“รายการที่จะพาทุกคนไปเจาะลึก กับปรัชญา แนวคิดของนักลงทุนระดับ World Class”

หัวข้อ

00:00​ Intro

00:40 ประวัติของ Paul Tudor Jones

01:41 กลยุทธ์การลงทุนของ Paul Tudor Jones

08:20 ปรัชญาการลงทุนที่น่าสนใจของ Paul Tudor Jones

09:41​ ผลตอบแทนและผลงานของ Paul Tudor Jones


พอล ทูดอร์ โจนส์ คือใคร?

พอล ทูดอร์ โจนส์ คือหนึ่งในเทรดเดอร์ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในประวัติศาสตร์โลกการลงทุน จัดตั้งกองทุนของตนเองตั้งแต่อายุ 26 ปี หลังจากที่ได้เริ่มทำการเทรดฝ้ายในฟลอร์เทรดโภคภัณฑ์ โดยพอล ทูดอร์ โจนส์ สามารถสร้างสถิติที่น่าทึ่งอย่างการสร้างผลตอบแทนเป็นบวกต่อเนื่องได้ถึง 28 ปี

สร้างผลงานที่โดดเด่นอย่างชอร์ตหุ้นอเมริกาในปี 1987 ช่วง Black Monday รวมถึงทำผลงานที่น่าทึ่งต่อเนื่องผ่านการชอร์ตตลาดหุ้นญี่ปุ่นในปี 1990

กลยุทธ์การลงทุนของ พอล ทูดอร์ โจนส์

ลงทุนแบบ Macro ผสานปัจจัยทางเทคนิค

การลงทุนแบบ Macro ของ พอล ทูดอร์ โจนส์

การลงทุนแบบ Macro ก็คือการลงทุนแบบปัจจัยพื้นฐานในภาพกว้าง เช่น ภาวะเศรษฐกิจ วัฎจักรตลาด วัฎจักรหนี้

พอร์ล ทูดอร์ โจนส์ เชื่อในเรื่องของวัฎจักรและเชื่อว่าราคาที่สะท้อนในตลาดเกิดจากปัจจัยสองสิ่งซึ่งก็คือ supply และ demand หรือพูดง่าย ๆ ก็คือคนอยากซื้อมากกว่าคนอยากขายราคาถึงจะไปต่อได้

จากการศึกษาประวัติศาสตร์ตัว พอล เอง ก็ได้เห็นว่า การกู้ยืมหนี้สิน (Credits) เป็นสิ่งที่ฆ่าอารยธรรมที่รุ่งเรื่องมานัดต่อนัด

ซึ่งมีประวัติมาถึงราว ๆ 5 พันปี เริ่มตั้งแต่ยุคแรก ๆ อย่าง Babylon ที่ทำการปล่อยกู้ข้าวสาลี โดยคิดดอกเบี้ยที่ 33.3% ต่อปี และการปล่อยกู้เงินที่มีเพดานดอกเบี้ยสูงถึง 20% ต่อปี 

จนมาถึงจักรวรรดิโรมันที่ใช้ประโยชน์จาก credit ในการใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งจากเดิมเวลาคนเค้าซื้อที่ดินในสมัยก่อนที่ต้องใช้เหรียญจำนวนมากขนส่งไปให้กับผู้ขาย ก็เปลี่ยนมาใช้การเซ็นเงินให้ผ่านกระดาษหรืออาจจะเรียกได้ว่าเป็นรูปแบบของ เช็คเงินสด

และหากมาพูดถึงประเทศที่เราคุ้นเคยกันสักหน่อย และเป็นผู้วิวัฒนาการ credit อย่างอังกฤษ ที่ได้มีการปรับใช้ในรูปแบบใหม่ เช่น การลดหย่อนดอกเบี้ยสำหรับธุรกิจที่เป็นนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศ หรือ เป็นการทวงหนี้ผ่านรายงานตามหนังสือพิมพ์ว่า ใครผิดนัดชำระหนี้ โดยระบุเป็นชื่อเอาไว้

