หากพูดถึงกระแสที่มาแรงสุด ๆ ในช่วงปลายปีนี้ก็คงต้องยกให้กับกระแส ‘Metaverse’ หรือที่เรียกเป็นชื่อไทยได้ว่า ‘จักรวาลนฤมิต’ วันนี้ จึงขอพาทุกคนไปเกาะกระแส ทำความรู้จักกับกองทุน M-META กองทุนน้องใหม่จาก บลจ. MFC ซึ่งเป็นกองทุนแรกในไทย ที่มีนโยบายลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse กันแบบเน้น ๆ กองทุนนี้จะมีความน่าสนใจอย่างไร ติดตามไปพร้อมกันผ่านบทความนี้
Metaverse คืออะไร?
Metaverse เป็นการผสมผสานระหว่างองค์ประกอบต่าง ๆ ของเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR) ในการสร้าง ‘โลกเสมือนจริง’ ด้วยโลกเสมือนจริงนี้เองที่จะทำให้ผู้คนสามารถสนทนาและทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ เหมือนกับอยู่บนโลกแห่งความเป็นจริง
โปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ เปิดบัญชีลงทุนครั้งแรกกับ FINNOMENA รับหน่วยลงทุน PCASH มูลค่า 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. – 31 พ.ค. 65 คลิก https://finno.me/havefund-promotion
- Augmented Reality (AR) คือ การเชื่อมต่อโลกแห่งความเป็นจริงและความเสมือนจริงเข้าด้วยกันด้วยเทคโนโลยี โดยเป็นการนำรูปแบบ 3 มิติจำลองเข้าสู่โลกความเป็นจริง ทำให้เราสามารถมองเห็นวัตถุ 3 มิติได้ผ่านจอ
เทคโนโลยี AR
ที่มา: GettyImage
- VR (Virtual Reality) คือ การจำลองภาพเสมือนจริงแบบ 360 องศา โดยต้องใช้แว่นตา VR เป็นตัวช่วยที่จะทำให้ผู้ใช้สัมผัสประสบการเสมือนจริงได้ทั้งภาพ เสียง การสัมผัส และกลิ่น
เทคโนโลยี VR
ที่มา: BMW
ทำไมต้องลงทุนใน Metaverse?
- Bloomberg Intelligence เชื่อว่าโอกาสทางตลาดของ Metaverse จะมีมูลค่าสูงถึง 800 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2024 ในขณะที่ ARK Research ประมาณการว่ารายได้จากโลกเสมือนจริงหรือ Virtual Worlds จะพุ่งขึ้นสูงถึง 400 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ภายในปี 2025 เพิ่มจากประมาณการในปี 2021 ที่ 180 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
ประมาณการเติบโตของตลาด Metaverse
ที่มา: Bloomberg, ข้อมูล ณ วันที่ 01/12/2021
- เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น Virtual Reality (VR), Engines และ Blockchain จะเป็นแรงผลักดันให้ Metaverse เติบโตได้ ซึ่งจากการวิจัยของ Renub มูลค่าตลาด VR ทั่วโลก มีโอกาสพุ่งสูงถึง 80.16 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2026 เมื่อเทียบกับปี 2020 ที่มีมูลค่า 23.70 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ 22.52%
มูลค่าตลาด VR ทั่วโลก ปี 2020-2026
ที่มา: Rehub, ข้อมูล ณ เดือน มีนาคม 2021
- จากการสำรวจของ McKinsey & Company พบว่า ผู้เข้าร่วมการสำรวจมากกว่า 50% ต้องการให้นายจ้างนำ ‘Hybrid virtual-working Model’ มาปรับใช้ในองค์กร หลังจากเกิดโควิด-19 ซึ่ง Metaverse จะสามารถตอบโจทย์ความต้องการเหล่านี้ได้ และยังช่วยองค์กรลดต้นทุน รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานขององค์กรอีกด้วย
ผลการสำรวจรูปแบบการทำงานก่อนและหลังเกิดโควิด-19
ที่มา: McKinsey & Company, ข้อมูล ณ วันที่ 01/04/2021
- Metaverse จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงภาคธุรกิจต่าง ๆ อย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยล่าสุดค่ายเพลงเกาหลียักษ์ใหญ่หนึ่งใน BIG4 อย่าง SM Entertainment ได้เดบิวต์เมทาเวิร์สเกิร์ลกรุ๊ปที่ชื่อว่าวง ‘aespa’ ในช่วงปลายปี 2020 ที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นเกิร์ลกรุ๊ปวงแรกของวงการ K-Pop ที่มีการนำคอนเซปต์ของ Metaverse มาใช้ นอกจากนี้ ในอุตสาหกรรมบันเทิงยังนำ Metaverse ไปใช้ในการจัดคอนเสิร์ตเสมือนจริง (Virtual Concert) อีกด้วย ศิลปินที่เคยจัดคอนเสิร์ตเสมือนจริงก็เช่น Justin Bieber, John Legend และ Ariana Grande
Metaverse Girl group ‘aespa’
ที่มา: aespa Official Twitter
ท่องจักรวาลนฤมิตไปพร้อมกับกองทุน M-META
