สารบัญ

บทความนี้จะพาเปิดบ้าน “Baillie Gifford” บริษัทจัดการกองทุนต่างประเทศ ที่มีกลยุทธ์การลงทุนเน้นการเติบโตในระยะยาว โดยเราจะมาเปิดบ้าน Baillie Gifford กันว่ามีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Baillie Gifford แต่ละกองทุนลงทุนในหลักทรัพย์อะไรบ้าง ครบทุกกองในบทความเดียว บอกได้เลยว่าสาวก Baillie Gifford พลาดไม่ได้!

สำหรับบทความนี้ มีเนื้อหาบางส่วนที่มาจากงานสัมมนาออนไลน์ รวมพลคนลงทุน 2021 หัวข้อ “เจาะกลุ่มกองทุน Baillie Gifford ทั้งตลาด” ที่จัดขึ้นในวันที่ 26 ตุลาคม 2564 ที่ผ่านมา แม้ว่างานสัมมนานี้จะผ่านไปแล้ว แต่ FINNOMENA ก็ยังคงจัดงานสัมมนาดี ๆ จัดเต็มต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี 2021 ติดตามงานสัมมนาครั้งต่อไปได้ที่ รวมพลคนลงทุน 2021

อ่านบทความเปิดบ้านกองทุนต่างประเทศอื่น ๆ

ประวัติความเป็นมาของ Baillie Gifford

จุดเริ่มต้นของ Baillie Gifford มาจากการเป็นสำนักงานกฎหมายที่ก่อตั้งขึ้นในปี 1907 แต่เนื่องด้วยบรรยากาศทางการเงินและการลงทุนในช่วงเวลานั้นทำให้บริษัทตัดสินใจผันตัวไปให้ความสำคัญกับการลงทุนนับตั้งแต่ปี 1908 เป็นต้นมา และได้กลายมาเป็นบริษัทจัดการกองทุน ระดับโลกมาจนถึงทุกวันนี้ โดยปัจจุบันมี Andrew Telfer นั่งแท่น CEO มาตั้งแต่ปี 2012 ซึ่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2021 บริษัทมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การจัดการ (AUM) รวมทั้งหมดแล้วกว่า 486.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

กลยุทธ์การลงทุนของ Baillie Gifford

เปิดบ้าน Baillie Gifford: มีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Baillie Gifford

ปรัญชาการลงทุนของ Baillie Gifford มุ่งเน้นไปที่การเติบโตในระยะยาว หรือ “Long-Term Philosophy” ไม่ใช่การเก็งกำไรในระยะสั้น ดังประโยคที่กล่าวว่า ‘Actual investors think in decates, not quarter’ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการลงทุนของ Baillie Gifford นั้นจะมองในระดับทศวรรษ ไม่ใช่แค่เพียงระดับไตรมาส ประกอบกับทีมลงทุนของ Baillie Gifford ที่คัดสรรบุคลากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจากสายอาชีพอื่นมาเพื่อให้ได้คนที่รู้ลึกรู้จริงในอุตสาหกรรมที่เข้าไปลงทุน ดังนั้นกระบวนการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานที่รวมกับความเชี่ยวชาญเชิงลึกของ Baillie Gifford จึงเป็นหัวใจสำคัญของแนวทางการลงทุนที่ประสบความสำเร็จในระยะยาว ซึ่งกลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์การลงทุนที่ Baillie Gifford ใช้มาอย่างยาวนานกว่า 109 ปี

ปณิธานของ Baillie Gifford

  • Partnership – มีความอิสระในการตัดสินใจ ไม่ถูกแทรกแซงจากผู้ถือหุ้นภายนอก เน้น Organic Growth
  • Focus – มีกลยุทธ์การบริหารแบบเชิงรุก เน้นลงทุนระยะยาว โดยกระจายการลงทุนทั่วโลก
  • Clients come first – ให้ความสำคัญกับลูกค้าปัจจุบัน พร้อมกระบวนการคัดกรองลูกค้าใหม่อย่างมืออาชีพ โดยเน้นรักษาความสัมพันธ์กับลูกค้าในระยะยาว

กองทุนไทยที่ลงทุนใน Baillie Gifford

ได้รู้ประวัติความเป็นมาและกลยุทธ์การลงทุนของ Baillie Gifford กันไปคร่าว ๆ แล้ว ทีนี้มาดูกันดีกว่าว่า กองทุน Baillie Gifford มีกองทุนอะไรบ้าง และมีกองทุนไทยไหนบ้างที่เข้าไปลงทุน

Baillie Gifford Worldwide Long Term Global Growth Fund

เปิดบ้าน Baillie Gifford: มีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Baillie Gifford

กลยุทธ์การลงทุน:  ลงทุนในหุ้นทั่วโลกเพื่อสร้างผลตอบแทนที่แข็งแกร่งในระยะยาว ในหุ้นที่พิจารณาแล้วว่ามีศักยภาพในการเติบโตที่แข็งแกร่ง พิจารณาคัดเลือกหุ้นแบบรายตัวจำนวน 30 ถึง 60 หลักทรัพย์จากทีมผู้จัดการกองทุน โดยไม่เจาะจงในหมวดอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง และประเทศได้ประเทศหนึ่ง และบริษัทที่กองทุนเข้าลงทุนต้องมีมูลค่าตลาดเกินกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่ลงทุน

