ใครที่ก้าวเข้ามาในโลกของการลงทุนแล้ว คงจะทราบกันดีว่ากลยุทธ์การลงทุนนั้นมีหลากหลายแบบ แต่กลยุทธ์การลงทุนที่เป็นที่นิยมกันมากที่สุดก็คงจะเป็นการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย (DCA) และการลงทุนแบบครั้งเดียวด้วยเงินก้อน (Lumpsum) ซึ่งหากพูดถึงกองทุนประหยัดภาษีอย่าง “SSF-RMF” หลายคนเลือกที่จะซื้อทีเดียวตอนปลายปีมากกว่าที่จะทยอยซื้อกองทุนตั้งแต่ช่วงต้นปี
บทความนี้จึงขอพาทุกคนมาพิสูจน์กันว่า “หากเราซื้อกองทุน SSF-RMF แบบ DCA ตลอดทั้งปีจะดีกว่าซื้อกองทุน SSF-RMF ทีเดียวปลายปีจริงหรือไม่?” และกลยุทธ์การลงทุนแบบไหนจะเหมาะกับเรามากกว่ากัน แต่ก่อนอื่นขอพาทุกคนไปทวนความจำกันก่อนสักนิดว่า DCA นั้นคืออะไร และการลงทุนแบบ DCA มีข้อดีอะไรบ้าง?
หมายเหตุ: ตัวอย่างในบทความนี้เป็นการอ้างอิงโดยใช้ชุดข้อมูลเพียงช่วงเวลาเดียวคือปี 2022 เท่านั้น ดังนั้นข้อสรุปที่ได้จากข้อมูลชุดนี้จึงไม่อาจนำไปใช้ตัดสินการลงทุนในช่วงเวลาอื่น ๆ
DCA คืออะไร?
DCA (Dollar-Cost Averaging) เป็นรูปแบบการลงทุนอย่างหนึ่งที่ถัวเฉลี่ยต้นทุน ด้วยการลงทุนในจำนวนเงินเท่ากันแต่ละงวดอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็น รายสัปดาห์ รายเดือน รายไตรมาส โดยไม่จับจังหวะตลาด และไม่คำนึงถึงราคาของสินทรัพย์นั้น ๆ ว่าจะเป็นเท่าไร เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการวางแผนลงทุนในระยะยาว พร้อมสร้างวินัยการลงทุนได้อย่างสม่ำเสมอ
ข้อดีของการลงทุนแบบ DCA
1. สร้างวินัยในการลงทุน
หัวใจสำคัญของการลงทุนแบบ DCA คือ “ความสม่ำเสมอ” ด้วยจำนวนเงินที่เท่ากันในแต่ละเดือน ดังนั้นการลงทุนแบบ DCA จึงเป็นเหมือนการสร้างวินัยในการลงทุนให้กับตัวเอง ซึ่งวินัยในการลงทุนถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากในโลกการลงทุน
2. ไม่ต้องจับจังหวะตลาด
อย่างที่ทราบกันดีว่าการลงทุนแบบ DCA เป็นการลงทุนถัวเฉลี่ยโดยไม่สนใจราคาสินทรัพย์ที่เข้าลงทุน เราจึงไม่จำเป็นต้องจับจังหวะตลาดเพื่อเข้าซื้อสินทรัพย์นั้น ๆ เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่มีเวลาตามข่าวสารตลาดอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะช่วยลดความกังวลจากสภาวะตลาด รวมถึงอารมณ์ในการตัดสินใจลงทุนได้ด้วย
3. ลดความผันผวนในการลงทุน
เนื่องด้วยการลงทุนแบบ DCA เป็นการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุนในระยะยาว บางงวดอาจจะซื้อถูกบ้าง บางงวดอาจจะซื้อแพงบ้าง แต่สุดท้ายแล้วต้นทุนจะถูกถัวเฉลี่ยกัน ดังนั้นการลงทุนแบบ DCA จึงช่วยลดความเสี่ยงในการลงทุน รวมถึงลดความผันผวนด้านราคาของสินทรัพย์ที่ลงทุนได้
4. ใช้เงินลงทุนจำนวนไม่มาก
การลงทุนแบบ DCA เราสามารถวางแผนกำหนดเงินลงทุนในแต่ละงวดได้เอง โดยนักลงทุนมือใหม่อาจจะเริ่มต้นลงทุนด้วยเงินจำนวนไม่มากก่อน แล้วค่อยทยอยใส่เงินลงทุนเพิ่มไปเรื่อย ๆ ก็จะทำให้เราบรรลุเป้าหมายทางการเงินได้เร็วขึ้น รวมถึงสร้างความมั่งคั่งในระยะยาวได้
ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ DCA ได้ที่
- DCA คืออะไร? ดีสำหรับเราจริงหรือ? I POCKET MONEY EP7
- สร้างวินัยให้พอร์ตการลงทุนแข็งแรง ด้วยการทำ DCA
- เลือกจับจังหวะซื้อแบบ Market Timing หรือ ทยอยลงทุนแบบ DCA ดี?