กองทุน M-META หรือ MFC Metaverse Equity Fund จาก บลจ. เอ็มเอฟซี (MFC) มีนโยบายลงทุนใน Roundhill Ball Metaverse ETF เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน M-META จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6
กองทุนหลักมีวัตถุประสงค์ในการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนของกองทุน (ก่อนหักค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย) ให้ใกล้เคียงกับผลตอบแทนของดัชนี Ball Metaverse Index (ดัชนีอ้างอิง) ที่เป็นดัชนีแรกที่ติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน ทั่วโลกที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือการจัดหาผลิตภัณฑ์ บริการ เทคโนโลยี หรือความสามารถทาง เทคโนโลยีเพื่อเข้าถึง Metaverse รวมถึงบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากการสร้างรายได้ที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse โดยจะคัดเลือกหุ้นที่อยูในธุรกิจที่จัดอยู่ใน Metaverse Market Map 7 ประเภท จากการวิจัย และการวิเคราะห์เชิงลึกของ Expert Council ที่มีความรู้ความชำนาญ
ทั้งนี้ กองทุนหลักอาจถือครองหลักทรัพย์ของบริษัทจดทะเบียนที่มีธุรกิจและการดำเนินกิจการที่เกี่ยวข้องกับ Cryptocurrency แต่จะไม่ลงทุนโดยตรงใน Cryptocurrency
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด (Passive Management / Index Tracking)
จุดเด่นของกองทุน M-META
- ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse ด้วยวิธีการประเมินอนาคตของบริษัทประเภทต่าง ๆ ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวข้องกับ Metaverse และจัดสรรน้ำหนักลงทุนตามสัดส่วนของรายได้และผลกําไรที่โยงกับ Metaverse
- ครอบคลุมหลากหลายกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse Ecosystem
- โอกาสรับผลตอบแทนจากธุรกิจ Metaverse ที่มีแนวโน้มเติบโตในระยะยาว
ลงทุนในกองทุน M-META แล้วจะได้ลงทุนในบริษัทอะไรบ้าง?
กลยุทธ์ในการคัดเลือกหุ้นลงทุน
Ball Metaverse Index จะคัดเลือกลงทุนในหุ้นตามธีมการลงทุนในทุกธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ Metaverse ซึ่งได้รับประโยชน์จากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของ Metaverse ในอนาคต
- Pure-Play Companies: บริษัทที่มีแนวโน้มการเติบโตที่เชื่อมโยงโดยตรงกับ Metaverse เช่น Nvidia, Meta Platforms, Roblox, Unity Software
- Core Companies: บริษัทที่มีการดำเนินงานเกี่ยวข้องกับ Metaverse รวมถึงมีธุรกิจอื่น ๆ ขับเคลื่อนบริษัท เช่น Tencent, Coinbase, Sony, Alphabet, Sea
- Non-Core Companies: บริษัทที่มีการดำเนินงานเชื่อมโยงกับ Metaverse โดยรายได้ส่วนใหญ่มาจากธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับ Metaverse เช่น Alibaba, Square, Walt Disney, Lumen
Thematic Relevance Breakdown ของ Roundhill Ball Metaverse ETF (ข้อมูล ณ วันที่ 17/12/2021)
ที่มา: Roundhill Ball Metaverse ETF Factsheet
สำหรับธีมการลงทุนของ Roundhill Ball Metaverse ETF จะให้น้ำหนักการลงทุนใน Gaming Platform มากที่สุดที่ 19.8% ซึ่งสอดคล้องกับการวิจัยของ ARK ที่มองว่าในอนาคตตลาดเกมทั่วโลกจะเติบโตเป็นอย่างมาก โดย ARK ได้ประมาณการอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ของมูลค่าตลาดเกมทั่วโลกในปี 2020-2025 จะอยู่ที่ 16% ต่อปี และสัดส่วนธีมการลงทุนที่รองลงมาจะเป็น Computing Components ซึ่งลงทุนในสัดส่วน 19.1%
Top 10 Holdings ของ Roundhill Ball Metaverse ETF (ข้อมูล ณ วันที่ 19/12/2021)
ที่มา: https://www.roundhillinvestments.com/etf/meta/
- Meta Platforms (8.14%) – หรือที่รู้จักกันในชื่อเดิมว่า ‘Facebook’ เป็นผู้พัฒนาแพลตฟอร์มซึ่งเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงผู้คนเข้าหากันผ่านอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ โดยดำเนินการผ่าน 2 ส่วนงาน คือ 1.) Family of Apps ให้บริการแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย ได้แก่ Facebook, Instagram, Messenger, WhatsApp และ 2.) Facebook Reality Labs ส่วนงานพัฒนาเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) และ Augmented Reality (AR)
