สำหรับเศรษฐกิจโลกในช่วงนี้ เกือบทุกประเทศทั่วโลกต้องประสบกับปัญหา “ภาวะเงินเฟ้อ” ที่ดูท่าจะทวีความรุนแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ ธนาคารกลางหลายประเทศเดินหน้าคุมเข้มนโยบายการเงินและปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ ส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกได้รับผลกระทบกันทั่วหน้าจากความกังวลภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession)
ท่ามกลางความไม่แน่นอนนี้ ส่งผลให้หลายคนคงรู้สึกสับสนกับตลาดช่วงนี้ ไม่รู้ว่าจะจัดพอร์ตการลงทุนอย่างไรดี บทความนี้เราจึงขอนำตัวอย่างการจัดพอร์ตที่จะเสริมสร้างเกราะป้องกันให้คุณและช่วยให้คุณสามารถสู้กับเงินเฟ้อได้มาฝากกัน
จัดพอร์ตบนสมรภูมิเงินเฟ้ออย่างไรดี?
“ปัญหาเงินเฟ้อ” เป็นปัญหาเศรษฐกิจที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังประสบอยู่ในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น สหรัฐฯ ที่กำลังดำเนินนโยบายการเงินอย่างเข้มข้นเพื่อสกัดปัญหาเงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตัวเลขที่แสดงถึงอัตราเงินเฟ้อ ในเดือน ก.ค. 2565 แตะระดับ 8.5% โดยล่าสุดในการประชุมนโยบายการเงินครั้งที่ 5 ของปี 2565 ของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ก็ได้ประกาศปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.75% เป็นรอบที่ 2 ของปี สู่ระดับ 2.25-2.50%
ในขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของประเทศอังกฤษในเดือน มิ.ย. 2565 พุ่งสูงถึง 9.4% ซึ่งนับว่าเป็นตัวเลขสูงสุดในรอบ 40 ปี โดยเป็นผลมาจากราคาอาหารและพลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) ต้องคุมเข้มนโยบายทางการเงิน และเร่งปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยคาดการณ์ว่าเงินเฟ้ออังกฤษจะพุ่งทะลุ 11% ในปีนี้
ด้านประเทศไทยของเรา ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ในเดือน ก.ค. 2565 พุ่งสูง 7.61% โดยปัจจัยหลักที่ทำให้ตัวเลขเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นมาจากสินค้ากลุ่มพลังงานที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงถึง 33.82% ซึ่งในการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งล่าสุด ณ วันที่ 10 ส.ค. 2565 ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง ให้ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ต่อปี จาก 0.50% ต่อปี เป็น 0.75% ต่อปี เพื่อรับมือกับเงินเฟ้อ โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้ถึงเป็นการปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบเกือบ 4 ปี ของประเทศไทย ในขณะที่กระทรวงพาณิชย์ได้ปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 อยู่ที่ 5.50-6.50% จากประมาณการเดิมที่ 4.00-5.00% เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ รวมถึงการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหน่วยเงินด้านเศรษฐกิจของไทย
สถานการณ์เงินเฟ้อแต่ละประเทศดูน่าเป็นห่วงแบบนี้ แล้วเราจะลงทุนอย่างไรดี จึงจะสามารถเอาชนะกับเงินเฟ้อได้? วันนี้เราขอแนะนำให้ได้รู้จักกับพอร์ต ‘All Weather Inflation Guard (AWIG)’ ซึ่งเป็นพอร์ตการลงทุนระยะยาว เพื่อตอบสนองต่อสภาวะเงินเฟ้อโดยเฉพาะ เน้นลงทุนในพันธบัตรเป็นกลยุทธ์หลัก และลงทุนในหุ้นด้วยสัดส่วนปานกลาง พร้อมควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าพอร์ตอื่น ๆ ของ ดร. Andrew Stotz โดยมีการกระจายการลงทุนเพื่อลดความเสี่ยงไปยังพันธบัตร หุ้นทั่วโลก สินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำ เป็นพอร์ตที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเอาชนะเงินเฟ้อ และต้องการผลตอบแทนที่มากกว่าการฝากเงิน
กลยุทธ์การลงทุนของพอร์ต AWIG
กลยุทธ์การลงทุนของพอร์ต AWIG จะอ้างอิงจากโมเดล “FVMR Framework” โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- Fundamental (พื้นฐานของสินทรัพย์) เช่น เทรนด์การเติบโตของผลกำไร ศักยภาพการทำกำไร
- Valuation (มูลค่าของสินทรัพย์) เช่น Price to Book, PE to EPS Growth (PEG)
- Momentum (โมเมนตัมของสินทรัพย์) ดูแนวโน้มการทำกำไร ราคาสินทรัพย์ เพื่อป้องกันการเผชิญ Value Trap
- Risk (ความเสี่ยง) เช่น ความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitical Risk) ความเสี่ยงของตลาด (Market Risk)
สำหรับโมเดล FVMR เป็นโมเดลที่ออกแบบโดย ดร. Andrew Stotz และทีมงาน ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีการทดสอบปัจจัยต่าง ๆ ย้อนหลัง เพื่อให้แน่ใจว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่นำมาประกอบการวิเคราะห์ช่วยให้บรรลุเป้าหมายได้จริงและเข้ากับสถานการณ์ตลาดในแต่ละช่วงเวลา มีการวิจัยและทดสอบอย่างสม่ำเสมอ พร้อมตัดอคติออกจากการวิเคราะห์ในทุกขั้นตอน เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดี โดยยึดการลงทุนในระยะยาวเป็นหัวใจสำคัญ
จุดเด่นพอร์ต All Weather Inflation Guard (AWIG)
- ใช้ตราสารหนี้เป็นหัวใจของพอร์ตการลงทุน โดยควบคุมความเสี่ยงของพอร์ตให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าพอร์ตอื่น ๆ ของ ดร. Andrew Stotz
- ใช้ ‘FVMR Framework’ เป็นกลยุทธ์ในการลงทุน โดยเป็นโมเดลที่ออกแบบโดย ดร. Andrew Stotz และทีมงาน ซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
- มีการกระจายความเสี่ยงในสินทรัพย์หลายประเภท ทั้งตราสารหนี้ หุ้นทั่วโลก สินค้าโภคภัณฑ์ และทองคำ เพื่อช่วยลดความผันผวน
- เน้นการลงทุนในระยะยาว สู้เงินเฟ้อ โดยมีการปรับพอร์ตการลงทุน (Rebalance) ตามความสมควรและสำคัญ
- ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาท ในครั้งแรก และ 25,000 บาท ในครั้งถัดไป โดยไม่มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมในการจัดพอร์ตลงทุน
อ่านเพิ่มเติม ตั้งการ์ดรับเงินเฟ้อกับ All Weather Inflation Guard พอร์ตเสี่ยงต่ำในแบบฉบับคุณ Andrew Stotz
สัดส่วนการลงทุนของพอร์ต All Weather Inflation Guard
สัดส่วนการลงทุนของพอร์ต AWIG ณ เดือนกรกฎาคม 2565
ที่มา: Presentation นำเสนอพอร์ต AWIG
พอร์ต AWIG จะเน้นลงทุนในตราสารหนี้เป็นหลัก ในสัดส่วน 60% โดยเลือกลงทุนในกองทุน K-CBOND ซึ่งลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ ในสัดส่วน 45% กองทุน KTILF ซึ่งลงทุนในพันธบัตรและตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ ในสัดส่วน 10% และกองทุน TMBTM ที่ลงทุนในตราสารตลาดเงินภาครัฐ ตั๋วเงินคลัง พันธบัตรที่ออกโดยภาครัฐ ในสัดส่วน 5%
ส่วนตราสารทุน พอร์ต AWIG จะลงทุนในสัดส่วน 30% โดยลงทุนใช้กองทุน B-GLOBAL เป็นตัวแทนของหุ้นโลก ในสัดส่วน 20% กองทุน KFINFRA-A เป็นตัวแทนของหุ้นโครงสร้างพื้นฐานทั่วโลก ในสัดส่วน 5% กองทุน KT-ENERGY เป็นตัวแทนของหุ้นกลุ่มพลังงานทั่วโลก ในสัดส่วน 5%
และสัดส่วนที่เหลืออีก 10% พอร์ต AWIG จะกระจายลงทุนในตราสารทางเลือก โดยจะลงทุนในทองคำ ซึ่งใช้กองทุน TMBGOLDS ในสัดส่วน 5% และลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งใช้กองทุน SCBCOMP ในสัดส่วน 5% เช่นเดียวกัน
เจาะลึกกองทุนในพอร์ต All Weather Inflation Guard (AWIG)
K-CBOND
สัดส่วนการลงทุน 45%
นโยบายกองทุน: ลงทุนในตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทเอกชน/รัฐวิสาหกิจ ซึ่งคาดว่าจะให้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ย/กำไรส่วนเกินทุนในระดับสูง โดยกองทุน K-CBOND จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 4
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด และในบางโอกาสอาจสร้างผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีชี้วัด
อายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุน: 1 – 3 ปี (1.78 ปี)
ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร (Gov.bond/AAA และ AA,A)
ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 0.4280% / Front-end Fee และ Switching-in – ยกเว้น / Back-end Fee และ Switching-out – ยกเว้น / รวม 0.6611%
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก
KTILF
สัดส่วนการลงทุน 10%
นโยบายกองทุน: ลงทุนในตราสารภาครัฐไทยและต่างประเทศ ตราสารหนี้ ตราสารการเงิน หน่วยลงทุนของกองทุนรวม และ/หรือกองทุนรวม ETF ที่มีผลตอบแทนแปรผันตามการเปลี่ยนแปลงของเงินเฟ้อที่เสนอขายทั้งในและ/หรือต่างประเทศ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน KTILF จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 4
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด และในบางโอกาสอาจสร้างผลตอบแทนสูงกว่าดัชนีชี้วัด
อายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุน: 3 – 5 ปี
ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร (Gov/AAA), ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนทั้งหมด/เกือบทั้งหมด)
ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 0.321% / Front-end Fee และ Switching-in – ยังไม่เรียกเก็บ / Back-end Fee และ Switching-out – ยังไม่เรียกเก็บ / รวม 0.54195%
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก
TMBTM
สัดส่วนการลงทุน 5%
นโยบายกองทุน: ลงทุนในตราสารตลาดเงินภาครัฐ ในตั๋วเงินคลัง พันธบัตรรัฐบาล พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพันธบัตรหรือตราสารแห่งหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟู และพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นผู้ออก ผู้รับรอง ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน หรือพันธบัตร หรือตราสารแห่งหนี้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก ผู้รับอาวัล หรือผู้ค้ำประกัน ทั้งนี้ เงินส่วนที่เหลือ กองทุนจะลงทุนในเงินฝากหรือตั๋วสัญญาใช้เงินหรือบัตรเงินฝากที่ออกโดยสถาบัน การเงินหรือธนาคารที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้น โดยกองทุน TMBTM จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 1
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
อายุเฉลี่ยของทรัพย์สินที่ลงทุน: ต่ำกว่า 3 เดือน
ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร (Gov.bond/AAA และ AA,A)
ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 0.10% / Front-end Fee และ Switching-in – ไม่มี / Back-end Fee และ Switching-out – ไม่มี / รวม 0.2143%
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก
B-GLOBAL
สัดส่วนการลงทุน 20%
นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน Wellington Global Opportunities Equity Fund – Class S (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน B-GLOBAL จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6
กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในหุ้นสามัญ รวมถึงหลักทรัพย์ต่าง ๆ ที่มีลักษณะเป็นตราสารทุน เช่น หุ้นบุริมสิทธิ ใบสําคัญแสดงสิทธิ หุ้นที่เกี่ยวข้องกับกอง REITs และใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง (Depository Receipts) ที่ออกโดยบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลก
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศสหรัฐฯ, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน)
ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 1.1486% / Front-end Fee และ Switching-in – ไม่เกิน 1.00% / Back-end Fee และ Switching-out – ไม่มี / รวม 1.2513 %
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก
KFINFRA-A
สัดส่วนการลงทุน 5%
นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน Credit Suisse (Lux) Infrastructure Equity Fund – Class IB (USD) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน KFINFRA-A จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 6
กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในตราสารทุนและหลักทรัพย์อื่น ๆ ที่มีลักษณะในทำนองเดียวกันกับตราสารทุนที่ออกโดยบริษัทที่มีกิจการเกี่ยวข้องกับธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก รวมถึงกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ อย่างน้อย 2 ใน 3 ของมูลค่าทรัพย์สินของกองทุน
