EP 11 : มาตรการเยียวยาแบบบาซูก้า เวอร์ชั่น ไทย มาแล้ว – THE MARKET PODCAST

https://soundcloud.com/finnomena/ep-11-the-market-podcast

“THE MARKET PODCAST” รายการที่ไม่ใช่แค่เล่าข่าว แต่เป็นการเจาะข่าว เจาะประเด็น เพื่อให้นักลงทุนรู้ก่อนเทรด!

ดำเนินรายการโดย คุณชยนนท์ รักกาญจนันท์ หรือ Mr.Messenger เจ้าของเพจ Sinthorn


มาตรการเยียวยาแบบบาซูก้า เวอร์ชั่นภาษาไทย มาแล้ว!!

เมื่อวานนี้ ครม. มีมติเห็นชอบมาตรการดูแลและเยียวยาโควิดระยะ 3 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท ออกมานะครับ มีอะไรบ้าง เล่าคร่าวๆ

1. พ.ร.ก. กู้เงินวงเงินประมาณ 1 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็น a) ใช้เยียวยาเศรษฐกิจวงเงิน 6 แสนล้านบาท เช่น การจ่ายเงินเยียวยาประชาชน 5,000 บาท ใน 6 เดือน (เดิม 3 เดือน) การเยียวยาเกษตรกร และด้านสาธารณสุข อันนี้จะเริ่มได้เลย b) และอีกวงเงินอีก 4 แสนล้านบาท จะใช้สำหรับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ โดยจะเริ่มกู้เงินได้ในเดือนพ.ค. 2563

2. ออก พ.ร.ก. ให้อำนาจแบงก์ชาติในการออก soft loan สำหรับ SMEs วงเงิน 5 แสนล้านบาท ประกอบด้วย a) วงเงินสินเชื่อใหม่ 5 แสนล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 2% สำหรับ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 5 ร้อยล้านบาท และ b) ให้ธนาคารพาณิชย์พักชำระหนี้ ระยะเวลา 6 เดือน ให้แก่ SMEs ที่มีวงเงินสินเชื่อไม่เกิน 1 ร้อยล้านบาท

3. ออก พ.ร.ก. ดูแลเสถียรภาพภาคการเงิน วงเงิน 4 แสนล้านบาท ด้วยการตั้งกองทุนรวม Corporate Bond Liquidity Stabilization Fund (BSF) และให้ ธปท. ซื้อขายหน่วยลงทุนในกองทุน เพื่อเสริมสภาพคล่องให้ตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน

และอย่างที่เราเห็น ตลาดหุ้นไทย เมื่อวานก็ดีดรับข่าว SET Index ปิดที่ระดับ 1,214.95 จุด เพิ่มขึ้น +76.11 จุด หรือเพิ่มขึ้น +6.68%

เห็นหุ้นไทยร่วงลงมาแล้วบวกกลับได้จากมาตรการแบบนี้ ไปดูด้าน Valuation กัน จะพบว่า ตอนนี้ P/E เราอยู่ที่ 14.14x ก็ไม่ได้ถือว่าถูก ขณะที่ Book Value อยู่ที่ 1.33x และ Dividend Yield ขึ้นมาที่ 4.25%

ที่เรารู้แน่ๆก็คือ ตัว E (Earnings) จะลดลงแน่ๆในไตรมาส 1 และ 2 ของปีนี้ นั้นทำให้ หาก SET Index ยังยืนอยู่ตรงนี้ ไม่ไปไหน P/E จะสูงขึ้นไปอีก ซึ่งไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ความเสี่ยงที่เรากำลังเจอ

ยกเว้นก็แต่ เรามองว่า การฟื้นตัวจะเป็นแบบ V Shape ดีดกลับได้รวดเร็ว พลิกสถานการณ์วิกฤต COVID-19 กลับมาได้ภายในไตรมาส 2 นี้เลย

ซึ่งถ้าคิดแบบนั้น ก็แปลว่า รัฐบาลออกมาตรการเยียวยาเกินตัวไปหรือเปล่า? ทำไมต้องจัดชุดใหญ่ และขยายระยะเวลาเงินกู้ไปจนเสร็จสิ้นตั้งนู้นเลย 30 ก.ย. ปี 2564

ดังนั้น มองในมุมไหน ตลาดหุ้นไทย ก็มี Upside ไม่เยอะมากจากจุดที่เรายืนอยู่ ณ ตรงนี้ หากมองจากพื้นฐานเศรษฐกิจ และ ผลประกอบการที่จะทยอยออกมาให้เราเห็น

แล้วหุ้นมันเด้งขึ้นมาได้ยังไง ใครเป็นคนซื้อ?

ถ้าไปดูแบบรายงาน 246-2 ที่ กลต. ประกาศ จะพบว่า กรรมการบริษัท และผู้ถือหุ้นในบริษัทจดทะเบียน มีการทยอยสะสมหุ้นตัวเองมาเรื่อยๆ

ก็อย่างว่าครับ หุ้นบางตัว ร่วงมา 30-40% จากราคาสูงสุด พอหมดช่วง silence period ก็ทยอยเก็บหุ้นตัวเอง ณ ราคานี้ เพราะเขาต้องอยู่กับกิจการของเขาอีกเป็นสิบๆปี

และจากความหวังกองทุน SSFX ซึ่ง บล. ต่างๆคาดการณ์ว่าจะมีเม็ดเงินเข้ามาตลาดหุ้นราวๆ 10,000 – 24,000 ล้านบาท ก็น่าจะช่วยพยุงดัชนีไว้ได้บ้าง

คำถามคือ ถ้าเรามองอีก 10 ปีข้างหน้า ดัชนี SET Index และราคาหุ้นหลายๆตัวที่เรามองอยู่ ณ ตอนนี้ มันต้องขึ้นไปแน่ๆในอีก 10 ปีข้างหน้า และเราก็ถืออย่างสบายใจ ไม่ได้กังวลอะไรจริงๆ ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดี คุณจะเข้าไปทยอยซื้อก็ได้ครับ

ของอย่างงี้ มันขึ้นอยู่กับ Risk Appetite ของแต่ละคนครับ เราไม่มาเถียงกัน

แต่จากมาตราการที่ทุกชาติจัดเต็มกันมาทั้งนโยบายการเงินและการคลัง มันทำให้เห็นว่า วิกฤตครั้งนี้ มันต่างจากครั้งอื่นๆ วิธีรับมือก็แตกต่างกันออกไป

ผู้ที่อยู่รอดคือ ผู้ที่ยอมรับความจริง อ่านสถานการณ์ให้ออก และพร้อมปรับตัวให้ไว

Mr.Messenger รายงาน


พิเศษ! สำหรับใครที่สนใจเปิดบัญชีลงทุนครั้งแรกกับ FINNOMENA เรามีโปรโมชั่นพิเศษสำหรับชาว Podcast

เพียงโหลดแอป FINNOMENA มาเพื่อเปิดบัญชี แล้วใส่ Code #PODCAST100 รับไปเลยหน่วยลงทุน TMBTM มูลค่า 100 บาท ฟรี! อ่านเงื่อนไขรายละเอียดการรับสิทธิ์ได้ที่ : finno.me/podcast100


ติดตาม FINNOMENA Podcast ได้ทุกช่องทางที่คุณมี

App Spotify
https://finno.me/spotify

App Google podcasts
https://finno.me/googlepodcast

Apple podcast
https://finno.me/applepodcast

App Soundcloud
https://finno.me/soundcloud

Podbean
https://finno.me/podbean

Youtube
https://finno.me/youtubepodcast

TSF2024