สิ่งที่ผู้ศึกษาทฤษฎีผลประโยชน์ต้องรู้
1.) ทฤษฎีนี้ไม่ได้อธิบายวิธีการเลือกตัวหุ้น แต่อธิบายว่าหุ้นขึ้นลงไปด้วยหลักการอะไร ถ้าเราเข้าใจเราจะรู้ได้ว่าเมื่อไรหุ้นกำลังจะขึ้น เมื่อไรหุ้นกำลังจะลง ในภาพใหญ่
2.) ทฤษฎีนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า คนส่วนน้อยเท่านั้นที่จะมีสิทธิ์ได้เงินง่ายๆและทำกำไรในระบบตลาดการเงินได้ ซึ่งสอดคล้องกับกฎเหล็กของระบบทุนนิยมที่ว่า “เงินจะต้องหายาก เงินจึงจะมีค่า”
3.) ดังนั้นเป้าหมายของเราคือ เราจะเป็นคนส่วนน้อยที่ตัดสินใจตรงข้ามกับคนส่วนใหญ่ เมื่อเกิดเหตุการที่ใครๆก็ตัดสินใจเหมือนๆกันหมด (ซึ่งจะเกิดขึ้นนานๆที) แม้ว่าการตัดสินใจเช่นนั้นเราจะ “ผิด” ตามเหตุผลและข้อเท็จจริงทั้งหมดในขณะนั้น ก็ไม่เป็นไร
4.) เราให้คุณค่าของการได้เป็นคนส่วนน้อย สำคัญกว่าการถูกผิดตามเหตุผลก็เพราะ เหตุผลนั้นดิ้นได้และมีหลายด้านหลายมุม ราคาเดลื่อนไปทางไหนก็มีเหตุผลอธิบายได้ อีกทั้งราคายังกำหนดสถานการณ์ได้ด้วย ไม่ใช่สถานการณ์กำหนดราคาได้แต่เพียงอย่างเดียว แต่ผลประโยชน์หรือกำไรของคนส่วนน้อยเป็นสิ่งที่ตายตัว และดิ้นไม่ได้ เมื่อไรที่คนส่วนใหญ่กลัวและขายกันหมด คนส่วนน้อยก็ย่อมกำลังซื้อหมด ในเม็ดเงินที่เท่ากับที่คนส่วนใหญ่ขาย (ซื้อเท่ากับขายเสมอ) และราคาก็จะเคลื่อนไปขึ้นในทิศทางที่คนส่วนน้อยได้ประโยชน์เท่านั้น จะเป็นอื่นไม่ได้ แม้จะขัดแย้งกับเหตผลในขณะนั้นก็ตาม
5.) ในเรื่องธุรกิจและอื่นๆ เราใช้เหตุผลตรงไปมาในการคิดได้ แต่ในการคาดการณ์ทิศทางราคาของตลาดเก็งกำไรต่างๆ (หุ้น, ทอง, currency, etc) ราคาไม่ได้กระทบกับสถานการณ์ เหตุผล ตัวเลขทางเศรษฐกิจต่างๆ อย่างตรงไปตรงมา เสมอไป เราจึงคิดด้วยเหตผลตรงๆไม่ได้
6.) ทฤษฎีระบบผลประโยชน์ไม่ได้วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสาร เหตุผล โดยตรง แต่จะวิเคราะห์ว่า คนอื่นๆกำลังวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารเหล่านั้นอย่างไร และจะตัดสินใจอย่างไร เราจะดูที่ตรงนั้น ที่การตัดสินใจของคน ถ้าส่วนใหญ่ขายกันหมด เราก็จะซื้อ ถ้าซื้อกันหมดเราก็จะขาย ถ้าคละๆกันไม่ชัดเจน เราก็จะไม่ทำอะไร
7.) ยังมีอีกวิธีที่จะชนะตลาดหุ้นได้ โดยไม่ต้องรู้ว่าเมื่อไรหุ้นจะขึ้น เมื่อไรหุ้นจะลง ไม่กะเก็งวงจรราคา โดยให้ focus ที่ศักยภาพของธุรกิจแทน เพราะวันหนึ่งราคาก็ย่อมขึ้นตามกำไรที่เติบโตขึ้นในที่สุด ไม่ช้าก็เร็ว ซึ่งคือหลักการลงทุนแบบ “Value Investing (VI)”