แต่ถึงแม้พัฒนาการทางด้าน credit จะถูกพัฒนามามากสักเพียงใด วัฎจักร credit ก็มักจะจบลงตามรูปแบบเดิม ๆ  ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ในประเทศที่กล่าวไว้ข้างต้น เช่น 

อย่างโมเดลการเงินระบบเครดิตยุคล่าสุด ในตอนแรกเงินจะถูกค้ำมูลค่าด้วยทอง และใช้การที่เอาทองมาแลกกับเงิน แต่เมื่อประเทศใดมั่งคั่งมาก ๆ การแลกเปลี่ยนก็จะเป็นไปอย่างรวดเร็วจนทองหมด และต้องอาศัยวิธีเงินแลกเงินแทน โดยประเทศที่มีความมั่งคั่งและมั่นคง เงินสกุลนั้น ๆ ก็จะเป็นที่ต้องการของหลาย ๆ ฝ่าย และไม่ต้องค้ำมูลค่าด้วยทองอีกต่อไป 

และก็จะมาจบลง ณ จุดหนึ่ง เมื่อประเทศนั้น ๆ เติบโตไปอย่างเต็มสูบจนหนี้สิน พุ่งเกินศักยภาพรายได้ที่ประเทศนั้น ๆ จะทำได้ จนทำให้ต้องพิมเงินเพื่อซื้อหนี้เสียแทนที่คนจะเอารายได้ไปจ่ายหนี้ จนทำให้เงินประเทศนั้น ๆ หมด มูลค่าลง

สิ่ง ๆ นี้เรียกว่า cycle ใหญ่ ซึ่งเป็นสิ่งที่ พอร์ล เชื่อ และใน cycle ใหญ่ ๆ ก็จะประกอบไปด้วย cycle เล็ก ๆ อย่างการที่ประเทศนั้นเริ่มมีเงินเฟ้อร้อนแรง จนมีการปรับดอกเบี้ยที่แพงขึ้น เป็นรอบ ๆ

ซึ่ง credit นั้นเป็นเสมือนรากฐานของทุก ๆ สิ่งในโลกทุนนิยม เพราะ มันจะส่งผลต่อความต้องการซื้อสินค้าของผู้คน บัญชีหนี้สินของประเทศ ของบริษัท และของทุก ๆ คน

หรือจะพูดได้ว่า credit เป็นตัวขับเคลื่อน demand หลักที่จะส่งผลต่อตลาดหุ้นดังที่กล่าวไว้ข้างต้น

ดังนั้นการเข้าใจ credit cycle ถือเป็นหนึ่งรากฐานที่ขาดไมไ่ด้สำหรับนักลงทุนที่สนใจใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบภาพกว้าง (Macro)

พอล มองว่าการวิเคราะห์เชิงแมคโครนั้นเหมือนกับการเล่นหมากรุกแบบสามมิติ ซึ่งต้องอาศัยความกระหายในความรู้เป็นอย่างมาก เพื่อที่จะได้ข้อมูลเชิงลึกและนำมาเข้าใจถึงสภาวะปัจจุบัน

ใช้กลยุทธ์เชิงเทคนิคอล

เส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน

พอล ได้เปิดเผยว่าในช่วงที่เกิดวิกฤติ Black Monday ที่เขาได้ทำกำไรจากการชอร์ตถึงราว ๆ 60% เกิดจากการที่เขาได้เห็นราคาปิดในช่วงนั้น ต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน และได้เน้นย้ำว่าเส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน เป็นหัวใจหลักของเทคนิคอล

ให้ความสำคัญกับการจัดการความเสี่ยง

พอล เคยเปิดเผยว่าหากเขาต้องเลือกเทรดเดอร์สักหนึ่งคนมาทำงานให้กับเขา เขาจะเลือกเทรดเดอร์ที่มีประวัติการล้างพอร์ตและเจ็บปวดมาจากการขาดทุนอย่างหนัก เพราะ เขาเชื่อว่าเทรดเดอร์เหล่านี้จะถูกฝังความสำคัญของการจัดการความเสี่ยงไปถึงแก่นแท้