  • Long Term (ลงทุนระยะยาว) – บริษัทที่ความได้เปรียบทางการแข่งขันและเป็นเลิศด้านการจัดการจะปรากฏให้เห็นชัดในช่วงเวลาอย่างน้อย 5 ปี
  • Global (ลงทุนในหุ้นทั่วโลก) – มุ่งเน้นไปที่บริษัทที่เติบโตอย่างโดดเด่นจากทั่วโลก โดยไม่สนใจดัชนีอ้างอิง
  • Growth (ลงทุนในหุ้นเติบโต) – เชื่อว่าบริษัทที่มีความสามารถในการเติบโตหลายเท่าจากขนาดปัจจุบัน จะมีศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า

ปรัชญาการลงทุนของกองทุน Long Term Global Growth Fund:

1) We are long term in our investment decisions

  • ลงทุนในบริษัทที่มีความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว
  • วัดผลการดำเนินงานจาก 10 ปี ไม่ใช่เพียงแค่ในระดับไตรมาส พร้อมประเมินผลการดำเนินงานเมื่อผ่านไป 5 ปี

2) Our approach to investment is global and purely stock driven

  • บริหารเชิงรุกโดยไม่มีดัชนีอ้างอิงมาเป็นข้อกำหนด เน้นลงทุนแบบ High conviction style
  • สัดส่วนการลงทุนขึ้นอยู่กับ Potential upside และ Level of conviction

3) We are growth investors

  • เฟ้นหาบริษัทที่มีศักยภาพในการเติบโตหลายเท่าตัวจากขนาดปัจจุบัน โดยอย่างน้อย 5 ปีต้องมีการเติบโตได้ 2 เท่าตัว
  • ลงทุนในหุ้นที่มีราคาแพงได้ หากมองว่าราคาในอนาคตยังสามารถไปต่อได้

10 Questions Stock Research Framework:

  1. ในอีก 5 ปีข้างหน้ามีโอกาสที่รายได้จะเติบโตอย่างน้อย 2 เท่า หรือไม่
  2. ทิศทางในอีก 10 ปี และหลังจากนั้นจะเป็นอย่างไร
  3. อะไรคือความได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัท
  4. วัฒนธรรมองค์กรมีความแตกต่างพร้อมปรับตัวหรือไม่
  5. ทำไมลูกค้าถึงชอบสินค้า และสังคมให้คุณค่ากับด้านใดที่ส่งเสริมการเติบโตของบริษัท
  6. ผลการดำเนินงานของบริษัทคุ้มค่าที่จะลงทุนหรือไม่
  7. ผลการดำเนินงานของบริษัทจะเติบโตหรือหดตัว
  8. มีการจัดการเงินทุนของบริษัทอย่างไร
  9. มูลค่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 เท่า ได้อย่างไร
  10. ทำไมตลาดจึงมองไม่เห็นโอกาสเหล่านี้

การบริหารพอร์ตการลงทุน (Portfolio Construction):

  • Investigate – เฟ้นหาบริษัทที่มีขนาดมากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (อาจจะเริ่มสนใจตั้งแต่ขนาดยังเล็กกว่า) รวมถึงบริษัทที่มีความน่าสนใจ ถึงแม้จะยังไม่ได้จดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ พร้อมทำความเข้าใจ Business Model ของบริษัทที่จะเข้าลงทุน
  • Research – ใช้ 10 Question Stock Research Framework ในการคัดกรองบริษัทที่จะเข้าลงทุน
  • Implement – ผู้จัดการกองทุนเป็นผู้ทำการตัดสินใจในการลงทุน โดยลงทุนใน 30-60 บริษัท และให้น้ำหนักไม่เกินบริษัทละ 10% พร้อมคัดเลือกหุ้นเติบโตจากทั่วโลก เน้นการเติบโตระยะยาว ขั้นต่ำ 6 อุตสาหกรรม และ 6 ประเทศ

ONE-UGG

▶︎ ONE-UGG-IA, ONE-UGG-ASSF, ONE-UGERMF-A, ONE-UGG-RA

กองทุน ONE-UGG หรือ ONE Ultimate Global Growth Fund จาก บลจ.วรรณ (ONEAM) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Baillie Gifford Worldwide Long Term Global Growth Fund – Class B (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

ความเสี่ยงของกองทุน ONE-UGG:

กองทุน ONE-UGG จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐฯ และหมวดสินค้าฟุ่มเฟือย (Consumer Discretionary) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน ONE-UGG:

ONE-UGG-RA

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.8560%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.286%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.1556%

ONE-UGG-ASSF

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.8560%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: ยกเว้นการเรียกเก็บ
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.1556%

ONE-UGERMF-A

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.819%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: ยกเว้นการเรียกเก็บ
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.96345%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน ONE-UGG:

ONE-UGG-RA, ONE-UGERMF-A

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท

ONE-UGG-ASSF

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 2,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน ONE-UGG-RA : กองทุนหุ้นเติบโตทั่วโลก คว้าโอกาสแห่งอนาคต

KFGG

▶︎ KFGG-I, KFGGSSF, KFGGRMF, KFGG-A

กองทุน KFGG หรือ Krungsri Global Growth Fund จาก บลจ.กรุงศรี (KSAM) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Baillie Gifford Worldwide Long Term Global Growth Fund – Class B (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

ความเสี่ยงของกองทุน KFGG:

