การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4: เมื่อกฏหมายก้าวไม่ทันโลกที่หมุนไป

ขอต้อนรับเข้าสู่ซีรีย์การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 ตอนที่สอง

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 สิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนหลักคือ “อินเตอร์เนต” และแพลตฟอร์มต่าง ๆ Facebook และ Youtube เป็นตัวอย่างที่ดีกรณีหนึ่งในเรื่องของแพลตฟอร์ม Facebook เป็นบริษัทสื่อรายใหญ่ที่สุดในโลกที่ไม่มี content เป็นของตัวเอง แต่มีผู้ใช้งานในแพลตฟอร์มนี้กว่า 2,500 ล้านคน จากข้อมูลประมาณการขององค์กรสหประชาชาติในปี 2015 ได้ประมาณประชากรโลกไว้ที่ 7,300 ล้านคน เท่ากับ Facebook มีผู้ใช้งานกว่า 1/3 ของโลก ด้วยข้อมูลเหล่านี้ทำให้สื่อต่าง ๆ นำเม็ดเงินมาใช้เพื่อการโฆษณาใน Facebook เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจาก Facebook สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำกว่าสื่อแบบดั้งเดิมแล้วเกิดอะไรขึ้น !!

เทรนด์การใช้สื่อออนไลน์เหล่านี้ในการโฆษณาไม่เพียงเฉพาะต่างประเทศ ประเทศไทยเองก็ใช้เม็ดเงินโฆษณาทางออนไลน์ไม่น้อยเหมือนกันโดยสื่อโฆษณาออนไลน์มีมูลค่ากว่า 10,000 ล้านบาท แต่รายได้ของบริษัทข้ามชาติเหล่านี้ไม่ต้องเสียภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยให้กับประเทศไทย กฎหมายการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรถูกบัญญัติไว้ตั้งแต่ปี 2458 หรือ 100 ปีที่ผ่านมา แม้จะมีการปรับปรุงวิธีการจัดเก็บภาษีให้ทันสมัยแต่ก็ยังไม่ทันกลับพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (อ้างอิงจาก สรรพากรมาแล้ว! “เฟซบุ๊ก-กูเกิล-ไลน์” ต้องเสียภาษี, ประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร)

นอกจากพฤติกรรมการใช้สื่อโฆษณาแล้ว อีกพฤติกรรมหนึ่งที่เป็นเมกะเทรนด์ไม่แพ้กันคือ “พฤติกรรมการเดินทาง” ด้วยความสะดวกของการเดินทางที่มีให้เลือกมากขึ้น และ social media ก็มีผลต่อพฤติกรรมการเดินทางเช่นกัน โดยหนังสือ Nudge ระบุไว้ว่าคนเรามักมีพฤติกรรมที่คล้อยตามคนอื่น ดังนั้นเมื่อเราเห็นเพื่อนในเฟซบุ้คเดินทางไปต่างประเทศ หรือเห็นจากเพจรีวิวต่างๆ สิ่งนั้นย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมการเดินทางของเราได้ง่ายขึ้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้คนทั่วโลกเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้น ข้อมูลจาก Forbes พบว่ากลุ่มที่มีการเติบโตมากที่สุดคือกลุ่ม Young tourists พฤติกรรมกลุ่มนี้มีลักษณะการเดินทางเพื่อหาประสบการณ์ชีวิต เน้นการเดินทางในราคาประหยัด และที่พักหลักคือ “โฮสเทล”

โฮสเทลในประเทศไทยเริ่มขึ้นจากที่พักราคาถูกในบริเวณถนนข้าวสาร ในช่วง 5 ปีที่ผ่านเป็นยุครุ่งเรืองของการเดินทาง จะเห็นได้ว่ามี โฮสเทลขึ้นเป็นจำนวนมากตามหัวมุมถนนในกรุงเทพฯ แต่มีโฮสเทลที่ลงทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายเพียง 10% เท่านั้น ด้วยข้อกฎหมายที่มีรายละเอียดยิบย่อย เช่น การกำหนดทางเดินภายในอาคาร ขนาดห้องนอน จำนวนห้องน้ำ เครื่องปรับอากาศ บลา บลา บลา ทำให้โฮสเทลจำนวนมากจึงเปิดอย่างผิดกฎหมาย

แม้กระทั่งพฤติกรรมการนั่งรถรับจ้างก็ดี รถขนส่งก็ดี สิ่งเหล่านี้ยังอยู่นอกกฎหมาย หนังสือ The Fourth Industrial Revolution พูดได้อย่างน่าสนใจว่า “เทคโนโลยีเหล่านี้มีประสิทธิภาพและรวดเร็วจนข้อจำกัดต่างๆในตอนนี้ไม่ใช่เรื่องเทคนิค แต่เป็นเรื่องของข้อกฎหมาย ระเบียบปฏิบัติ และจริยธรรม”

สิ่งสำคัญสำหรับโลกในยุคหน้าคือการ ”วิสัยทัศน์” ของผู้นำประเทศ รัฐบาลต้องยอมรับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว วางโครงสร้างการบริหารอย่างโปร่งใส มีประสิทธิภาพในการแข่งขันและทบทวนต่อกฎระเบียบเดิมๆ ต่อพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป จะทำให้ประเทศนั้นสามารถแข่งขันได้ในอนาคต

บันทึกการลงทุน
ที่มาบทความ: https://www.facebook.com/valuewaynjr/

**สามารถอ่านบทความชุด “การปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4” ตอนที่ 1 ได้ที่
https://www.finnomena.com/nuthjira/the-fourth-industrial-revolution/

TSF2024