ้นมากเท่าไรยิ่งดี
- A: Annual earnings (5-years) กำไรต่อหุ้นแบบรายปีในช่วง 5 ปีย้อนหลัง ต้องมีการเติบโตต่อเนื่อง และต้องเติบโตมากกว่า 20% ในช่วง 3 ปีย้อนหลังยิ่งสูงยิ่งดี โดยการที่กำไรเติบโตได้สูงถึงระดับ 20% หรือมากกว่าเป็นเรื่องที่หาได้ยากมากในหุ้นปกติ ดังนั้นหากหุ้นตัวไหนเติบโตได้ในระดับนี้ต่อเนื่องจึงอาจหมายถึงโมเมนตัมการเติบโตของรายได้ที่แข็งแกร่งของบริษัทก็ว่าได้
- N: New product, management, or new high คล้าย ๆ กับเวลาที่นักวิเคราะห์วิเคราะห์หุ้น เวลาเราจะดูหุ้นตัวใดสักตัวหนึ่งเราอาจจะต้องดูการพัฒนาของบริษัท เช่น มีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ช่วยับเคลื่อนรายได้ต่อไปไหม หรือ ผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยผลักดันบริษัทไปสู่วัฎจักรใหม่ของ s-curve ซึ่งเป็นช่วงที่จะช่วยผลักดันรายได้และกำไรให้หรูหราฟู่ฟ่า นอกจากนั้นปัจจัยที่เป็นตัวเร่งสนับสนุนหรือ catalysts ก็จะมีผู้บริหาร ในโลกความเป็นจริง เราอาจจะเห็นในเคสบางเคสที่บริษัท เปลี่ยนผู้บริหารเป็นผู้ที่มีความสามารถหรือแพสชั่นในการขับเคลื่อนบริษัท และทำให้บริษัทประสบความสำเร็จแบบระดับสูงในอนาคต อีกปัจจัยหนึ่งก็คือข่าวหรือเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่จะช่วยสร้างสตอรี่ ให้ราคาไปยังทิศทางใดทิศทางหนึ่ง
- S Supply and demand: หรือภาวะที่จำนวนหุ้นขาดแคลนเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยขับเคลื่อนราคาหุ้นได้ โดยใช้แนวคิดง่าย ๆ ตามหลักเศรษฐศาสตร์จากการที่ supply ลดลง demand คงตัว ก็จะช่วยให้สินค้านั้น ๆ ราคาเพิ่มขึ้นได้ ยกตัวอย่างก็เช่น การซื้อหุ้นคืนของบริษัทที่จะทำให้ปริมาณหุ้นลดลง และสะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของผู้คนในบริษัทที่กล้าถือหุ้นของตัวเองเพิ่มเติม
- L Leaders and laggards: เลือกหุ้นที่เป็นผู้นำและมีแนวโน้มเติบโต และใช้ตัวชี้วัดทางเทคนิคอย่างเครื่องมือ rsi เป็นตัวชี้วัด ในฐานะเครื่องชี้วัดโมเมนตัมของหุ้น
- I: Institutional ownership: เลือกหุ้นที่มีนักลงทุนสถาบันลงทุนไม่มาก และมีผลงานที่ดีเหนือกว่าระดับค่าเฉลี่ย โดยอาจจะเป็นบริษัทที่เพิ่งทำการ ipo และมีแรงหนุนมาจากกองทุนส่วนบุคคลที่มีชื่อเสียง ดังนั้นในข้อนี้วิลเลียม โอนีล แนะนำว่าให้เราหลีกเลี่ยงการลงทุนในหุ้นที่นักลงทุนสถาบันเข้าไปลงทุน ซึ่งมีเงินทุนจำนวนมากเข้าไปลงทุนเป็ฯที่เรียบร้อยแล้ว