ซื้อ SSF-RMF แบบ DCA ตลอดทั้งปี vs ซื้อ SSF-RMF ทีเดียวปลายปี
จากภาพด้านบนเป็นตารางสมมติเปรียบเทียบระหว่างการลงทุนในกองทุน SSF-RMF แบบ DCA ทุกสิ้นเดือนตลอดทั้งปี กับการลงทุนในกองทุน SSF-RMF ทีเดียวปลายปี (Lumpsum) โดยในที่นี้ขอยกตัวอย่างการลงทุนในกองทุน SSF ดัชนี SET50 อย่างกองทุน T-SET50 ด้วยระยะเวลา 1 ปี (1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 2022)
จะเห็นได้ว่าการลงทุนแบบ DCA มูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) ที่เราซื้อจะแตกต่างกันไปในแต่ละเดือน บางเดือนได้ซื้อของถูก บางเดือนได้ซื้อของแพง สลับ ๆ กันไป แต่สุดท้ายแล้วมูลค่าหน่วยลงทุนทั้งหมดจะถูกถัวเฉลี่ย โดยจากตัวอย่างในตารางมูลค่าหน่วยลงทุนเฉลี่ย ณ สิ้นปี จะเท่ากับ 13.1735 บาท ซึ่งจะทำให้ได้จำนวนหน่วยลงทุนรวมเท่ากับ 9,113.42 หน่วย ในขณะที่การลงทุนแบบครั้งเดียวตอนปลายปี (Lumpsum) เงินก้อนใหญ่ของเราจะถูกลงทุนในต้นทุนมูลค่าหน่วยลงทุน (NAV) เดียวคือ 13.3508 บาท ทำให้ได้จำนวนหน่วยลงทุนรวมทั้งหมด 8,988.26 หน่วย ซึ่งเป็นจำนวนหน่วยลงทุนที่น้อยกว่าการลงทุนแบบ DCA
อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างที่ยกมาในบทความนี้เป็นการอ้างอิงจากชุดข้อมูลเพียงช่วงเวลาเดียวเท่านั้น คือปี 2022 ดังนั้นอาจไม่สามารถสรุปรวมได้ว่าการลงทุนแบบไหนดีกว่ากัน เพราะการลงทุนทั้งสองแบบมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกัน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเลือกกลยุทธ์การลงทุนให้เหมาะสมกับตัวเอง เพื่อให้เราสามารถลงทุนได้อย่างสบายใจในระยะยาว เช่น การลงทุนแบบครั้งเดียว (Lumpsum) หากเราลงทุนถูกจังหวะก็มีโอกาสสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่าการลงทุนแบบ DCA ในทางกลับกัน หากจับจังหวะลงทุนไม่ถูก ลงทุนในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนค่อนข้างสูง ก็อาจทำให้ได้ผลตอบแทนที่ต่ำกว่าการลงทุนแบบ DCA ดังนั้นการลงทุนแบบ DCA จึงเปรียบเสมือนกลยุทธ์ในการกระจายความเสี่ยง ซึ่งจะช่วยลดความผันผวนด้านมูลค่าหน่วยลงทุน รวมถึงลดความเสี่ยงในการลงทุนตามที่กล่าวไปด้านบน นอกจากนี้ยังทำให้เรามีเวลาเหลือไปทบทวนและปรับแก้แผนภาษีของตัวเองได้ตลอดทั้งปีอีกด้วย
