หลังจากที่แต่ละประเทศเดินหน้าเร่งฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อให้ประชากรสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติและเศรษฐกิจกลับมาเปิดใหม่ได้อีกครั้ง ทำให้เศรษฐกิจยุคหลังโควิด-19 มีความน่าสนใจในหลาย ๆ ประเทศ และ “ยุโรป” ก็เป็นอีกหนึ่งในเศรษฐกิจโลกที่น่าจับตามองเช่นกัน ในบทความนี้เราจึงขอนำกองทุน WE-EUROPE กองทุนหุ้นยุโรปจากบลจ.วี มาแนะนำให้ทุกคนได้รู้จักกัน หากใครที่มองหาโอกาสในการเติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจยุโรปยุคใหม่อยู่ก็บอกได้เลยว่าห้ามพลาดบทความนี้
ทำไมต้องลงทุนในยุโรป?
แนวโน้มการฟื้นตัวของยุโรปสดใสมากขึ้น
- แม้ว่าจะมีความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลต้า แต่ด้วยคุณภาพของวัคซีนและการฉีดวัคซีนที่ทำได้ค่อนข้างรวดเร็ว ทำให้ประเทศในยุโรปหลายประเทศกลับมาเปิดเมืองได้ และมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
- นักเศรษฐศาสตร์ได้ปรับประมาณการการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP growth) ของยุโรปขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มจะฟื้นตัวกลับมาใกล้เคียงช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เร็ว ๆ นี้
Euro area real GDP level
ที่มา: Haver, Credit Suisse
แนวโน้มการใช้จ่ายการบริโภคที่เพิ่มขึ้นเป็นแรงผลักดันที่สำคัญของเศรษฐกิจยุโรป
ภาคธุรกิจในยุโรปและอังกฤษส่งสัญญาณฟื้นตัวชัดเจนตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เห็นได้จากดัชนียอดคำสั่งซื้อผู้จัดการ (PMI) ที่ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ระดับประมาณ 60 จุด ขณะที่ตัวเลข PMI ภาคบริการหลังจากการเปิดเมืองและเปิดเศรษฐกิจหลายประเทศในยุโรปก็เริ่มฟื้นตัวเช่นเดียวกัน
PMI ภาคบริการ US, Eurozone และ UK (ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 01/01/2018 – 31/05/2021)
ที่มา: Markit
นโยบายการคลังและการเงินยุโรปยังสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว
- ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ยังคงมีโครงการเข้าซื้อสินทรัพย์ (QE) ในโครงการ Asset Purchase Programme (APP) เดิมที่ซื้อสินทรัพย์เดือนละ 2 หมื่นล้านยูโร ทำให้ประเมินได้ว่าสภาพคล่องต่อระบบเศรษฐกิจและตลาดยังคงมีเพียงพอ
- NextGenerationEU (NGEU) ที่เป็นเครื่องมือชั่วคราวที่ออกแบบมาเพื่อกระตุ้นการฟื้นตัว เป็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมาในยุโรป ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจยุโรปหลังโควิด-19 ให้เป็นยุโรปที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นดิจิทัลมากขึ้น และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น
โครงสร้างเศรษฐกิจยุโรปเปลี่ยนไปในเชิงเศรษฐกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีมากขึ้น
ช่วงปี 2014-2020 เศรษฐกิจยุโรปมีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างอย่างชัดเจนเพื่อมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) จำนวนบริษัทด้านเทคโนโลยีขนาดกลางและขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นประมาณ 4 เท่า การระดุมทุนของบริษัทเทคโนโลยีเพิ่มขึ้นกว่า 13 เท่า และมูลค่าของบริษัทด้านเทคโนโลยีที่เพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่า
โปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ เปิดบัญชีลงทุนครั้งแรกกับ FINNOMENA รับหน่วยลงทุน PCASH มูลค่า 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. – 31 พ.ค. 65 คลิก https://finno.me/havefund-promotion
