“รายการที่จะพาทุกคนไปเจาะลึก กับปรัชญา แนวคิดของนักลงทุนระดับ World Class”

หัวข้อ

0:00 Start

1:10 ปรัชญาการลงทุนของ Howard Marks

6:20 กลยุทธ์การลงทุนของ Howard Marks

11:10 สรุป Memo ล่าสุดของ Howard Marks: หุ้นเติบโต vs หุ้นมูลค่า เราควรลงทุนในหุ้นชนิดไหน?

ประวัติ Howard Marks

เป็นหนึ่งใน founder ของ Oaktree Capital Management ซึ่งเน้นการลงทุนในตราสารต่าง ๆ ที่มีปัญหา และใช้การลงทุนผ่านหลักการในการเน้นหามูลค่าของสินทรัพย์ จิตวิทยาตลาด ปรัชญาต่าง ๆ สถิติความน่าจะเป็น ความเป็นไปได้ วัฎจักรตลาด และใช้กลยุทธ์อย่างการจับจังหวะตลาดในช่วงต่าง ๆ ให้มเหมาะสม

และเน้นย้ำถึงคำว่า ไม่รู้ และไม่เชื่อว่าสิ่ง ๆ หนึ่งจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน 100% และเน้นไปที่อัตราการสำเร็จมากกว่าการตีโฮมรัน หรือคล้าย ๆ กับการเน้นอัตราสำเร็จเวลาเราพนัน

โดย Howard Marks ติดอันดับคนอเมริกันที่มั่งคั่งที่สุด 400 อันดับแรก เป็นอันดับที่ 391 ในปี 2020 และเป็นหนึ่งในคนที่ Warren Buffett เฝ้าติดตาม memos หรือเป็นบทความที่มีความยาวกลาง ๆ จนถึงยาว จนตัว Warren Buffett ถึงกับบอกว่า “เมื่อเขาเห็น memo ของ Howard Marks เด้งขึ้นมาในอีเมลล์ มันเป็นสิ่งแรกที่เขาจะเปิดและอ่านมัน เขาได้เรียนรู้บางสิ่งบางอย่างเสมอ และสิ่ง ๆ นั้นเป็นทวีคูณสองเท่าจากหนังสือของเขา”

จิตวิทยาตลาดผสานกับการลงทุน

Second level thinking หรือการคิดแบบสองชั้น

เป็นการคิดแบบเหนือชั้นแตกต่างจากการคิดแบบปกติทั่ว ๆ ไปยกตัวอย่างเช่น หากคนส่วนใหญ่เห็นว่าหุ้นลงหนักมาก เขาอาจจะคิดว่าช่วงเวลานี้ไม่ใช่จังหวะที่ดีในการซื้อหุ้น แต่กลับกันหากเราคิดแตกต่างเป็นอีกมุมมองหนึ่งเช่น ในช่วงที่ย่ำแย่เช่นนี้อาจมีข้อต่อรองในตลาดต่าง ๆ มากขึ้นจากการที่ราคาหุ้นลดลงต่ำกว่ามูลค่า โดยเฉพาะในตลาดหุ้นที่ทุกคนมองข้ามอาจจะเป็นบราซิล หรือหุ้นไทยเป็นต้น

ซึ่งหากใครเหมาซื้อหุ้นไทยในช่วงที่ราคาลง ก็คงได้ประโยชน์จากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นหลังเศรษฐกิจเริ่มกลับมาฟื้นตัว

ผู้คนในตลาดต่างไม่สมเหตุสมผล

ตอนเราเรียนพวก finance กันมาเราคงได้ยินชื่อทฤษฎีอย่าง efficient market theory หรือทฤษฎีตลาดสมบูรณ์ ที่กล่าวไว้ว่าทุกคนในตลาดต่างรับรู้ข้อมูลได้อย่างเท่าเทียมไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ แต่แท้จริงแล้วอาจจะไม่เป็นเช่นนั้น ยกตัวอย่างเช่น หากตัวเลขเศรษฐกิจอย่าง CPI ปรับตัวขึ้น ภาพรวมราคาน้ำมันก็จะปรับตัวขึ้นและอาจส่งผลเชิงบวกกับหุ้นประเภทน้ำมัน แต่แท้จริงแล้วบางทีราคาหุ้นปรเภทที่ว่าอาจขึ้นไปก่อนหน้า สะท้อนให้เห็นว่าอาจมีใครบางคนได้รับรู้ข้อมูลมาก่อนหรือมีใครบางคน react แบบไม่สมเหตุสมผล

ดังนั้นเราอาจจะอาศัยจังหวะที่ไม่สมเหตุสมผล เข้าซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่มีราคาต่ำกว่าความเป็นจริงได้

กฎข้อที่หนึ่ง ทุกสิ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นวัฎจักร

กฎข้อที่สอง โอกาสมักจะมาถึงเมื่อคนลืมกฎข้อที่หนึ่ง

ใช้การลงทุนแบบ Value พันธุ์แท้

เทคนิคในการหาสินทรัพย์ที่มีมูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริง

  • มีคนรู้จักน้อยและคนเข้าใจน้อย ยกตัวอย่าง ก็อาจจะเป็นหุ้นเทคต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนใหม่ ๆ ก็ได้ หรือ อาจจะเป็นกลุ่มประเทศที่คนไม่ค่อยสนใจ แบบอินเดีย หรือ บราซิล แต่ต้องระวังเรื่องความเสี่ยงประเทศอีกที
  • ตั้งคำถามเกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ อาจจะเป็น balance sheet สตอรี่ธุรกิจ บริษัท
  • เป็นที่ถกเถียงและผู้คนต่างหวาดกลัว อย่างเช่น น้ำมันที่มีความผันผวน
  • ไม่เหมาะสมสำหรับพอร์ตการลงทุน เช่น น้ำมัน
  • ไม่เป็นที่นิยม ไม่ได้รับความสนใจ เช่น เหล็ก น้ำมัน
  • มีผลตอบแทนย่ำแย่ เช่น น้ำมัน หุ้นธนาคาร
  • ไม่ใช่เรื่องที่น่าสนใจสำหรับลงทุนและเก็บสะสม เช่น น้ำมัน หุ้นธนาคาร ในช่วงที่ผ่านมา

จับจังหวะวัฎจักรตลาด

เชื่อในการจับจังหวะตลาดและปรับพอร์ตโฟลิโอการลงทุนให้เข้ากับสภาวะนั้น เช่น หากอยู่ในช่วงย่ำแย่ เราอาจปรับการลงทุนเป็นเชิงรุก และหากอยู่ในช่วงกลางเราอาจปรับพอร์ตอย่างสมดุล และหากอยู่ในช่วงปลายหรือช่วงปัจจัยร้อนแรงเราอาจปรับพอร์ตเป็นเชิงรับ

ซึ่งหากเราจัดพอร์ตอย่างเหมาะสมตามสภาวะได้ถูกต้องเราจะมีผลตอบแทนที่เหนือกว่าคนอื่น และอาจมีดาวน์ไซด์ที่ต่ำกว่าคนอื่น จนท้ายที่สุดผลตอบแทนเราจะเหนือค่าเฉลี่ย

วิธีวัดความร้อนแรงของตลาด เพื่อจัดพอร์ต

เศรษฐกิจ สดใส ย่ำแย่

มุมมองต่าง ๆ เชิงบวก เชิงลบ

ผู้ปล่อยกู้ ปล่อยง่าย ปล่อยยาก

ตลาดทุน เข้าถึงได้ง่าย เข้มงวด

เงื่อนไขต่าง ๆ หลวม ๆ เข้มงวด

อัตราดอกเบี้ย ต่ำ สูง

สเปรดต่าง ๆ (ตราสารหนี้ ผลตอบแทนหุ้น) แคบ กว้าง

มุมมองนักลงทุน เชิงบวก อยากซื้อ เชิงลบ ไม่สนใจซื้อ

ผู้ถือสินทรัพย์ต่าง ๆ รู้สึกอยากถือ รีบขายทิ้ง

ผู้ขาย น้อย มาก

ภาวะตลาด เต็มไปด้วยนักลงทุน ขาดคนสนใจอย่างมาก

การเพิ่มทุน เข้าซื้อได้ยาก เปิดกว้าง

มีกองทุนใหม่ ๆ ทุกวัน

อันที่ดีที่สุดเท่านั้นที่เพิ่มทุนได้

ผลตอบแทนย้อนหลัง ร้อนแรง ย่ำแย่

ราคาสินทรัพย์ พุ่งสูง อยู่ในระดับต่ำ

ความเสี่ยง สูง ต่ำ

ความนิยม ดุดัน ระมัดระวัง

เข้าถึงได้ง่าย เลือกสรร

หากข้อเปรียบเทียบด้านซ้ายเกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ อาจหมายถึงช่วงเวลาที่เราควรระวังก่อนซื้อหุ้น

สรุป Memo ของ Howard ล่าสุด: Something of Value

หลังโควิดเรื่องของหุ้น growth และหุ้น value เริ่มเป็นที่ถกเถียงกันมากขึ้น บางคนก็เชื่อว่าหุ้นเเวลู่กำลังตามหลังและจะเกิดการ mean reversion ได้ ในขณะที่หุ้น growth อย่างพวกหุ้นเทคโนโลยีหรือหุ้นยุคใหม่ก็ได้ปรับตัวอย่างแข็งแกร่ง และสร้างผลกำไรที่ยอดเยี่ยม และมีผลการดำเนินงานที่ดี ถึงแม้จะสูงกว่ามูลค่า

