ความเข้าใจผิดในเรื่อการวางแผนการเงินของหลายคน คือคิดว่ารอให้เงินเยอะก่อนค่อยหันมาวางแผน
ทั้งที่ความจริงแล้ว ยิ่งเรามีเงินน้อย ยิ่งต้องคิดเรื่องการวางแผนการเงินให้รัดกุม ชัดเจน และเริ่มต้นออมอย่างมีวินัยให้มาก
การหักเงินมาออมสัก 10% ของรายได้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ไม่ยาก ไม่หักโหมจนเกินไป และมีพลังเพียงพอที่จะช่วยให้เงินก้อนเล็ก ๆ เหล่านี้ ทยอยสะสมเป็นเงินก้อนโตในอนาคตระยะยาวได้
ตัวอย่างเช่น หากเป็น First Jobber เงินเดือนเริ่มต้น 15,000 บาท
จำนวนเงิน 10% ที่หักออกมาออมก็จะเท่ากับเดือนละ 1,500 บาท
สมมุติว่านำเงินส่วนนี้ไปหยอดกระปุกเก็บไว้เฉย ๆ พอสิ้นปีเราจะเก็บเงินได้ 18,000 บาท
แต่หากนำไปลงทุนในหุ้นหรือกองทุนรวม ก็จะมีโอกาสสร้างผลตอบแทนให้งอกเงยขึ้นไปอีก ซึ่งปัจจุบันเงินหลักร้อยก็สามารถซื้อกองทุนรวมได้แล้ว บางกองลงทุนขั้นต่ำแค่บาทเดียวก็มี
คำถามคือถ้าเราขยันออมเรื่อย ๆ แบบนี้อย่างสม่ำเสมอ ต้องใช้เวลากี่ปีถึงจะมีเงินล้านก้อนแรก?
จากตารางเป็นแบบจำลองที่เราคำนวณให้เห็นภาพว่าในแต่ละช่วงเงินเดือนต่าง ๆ หากออมเงิน 10% ของรายได้ จะต้องใช้เวลากี่ปีถึงจะมีเงินล้าน โดยเปรียบเทียบระหว่างการเก็บเงินไว้เฉย ๆ ในกระปุกออมสิน กับการนำไปลงทุนที่คาดหวังผลตอบแทนประมาณ 5% ต่อปี
สรุปแล้วจะเห็นชัดเจนเลยว่าพลังของการลงทุน ช่วยย่นย่อระยะเวลาไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้นเยอะเลย ดังนั้นแล้ว ยิ่งเงินน้อย ยิ่งต้องออมไว เพื่อให้การลงทุนเป็นแรงส่งไปได้ไกลยิ่งขึ้น
สร้างล้านแรกไม่ยาก มาวางแผนเก็บเงิน 1 ล้านแรกไปด้วยกัน
👉 สร้างแผนเก็บเงินล้านแรกได้ที่ https://finno.me/first-million-plan
คำเตือน: การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | การลงทุนในกองทุนรวมไม่ใช่การฝากเงิน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FinnomenaPort”