“รายการที่จะพาทุกคนไปเจาะลึก กับปรัชญา แนวคิดของนักลงทุนระดับ World Class”
หัวข้อ
1:00 ประวัติคร่าว ๆ เกี่ยวกับ Philip Fisher
1:55 แนวคิดและกลยุทธ์การลงทุนที่น่าสนใจของ Philip Fisher
2:50 Scuttlebutt คืออะไร? ใช้อย่างไร
9:46 บทสรุปและการปรับใช้ Scuttlebutt
ประวัติคร่าว ๆ เกี่ยวกับ Phillip Fisher
Phillip Fisher เกิดในปี 1907 ในซานฟรานซิสโก และมีเส้นทางอาชีพเกี่ยวกับลงทุนถึง 74 ปี โดยเริ่มจากการเข้าเรียนธุรกิจใน Stanford ซึ่งในตอนนั้นเพิ่งก่อตั้งได้ไม่นาน แต่เขาก็ได้ลาออกมาและทำงานเป็นนักวิเคราะห์ที่ Anglo London Bank, San Francisco
และก่อตั้งบริษัทอย่าง Fisher & Company ด้วยตนเอง มีการลงทุนที่โดดเด่นอย่างการลงทุนใน Motorola ที่สามารถเปลี่ยนเงิน 1,000 ดอลลาร์ ให้กลายเป็น 1,993,846 ดอลลาร์
Scuttlebutt
Scuttlebutt หากแปลเป็นไทยอาจหมายถึงการซุปซิปต่าง ๆ หรือข่าวลือ โดยมีรากศัพท์มาจากวงการล่องเรือ ซึ่ง butt หมายถึง cask นั้นเปรียบเหมือนวัสดุที่ใช้กักเก็บน้ำ อาจจะทำมาจากไม้ เหล็กหรือพลาสติก ถ้านึกภาพง่าย ๆ ก็เหมือนถังหมักเบียร์
แต่ก่อนนักล่องเรือจะเริ่มพูดคุยเม้ามอย ซุปซิปกันเวลาไปดื่มน้ำตรงที่เก็บน้ำดังกล่าว จนเป็นที่มาของคำว่า “Scuttlebutt”
Scuttlebutt ในความหมายของ ฟิลลิป ฟิชเชอร์ นั้นหมายถึงกระบวนการสืบค้น เจาะลึกบริษัทผ่านสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทนั้น ๆ เช่น ลูกค้า ร้านค้า สถานที่ค้าขาย คู่แข่งและพนักงานของบริษัท ซึ่งเป็นการศึกษาวิจัยแบบโดยตรง ซึ่งเหนือกว่าการอ่านข้อมูลจากงบการเงินเพียงอย่างเดียว และเป็นสิ่งที่นักลงทุนควรที่จะพึงกระทำ
ทำไมเราถึงต้องใช้เทคนิค Scuttlebutt
Scuttlebutt จะช่วยให้คุณเข้าถึงและเข้าใจในหุ้นและอุตสาหกรรมที่คุณกำลังศึกษาอยู่อย่างแท้จริง ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลารวมถึงค้นหาคำตอบของทุก ๆ คำถาม
เจาะลึกเทคนิคเรียนรู้ Scuttlebutt แบบคร่าว ๆ
ประติดต่อเรื่องราวรวมผ่านการใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพ
หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าอย่างนี้การใช้ Scuttlebutt คงเหมือนกับการใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพที่วัดผลไม่ได้หรือวัดผลได้ยาก แต่จริง ๆ เราอาจจะต้องรวบรวมประติดประต่อเรื่องราวผ่านการอ่านรายงานของบริษัท งบการเงิน เอกสารการนำเสนอต่าง ๆ อย่างเข้มข้นเข้าไปด้วย หลังจากนั้นเราจึงไปพูดคุยกับคนที่มีความรู้ลึกรู้จริงเกี่ยวกับหัวข้อหรือบริษัทที่เราสนใจจะลงทุน อาจเป็นคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมโดยตรงมีความช่ำชอง คู่แข่งต่าง ๆ หรือผู้บริหาร และหากสิ่งต่าง ๆ สมเหตุสมผลหรือตรงกับเงื่อนไขรูปแบบการลงทุนที่มีคุณภาพ บริษัทนั้น ๆ อาจมีความเป็นไปได้ว่า มันอาจจะเหมาะสมสำหรับศึกษาอย่างเจาะลึกต่อไป