- M – Market direction: วิเคราะห์ทิศทางแนวโน้มของตลาดก่อนเข้าลงทุน โดยศึกษาและวิเคราะห์ผ่านราคารายวันโดยเฉลี่ยในดัชนี ว่าเป็นไปในทิศทางใดและใช้โมเดล CANSLIM ในการหาหุ้นที่มีแนวโน้มโดดเด่น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของดัชนีนั้น ๆ
ข้อดีและข้อเสียของโมเดล CANSLIM
ข้อดี
- สามารถใช้สำหรับหาหุ้นเติบโตได้ก่อนที่นักลงทุนสภาบันจะเข้าไปลงทุน
ข้อเสีย
- ต้องใช้เวลาในการรอให้นักลงทุนสถาบันเข้ามาลงทุน และผลักดันราคาหุ้น
- ราคาอาจมีความผันผวน เนื่องมาจากการที่เราลงทุนในหุ้นเติบโตที่ราคารวดเร็ว
- ราคาหุ้นเหล่านี้อาจให้ราคาในอนาคตไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่รับความเสี่ยงได้สูง
กฎการลงทุนที่น่าสนใจของ วิลเลียม โอนีล
- อย่าซื้อหุ้นถูก แนะนำให้ลงทุนในหุ้นที่มีอนาคต เช่น nasdaq และมีราคาสูง อย่าเลือกหุ้นไร้ราคา
- ซื้อหุ้นที่มี roe มากกว่า 17% หรือมากกว่านั้น โดยบริษัทที่มีคูณภาพเยี่ยมจะมี roe สูงในระดับระหว่าง 25% – 50%
- ทำให้แน่ใจว่าอัตรากำไรหลังหักภาษีมีการเติบโตพัฒนา
- เลือกหุ้นที่อยู่ในอุตสาหกรรมที่โดดเด่น 5-6 อันดับแรก
- อย่าซื้อหุ้นเพราะปันผลหรือค่า PE ที่ถูก ซื้อหุ้นที่มีกำไร ยอดขาย ROE อัตรากำไรขั้นต้น มีผลิตภัณฑ์ที่สุดยอด
- กำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับขายหุ้นหากเกิดผิดทาง ซึ่งใช้สำหรับขายทำกำไร
- 37% ของการเคลื่อนที่ในราคามาจากศักยภาพของอุตสาหกรรมนั้น ๆ ในขณะที่อีก 12% มาจากความแข็งแกร่งของภาคธุรกิจ ดังนั้นปัจจัยขับเคลื่อนราคาครึ่งหนึ่งนั้นมาจากกลุ่มอุตสาหกรรมที่แข็งแกร่ง
- ถ้ามีข่าวร้ายเกิดขึ้นแต่ตลาดยังเดินหน้าต่อไป มันอาจบ่งบอกว่าตลาดนั้นแข็งแกร่งกว่าที่คนส่วนใหญ่คิด และหากมีข่าวดีแต่ตลาดเคลื่อนที่ไม่มาก เราอาจสรุปได้ว่าตลาดนั้นอ่อนแอกว่าที่คนส่วนใหญ่คิด
- อย่าซื้อหุ้นที่จุดต่ำสุดหรือมีแนวโน้มราคาลดลง และอย่าคิดถัวเฉลี่ย
- ทิ้งอีโก้และตัวตนของคุณ เพราะ ตลาดไม่เคยสนใจว่าคุณจะคิดอย่างไร และไม่ว่าคุณจะฉลาดแค่ไหน ตลาดจะฉลาดกว่าคุณเสมอ IQ ระดับสูง วุฒิการศึกษาระดับปริญญาโท จะไม่การันตีว่าคุณจะประสบความสำเร็จในตลาดนี้ อีโก้ของคุณจะทำให้คุณเสียเงินจำนวนมาก อย่าเถียงกับตลาด และอย่าพยายามพิสูจน์ว่าคุณนั้นเป็นคนถูกแต่ตลาดนั้นเป็นคนผิด
ผลตอบแทนย้อนหลังของวิลเลียม โอนีล
วิลเลียม โอนีล เคยสร้างผลตอบแทนสูงถึง 5,000% ในระยะเวลาเพียง 25 ปี หรือคิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยถึง 200% ต่อปี
ติดตาม FINNOMENA Podcast ได้ทุกช่องทางที่คุณมี
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast