ปัจจุบันรถยนต์ไฟฟ้าเป็นที่พูดถึงอย่างแพร่หลาย ทั้งภาครัฐภาคเอกชนที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและนวัตกรรม ราคานํ้ามันพุ่งสูงจนทำให้คนเริ่มมองหาทางเลือกใหม่ หลายคนเชื่อว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะกลายเป็นเมกะเทรนด์ในอนาคต มาดูกันว่าตลาดรถยนต์ไฟฟ้าน่าสนใจอย่างไร และมีกองทุนไหนน่าลงทุนบ้าง
ภาพรวมตลาดรถยนต์ไฟฟ้า
ในปี 2021 ยอดขายรถ EV ทั่วโลกคือ 6.6ล้านคัน ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 2.2เท่า! ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าจีนเป็นตลาดที่เติบโตมากที่สุด โดยมียอดขายเพิ่มขึ้นจาก1.2 ล้านคันเป็น 3.4 ล้านคัน ในขณะที่ยุโรปมีรถยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนใหม่เพิ่มขึ้น 2.3 ล้านคันแต่จำนวนครึ่งหนึ่งเป็นรถยนต์แบบปลั๊กอินไฮบริด สำหรับสหรัฐอเมริกา มียอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทะลุครึ่งล้านคันเป็นครั้งแรก แต่ยังคงต่ำกว่าตลาดของจีนและตลาดยุโรปอยู่มาก
แม้ว่าตลาดรถยนต์ไฟฟ้ายังคงกระจุกตัวอยู่ที่จีน ยุโรป และสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีสัดส่วนตลาดถึง 90% แต่ทั่วโลกต่างส่งสัญญาณดีต่อตลาดรถยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง เช่นในประเทศไทย ราชกิจจาฯ ประกาศกฎกระทรวง ลดภาษีรถ EV ที่เข้าโครงการรัฐบาลเสีย “ภาษีสรรพสามิต” แค่ 2% จากปกติ 8% เป็นต้น
4 ปัจจัยทำไมต้องรถยนต์ไฟฟ้า?
1.รัฐบาลนานาประเทศให้การสนับสนุน – ประเทศทั่วโลกต่างให้ความสำคัญของการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามความตกลงปารีส (Paris agreement) มีมาตรการที่สนับสนุนรถยนต์ไฟฟ้าออกมามากขึ้น ในปี2020 กว่า 20 ประเทศที่ประกาศห้ามการจำหน่ายรถยนต์เชื้อเพลิง หรือกำหนดรถยนต์จำหน่ายใหม่ต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่ไม่มีการปล่อยมลพิษ
2.บริษัทค่ายรถยนต์เริ่มลงทุนมากขึ้น – ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำทั่วโลกต่างเริ่มลงทุนและผลิตรถยนต์ไฟฟ้าออกมาจำหน่ายมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น
Volkswagen ตั้งเป้าว่า รถยนต์ที่จำหน่ายในยุโรปต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้า 70% และ 50% สำหรับรถยนต์ที่จำหน่ายในจีนและสหรัฐอเมริกา
Mercedes ตั้งเป้าว่านับแต่ปี 2025 รถยนต์ที่เปิดตัวใหม่ทั้งหมดต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้า
Toyota เปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้าBEV 30 รุ่น ตั้งเป้ายอดขาย 3.5 ล้านคันต่อปี
3.ต้นทุนรถ EV มีแนวโน้มถูกกว่ารถยนต์สันดาป – จากรายงานสำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐฯ เมื่อเปรียบเทียบราคานํ้ามันและไฟฟ้าในสหรัฐอเมริกาพบว่า ราคานํ้ามันสูงกว่าไฟฟ้าเกือบ 3 เท่า นอกจากนี้จากรายงานนักวิเคราะห์ของ Jeffries พบว่า ต้นทุนการเป็นเจ้าของรถ EV น้อยกว่ารถสันดาปประมาณ $4,700 ส่วนต่างของราคามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อมี EV ออกสู่ตลาดมากขึ้น ในขณะที่ราคาแบตเตอรี่จะลดลงอย่างต่อเนื่องในสองสามปีข้างหน้า
4.การขยายตัวของสถานีชาร์จ – ในปี 2021 มีสถานีชาร์จ EV สาธารณะทั่วโลกประมาณ 1.8 จุด เพิ่มขึ้นเกือบ 40% จากปีก่อน จีนเป็นผู้นำในสถานีชาร์จแบบสาธารณะ โดย 85% ของสถานีชาร์จแบบเร็ว และ 50% ของสถานีชาร์จแบบช้าทั้งหมดอยู่ที่จีน การเพิ่มขึ้นของสถานีชาร์จ เป็นหนึ่งในตัวแปรที่ทำให้รถยนต์ไฟฟ้าเติบโตต่อไป
หากใครอ่านมาถึงตรงนี้ แล้วเชื่อว่ารถยนต์ไฟฟ้าเป็นเทรนที่น่าสนใจ และอยากลงทุนไปด้วย ขอแนะนำกองทุนที่น่าสนใจดังนี้
กองทุนที่มีสัดส่วนลงทุนในหุ้น EV และทาง FINNOMENA Investment Team แนะนำ
P-CGREEN
สรุปรายละเอียดกองทุน