มองหาข้อโต้แย้งของการลงทุน
เชื่อว่าหากหลาย ๆ คนติดตาม Holy Grail Investor มาถึงจุดนี้ คงจะเห็นได้ว่านักลงทุนสาย value หลาย ๆ ท่าน ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก เช่นเดียวกันกับ ฟิลลิป ฟิชเชอร์ ที่ให้แง่คิดว่าหากเราตั้งสมมติฐานใด ๆ ขึ้นมา เราอาจจะหาข้อมูลเพื่อที่จะสนับสนุนความคิดของเราเสียมากกว่าซึ่งก่อให้เกิด bias หรืออคติทางความคิดได้ ดังนั้นเราควรจะมองหาข้อโต้แย้งของสมมติฐานเราเสียด้วยและพยายามทำความเข้าใจถึงสิ่งที่คนเหล่านั้นเชื่อหรือคิดว่าสมเหตุสมผลหรือไม่อย่างไร
“บางทีเราอาจจะต้องพูดกับนักเชียร์ของบริษัทนั้น ๆ แต่เราก็ต้องพูดคุยกับผู้คนที่ไม่ชอบบริษัทเหล่านั้นด้วยเช่นกัน”
พูดคุยกับทุกคน นอกเหนือจากคนในห้องของตนเอง
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการอยู่เป็นกลุ่มก้อนเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นคน ดังนั้นคนมีแนวโน้มที่จะอยู่กับกลุ่มคนที่ตนเองชื่อชอบอย่างเพื่อนที่มีความสนใจคล้าย ๆ กับเรา รวมแชร์แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและมีพฤติกรรมคล้าย ๆ กับเรา ซึ่งมันอาจก็ให้เกิด bias ทางความคิดว่าคนเหล่านั้นเป็นทุกสิ่งและเป็นประชากรหนึ่งเดียวในโลก
พูดง่าย ๆ ก็เหมือนกับการออกไปเจอผู้คนใหม่ ๆ สถานที่ใหม่ ๆ เพื่อเปิดโลกทางความคิด และหลุดจากกรอบเดิม ๆ นั่นเอง
อย่างเช่น เราอาจจะลองไปหาข้อมูลในพันทิป ว่าคนอื่น ๆ มีความคิดเห็นอะไรบ้าง มันอาจนำมาต่อยอดเปนไอเดียต่อไป และอาจจะต้องคัดเลือกเฉพาะความเห็นที่น่าสนใจหรือเมคเซ้น
หรือบอร์ดของนักลงทุนวีไออย่าง thaivi.org ที่มีผู้คนมาแลกเปลี่ยนไอเดียหุ้นแบบเชิงลึกกัน
เข้าอกเข้าใจลูกค้าหรือผู้บริโภค
เราอาจใช้วิธีพูดคุยสอบถามกับผู้บริโภคโดยตรงว่าเขารู้สึกหรือคิดอย่างไรหากมีสินค้าหรือบริการของบริษัทที่เราสนใจลงทุนเขามาช่วยพวกเขา
เช่น เวลาเราทำธุรกิจออนไลน์ในแพลตฟอร์มค้าขาย เราอาจจะขอฟีดแบคจากลูกค้าว่าเขาคิดอย่างไรกับการบริการ เขาอาจจะให้ข้อมูลในด้าน value ว่าเราบริการดีกว่าที่อื่น รวดเร็วกว่า หรือคอมเมนต์ว่าสินค้าเราอาจจะน่าสนใจน้อยกว่าที่อื่นด้วยเหตุผล …
คิดภาพกว้างถึงผู้คนที่ช่วยให้ข้อมูลเราได้และเข้าไปศึกษาผ่านพวกเขา
เราอาจคิดถึงผู้คนที่อยู่ในอุตสาหกรรมนั้นโดยตรง อย่างเช่น ถ้าเราอยากเรียนรู้เรื่องธุรกิจธนาคารแนวปล่อยเงินกู้ เราอาจจะเข้าไปถามผู้จัดการด้านเครดิต
หรือถ้าเราอยากรู้เรื่องการลงทุนในอุตสาหกรรม เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาทางธุรกิจ เราอาจจะไปถามผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำ consultant โดยตรงเพื่อให้ได้ข้อมูลเจาะลึกของจริงที่กลั่นมาจากประสบการณ์ของผู้ที่อยู่ในธุรกิจโดยตรง