กองทุน KFGG จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมด/เกือบทั้งหมด ไม่น้อยกว่า 90% ของเงินลงทุนต่างประเทศ
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐฯ และหมวดสินค้าฟุ่มเฟือย (Consumer Discretionary) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน KFGG:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.9416%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.50% (KFGGSSF และ KFGGRMF ไม่เรียกเก็บ)
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.1342%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน KFGG:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน ONE-UGG-RA และ KFGG-A: เปรียบเทียบแลกหมัดกองทุนยอดนิยมที่สุดใน พ.ศ. นี้

Baillie Gifford Worldwide Discovery Fund

เปิดบ้าน Baillie Gifford: มีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Baillie Gifford

กลยุทธ์การลงทุน: ลงทุนในหุ้นจดทะเบียนที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลกเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาว โดยเน้นลงทุนในหุ้นของธุรกิจขนาดเล็กหรือในกิจการที่เริ่มดำเนินการที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีในระยะยาว ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกจากทีมผู้จัดการกองทุน โดยไม่เจาะจงลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง หรือในประเทศใดประเทศหนึ่ง

ปรัชญาการลงทุนของกองทุน Worldwide Discovery Fund:

  • เฟ้นหาหุ้นขนาดเล็ก มูลค่าตลาดระหว่าง 1-10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จากทั้งหมดกว่า 50,000 บริษัททั่วโลก
  • บริษัทที่จะเข้าลงทุนต้องผู้เปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรม และก้าวขึ้นมาเป็นแถวหน้าในอนาคต
  • มองหาบริษัทที่เพิ่งเริ่มต้น โดยบริษัทขนาดเล็กที่อยู่ในช่วง Immature และมีศักยภาพในการเติบโตสูง
  • วิเคราะห์แบบ Bottom-Up โดยวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานในการเติบโตของกำไรของหุ้นที่เพิ้งเริ่มต้นกิจการ เพื่อการตอบสนองของราคาแบบก้าวกระโดด

เปิดบ้าน Baillie Gifford: มีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Baillie Gifford

ขั้นตอนคัดเลือกบริษัทของกองทุน Baillie Gifford Worldwide Discovery Fund
ที่มา: Baillie Gifford

การบริหารพอร์ตการลงทุน (Portfolio Construction):

  • บริหารความเสี่ยงจากความผันผวนของหุ้นขนาดเล็ก
  • กระจายสัดส่วน ทั้งระดับบริษัทและธีมอย่างเพียงพอ
  • จัดพอร์ตแบบพร้อมเปิดรับไอเดียใหม่ได้
  • 0.75% – 3% คือสัดส่วนเริ่มต้นลงทุน และจะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนเมื่อมั่นใจ
  • เลือกหุ้นในพอร์ต 80 – 125 ตัว (ขั้นต่ำ 35 ตัว)
  • ลงทุนขั้นต่ำใน 6 ประเทศ และ 10 อุตสาหกรรมทั่วโลก

ONE-DISC

▶︎ ONE-DISC-ASSF, ONE-DISC-RA

กองทุน ONE-DISC-RA หรือ ONE Discovery Fund จาก บลจ.วรรณ (ONEAM) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Baillie Gifford Worldwide Discovery Fund – Class B (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

ความเสี่ยงของกองทุน ONE-DISC:

กองทุน ONE-DISC-RA จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐฯ และหมวดอุตสาหกรรม Healthcare และ Information Technology

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน ONE-DISC:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.605%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.605% (ONE-DISC-ASSF ยกเว้นไม่เรียกเก็บ)
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.7976%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน ONE-DISC:

ONE-DISC-RA

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรก: 5,000 บาท
  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งถัดไป: 1,000 บาท

ONE-DISC-ASSF

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 2,000 บาท

Baillie Gifford Positive Change Fund

เปิดบ้าน Baillie Gifford: มีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Baillie Gifford

กลยุทธ์การลงทุน: ลงทุนในหุ้นของบริษัททั่วโลกซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือมีพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบเชิงบวก (Positive Impact) ต่อสังคมโดยรวม หรือสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา ความเท่าเทียมทางสังคม คุณภาพของระบบการดูแลสุขภาพ และด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น  โดยมีการลงทุนแบบกระจุกตัวในหุ้นของบริษัททั่วโลกประมาณ 25 ถึง 50 ตัว​

ลงทุนบริษัทที่โดดเด่นใน 4 ธีมหลักที่สร้างผลดีต่อโลก:

  • Social inclusion and education – เชื่อว่าการกระจายทักษะและความรู้ เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ดีที่สุดในการลดความไม่เท่าเทียมกัน
  • Environment and resource needs – มองหาบริษัทที่ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจของมนุษย์
  • Healthcare and quality of life – ค้นหาบริษัทที่มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา
  • Base of pyramid – มองหาบริษัทที่ให้ความสำคัญกับความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้คนหลายพันล้านคนที่ยังมีรายได้อยู่ในชั้นล่างสุดของพีระมิด

6 Questions Stock Research Framework:

  1. บริษัทกำลังเผชิญความท้าทายทางสังคมอะไรบ้าง
  2. บริษัทเสนอทางเลือกที่แตกต่างและดีกว่าที่เป็นอยู่หรือไม่
  3. ทีมบริหารมีความมุ่งมั่นหรือไม่
  4. บริษัทปฏิบัติต่อผู้ถือหุ้นอย่างไร
  5. มีความเป็นไปได้อย่างมากหรือไม่ที่บริษัทจะทำกำไรและเป็นธุรกิจที่มีความแข็งแกร่ง
  6. ธุรกิจมีมูลค่าที่น่าสนใจหรือไม่