- Nvidia (8.05%) – บริษัทเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับ Metaverse โดยเน้นออกแบบและผลิตหน่วยประมวลผลกราฟิก (GPU) หรือการ์ดจอสำหรับตลาดเกมภายใต้ชื่อแบรนด์ ‘GeForce’ นอกจากนี้ ยังผลิตชิปประมวลผลสำหรับอุปกรณ์โทรศัพท์มือถืออย่าง ‘Tergra’ และชิปคอมพิวเตอร์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูงสำหรับประมวลผลทางด้านวิทยาศาสตร์อย่าง ‘Nvidia Tesla’ อีกด้วย
- Roblox (7.47%) – แพลตฟอร์มเกมออนไลน์ที่เปิดโอกาสให้ผู้เล่นสามารถออกแบบและพัฒนาเกมของตัวเองได้ ผู้เล่นสามารถสร้าง Avatar ซึ่งใช้เป็นตัวแทนของตัวเองในการเชื่อมต่อกับผู้เล่นคนอื่นบนโลก Metaverse นอกจากนี้ ผู้เล่นยังสามารถนำเงิน Robux ซึ่งเป็นเงินสกุลหลักในเกมที่ได้มาจากการสร้างเกมหรือการจำหน่ายไอเท็ม ไปแลกเป็นเงินจริงได้ โดย Roblox มีนักพัฒนาบนแพลตฟอร์มแล้วกว่า 9.5 ล้านคน รวมรายได้สะสมเข้ากระเป๋านักพัฒนาแล้วกว่า 761.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เกม MeepCity ในแพลตฟอร์มของ Roblox
ที่มา: https://www.xbox.com/en-US/games/roblox
ผลการดำเนินงานย้อนหลัง
** กราฟแสดงสัดส่วน ตามสัดส่วนของ META ETF โดยใช้น้ำหนักการลงทุน ณ วันที่ 1 พ.ย. 2564 **
** ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **
Back-test Performance ของกองทุน M-META
ที่มา: MFC (ข้อมูล ณ วันที่ 19/11/2021)
ด้านผลการดำเนินงานย้อนหลังของกองทุน M-META ก็ทำไปได้ค่อนข้างดีเลยทีเดียว โดยผลตอบแทนในทุกช่วงเวลาตั้งแต่ 6 เดือน 1 ปี 3 ปี และ 5 ปี เป็นบวกทั้งหมด และเมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีรวมหุ้นเทคโนโลยี อย่าง MSCI World Technology และ NASDAQ ก็สามารถเอาชนะทั้ง 2 ดัชนีนี้ไปได้อย่างสวยงามเช่นกัน
ความเสี่ยงของกองทุน M-META
กองทุน M-META จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
- ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐฯ และหมวดอุตสาหกรรม Information Technology และ Communication Services
อย่างไรก็ตาม ผู้ลงทุนสามารถกระจายความเสี่ยงได้ด้วยการจัดพอร์ตการลงทุน โดยสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการจัดพอร์ตการลงทุนจากฟินโนมีนาได้ที่ https://www.finnomena.com/port/
ค่าธรรมเนียมของกองทุน M-META
- ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.07%
- ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): 1.284%
- ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.4231%
เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน M-META
- มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรก: 1,000 บาท
- มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งถัดไป: 1,000 บาท
กองทุน M-META เหมาะกับใคร?
- ผู้ที่ต้องการลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของธีม Metaverse ซึ่งมีแนวโน้มเติบโตในระยะยาว
- ผู้ที่ต้องการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ โดยกองทุน M-META ลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐฯ
- ผู้ที่สามารถลงทุนในระยะกลางถึงยาวได้ และสามารถรับความเสี่ยงได้สูงเพื่อสร้างโอกาสในการรับผลตอบแทนที่สูงขึ้น
— planet 46.
โปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ เปิดบัญชีลงทุนครั้งแรกกับ FINNOMENA รับหน่วยลงทุน PCASH มูลค่า 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. – 31 พ.ค. 65 คลิก https://finno.me/havefund-promotion
อ้างอิง
- https://www.roundhillinvestments.com/etf/meta/
- https://www.roundhillinvestments.com/assets/pdfs/META_ETF_Factsheet.pdf
- https://www.roundhillinvestments.com/assets/pdfs/META_Deck.pdf
- https://www.mfcfund.com/Web/FundFiles/FundFactSheetPDFs/ffs/th/M-META.pdf
- https://www.reuters.com/companies/FB.OQ
- https://www.reuters.com/companies/NVDA.O
- https://www.reuters.com/companies/RBLX.N
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”