มนุษย์เงินเดือนยิ่งรายได้สูง ยิ่งจ่ายภาษีก้าวกระโดด!

ด้วยโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของมนุษย์เงินเดือน ต้องจ่ายแบบขั้นบันได คือสูงขึ้นเรื่อย ๆ ตามเงินได้สุทธิที่เพิ่มขึ้น

เริ่มต้นตั้งแต่ถูกยกเว้นภาษี หากเงินได้ทั้งปีไม่เกิน 150,000 บาท และอัตราสูงสุดถึง 35% หากเงินได้สูงกว่า 5,000,001 บาทขึ้นไป

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

  • เงินได้สุทธิ 1 – 150,000 บาท ได้รับการยกเว้น
  • เงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บาท อัตราภาษี 5%
  • เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท อัตราภาษี 10%
  • เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท อัตราภาษี 15%
  • เงินได้สุทธิ 750,001 – 1,000,000 บาท อัตราภาษี 20%
  • เงินได้สุทธิ 1,000,001 – 2,000,000 บาท อัตราภาษี 25%
  • เงินได้สุทธิ 2,000,001 – 5,000,000 บาท อัตราภาษี 30%
  • เงินได้สุทธิ 5,000,001 บาทขึ้นไป อัตราภาษี 35%

 

แปลว่ามนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้สูงขึ้นเรื่อย ๆ ก็จะโดนอัตราภาษีที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว

ยกตัวอย่าง หากเราเป็นคนที่ทำงานมาได้สักระยะ ฐานเงินเดือน 100,000 บาท รู้ไหมว่าปี ๆ นึง เราจะต้องจ่ายภาษีสูงถึงหลักแสน!

วิธีคำนวณภาษีมนุษย์เงินเดือน

วิธีคำนวณง่าย ๆ ในกรณีไม่ได้วางแผนลดหย่อนภาษีอะไรเลย ใช้แค่สิทธิพื้นฐานทั่วไป ได้แก่ หักค่าใช้จ่าย (100,000 บาท) หักค่าลดหย่อนพื้นฐาน (60,000 บาท) และหักเงินประกันสังคม (9,000 บาท)

นำตัวเลขนี้มาคำนวณภาษีของคนที่รายได้ปีละ 1,200,000 หรือตกเดือนละ 100,000 บาท ผลลัพธ์จะได้แบบนี้

  1. รายได้ทั้งปี (1,200,000) – ค่าใช้จ่าย (100,000) – ค่าลดหย่อนพื้นฐาน (60,000) – ประกันสังคม (9,000) เท่ากับ เงินได้สุทธิ 1,031,000 บาท
  2. จากนั้นเอาเงินได้สุทธิ 1,031,000 บาท ไปเทียบอัตราภาษีแบบขั้นบันไดข้างต้น จะตกที่อัตราภาษี 25% คิดเบ็ดเสร็จออกมาแล้ว เราจะต้องจ่ายภาษีถึง 122,750 บาท

สรุปวิธีคำนวณภาษี ปี 2567: จับมือสอนตั้งแต่เริ่มต้น ครบจบทุกขั้นตอน

ดังนั้น หลายคนจึงต้องมองหาตัวช่วยเพื่อบรรเทาภาษีที่หนักอึ้งแบบนี้ หนึ่งในนั้นก็คือการนำเงินไปลงทุนผ่านกองทุนลดหย่อนภาษี เช่น SSF, RMF, Thai ESG และ PVD ของแต่ละบริษัท

จริงอยู่ว่าเงินที่ซื้อกองทุนไม่ได้ถูกนำไปหักจำนวนภาษีที่ต้องจ่ายแบบตรง ๆ แต่จะนำถูกไปหักลบเงินได้สุทธิให้ลดลงมา เพื่อให้ฐานภาษีต่ำลง และจ่ายภาษีในอัตราที่น้อยลง

เช่น คนที่เงินได้สุทธิ 1,200,000 บาท ฐานภาษี 25% ก็อาจจะใช้วิธีซื้อกองทุนสัก 500,000 บาท เพื่อให้ฐานภาษีลงไปเหลือ 10% เป็นต้น

จะเห็นว่าการที่มนุษย์เงินเดือนอยู่ในระบบภาษีแบบนี้ ทำให้การวางแผนลดหย่อนภาษีเป็นเรื่องที่ “ไม่ทำไม่ได้”

คำถามคือลดหย่อนภาษีปีนี้ ซื้อกองทุนอะไรดี? Finnomena Funds สรุปมาให้แบบครบ ๆ ทั้งกองทุน SSF กองทุน RMF และกองทุน Thai ESG จากหลากหลาย บลจ. ด้วยคำแนะนำการลงทุนที่เป็นกลาง ดูโพยกองทุนคลิกเลย

TSF2024