เปิดรับโอกาสเติบโตในเศรษฐกิจยุโรปยุคใหม่ไปพร้อมกับกองทุน WE-EUROPE
กองทุน WE-EUROPE หรือ WE EUROPE OPPORTUNITY FUND มีนโยบายลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟต่างประเทศที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์ที่จัดตั้งขึ้น หรือดำเนินธุรกิจ หรือได้รับประโยชน์จากการดำเนินธุรกิจในภูมิภาคยุโรปเป็นหลัก โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
ทั้งนี้ บริษัทจัดการจะลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟต่างประเทศ ที่มีนโยบายการลงทุนข้างต้นตั้งแต่ 2 กองทุนขึ้นไป โดยมีสัดส่วนการลงทุนในแต่ละกองทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีกองทุนละไม่เกินร้อยละ 79 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
จุดเด่นของกองทุน WE-EUROPE
- เป็นกองทุนประเภท Fund of Funds เน้นคัดเลือกหุ้นที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของยุโรปยุคใหม่
- กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุนเป็นแบบ Active Management คัดเลือกผู้จัดการกองทุนต่างประเทศที่แข็งแกร่งในการคัดเลือกหุ้นยุโรป
- ปรับสัดส่วนการลงทุนในหลักทรัพย์ตามความเหมาะสมกับภาวะตลาด
กองทุน WE-EUROPE ลงทุนในหลักทรัพย์อะไรบ้าง?
กองทุน WE-EUROPE จัดเป็นกองทุนประเภท Fund of Funds โดยกองทุนรวมต่างประเทศที่กองทุน WE-EUROPE ไปลงทุน 2 กองทุนหลัก ได้แก่
Berenberg European Focus Fund
กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในระยะยาวให้สูงกว่าดัชนี MSCI Europe Index ในช่วงการลงทุนระยะกลางถึงระยะยาว โดยเน้นคัดเลือกบริษัทที่มีการเติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาวและมีผล กำไรสูงที่จัดตั้งในยุโรปและดำเนินกิจการทั่วโลก โดยกองทุน WE-EUROPE จะลงทุนในกองทุนดังกล่าวในสัดส่วนการลงทุน ประมาณ 70% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีวัด (Active Management)
Top 10 Countries และ Sector Allocation ของ Berenberg European Focus Fund (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564)
ที่มา: Berenberg European Focus Fund Factsheet
Top 10 Holdings ของ Berenberg European Focus Fund (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564)
ที่มา: Berenberg European Focus Fund Factsheet
- Teleperformance (4.55%) — เป็นผู้ให้บริการขายและแนะนำผลิตภัณฑ์ทางโทรศัพท์ (telemarketing) ในประเทศฝรั่งเศส บริการของบริษัทยังรวมไปถึงบริการสารสนเทศ ความช่วยเหลือด้านเทคนิค การจัดหาลูกค้า และบริการติดตามหนี้ บริษัทให้บริการในหลายประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร นอร์เวย์ ตูนิเซีย กรีซ สหรัฐอเมริกา และอื่น ๆ
- ASML Holding (3.92%) — เป็นบริษัทในประเทศเนเธอแลนด์ที่เชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาและผลิตระบบโฟโตลิโธกราฟี (การพิมพ์หินด้วยแสง) สำหรับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โดยดำเนินธุรกิจหลักในประเทศเนเธอร์แลนด์ สหรัฐฯ และเอเชีย
- HelloFresh (3.86%) — บริษัทในเยอรมนี ผู้ให้บริการชุดอาหารพร้อมปรุง (Meal Kit) ชั้นนำของโลก บริษัทส่งมอบชุดอาหารให้กับลูกค้าในภูมิภาคต่าง ๆ ทั้งในสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ออสเตรีย เบลเยียม แคนาดา เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ และสหราชอาณาจักร
