KCE ส่งออกดี ทองแดงลงก็เป็นผลดี แล้วยังไงต่อ?

KCE หรือ บริษัท เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายแผ่นพิมพ์วงจรอิเล็กทรอนิกส์ PCB ซึ่งเป็นชิ้นส่วนพื้นฐานสำคัญในการประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องมือสื่อสารโทรคมนาคม อุตสาหกรรมยานยนต์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกือบทุกชนิด

การทำธุรกิจของ KCE

รายได้ของ KCE นั้นมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องเรื่อยมา สาเหตุเพราะบริษัทมีการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้มีความสามารถในการผลิตแผง PCB ที่มีความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา ตอบโจทย์ความต้องการของตลาด

แต่ถ้ามาดูที่กำไรของ KCE นั้น มีการเพิ่มขึ้นมากกว่ารายได้สูงมาก นี่เป็นเพราะบริษัทมีการลดต้นทุนในการผลิตลงตลอดเวลา เช่นการลด Defect Rate ของแผง PCB ให้มีน้อยลงเรื่อยๆ เป็นการเพิ่มอัตรากำไรขั้นต้นให้มากขึ้น

โรงงานผลิตแผง PCB ของ KCE นั้นมี 3 โรงงาน มีพนักงานรวม 5,500 คน ถ้าเทียบขนาดจะอยู่ที่ระดับประมาน 30 ของโลก โดยอันดับ 1 ของโลกมีรายได้มากกว่า KCE เพียงหนึ่งเท่ากว่าๆ เท่านั้น

KCE ส่งออกดี ทองแดงลงก็เป็นผลดี แล้วยังไงต่อ?

Source: https://www.finnomena.com/stock/KCE

ทีนี้เรามาดูวงจรเงินสดของ KCE กัน

วงจรเงินสดของ KCE คือ 87 วัน มีระยะเวลาเก็บหนี้ 100 วันเพราะลูกค้ามีอำนาจการต่อรองสูงกว่า KCE มาก หมายความว่าบริษัทผลิตแผง PCB ส่งไปให้ลูกค้าทางเรือ แล้วต้องรอเกือบ 4 เดือนกว่าลูกค้าจะจ่าย แต่ในทางกลับกัน ระยะเวลาชำระหนี้เจ้าหนี้การค้าของ KCE ก็เป็น 100 วันเช่นเดียวกัน เพราะบริษัทเองก็มีอำนาจการต่อรองกับ Supplier

KCE ส่งออกดี ทองแดงลงก็เป็นผลดี แล้วยังไงต่อ?

Source: https://www.finnomena.com/stock/KCE

ลูกค้าและตลาดของ KCE

KCE ทำการส่งออกแผง PCB ตั้งแต่เริ่มแรกเลย ลูกค้าหลักที่มาสั่งซื้อแผง PCB คือบริษัทต่างชาติที่เป็น Supplier ให้กับบริษัทผลิตรถยักษ์ใหญ่ โดยลูกค้าของ KCE มาจากประเทศฝั่งยุโรปเป็นหลัก ส่วนลูกค้าจากประเทศญี่ปุ่นนั้นยังน้อยเพราะเพิ่งบุกตลาดมาไม่กี่ปี สาเหตุที่บริษัทรถเหล่านี้ไม่ได้ผลิตแผง PCB เองนั้นเป็นเพราะต้องการประหยัด

KCE เคยให้ข้อมูลว่าตลาดของแผง PCB นั้นจะโตต่อไปเรื่อยๆ เพราะในอนาคตรถทุกคันจะมีแผงวงจรมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างเช่น เกียร์ไฟฟ้า กล้องที่ติดกับรถ และเซ็นเซอร์ต่างๆ ทำให้บริษัทอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตจากเทรนด์ของรถที่มีเทคโนโลยีเข้ามาเยอะขึ้นเรื่อยๆ

KCE ขายแผงให้ลูกค้ารถยนตร์เป็นสัดส่วน 70% ส่วนกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานหรือตู้ Control เป็นสัดส่วน 12% และที่เหลือเป็นกลุ่มผู้บริโภคทั่วไป

KCE ส่งออกดี ทองแดงลงก็เป็นผลดี แล้วยังไงต่อ?

Source: KCE Annual Report 2017

KCE ส่งออกดี ทองแดงลงก็เป็นผลดี แล้วยังไงต่อ?

Source: KCE Annual Report 2017

ต้นทุนของ KCE มีอะไรบ้าง? แล้วค่าเงินมีผลอย่างไร?

KCE มีทองแดงที่เป็นต้นทุนหลัก คิดเป็น 8-10% (สูงที่สุดแล้ว) ของต้นทุนทั้งหมด เพราะฉะนั้นถ้าราคาทองแดงเพิ่มขึ้น KCE จะได้รับผลกระทบเต็มๆ ซึ่งเกิดขึ้นในปีที่แล้ว ทำให้กำไรบริษัทลดลงจากปี 2559

แล้วราคาทองแดงขึ้นได้อย่างไร?

KCE เคยให้คำตอบว่า เมื่อเศรษฐกิจดี การก่อสร้างมากขึ้น ทำให้มีการใช้ทองแดงมากขึ้น มีการนำทองแดงไปใช้ในสายไฟทำให้อุปสงค์มากกว่าอุปทาน จึงส่งผลให้ราคาขึ้น

นอกจากต้นทุนหลักอย่างค่าทองแดงที่เพิ่มขึ้นแล้ว ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นก็ส่งผลกระทบต่อ KCE เพราะบริษัทเน้นการส่งออกเป็นหลัก ยิ่งค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ของที่ส่งออกจากประเทศไทยก็แพงขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินอื่นที่ไม่ได้แข็งค่าขึ้นตาม

คู่แข่งของ KCE คือใคร?

มี 2 ประเทศที่เป็นคู่แข่งด้านแผง PCB คือประเทศจีนและไต้หวันที่คุมส่วนแบ่งของตลาด PCB โลกถึง 70% ส่วนคู่แข่งที่ผลิตเยอะในไทยก็มาจากประเทศไต้หวันเช่นกัน

นอกจากความเสี่ยงเรื่องราคาทองแดงที่เป็นสินค้าโภคภัณฑ์ กับค่าเงินบาทที่สามารถส่งผลกระทบต่อกำไรของ KCE แล้ว อีกปัจจัยหนึ่งคือ การพึ่งพิงลูกค้ารายใหญ่ เพราะบริษัทมีลูกค้ารายใหญ่ที่สร้างรายได้ให้ถึง 15%

หวังว่าข้อมูลที่นำมาเล่าสู่กันฟังในบทความนี้จะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ อย่างไรก็ดี นักลงทุนอย่าลืมศึกษาข้อมูลรอบด้าน คำนึงถึงหลายๆ ปัจจัย ก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ

Sources:
https://www.finnomena.com/stock/KCE
https://www.set.or.th/set/factsheet.do?symbol=KCE&ssoPageId=3&language=th&country=TH
https://www.set.or.th/set/companyprofile.do?symbol=KCE&ssoPageId=4&language=th&country=TH
https://www.youtube.com/watch?v=kuOeJqfzP_I
https://www.youtube.com/watch?v=2fEJoNV_AfY

——————-

Vithan Minaphinant
Securities Investment Analyst (IA)
ตรวจทานบทความ


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด | ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้