K-CHANGE

▶︎ K-CHANGE-SSF, KCHANGERMF, K-CHANGE-A(A)

กองทุน K-CHANGE หรือ K Positive Change Equity Fund จาก บลจ.กสิกรไทย (KAsset) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Baillie Gifford Positive Change Fund – Class B (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) เพียงกองทุนเดียว

ความเสี่ยงของกองทุน K-CHANGE:

กองทุน K-CHANGE จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนบางส่วน ไม่น้อยกว่า 75% ของเงินลงทุนต่างประเทศ (KCHANGERMF ป้องกันความเสี่ยงตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน ประมาณ 50-100% ของเงินลงทุนต่างประเทศ)
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐฯ และหมวดอุตสาหกรรม Healthcare

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน K-CHANGE:

K-CHANGE-A(A)

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.2840%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): 1.50% 
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.3736%

K-CHANGE-SSF

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.2840%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ยกเว้น
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.3736%

KCHANGERMF

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.2840%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): ไม่มี
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.3666%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน K-CHANGE:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน K-CHANGE-A (A) กองทุนผลตอบแทนเยี่ยมที่ให้คุณ “ช่วยโลก” ได้ เพียงแค่ลงทุน

Baillie Gifford Worldwide US Equity Growth Fund

เปิดบ้าน Baillie Gifford: มีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Baillie Gifford

กลยุทธ์การลงทุน: ลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สหรัฐฯ ที่อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของทางการ (Regulated Market) เป็นหลัก ซึ่งมีการกระจายการลงทุนที่หลากหลาย และอาจลงทุนไม่เกิน 15% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนในหุ้นของบริษัทที่มีรายได้หรือสินทรัพย์ส่วนใหญ่อยู่ในสหรัฐฯ ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่จดทะเบียน ซื้อ ขาย หรือจัดจําหน่ายใน Regulated Market ทั่วโลก

8 Questions Stock Research Framework:

  1. โลกจะเป็นอย่างไรถ้าบริษัทประสบความสำเร็จ
  2. วัฒนธรรมอะไรที่ช่วยให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว
  3. ข้อได้เปรียบทางการแข่งขันที่ยั่งยืนคืออะไร
  4. มีโอกาสอะไรในตลาดที่น่าสนใจ
  5. ลักษณะทางการเงินในอนาคต และผลตอบแทนที่เพิ่มขึ้นในระยะยาวน่าสนใจหรือไม่
  6. จะสร้างผลตอบแทนมากกว่า 2.5 เท่า ในอีก 5 ปีข้างหน้าได้อย่างไร
  7. มีโอกาสที่หุ้นของบริษัทจะเป็นหุ้นที่โดดเด่นหรือไม่
  8. จะทำอย่างไรต่อไปเมื่อบริษัททำได้ถึงเป้าที่ตั้งไว้

KFUS

▶︎ KFUSSSF, KFUSRMF, KFUS-A

กองทุน KFUS หรือ Krungsri US Equity Fund จาก บลจ.กรุงศรี (KSAM) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Baillie Gifford Worldwide US Equity Growth Fund – Class B (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

ความเสี่ยงของกองทุน KFUS:

กองทุน KFUS จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยป้อง 90% ของเงินลงทุนต่างประเทศ
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐฯ และหมวดสินค้าฟุ่ มเฟือย (Consumer Discretionary) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และสุขภาพ (Healthcare)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน KFUS:

KFUS-A

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.8025%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.0002%

KFUSSSF, KFUSRMF

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.8025%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: ยกเว้นไม่เรียกเก็บ
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 0.9951%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน KFUS:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

Baillie Gifford Worldwide Pan-European Fund

เปิดบ้าน Baillie Gifford: มีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Baillie Gifford

กลยุทธ์การลงทุน: ลงทุนในตราสารทุนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลในประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป และอาจมีการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นอกประเทศที่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป แต่มีรายได้ส่วนใหญ่มาจากทวีปยุโรป หรือมีสินทรัพย์ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในทวีปยุโรป โดยไม่เจาะจงลงทุนตามขนาดมูลค่าตลาด และหมวดอุตสาหกรรมใดเป็นการเฉพาะ

ปรัชญาการลงทุนของกองทุน Worldwide Pan-European Fund:

  • Long Term – เชื่อว่าการลงทุนระยะสั้นทำให้พลาดโอกาสจากการเติบโตของบริษัท
  • Growth – ผลตอบแทนของพอร์ตและตลาดถูกขับเคลื่อนด้วยหุ้นเพียงไม่กี่ตัว ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทที่มีกำไรและกระแสเงินสดดี
  • Outliers – เน้นอุตสาหกรรมที่เป็นผู้นำและมีความโดดเด่นในตลาด

เปิดบ้าน Baillie Gifford: มีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Baillie Gifford

ขั้นตอนการลงทุนของกองทุน Worldwide Pan-Europe Fund
ที่มา: Baillie Gifford

ASP-EUG

กองทุน ASP-EUG หรือ Asset Plus Europe Growth Fund จาก บลจ.แอสเซท พลัส (ASSETFUND) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Baillie Gifford Worldwide Pan-European Fund – Class B (EUR) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

