สรุปงานสัมมนา: "Disrupt or Die เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนโลก แล้วอนาคตหุ้นไทยจะเป็นอย่างไร"

ในวันที่ 26/5/2561 ผมได้มีโอกาสร่วมเข้าฟังสัมมนาที่จัดขึ้นโดย KSecurities มีชื่อว่า “Disrupt or Die เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนโลก แล้วอนาคตหุ้นไทยจะเป็นอย่างไร” ซึ่งจัดที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยผมได้สรุปเนื้อหาสำคัญๆ มาแชร์ให้ท่านผู้อ่านด้วยครับ

สรุปงานสัมมนา: "Disrupt or Die เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนโลก แล้วอนาคตหุ้นไทยจะเป็นอย่างไร"

พันเอก ดร.เศรษฐพงศ์ มะลิสุวรรณ รองประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 

  • ตาม Moore’s Law เทคโนโลยีจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในตัวเองในรูปแบบทวีคูณ หลังปี 2020 นี้เป็นต้นไปเราจะได้เห็นพัฒนาการต่างๆ ของเทคโนโลยีที่โตเร็วแบบก้าวกระโดด
  • ยกตัวอย่างสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น AI หรือ ปัญญาประดิษฐ์ จะสามารถบอก Credit หรือความน่าเชื่อถือของคนได้อย่างรวดเร็ว เช่น เวลาเราเดินไปในท้องถนน เราจะรู้เลยว่าเราจะสามารถทำธุรกิจกับคนไหนได้บ้าง ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้รู้จักกันเลย
  • สถานีโทรทัศน์จะถูก Disrupt อย่างแรง โดยคนทุกคนสามารถที่จะเป็น Content Maker ได้ด้วยมือถือเครื่องเดียว เพราะเมื่อระบบ 5G ได้ถูกใช้กันอย่างแพร่หลายแล้ว สมาร์ตโฟนทุกเครื่องจะมี AI ติด สามารถถ่ายทอดสดในรูปแบบ 4K (ชัดกว่า 1080p) รูปแบบของการธนาคารจะเปลี่ยนไปเช่นกัน
  • VR หรือ Virtual Reality จะเข้ามามีผลเยอะมาก ไม่ใช่แค่ในอุตสาหกรรมเกม แต่จะไปในหลายอุตสาหกรรม ตัวอย่างคือ แว่นตาจะสามารถบอกเราได้เกือบทุกอย่างเหมือนในหนังไซไฟเลยทีเดียว
  • โลกจะเปลี่ยนจาก Internet of Information ไปสู่ Internet of Value คือไม่ได้มีแต่ข้อมูล แต่มีคุณค่าด้วย อย่างเช่น Facebook มีระบบนิเวศที่มีมูลค่าสูงมาก

สรุปงานสัมมนา: "Disrupt or Die เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนโลก แล้วอนาคตหุ้นไทยจะเป็นอย่างไร"

คุณสมคิด จิรานันตรัตน์ ประธาน บริษัทกสิกร บิซิเนส เทคโนโลยี กรุ๊ป

  • ในปัจจุบัน มีธุรกรรม 2,500 รายการต่อ 1 วินาทีบน KBANK Mobile Banking ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่น่าประทับใจมาก และนี่เป็นเพียงของธนาคารเดียวเท่านั้น
  • เราได้เห็นการเกิดของธุรกิจหลายอย่างมากที่เข้ามาพลิกโฉมหน้าอุตสาหกรรมไป โดยที่ไม่ต้องลงทุนสร้างอะไรที่จับต้องได้เหมือนในอดีต บริษัทเหล่านี้มีแพลตฟอร์มที่เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายมาก
  • ยกตัวอย่างเช่น Airbnb ที่ไม่ต้องลงทุนสร้างโรงแรมเองแต่กลับมีจำนวนห้องให้แขกเข้าได้หลากหลายมาก Facebook ไม่ต้องลงทุนสร้างคอนเท้นต์ของตัวเองให้เยอะเลย แค่ให้สมาชิกมาลงรูป/วิดีโอ ซึ่งก็ถือเป็นคอนเท้นต์ที่ถูกสร้างโดยคนอื่น ไม่ใช่ตัวบริษัท UBER เองก็ไม่ได้ลงทุนซื้อรถแท็กซี่มาเยอะๆ แต่มีแพลตฟอร์มที่คนสามารถเรียกใช้รถได้แทน
  • เทคโนโลยี Blockchain จะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในอนาคต เพราะจะช่วยเพิ่มความโปร่งใสให้มากขึ้น ในขณะนี้ BOT หรือธนาคารแห่งประเทศไทยก็นำมาใช้ในการรับรองเอกสารเช่นกัน