นโยบายกองทุน: เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของ KraneShares MSCI China Clean Technology Index ETF (กองทุนปลายทาง) ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV โดยกองทุนหลักจะเน้นติดตามผลการดำเนินงานของดัชนี MSCI China IMI Environment 10/40 ซึ่งเป็นดัชนีที่ติดตามผลการดำเนินงานของบริษัทในประเทศจีนที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 5 กลุ่มธุรกิจ คือ กลุ่มพลังงานทางเลือก (Alternative Energy) การพัฒนาและการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน (Sustainable Water) การออกแบบอาคารที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม (Green Building) การป้องกันมลพิษ (Pollution Prevention) และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ (Energy Efficiency) โดยกองทุนมีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 6
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด (Passive Management)
ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงของการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศ, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจ)
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรก: 1,000 บาท
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งถัดไป: 1,000 บาท
ค่าธรรมเนียม:
ค่าธรรมเนียมซื้อ: 1.5000%
ค่าธรรมเนียมขาย: ไม่เรียกเก็บ
ค่าธรรมเนียมรวมรายปี: 1.6993%
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่
https://static1.squarespace.com/static/5b763853266c075695c73c0a/t/620625c646e1dc0cf5cf6894/1644570066076/P-CGREEN_Factsheet_202112.pdf
กองทุนอื่น ๆ ที่มีสัดส่วนลงทุนในหุ้น EV
UEV
สรุปรายละเอียดกองทุน
นโยบายกองทุน: เน้นลงทุนในกองทุนรวมตราสารทุนต่างประเทศ และ/หรือกองทุนรวมอีทีเอฟ (ETF) ของบริษัทที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสายการผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งครอบคลุมถึงการทำเหมืองไปจนถึงการพัฒนาเทคโนโลยีแบตเตอรี่ และการผลิตแบตเตอรี่ และบริษัทที่ดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับระบบขนส่งและเทคโนโลยีที่ใช้ในการขนส่งเช่น รถยนต์, ยานพาหนะไฟฟ้า การขับขี่อัตโนมัติเป็นต้น โดยกระจายการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ทั่วโลก เฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของNAV โดยกองทุนมีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 6
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: มุ่งหวังให้ผลประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active management)
ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงของการลงทุนในหลักทรัพย์หรือทรัพย์สินในต่างประเทศ, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจ)
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรก: ไม่กำหนด
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งถัดไป: ไม่กำหนด
ค่าธรรมเนียม:
ค่าธรรมเนียมซื้อ 1.5000%
ค่าธรรมเนียมขาย ยกเว้น
ค่าธรรมเนียมรวมรายปี 1.8554 %
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่
https://www.uobam.co.th/srcm/fund_mapping/mlz87a9tz/7a/9t/o0x0/UEV_Factsheet_20220426.pdf
MCHEVO
สรุปรายละเอียดกองทุน
นโยบายกองทุน: เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศที่มีนโยบายการลงทุนในตราสารทุนของบริษัทที่เกี่ยวข้องหรือได้รับประโยชน์จากการ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมของสาธารณรัฐประชาชนจีน เช่น การขยายตัวของสังคมเมือง (Urbanization) การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อม (clean energy) นวัตกรรมด้าน เทคโนโลยี หรือการพัฒนาด้านสาธารณสุขและการแพทย์ รวมถึงเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นต้น ซึ่งจะลงทุนเพียงกองทุนเดียว (Feeder Fund) คือ T.Rowe Price China Evolution Equity Fund – Class I โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม โดยกองทุนมีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 6