ความเสี่ยงของกองทุน ASP-EUG:

กองทุน ASP-EUG จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมด/เกือบทั้งหมด
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศสวีเดน และหมวดอุตสาหกรรม Consumer Discretionary

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน ASP-EUG:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.610%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.25%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 2.640495%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน ASP-EUG:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 5,000 บาท

Baillie Gifford Worldwide Emerging Markets Leading Companies Fund

เปิดบ้าน Baillie Gifford: มีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Baillie Gifford

กลยุทธ์การลงทุน: ลงทุนส่วนใหญ่ในหุ้นของบริษัทที่มีการดำเนินธุรกิจ มีรายได้หลัก หรือมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศที่เป็นตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ซึ่งไม่เฉพาะเจาะจงในประเทศใดประเทศหนึ่ง ตลาดใดตลาดหนึ่ง หรืออุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง โดยหุ้นของบริษัทที่กองทุนลงทุนต้องมีมูลค่าตลาดมากกว่า 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ณ ขณะที่กองทุนเข้าลงทุน ซึ่งปกติแล้วกองทุนจะลงทุนในหุ้นระหว่าง 35 ถึง 60 ตัว

ปรัชญาการลงทุนของกองทุน Worldwide EM Leading Companies Fund:

  • Long Term – เนื่องจากราคาหุ้นคาดเดายากในระยะสั้น หากพบบริษัทที่จะสร้างกำไรให้เติบโต การลงทุนต้องมีความอดทนรอเพื่อเปิดรับศักยภาพของบริษัท
  • Growth – ตลอด 20 ปีที่ผ่านมา หุ้นเติบโตอันดับต้น ๆ เป็นกลุ่มที่ราคาหุ้นขึ้นมากกว่า 2 เท่า
  • Active – กลยุทธ์แบบเชิงรุก (Active) ทำผลงานได้ดีกับตลาดหุ้น Emerging Market

ลักษณะของหุ้นที่กองทุน Worldwide EM Leading Companies Fund มองหา:

  • Under Appreciated Growth Duration – หุ้นที่เติบโตระยะยาว แต่ตลาดมองเห็นการเติบโตระยะสั้นกว่าความเป็นจริง
  • Under Appreciated Growth Pace – หุ้นที่เติบโตดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์
  • Under Appreciated Growth Surprise – หุ้นกำไรเติบโตอย่างเหนือคาดการณ์

M-EM

กองทุน M-EM หรือ MFC Emerging Market Fund จาก บลจ.เอ็มเอฟซี (MFC) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Baillie Gifford Worldwide Emerging Markets Leading Companies Fund – Class B (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

ความเสี่ยงของกองทุน M-EM:

กองทุน M-EM จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศจีน และหมวดอุตสาหกรรม Consumer Discretionary

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน M-EM:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.605%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): 1.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.9581%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน M-EM:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

TMBEAE

▶︎ TMBEAERMF, TMBEAE

กองทุน TMB หรือ TMB Emerging Active Equity Fund จาก บลจ.ทหารไทย (TMBAM) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Baillie Gifford Worldwide Emerging Markets Leading Companies Fund – Class B (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

ความเสี่ยงของกองทุน TMBEAE:

กองทุน TMBEAE จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศจีน และหมวดอุตสาหกรรม Consumer Discretionary, เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และเงินทุนและหลักทรัพย์ (FIN)

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน TMBEAE:

TMBEAE

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.605%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.7881%

TMBEAERMF

    • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.605%
    • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: ไม่มี
    • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.7928%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน TMBEAE:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท

Baillie Gifford Worldwide Japanese Fund

เปิดบ้าน Baillie Gifford: มีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Baillie Gifford

กลยุทธ์การลงทุน: ลงทุนในธุรกิจชั้นนำที่เติบโตในประเทศญี่ปุ่น โดยลงทุนระยะยาวภายใต้กรอบเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และจะขึ้นอยู่กับการคัดเลือกหุ้นแบบ Bottom-up ซึ่งผู้จัดการกองทุนจะใช้แนวทางปฏิบัติเพื่อการเติบโต และให้ความสำคัญกับบริษัทที่มีข้อได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืนซึ่งดำเนินการโดยทีมบริหารที่เป็นพลวัตและมีความสามารถ

ปรัชญาการลงทุนของกองทุน Worldwide Japanese Fund:

  • Peerview – ทบทวนหุ้น 60-80 บริษัทต่อปี พร้อมพูดคุยกับทีมลงทุนอื่น เพื่อช่วยให้เข้าใจบริษัทญี่ปุ่นในมุมมองอื่น
  • Opportunity – เจาะภาพรวมอุตสาหกรรมและความสามารถในการแข่งขันทำให้เห็นโอกาสเติบโต
  • Execution – ใช้ปัจจัยด้านลักษณะทางการเงินและทัศนคติการบริหาร ทำให้มองเห็นว่าบริษัทจะคว้าโอกาสที่ปรากฎอยู่ได้หรือไม่
  • Valuation – แม้จะเป็นปัจจัยสำคัญ แต่ไม่ได้ถูกให้ความสำคัญเป็นลำดับแรก เพราะระดับมูลค่าระบุโอกาสเติบโตที่แท้จริงของบริษัทได้ยาก
  • Sell Discipline – จะไม่ขายหุ้นโดยดูจากมูลค่าเพียงอย่างเดียว แต่จะพิจารณาขายเมื่อไม่เป็นไปตามคาดการณ์ การแข่งขันเปลี่ยนไป หรือเศรษฐกิจญี่ปุ่นถูกปัจจัยอื่นรบกวนอย่างรุนแรง