สรุปงานสัมมนา: "Disrupt or Die เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนโลก แล้วอนาคตหุ้นไทยจะเป็นอย่างไร"

คุณชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานกรรมการ บริษัท ไทยซัมมิท โอโต พาร์ทอินดัสตรี จำกัด

  • รถยนต์ไฟฟ้าจะเข้ามาทดแทนรถยนต์แบบน้ำมัน ถึงแม้จะมีจำนวนรถยนต์ไฟฟ้าแค่ 1% ของรถทั้งหมดเท่านั้นที่ถูกขายออกไป
  • อเมริกาและจีนมีจำนวนรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุด แต่ถ้าเทียบเป็นสัดส่วนก็ยังถือว่าน้อยมาก จีนมีรถยนต์ไฟฟ้าเพียง 2% เท่านั้นแต่ก็สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 1% ประเทศที่มีสัดส่วนรถยนต์ไฟฟ้ามากที่สุดคือ นอร์เวย์ ที่มีสัดส่วนรถยนต์ไฟฟ้าถึง 30% จากจำนวนรถทั้งหมด
  • เทคโนโลยีด้านรถยนต์ยังมีอีกมาก อย่างเทคโนโลยี V2G หรือ การขายไฟฟ้าจากรถยนต์ส่วนบุคคลให้รัฐบาล ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีการใช้แล้วในนอร์เวย์ มีการคำนวณว่า ถ้าซื้อรถมาในราคา 1,000,000 บาท จะสามารถขายไฟให้กับรัฐบาลได้ถึง 200,000 บาทหากใช้รถจนหมดอายุขัย ซึ่งถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว
  • รถที่ขับเคลื่อนด้วยตัวเอง (Self-Driving Car) จะลดจำนวนอุบัติเหตุลงไปได้เยอะมาก เพราะต้นเหตุของอุบัติทางรถยนต์นั้นเกิดจากข้อผิดพลาดของมนุษย์ถึง 90% จุดนี้จะทำให้บริษัทประกันโดน Disrupt ด้วยเช่นกัน รวมถึงนักกฎหมายและเจ้าหน้าที่จราจรด้วย
  • โรงแรมก็มีสิทธ์โดน Disrupt โดยรถไร้คนขับเช่นกัน เพราะรถยนต์สามารถเคลื่อนที่ไปได้เองจึงทำให้คนขับสามารถที่จะพักผ่อนบนรถได้เลย ไม่ต้องค้างคืนที่โรงแรม

ท่านผู้อ่านยังสามารถรับชมสัมมนาย้อนหลังได้ที่ https://www.facebook.com/KSecurities/videos/10155751491384403/ 

และรับข่าวสารดีๆ เพิ่มจากแฟนเพจเฟซบุ๊ก ‘KSecurities’ ได้อีกเช่นกันครับ

ขอบคุณข้อมูลจาก:

งานสัมมนา “Disrupt or Die เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนโลก แล้วอนาคตหุ้นไทยจะเป็นอย่างไร” โดย KSecurities ณ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย วันที่ 26 พ.ค. 2561


คำเตือน

ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน

ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต

ผู้เขียนบทความนี้มิได้รับค่าตอบแทนหรือมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทที่กล่าวถึงในบทความนี้แต่อย่างใด

TSF2024