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศสหรัฐฯ และหมวดอุตสาหกรรม Mobility และ Climate Change, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนไม่น้อยกว่า 90% ของมูลค่าเงินลงทุนในต่างประเทศ)
ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 0.749% / Front-end Fee และ Switching-in – 1.50% / Back-end Fee และ Switching-out – ยังไม่เรียกเก็บ / รวม 0.9435%
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 500 บาท
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก
KT-ENERGY
สัดส่วนการลงทุน 5%
นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน BGF World Energy Fund เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน KT-ENERGY จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 7
กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในหุ้นของบริษัทชั้นนำทั่วโลก ซึ่งมีธุรกิจหลักในการสำรวจ พัฒนา ผลิต และจัดจำหน่ายพลังงาน นอกจากนั้น กองทุนยังอาจลงทุนในบริษัทที่มุ่งเน้นการพัฒนาและใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทน
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศสหรัฐฯ และแคนาดา และหมวดอุตสาหกรรม Integrated และ Exploration and Production, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (ไม่มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน)
ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 0.93625% / Front-end Fee และ Switching-in – 1.50% / Back-end Fee และ Switching-out – ยกเว้น / รวม 1.25025%
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก
SCBCOMP
สัดส่วนการลงทุน 5%
นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน PIMCO Commodity Real Return Fund เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิ โดยกองทุน SCBCOMP จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 8
กองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในตราสารอนุพันธ์ รวมถึงสัญญาแลกเปลี่ยนตราสาร (swap agreement) ต่าง ๆ สัญญาฟิวเจอร์ สัญญาออปชั่น ตราสารที่มีลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าแฝง และ/หรือ หุ้นกู้อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับดัชนีสินค้าโภคภัณฑ์ จึงเพิ่มศักยภาพในการที่จะลงทุนได้ตามดัชนี รวมถึงดัชนีย่อยต่าง ๆ ที่อ้างอิงกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ (ซึ่งอาจไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงดัชนีใดดัชนีหนึ่งภายใต้ตระกูลดัชนีของ Bloomberg Commodity) ตราสารเหล่านี้จะสร้างผลตอบแทนของการลงทุนในการตลาดสินค้าโภคภัณฑ์โดยไม่จำเป็นที่จะ ลงทุนโดยตรงในกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ และลงทุนในกลุ่มตราสารหนี้ทั่วโลกที่มีอันดับความน่าเชื่อถือที่สามารถลงทุนได้ ทั้งนี้ กองทุนอาจจะลงทุนในหุ้น รวมถึงหลักทรัพย์แปลงสภาพของผู้ออกตราสารในกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศสหรัฐฯ และหมวดอุตสาหกรรม Energy และ Agriculture, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเกือบทั้งหมด โดยคิดเป็น 93.92% ของเงินลงทุนในต่างประเทศ)
ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 1.61% / Front-end Fee และ Switching-in – 0.5350% / Back-end Fee และ Switching-out – ยกเว้น / รวม 1.73%
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1,000 บาท
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก
TMBGOLDS
สัดส่วนการลงทุน 5%
นโยบายกองทุน: ลงทุนในกองทุน SPDR Gold Trust ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในทองคำแท่ง (Gold Bullion) เป็นกองทุนหลัก (Master Fund) โดยเฉลี่ยในรอบบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าสินทรัพย์สุทธิของกองทุน ทั้งนี้ กองทุน SPDR Gold Trust ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสิงคโปร์ ซึ่งบริษัทจัดการจะทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศสิงคโปร์ โดยกองทุน TMBGOLDS จัดเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับ 8