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน:กองทุนเปิดเอ็มเอฟซี ไชน่า เอโวลูชั่น มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก (Passive Management) ส่วนกองทุน T.Rowe Price China Evolution Equity Fund (กองทุนหลัก) มุ่งหวังให้ผล ประกอบการสูงกว่าดัชนีชี้วัด (Active Management)
ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากการกระจุกตัวลงทุนในประเทศจีน, ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (มีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจ)
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อในแต่ละครั้ง: 1,000 บาท
ค่าธรรมเนียม:
ค่าธรรมเนียมซื้อ: 1.5000%
ค่าธรรมเนียมขาย: ไม่มี
ค่าธรรมเนียมรวมรายปี: 1.9635%
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่
https://www.mfcfund.com/Web/FundFiles/FundFactSheetPDFs/ffs/th/MCHEVO.pdf
SCBEV(A)
สรุปรายละเอียดกองทุน
นโยบายกองทุน: เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนกองทุนต่างประเทศเพียงกองทุนเดียว ได้แก่ กองทุน Kranes Share Electric vehicle & Future Mobility (ETF) (กองทุนหลัก) โดยมุ่งให้ผลตอบแทนก่อนหักค่าธรรมเนียนและค่าใช้จ่ายสอดคล้องกับผลการดำเนินงานของดัชนีอ้างอิง ซึ่งปัจจุบันคือ Bloomberg Electric Vehicle Index ที่ได้รับการออกแบบเพื่อวัดผลการดำเนินงานของหุ้นบริษัทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าหรือส่วนประกอบ หรือในสิ่งที่ริเริ่มขึ้นใหม่อื่นๆ ที่คาดว่าจะเปลี่ยนแปลงอนาคตของการเดินทางและการขนส่ง
ซึ่งรวมถึงบริษัทต่างๆ ที่คาดว่าจะมีรายได้ส่วนใหญ่จากยานพาหนะไฟฟ้า เทคโนโลยีการจัดเก็บพลังงาน เทคโนโลยีการขับเคลื่อนอัตโนมัติ การทำเหมืองลิเธียมและหรือทองแดง และเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน โดยกองทุนมีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 6
กลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุน: กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ Electric Vehicles and Future Mobility มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามกองทุนหลัก ส่วนกองทุน KraneShares Electric Vehicles & Future Mobility Index ETF (กองทุนหลัก) มุ่งหวังให้ผลประกอบการเคลื่อนไหวตามดัชนีชี้วัด (Passive Management/index tracking)
ปัจจัยความเสี่ยงที่ควรทราบ: ความเสี่ยงจากความผันผวนของมูลค่าหน่วยลงทุน,ความเสี่ยงจากการลงทุนกระจุกตัวในประเทศจีนและสหรัฐอเมริกา
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งแรก 1,000 บาท
มูลค่าขั้นต่ำของการซื้อครั้งต่อไป 1,000 บาท
ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมซื้อ: 1.5000%
ค่าธรรมเนียมขาย: ปัจจุบันยกเว้นไม่เรียกเก็บ
ค่าธรรมเนียมรวมรายปี: 1.16737% (ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่น)
ศึกษารายละเอียด นโยบาย ข้อมูล และความเสี่ยงของกองทุนเพิ่มเติม ได้ที่
https://www.scbam.com/medias/fund-doc/summary-prospectus/SCBEV(A)_SUM.pdf
สนใจสร้างแผนการลงทุน ดูรายละเอียดและสร้างแผนได้ที่ https://finno.me/ggg-landing-web
รับบริการที่ปรึกษาการลงทุนส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 500,000 บาทเท่านั้น
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/finnomena-x-service
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”