ONE-UJE

▶︎ ONE-UJE-RA

กองทุน ONE-UJE หรือ ONE Ultimate Japan Equity Fund จาก บลจ.วรรณ (ONEAM) มีนโยบายลงทุนในหน่วย CIS และ/หรือ กองทุนรวม ETF ที่มีนโยบายการลงทุนในหลักทรัพย์จดทะเบียนในประเทศญี่ปุ่น หรือได้ประโยชน์จากการประกอบธุรกิจในประเทศญี่ปุ่นเป็นหลัก โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ

กองทุน ONE-UJE จะลงทุนในหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 30/09/2021)

  1. Goldman Sachs Japan Equity Partners Portfolio – 42.60%
  2. Nomura Japan High Conviction – 31.94%
  3. Baillie Gifford Worldwide Japanese Fund – 22.25%
  4. iShares Core TOPIX ETF – 6.02%

ความเสี่ยงของกองทุน ONE-UJE:

กองทุน ONE-UJE จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศญี่ปุ่น และหมวดอุตสาหกรรม Consumer Discretionary และ Industrials

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน ONE-UJE-RA:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.50%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.6605%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน ONE-UJE-RA:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรก: 5,000 บาท
  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งถัดไป: 1,000 บาท

Baillie Gifford Worldwide Health Innovation Fund

เปิดบ้าน Baillie Gifford: มีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Baillie Gifford

กลยุทธ์การลงทุน: ลงทุนในหุ้นทั่วโลกที่เกี่ยวกับบริษัทในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ (Healthcare Industry) และบริษัทในอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพที่เป็นนวัตกรรมในด้านต่าง ๆ (Innovative Healthcare) เช่น การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกัน รวมถึงอาจลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ผู้จัดการกองทุนเห็นว่าประกอบธุรกิจด้านการดูแลสุขภาพแม้ว่าบริษัทดังกล่าวจะไม่ถูกจัดให้อยู่ในหมวดอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ (Healthcare Sector) ตามนิยามของดัชนีใด ๆ เป็นการเฉพาะก็ตาม โดยหุ้นดังกล่าวอาจเป็นหุ้นขนาดเล็ก ขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ที่ทีมผู้จัดการกองทุนพิจารณาแล้วว่าเป็นหุ้นที่มีศักยภาพสูงในการเติบโต

10 Questions Stock Research Framework:

  1. บริษัทแก้ปัญหาอะไรให้กับระบบสาธารณสุข
  2. มีวิธีอื่นในการแก้ปัญหานี้หรือไม่
  3. อะไรคือโอกาสในตลาด
  4. เหตุใดบริษัทยังคงอยู่ในอนาคต และจะประสบความสำเร็จได้อีกครั้งอย่างไร
  5. มีวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไปอย่างไร
  6. หาข้อพิสูจน์ว่าบริษัทใส่ใจกับผู้ป่วย
  7. ระดับกำไรระยะยาว มีการกระจายเงินลงทุนอย่างไร
  8. มีความมั่นใจแค่ไหนที่บริษัทจะโต 2.5 เท่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า
  9. บริษัทมีความสามารถพอที่จะโดดเด่นในอุตสาหกรรมได้มากแค่ไหน
  10. ทีมลงทุนติดตามความก้าวหน้าของบริษัทอย่างไร

PRINCIPAL GHEALTH-A

กองทุน PRINCIPAL GHEALTH-A หรือ Principal Global Health Innovation Fund จาก บลจ.พรินซิเพิล (Principal) มีนโยบายลงทุนในกองทุนรวม และ/หรือ กองทุน ETF ต่างประเทศ ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัทที่มีการทําธุรกิจที่เกี่ยวข้องหรือได้รับประโยชน์จากธุรกิจที่ เกี่ยวข้องกับสุขภาพ (Healthcare) รวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพที่ใช้นวัตกรรม หรือเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ทั่วโลก เช่น เทคโนโลยีการวินิจฉัยโรค เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการดําเนินชีวิต ดิจิทัลเฮลธ์ เภสัชกรรม เทคโนโลยีทางการแพทย์ เครื่องมือทางการแพทย์ รวมถึงการวิจัยและพัฒนาต่าง ๆ เป็นต้น โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน 

กองทุน PRINCIPAL GHEALTH-A จะลงทุนในหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้

ความเสี่ยงของกองทุน PRINCIPAL GHEALTH-A:

กองทุน PRINCIPAL GHEALTH-A จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 7 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยคิดเป็น 70-100% ของเงินลงทุนต่างประเทศ
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐฯ และหมวดอุตสาหกรรม Healthcare

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน PRINCIPAL GHEALTH-A:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.605%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee): 1.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.9581%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน PRINCIPAL GHEALTH-A:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

อ่านเพิ่มเติม รีวิวกองทุน PRINCIPAL GHEALTH-A: ลงทุนครอบคลุมทุกภาคส่วนของ Health Care รับแรงหนุนจากเทคโนโลยี

SCBIHEALTH

▶︎ SCBIHEALTH(E), SCBIHEALTH(P), SCBIHEALTH(SSF), SCBIHEALH(A)