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนี (Passive Management / Index Tracking)
ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน)
ค่าธรรมเนียมกองทุน: การจัดการ – 1.1770% / Front-end Fee และ Switching-in – ไม่มี / Back-end Fee และ Switching-out – ไม่มี / รวม 1.3161%
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรกและครั้งถัดไป: 1 บาท
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมจากหนังสือชี้ชวน คลิก
ผลการดำเนินงานย้อนหลังของพอร์ต AWIG
ผลการทดสอบผลการดำเนินงานย้อนหลังของพอร์ต AWS และพอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40
ข้อมูล ณ วันที่ 21 มิ.ย. 2565 (ที่มา: A.Stotz Investment Research, Refinitiv)
มาถึงเรื่องที่ทุกคนอยากรู้มากที่สุด นั่นคือ ‘ผลการดำเนินงานย้อนหลัง’ กันบ้าง จากภาพด้านบนเป็นภาพแสดงผลการทดสอบผลการดำเนินงานย้อนหลังของพอร์ต AWIG และพอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40 จะเห็นได้ว่าหากเรานำเงิน 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ไปลงทุนในพอร์ต AWIG และพอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40 ในเดือนสิงหาคมปี 2002 ผ่านไป 20 ปี พอร์ต AWIG ทำให้เงินลงทุนของเราเติบโตได้ถึง 192% จาก 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 292 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม 2022 ในขณะที่พอร์ตดั้งเดิมแบบ 60/40 ทำให้เงินลงทุนเติบโตเป็น 237 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเติบโต 137%
กราฟแท่งแสดงผลตอบแทนและความเสี่ยงของพอร์ต AWAF, AWS และ AWIG
ที่มา: Presentation นำเสนอพอร์ต AWIG ณ วันที่ 21 มิ.ย. 2565
และอย่างที่ได้กล่าวไปในช่วงต้นบทความว่าพอร์ต AWIG เป็นพอร์ตที่ควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าพอร์ตอื่น ๆ ของ ดร. Andrew Stotz จากภาพการแท่งด้านบนที่แสดงถึงผลตอบแทนและความเสี่ยงของพอร์ต AWAF, AWS, AWIG จะเห็นได้ว่าในบรรดาพอร์ตตระกูล All Weather ของ ดร. Andrew ทั้ง 3 พอร์ต พอร์ตที่มีค่าความผันผวน (Volatility) ซึ่งวัดได้จากค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: SD) ต่ำที่สุดคือ พอร์ต AWIG โดยมีค่าความผันผวนที่ 8 ในขณะที่พอร์ต AWAF ซึ่งเป็นพอร์ตที่เน้นลงทุนในหุ้นเป็นแกนหลัก และเป็นพอร์ตที่มีความเสี่ยงสูงที่สุดในบรรดาพอร์ตตระกูล All Weather มีค่าความผันผวนมากที่สุดที่ 16 โดยพอร์ต AWIG คาดหวังการทำผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีที่ 4% (ไม่ใช่การันตี)
.
ใครอยากลงทุนพอร์ตนี้ด้วยเงินลงทุน 500,000 บาท ตามสัดส่วนที่แนะนำในบทความนี้ แถมยังได้ที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวแบบฟรี ๆ ลองให้ ‘FINNOMENA Exclusive’ บริการที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัว เป็นตัวช่วยให้คุณลงทุนได้อย่างมั่นใจ ด้วยที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวมากประสบการณ์ที่จะช่วยติดตามสถานะการลงทุน และอัปเดตข่าวสารให้คุณทราบอย่างสม่ำเสมอ พร้อมแจ้งทันทีหากต้องมีการปรับพอร์ตตามสถานการณ์ตลาดเพื่อให้คุณไม่พลาดทุกโอกาสการลงทุน
รับบริการได้ ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ด้วยเงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาท ใครสนใจรับบริการสุด Exclusive แบบนี้ สามารถกรอกข้อมูลเพื่อขอรับบริการได้เลยที่
https://finno.me/guruport-andrew
อ้างอิง
- https://www.infoquest.co.th/2022/222475
- https://www.bangkokbiznews.com/world/1017455
- https://www.prachachat.net/world-news/news-992841
- https://www.finnomena.com/the-opportunity/news-update-10-08-2022-2/
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”