จึงเป็นที่ถกเถียงกันว่าหรือตำราการลงทุนรูปแบบเก่า ๆ จะใช้การไม่ได้แล้ว

  • หุ้นที่มีมูลค่าสูงก็สามารถมีพื้นฐานรองรับได้ เช่น หุ้นกลุ่ม nifty fifty ที่สร้างผลตอบแทนมาตลอด 25 ปี แต่ต้องไม่ลืมข้อเท็จจริงที่ว่ามีเพียงเครื่องเดียวของหุ้นกลุ่มนั้นที่ยังสามารถยืนหยัดอยู่ได้
  • หุ้นเน้นมูลค่าไม่จำเป็นต้องเป็นหุ้นถูก pe ต่ำเสมอไป แต่อาจเป็นในรูปแบบอื่น ๆ เช่น การเติบโตที่สูงของบริษัท มีสินทรัพย์สร้างข้อได้เปรียบที่จับต้องไม่ได้อย่างเทคโนโลยี ดังนั้นค่า PE ที่สูงอาจไม่ได้หมายความว่าหุ้นเหล่านั้นไม่สามารถลงทุนได้
  • บริษัทที่ถูกคาดการณ์ว่ามีแนวโน้มเติบโตในอนาคตไม่ได้หมายความว่าจะคาดการณ์ไม่ได้เสมอไป และบริษัทที่มีการเติบโตต่อเนื่องให้เห็นก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะคงอยู่ไปได้ตลอด
  • ในเชิงมูลค่าบางทีมันอาจวัดเป็นตัวเลขไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น มูลค่าทางจิตใจ ดังนั้นการที่บางสิ่งบางอย่างไม่สามารถประมาณการได้อย่างแม่นยำ อาจไม่ได้หมายความว่าสิ่งนั้นไม่เป็นความจริง
  • การลงทุนแบบสไตล์ growth และ value ไม่ควรนำมารวมกัน
  • หุ้นมูลค่าเป็นหุ้นที่ดูกระแสเงินสดและมูลค่าทรัพย์สินปัจจุบัน ซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่าแต่อาจจะไม่สามารถสร้างผลตอบแทนที่ยอดเยี่ยมได้
  • หุ้นเติบโตมีการทำธุรกิจที่ยังไม่มีรากฐาน มีการพักฐานรุนแรง ต้องใช้ความยึดมั่นในการถือครอง
  • นักลงทุนเน้นมูลค่าสามารถสร้างผลตอบแทนจากการตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับความไม่สมเหตุสมผลและสินทรัพย์ที่วัดค่าไม่ได้ และหลีกเลี่ยงการลงทุนในสิ่งที่ดูเหมือนจะเว่อร์เกินไป เข้าซื้อสินทรัพย์ที่ต่ำกว่ามูลค่าจริง ๆ และขายมันเมื่อมันถึงมูลค่าจริง ๆ แต่ถึงอย่างนั้นในยุคนี้การเข้าถึงข้อมูลเป็นไปได้ง่ายจึงทำให้การแข่งขันในการลงทุนรูปแบบนี้มีสูงขึ้น
  • ในเมื่อข้อมูลเชิงปริมาณของการลงทุนนั้นมีการแพร่หลายและเข้าถึงได้ง่ายในช่วงนี้ จากการแข่งขันที่สูงขึ้น ดังนั้นความสำเร็จด้านการลงทุนอาจหมายถึงการใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพและเหตุการณ์ในอนาคต
  • ไม่ใช่ทุกบริษัทที่จะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และมันเป็นเรื่องที่ยากที่จะพบกับบริษัทเหล่านั้นและหามูลค่าแท้จริงของมัน
  • จิตวิทยาการลงทุน การศึกษาปัจจัยพื้นฐาน และการยืนหยัดคนหมู่มากเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นเคย
  • จริงอยู่ที่การลงทุนแบบเน้นมูลค่า ใช้ความเชื่อในเรื่องของการกลับสู่ค่าเฉลี่ย หรือ เชื่อว่าสิ่ง ๆ หนึ่งหากมันน้อยหรือมากเกินไปกว่าความเป็นจริงมันจะกลับมาสู่ค่าเฉลี่ยเสมอ ๆ แต่การใช้ mean reversion กับ ธุรกิจที่มีโมเดลธุรกิจย่ำแย่หรือไร้แนวโน้มในอนาคต อาจนำไปสู่การใช้ข้อสรุปอย่างผิดพลาด
  • หากคุณสามารถหาบริษัทที่มีความสามารถในการสร้างรายได้ ได้จากความแตกต่าง อย่าขายมันเพราะราคามันขึ้นไปแล้ว คุณอาจไม่สามารถหาหุ้นผู้ชนะได้มากนักในช่วงชีวิตหนึ่ง และคุณต้องกอบโกยกับมันให้มากที่สุดหลังจากคุณหามันเจอ

ติดตาม FINNOMENA Podcast ได้ทุกช่องทางที่คุณมี

App Spotify
https://finno.me/spotify

App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast

Apple podcast
https://finno.me/applepodcast

App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud

Podbean
https://finno.me/podbean

Youtube
https://finno.me/youtubepodcast