Janus Henderson Horizon Pan European Smaller Companies Fund
กองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างผลตอบแทนให้แก่เงินลงทุนในระยะยาว โดยกองทุน จะลงทุนอย่างน้อย 75% ของสินทรัพย์ในหุ้นและหลักทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุนของบริษัท ขนาดเล็กในทุกอุตสาหกรรมในเขตเศรษฐกิจยุโรป (EEA) หรือสหราชอาณาจักร (หากไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ EEA) ซึ่งบริษัทดังกล่าวจดทะเบียนอยู่ใน EEA หรือสหราชอาณาจักร โดยกองทุน WE-EUROPE จะลงทุนในกองทุนดังกล่าวในสัดส่วนการลงทุน ประมาณ 30% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีวัด (Active Management)
Top 10 Countries และ Sector Breakdown ของ Janus Henderson Horizon Pan European Smaller Companies Fund (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564)
ที่มา: Janus Henderson Horizon Pan European Smaller Companies Fund Factsheet
Top 10 Holdings ของ Janus Henderson Horizon Pan European Smaller Companies Fund (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564)
ที่มา: https://www.janushenderson.com/en-gb/adviser/product/janus-henderson-horizon-pan-european-smaller-companies-fund/
- Van Lanschot Kempen (2.76%) — เป็นสถาบันการเงินอิสระที่เก่าแก่ที่สุดในเนเธอร์แลนด์ บริการของบริษัท ได้แก่ บริการทางการเงินการลงทุน จำนอง ประกัน การจัดการสินทรัพย์ และบริการสำหรับลูกค้าที่มีสินทรัพย์สูง (private banking)
- TKH Group (2.17%) — เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ตั้งอยู่ในเนเธอร์แลนด์ มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาและส่งมอบระบบและเครือข่ายสำหรับการให้ข้อมูล โทรคมนาคม วิศวกรรมไฟฟ้า และการผลิตภาคอุตสาหกรรม โดยดำเนินการใน 3 ส่วนงาน ได้แก่ Telecom Solution, Building Solutions และ Industrial Solutions
- Dfds (2.07%) — เป็นบริษัทขนส่งและโลจิสติกส์แบบบูรณาการในเดนมาร์ก โดยการดำเนินงานของบริษัทแบ่งออกเป็น 2 ส่วนงาน คือส่วนงานเรือเฟอร์รี่ข้ามฟากและส่วนงานโลจิสติกส์ที่ให้บริการทั้งในยุโรปและตุรกี
ผลการดำเนินงานย้อนหลัง
ผลการดำเนินงานของกองทุนตั้งแต่จัดตั้งเทียบกับดัชนี และผลการดำเนินงาน 12 เดือนของ Berenberg European Focus Fund (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564)
ที่มา: Berenberg European Focus Fund Factsheet
** ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **
มาเริ่มกันที่ Berenberg European Focus Fund อย่างที่บอกไปในช่วงต้นว่า กองทุนนี้มีกลยุทธ์ในการบริหารจัดการแบบ Active Management ซึ่งหากดูจากภาพด้านซ้ายที่เป็นกราฟแสดงผลการดำเนินงานของกองทุนตั้งแต่จัดตั้งเทียบกับ Benchmark อย่าง MSCI Europe Index จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมากองทุนสามารถสร้างผลการดำเนินงานได้แบบทิ้งห่าง Benchmark อย่างต่อเนื่อง
ผลการดำเนินงานของ Janus Henderson Horizon Pan European Smaller Companies Fund (ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2564)
ที่มา: Janus Henderson Horizon Pan European Smaller Companies Fund Factsheet
** ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **
ต่อกันที่ Janus Henderson Horizon Pan European Smaller Companies Fund ที่เน้นลงทุนในหุ้นขนาดเล็กใน EEA จะเห็นว่า แม้ว่ากองทุนจะลงทุนในหุ้นขนาดเล็กแต่ก็บอกได้เลยว่าจิ๋วแต่แจ๋วจริง ๆ เพราะกองทุนนี้ทำผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีไปได้ถึง 60.5% ในขณะที่ Benchmark อย่าง EMIX Smaller European Companies Index ทำผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปีไปได้เพียง 45.1%