ลงทุน SSF-RMF แบบ DCA ได้ง่าย ๆ ภายใน 5 นาที บน FINNOMENA
ปัจจุบันลูกค้า FINNOMENA สามารถตั้งรายการลงทุนรายเดือนกองทุน SSF-RMF แบบอัตโนมัติได้ด้วยตัวเองผ่านแอปพลิเคชัน และเว็บไซต์ FINNOMENA ตั้งรายการเพียงครั้งเดียว ระบบจะลงทุนให้อัตโนมัติทุกสัปดาห์หรือทุกเดือน หมดกังวลว่าสัปดาห์ไหนหรือเดือนไหนจะลืมลงทุนไป พร้อมปรับเปลี่ยนแผนได้ตลอดเวลา ลงทุนกองทุน SSF-RMF แบบ DCA ได้ทั้ง 21 บลจ. ครบจบในที่เดียว
- สร้างรายการ DCA ผ่านแอปพลิเคชัน/เว็บไซต์ FINNOMENA
- เลือกกองทุน SSF-RMF ที่ต้องการลงทุน
- ระบุจำนวนเงินและวันที่ทำรายการ DCA
- ระบุวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดการทำรายการ DCA
ศึกษาขั้นตอนแบบละเอียดได้ที่ 9 Step แบ่งเงินลงทุน DCA กองทุน SSF RMF บน FINNOMENA
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ SSF-RMF
- ความรู้เกี่ยวกับ SSF และ RMF
- E-Book เลือกกองทุน SSF & RMF อย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ
- กองทุน SSF คืออะไร? ต่างจาก LTF อย่างไร? RMF ปรับเกณฑ์ใหม่ ไม่มีขั้นต่ำ!!
- “RMF” คืออะไร? ทบทวนเงื่อนไขพร้อมกองทุนแนะนำ! I TAX เพื่อนๆ EP3
- คัมภีร์มหากาพย์กองทุน SSF กองไหนดี ต้องซื้อไหม ซื้อได้เท่าไร? สุดยอดกองทุนลดหย่อนภาษี
.
หากพร้อมลงทุนในกองทุน SSF-RMF แบบ DCA รายเดือนอัตโนมัติ กับ FINNOMENA สามารถเปิดแอปพลิเคชัน หรือเว็บไซต์ แล้วเลือกสร้างแผน “Tax Saving” ได้เลย
👉 คลิกที่นี่ >>> https://finnomena.onelink.me/10bl/1g4yqn9g
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเปิดบัญชี FINNOMENA ได้ที่
- เปิดบัญชีซื้อ SSF-RMF กับ FINNOMENA โอกาสทำกำไรพร้อมลดหย่อนภาษี
- วิธีสร้างแผนการลงทุนพร้อมเปิดบัญชีซื้อขายกองทุนกับ FINNOMENA แบบ Step by Step
- พาเปิดบัญชีซื้อกองทุนรวม นั่งอยู่บ้าน 5 นาที ไม่ต้องส่งเอกสาร พร้อมเทียบให้หมด ที่ไหนเปิดที่เดียวซื้อได้ทุกบลจ. บ้าง
- พาซื้อกองทุนรวมผ่าน FINNOMENA พร้อมความพิเศษต่าง ๆ ที่หาไม่ได้จากที่อื่น
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนของกองทุน SSF และ RMF ก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”