กองทุน SCBIHEALTH หรือ SCB Healthcare Innovation Fund จาก บลจ.ไทยพาณิชย์ (SCBAM) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Baillie Gifford Worldwide Health Innovation Fund – Class B (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

ความเสี่ยงของกองทุน SCBIHEALH:

กองทุน SCBIHEALTH จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงระดับ 7 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยคิดเป็น 34.32% ของเงินลงทุนต่างประเทศ
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐฯ และหมวดอุตสาหกรรม Healthcare

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน SCBIHEALH:

SCBIHEALTH(A)

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.61%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.50%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: สูงสุดไม่เกิน 1.79%

SCBIHEALTH(E)

  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: ยกเว้นไม่เรียกเก็บ
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: สูงสุดไม่เกิน 0.10% (ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น)

SCBIHEALTH(SSF)

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.61%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: ยกเว้นไม่เรียกเก็บ
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: สูงสุดไม่เกิน 1.71% (ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น)

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน SCBIHEALTH:

SCBIHEALTH(A), SCBIHEALTH(SSF)

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท

SCBIHEALTH(E)

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท

LHHEALTH

▶︎ LHHEALTH-D, LHHEALTH-E, LHHEALTH-A

กองทุน LHHEALTH หรือ LH Health Innovation Fund จาก บลจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LHFUND) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Baillie Gifford Worldwide Health Innovation Fund – Class B (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

ความเสี่ยงของกองทุน LHHEALTH:

กองทุน LHHEALTH จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 7 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐฯ และหมวดอุตสาหกรรม Healthcare

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน LHHEALTH:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.177%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.25% (LHHEALTH-E ยกเว้นไม่เรียกเก็บ)
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.57767% (ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น)

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน LHHEALTH:

LHHEALTH-A, LHHEALTH-D

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรก: 1,000 บาท
  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งถัดไป: 100 บาท

LHHEALTH-E

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

LHMEGA

▶︎ LHMEGA-D, LHMEGA-E, LHMEGA-A

กองทุน LHMEGA หรือ LH Mega Trends Fund จาก บลจ.แลนด์แอนด์เฮ้าส์ (LHFUND) มีนโยบายลงทุนในกองทุน AXA World Funds Framlington Evolving Trends – Class I (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ กองทุนหลักมีนโยบายเน้นลงทุนในหุ้น และ หลักทรัพยที่เกี่ยวข้องกับหุ้นของบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก (Equity-related securities of worldwide) ที่มีพื้นฐานดีและมีการเติบโตในระยะยาว โดยอาจลงทุนสูงถึง 10% ในหลักทรัพย์แปลงสภาพและหุ้น A-Shares ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ และฮ่องกง 

กองทุน LHMEGA จะลงทุนในหลักทรัพย์ ดังต่อไปนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 30/09/2021)

  1. AXA WF Framlington Evolving Trend Fund – 85.88%
  2. Baillie Gifford Worldwide Health Innovation Fund – Class B (USD) – 12.64%

ความเสี่ยงของกองทุน LHMEGA:

กองทุน LHMEGA จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
  • ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว: มีการลงทุนกระจุกตัวในประเทศสหรัฐฯ และหมวดอุตสาหกรรม Information Technology และ Health Care

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน LHMEGA:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.33750%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.25% (LHMEGA-E ยกเว้นไม่เรียกเก็บ)
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.74196%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน LHMEGA:

LHMEGA-A, LHMEGA-D

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรก: 1,000 บาท
  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งถัดไป: 100 บาท

LHMEGA-E

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท

Baillie Gifford Multi Asset Income Fund

เปิดบ้าน Baillie Gifford: มีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Baillie Gifford

กลยุทธ์การลงทุน: ลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ ซึ่งพิจารณาลงทุนในประเทศหรือภาคเศรษฐกิจใด ๆ ตามดุลยพินิจของผู้จัดการการลงทุน โดยลงทุนในสินทรัพย์อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างดังนี้ หุ้น พันธบัตร ตราสารตลาด เงิน สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เงินฝาก เงินสด และหลักทรัพย์อื่นใดที่สามารถเปลี่ยนมือได้ การมีไว้ซึ่งสินทรัพย์ข้างต้นอาจเป็นการลงทุนทางตรงและการลงทุนทางอ้อมผ่านหน่วยลงทุน ทั้งนี้ เพื่อวัตถุประสงค์การลงทุนเพื่อสร้างรายได้รายเดือน และพยายามรักษามูลค่าของรายได้และเงินต้นให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อ (UK CPI) ในช่วงระยะเวลา 5 ปี

ปรัญชาการลงทุนของ Multi Asset Income Fund:

  • Diversification – เน้นกระจายการลงทุน ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของกองทุนรวมผสม
  • Active Management, Focus on Income – บริหารงานแบบเชิงรุก พร้อมให้ความสำคัญกับกระแสเงินสดรับ
  • Capital Preservation – รักษามูลค่าของสินทรัพย์ที่ลงทุนให้สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อ
  • Good Stewardship, Focus on Sustainability – ไม่ลืมที่จะเอาใจใส่ในด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงผู้ถือหุ้น

เปิดบ้าน Baillie Gifford: มีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Baillie Gifford

ขอบเขตสินทรัพย์ที่ลงทุนได้ของกองทุน Multi Asset Income Fund
ที่มา: Baillie Gifford Multi Asset Income Fund