นอกจากนั้นพอร์ล ยังให้ความสำคัญกับผลตอบแทนเทียบความเสี่ยงที่คุ้มค่า และเปิดเผยว่าตนได้ใช้ risk:reward ที่ 1:5 สำหรับการเข้าเทรดสักครั้งหนึ่ง หรือพูดง่าย ๆ ว่าเขายินดีพนันเงิน 1 ดอลลาร์ เพื่อให้ได้เงิน 5 ดอลลาร์กลับมา หรืออีกนัยหนึ่งเขามีโอกาสถูก 20% และมีโอกาสผิด 80% แต่ทุกครั้งที่เขาผิด เขาจะมีผลตอบแทนในระดับสูงก่อนหน้าที่เข้ามาชดเชย

การพ่ายแพ้เป็นส่วนหนึ่งของเกม

พอล เชื่อว่าการยอมรับความพ่ายแพ้เป็นเรื่องที่สำคัญ และเขาไม่เห็นด้วยกับการซื้อถัวเฉลี่ยในสินทรัพย์ที่เป็นผู้แพ้ นอกจากนั้นเขายังย้ำเตือนเสมอด้วยว่าในทุก ๆ position ที่เราเทรดให้คิดเสมอว่ามันผิด เพื่อที่เราจะได้ระแวดระวังและคิดอย่างถี่ถ้วนให้ดี

ปรัชญาการลงทุนที่น่าสนใจของ พอล ทูดอร์ โจนส์

  • ใช้ปรัชญาการลงทุนแบบ Contrarian ซึ่งเป็นปรัชญาการลงทุนที่ใช้การตั้งคำถามสวนกับตลาดและแนวคิดของคนส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในักลงทุนวีไอและเทคนิคอลที่มีชื่อเสียงหลาย ๆ ท่าน การทำเช่นนี้จะสามารถทำให้เรามีโอกาสสร้างผลตอบแทนเหนือค่าเฉลี่ยหรือคนส่วนใหญ่ได้
  • สืบเนื่องจากข้อที่แล้ว ในส่วนนี้ก็จะมีความสอดคล้องกัน พอร์ล ทูดอร์ โจนส์ เป็นนักเทรดแนว swing trader หรือนักเทรดที่พยายามหาจุดเข้าซื้อที่เป็นจุดกลับตัวทำให้สร้างผลตอบแทนได้สูง
  • ทำทุกวันให้มีความสุข ผ่อนคลายไม่เครียด และออกจาก position ที่ขาดทุนขนาดใหญ่ และเริ่มใหม่อย่างสดใส และให้ความสำคัญกับความปลอดภัย มากกว่าเน้นการลงทุนเชิงรุก ถึงแม้เขาจะมี action ที่เป็นเชิงรุกก็ตาม
  • ราคาไปก่อนพื้นฐานเสมอ
  • มีจุดกลับตัวในใจ เช่น ตัวเลข ถ้าแตะจุดนั้นออกทันที

ผลตอบแทนย้อนหลังของพอล ทูดอร์ โจนส์

พอล ทูดอร์ โจนส์ สามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีได้ถึง  และเคยสร้างผลตอบแทนที่น่าทึ่งผ่านช่วงวิกฤติ Black Monday ในปี 1987 ที่ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงถึง 22% ในวันเดียว และในขณะที่ทุกคนกำลังแตกตื่น กองทุนของเขาก็สามารถสร้างผลตอบแทนได้ถึง 60% ในเดือน เดียว และสร้างผลตอบแทนถึงเกือบ 200% ภายในปีนั้น


ติดตาม FINNOMENA Podcast ได้ทุกช่องทางที่คุณมี

App Spotify
https://finno.me/spotify

App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast

Apple podcast
https://finno.me/applepodcast

App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud

Podbean
https://finno.me/podbean

Youtube
https://finno.me/youtubepodcast

TSF2024