ไม่เปิดเผยข้อมูลที่ได้มา
เป้าหมายหลักของการใช้เทคนิค Scuttlebutt ไม่ใช่การหาข้อมูลเชิงลึกวงใน inside information ที่ทำให้เรามีความได้เปรียบเหนือกว่านักลงทุนคนอื่น ๆ แต่เราต้องไม่ลืมว่าผู้คนคงอยากช่วยหรือให้ข้อมูลมากกว่าถ้าเราไม่เอาข้อมูลของพวกเขาไปเปิดเผย เช่น กับคู่แข่ง หรือข้อมูลเชิงลบที่ทำให้ภาพลักษณ์ของบริษัทเขาไม่ดี
พูดง่าย ๆ ก็คือใจเขาใจเรา คนทำ คนสร้างธุรกิจ เขาต้องเหน็ดเหนื่อย ล้มเหลว พยายามมาก่อนที่จะประสบความสำเร็จ การทำเราเอาข้อมูลของเขาไปเปิดเผย จึงอาจทำให้สิ่งที่เค้าพยายามมาถูกทำลายลงไป
การปรับใช้และคำคมข้อคิด
Scuttlebutt ถือเป็นอีกเทคนิคหนึ่งที่ใช้ร่วมกับปรัชญาคลาสสิคของ ชาร์ลี มังเกอร์ ใน การซื้อหุ้นที่สุดยอด ในราคาที่เหมาะสม
“ถ้าคุณลงทุนในบริษัทที่ถูกต้อง โอกาสเติบโตของมันจะมากมายเหลือเชื่อ ถึงขนาดที่ทุกสิ่งทุกอย่างกลายเป็นเรื่องรองเสียด้วยซ้ำ ทุก ๆ 1,000 ดอลลาร์ของผมและลูกค้าที่ถูกนำไปลงทุนใน Motorola ในปี 1957 ในตอนนี้มีมูลค่าถึง 1,993,846 ท่ามกลางการขึ้นลงของราคาหุ้นและตลาด” – ฟิลลิป ฟิชเชอร์
ถ้าผมขาย Motorola เพียงเพราะว่าราคามันสูงเกินไปในช่วง 10 ถึง 15 ปีที่แล้ว สิ่งที่อาจเกิดขึ้นก็คือ ผมคงไม่รู้โอกาสที่จะกลับเข้าไปซื้อมันอีกครั้ง และคงพลาดการทำกำไรครั้งใหญ่ออกไป ถ้าราคาหุ้นของบริษัทที่ผมลงทุนสูงเกินไป ผมจะเตือนลูกค้าว่านั่นอาจเป็นสิ่งที่น่าพอใจสักพักหนึ่ง แต่ในท้ายที่สุดมันจะทำจุดสูงสุดใหม่ต่อไปได้”- ฟิลลิป ฟิชเชอร์
พูดง่าย ๆ ก็คือ หากธุรกิจนั้น ๆ มีความโดดเด่น แข็งแกร่งอย่างแท้จริง และเราได้เข้าซื้อในราคาที่เหมาะสม ก็อย่าได้กังวลมันไป เพราะ มันอาจหมายถึงผลกำไรอันยิ่งใหญ่ในอนาคต
คำถามต่อไปอาจเป็นเราควรขายหุ้นที่เราเชื่อมั่นเมื่อไร ก็คงต้องทิ้งท้ายด้วยประโยคของ Phillip Fisher ไว้อีกทีว่า
“If I have a deep conviction about a stock but it has not performed after three years, I will sell it. If I think management or the basic situation has deteriorated, I will sell.” – Philip Fisher
“ถ้าผมมีความเชื่อมั่นอย่างสูงกับหุ้นตัวหนึ่ง แต่มันยังไม่แสดงผลลัพธ์ออกมาในสามปี ผมจะขายมัน ถ้าผมคิดว่าผู้บริหารหรือเหตุการณ์ได้เริ่มย่ำแย่ลง ผมจะขายมัน” – ฟิลลิป ฟิชเชอร์
References
https://www.forex.in.rs/philip-fisher-biography/
https://novelinvestor.com/phil-fisher-the-art-of-holding-on/
ติดตาม FINNOMENA Podcast ได้ทุกช่องทางที่คุณมี
App Spotify
https://finno.me/spotify
App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast
Apple podcast
https://finno.me/applepodcast
App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud
Podbean
https://finno.me/podbean
Youtube
https://finno.me/youtubepodcast