WE-MULTI

กองทุน WE-MULTI หรือ WE MULTI ASSET INCOME FUND จาก บลจ.วี (WeAsset) มีนโยบายลงทุนในกองทุน Baillie Gifford Investment Funds II ICVC – Baillie Gifford Multi Asset Income Fund – Class B (GBP) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) เพียงกองทุนเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ

ความเสี่ยงของกองทุน WE-MULTI:

กองทุน WE-MULTI จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 5 โดยมีปัจจัยความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

  • ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน: มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน โดยคิดเป็น 85.26% ของเงินลงทุนต่างประเทศ
  • ไม่มีความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัว ทั้งในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน

ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ของกองทุน WE-MULTI:

  • ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 0.856%
  • ค่าธรรมเนียมการขาย (Front-end Fee) และ Switching-in: 1.605%
  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายรวม: 1.44375%

เงินลงทุนขั้นต่ำในการลงทุน WE-MULTI:

  • มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท

Fundamental & Valuation ของกองทุน Baillie Gifford

หลาย ๆ คนที่ยังไม่มีกองทุนตระกูล Baillie Gifford หรือแม้แต่คนที่มีกองทุนตระกูล Baillie Gifford  อยู่ในพอร์ตแล้วแต่อยากลงทุนเพิ่ม ก็คงต้องมีคำถามแน่ ๆ ว่า ตอนนี้ยังสามารถซื้อลงทุนได้อยู่ไหม? แล้วแพงไปหรือยัง? ในบทความนี้ก็ขอนำข้อมูลจากงานสัมมนาออนไลน์ รวมพลคนลงทุน 2021 ในหัวข้อ “เจาะกลุ่มกองทุน Ballie Gifford ทั้งตลาด” มาสรุปให้ทุกคนได้นำไปประกอบการตัดสินใจในการลงทุนกองทุนตระกูล Baillie Gifford กัน

เปิดบ้าน Baillie Gifford: มีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Baillie Gifford

Fundamental และ Valuation ของกองทุน Baillie Gifford
ที่มา: Bloomberg, ข้อมูล ณ วันที่ 26/10/2021

ภาพตารางด้านบนแสดง Fundamental และ Valuation ของกองทุนต่าง ๆ ในตระกูล Baillie Gifford ซึ่งหากเราดูที่ตัวเลข P/E จะเห็นได้ว่าตัวเลขของแต่ละกองทุนค่อนข้างสูง แต่ทั้งนี้หากนำแค่ P/E มาพิจารณาอาจจะไม่เพียงพอสำหรับการพิจารณาลงทุนในหุ้นเติบโต หุ้นสหรัฐฯ รวมไปถึงหุ้นเทคโนโลยี จึงแนะนำให้พิจารณา SG หรือ Sale Growth ประกอบด้วย ซึ่งแต่ละกองทุนตัวเลข SG ค่อนข้างโดดเด่นเหนือดัชนีอย่าง S&P500

เปิดบ้าน Baillie Gifford: มีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Baillie Gifford

** ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต **

Returns ของกองทุน Baillie Gifford
ที่มา: Bloomberg, ข้อมูล ณ วันที่ 26/10/2021

และหากดูต่อกันที่ผลตอบแทนย้อนหลัง จากภาพตารางด้านบนจะเห็นได้ว่าในระยะยาวกองทุนตระกูล Baillie Gifford แต่ละกองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น และเอาชนะดัชนีหุ้นอย่าง S&P500 ไปได้อย่างแข็งแกร่ง

.

หากผู้ใดสนใจกองทุนที่มีนโยบายลงทุนใน Baillie Gifford ทั้ง 14 กองทุนนี้ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในหนังสือชี้ชวนกองทุน หรือดูข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก https://www.finnomena.com/fund/ ส่วนผู้ที่ศึกษาข้อมูลของกองทุนโดยละเอียดแล้วและพร้อมที่จะเติบโตไปกับกองทุนสาย Long-Term Philosophy อย่าง Baillie Gifford แล้ว ก็สามารถเปิดบัญชีกับ FINNOMENA เพื่อเริ่มลงทุนได้เลย

.

อย่างที่บอกไปในช่วงต้นบทความว่า FINNOMENA เรามีมหกรรมงานสัมมนาออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดแห่งปี “รวมพลคนลงทุน 2021” ที่จัดเต็มต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นปี 2021 มอบเป็นของขวัญตอบแทนนักลงทุนฟินโนมีนาและผู้ที่สนใจเรื่องการลงทุน โดยงานสัมมนาทุกงาน ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย ใครไม่อยากพลาดสัมมนาดี ๆ รีบมาจองที่นั่งกันได้ที่ https://finno.me/ruamphol-2021-wb5

เนื่องจากแต่ละงานรับผู้เข้าร่วมจำนวนจำกัด สนใจงานสัมมนาในหัวข้อไหน กดลงทะเบียนได้เลย รับรองได้ว่าแต่ละงานสัมมนาที่ FINNOMENA จัด เราคัดหัวข้อมาเน้น ๆ เนื้อหาแน่น ๆ ตอบโจทย์นักลงทุนครบทุกมุม ไม่ผิดหวังแน่นอน!

เปิดบ้าน Baillie Gifford: มีกองทุนไทยไหนบ้างที่ลงทุนใน Baillie Gifford

— planet 46. 

อ้างอิง


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม และประเทศที่ลงทุน  ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”

TSF2024