ปัจจัยความเสี่ยงของกองทุน WE-EUROPE
กองทุน WE-EUROPE จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ความเสี่ยงจากความผันผวนของผลการดำเนินงาน (SD): 15-25%
- ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน (ภาวะปกติประมาณ 80% ของพอร์ตการลงทุน)
- ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: ไม่มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศและหมวดอุตสาหกรรม
อย่างไรก็ตามผู้ลงทุนสามารถกระจายความเสี่ยงได้ด้วยการจัดพอร์ตการลงทุนโดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดพอร์ตการลงทุนจากฟินโนมีนาได้ที่ https://www.finnomena.com/port/
ค่าธรรมเนียมต่างๆ ของกองทุน WE-EUROPE
- ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.605%
- ค่าธรรมเนียมการขายและ Switching-in: 1.50%
- ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.95275%
เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน WE-EUROPE
- มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรก: 1 บาท (ช่วง IPO 5,000 บาท)
- มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งถัดไป: 1 บาท
กองทุน WE-EUROPE เหมาะกับใคร?
- ผู้ที่ต้องการลงทุนในหุ้นของบริษัทในยุโรปทุกกลุ่มธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากการเติบโตของเศรษฐกิจยุโรปยุคใหม่
- ผู้ที่ต้องการกระจายพอร์ตการลงทุนไปยังต่างประเทศหรือยุโรป
- ผู้ที่สามารถลงทุนในระยะกลางถึงยาวได้ รวมถึงสามารถรับความเสี่ยงได้สูงเพื่อสร้างโอกาสในการรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น
สำหรับใครที่อยากฟังคุณแบงค์และคุณปั๊ปรีวิวและวิเคราะห์กองทุน WE-EUROPE ในรายการ Morning Brief เพิ่มเติมก็สามารถกดรับชมคลิปด้านล่างได้เลย
หรือใครอยากมองหาโอกาสลงทุนในหุ้นยุโรปเพิ่มเติมนอกเหนือจากกองทุน WE-EUROPE แล้ว เรายังมีอีกหนึ่งกองทุนแนะนำ (FINNOMENA Pick) นั่นคือกองทุน K-EUSMALL ซึ่งเป็นกองทุนที่อยู่ใน FINNOMENA Port ด้วย และแน่นอนว่าเราก็มีบทความรีวิวสำหรับกองทุน K-EUSMALL เช่นกัน สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ที่
รีวิวกองทุน K-EUSMALL: โอกาสเติบโตผ่านหุ้นมูลค่าท่ามกลางความผันผวนของหุ้นเติบโต
— planet 46.
โปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ เปิดบัญชีลงทุนครั้งแรกกับ FINNOMENA รับหน่วยลงทุน PCASH มูลค่า 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. – 31 พ.ค. 65 คลิก https://finno.me/havefund-promotion
อ้างอิง
- https://www.janushenderson.com/en-gb/adviser/product/janus-henderson-horizon-pan-european-smaller-companies-fund/
- https://cdn.janushenderson.com/webdocs/HESZPE_LU1611731263_WEB100_M_30062021%28EN-GB%29.PDF
- https://www.bloomberg.com/profile/company/VLK:NA
- https://www.reuters.com/companies/TWKNc.AS
- https://www.reuters.com/companies/DFDS.CO
- https://berenberg.factsheetslive.com/product/lu1637618155/factsheet?useFixedDate=Y&ignoreLocale=Y&ignorePublished=N&authorizationMode=0&locale=en_GB
- https://www.reuters.com/companies/HFGG.DE
- https://www.reuters.com/companies/ASML.AS
- https://www.reuters.com/companies/TEPRF.PA
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”