The Next of Something: เป็นจริงหรือลวงโลก

ในช่วงนี้ดูเหมือนเรื่องการลงทุนจะกลายเป็นเรื่องที่ผู้คนต่างให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ทุก ๆ ที่ ๆ ไปรวมถึงทุก ๆ ที่ที่ผมได้ดู ดูเหมือนจะไม่มีใครเอาท์ไปจากเรื่องลงทุน

อีกสิ่งหนึ่งที่เซอร์ไพร์สมาก ๆ ก็คือ ตอนที่ผมเดินไปในมุม ๆ หนึ่งของร้านหนังสือที่ปกติแทบจะไม่เห็นคนเดินไป กลับมีคนเข้าออกมาหยิบหนังสือ รวมถึงใจดีขนาดหาหนังสือให้ผมด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ  และก็รู้สึกปลาบปลื้มมาก ๆ เช่นเดียวกัน

ในมือของเขาถือหนังสือ The Market Wizards ที่ทำการรวบรวมความคิดของเหล่าเทรดเดอร์ชั้นนำระดับโลก ในขณะที่ผมถือหนังสือเกี่ยวกับการตัดสินใจทางจิตวิทยาไปหมาด ๆ

สิ่ง ๆ นี้เป็นภาพดี ๆ ที่ผมอยากเห็นมาก ๆ ในวงการลงทุน ซึ่งผมก็ไม่รู้ว่ากระแสมันนำพาหรือคน ๆ นั้นติดตามจนถึงระดับเซียนอยู่แล้ว

และหากว่ากันถึงเรื่องกระแสเรื่องของสิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นหรือ The Next of Something เป็นสิ่งที่ผู้คนสนใจเป็นอย่างมากในตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสินทรัพย์แห่งอนาคตหรือหุ้นที่เปิด IPO กันเป็นว่าเล่น ธุรกิจเป็นแบบปกติ PE 40 เท่า

ผมเลยอยากเขียนบทความขึ้นมาสักบทความหนึ่ง ในมุมมองตรงกันข้ามให้ทุกคนฉุกคิดกันบ้าง

The Next of Something : สินทรัพย์แห่งอนาคต

อีกหนึ่งเรื่องที่ได้รับความนิยมในช่วงนี้ คงหนีไม่พ้นสินทรัพย์แห่งอนาคต ผลตอบแทนยอดเยี่ยมร้อนแรงและเป็นธีมแห่งอนาคต

เมื่อนึกถึงการลงทุนอาจจะมีคนนึกถึงเรื่องผลตอบแทนเป็นอันดับแรกและลืมประโยคที่ว่า “ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งที่การันตีถึงอนาคต”

ใครหลาย ๆ คนอาจเริ่มคิดว่าการลงทุนบางแบบ เป็นการลงทุนในรูปแบบโบราณ เก่าคร่ำครึไม่ทันสมัย ผลตอบแทนแพ้เห็น ๆ แต่ผมขอหยิบยก Bias ที่อาจก่อให้เกิดขึ้นมาได้ผ่านเรื่องเล่าเรื่องนี้เป็นตัวอย่าง

การแข่งขันฟุตบอลชี้ชะตาของทั้งสองทีม ที่การเตะลูกโทษครั้งสุดท้ายจะเปลี่ยนจากแพ้เป็นชนะได้ในทันที แต่คน ๆ นั้นกลับทำพลาด ผลที่ได้ก็คือสื่อต่าง ๆ จะตีความว่า “ไอ้คนนี้มันพลาด มันเลยทำทีมแพ้ เพราะฉะนั้นมันผิด”

แต่หากเรามารู้ทีหลังว่าจากสถิติ นักเตะคนนี้มักจะยิงมุมบนซ้ายถึง 70% แต่ในวันนั้นเขากลับยิงมุมซ้ายล่างซึ่งมีโอกาส 10% (ไม่รวมโอกาสมุมที่ยิงในจุดอื่น ๆ) และผู้รักษาประตูคนนั้นได้รู้ถึงข้อมูลดังกล่าวมาเป็นอย่างดี คุณคิดว่าเขาจะยังเป็นคนผิดอยู่หรือไม่?

ซึ่งเรื่องนี้ก็มี Term ที่เข้ามาอธิบายอย่าง Hindsight Bias ซึ่งอธิบายไว้ถึงอคติทางความคิด ที่เกิดขึ้นหลังจากเรารู้ผลลัพธ์แล้ว และมองว่าผลลัพธ์นั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

ในหลาย ๆ ครั้ง  เราอาจจะหลงลืมคิดถึงคุณภาพของการตัดสินใจ (Quality of Decisions) ที่เป็นตัวบ่งชี้การตัดสินใจที่แท้จริงต่างหาก และเราอาจจะคิดว่าคน ๆ นี้บอกเรื่องนี้ปุ๊บผลตอบแทนมาทันที แปลว่าถูก ซึ่งมันอาจไม่ใช่เลย

คีย์หลักสำคัญอาจอยู่ที่ว่า “เขาตัดสินใจอย่างไร มากกว่าผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นต่างหาก”

หลายคนอาจจะลืมไป ว่าสินทรัพย์นี้มีอัตรา Turnover เข้าออกสั้น ๆ ที่ผันผวน 20%-50% (ในช่วงหลัง) หากเทียบกับทอง เราก็จะให้ได้ว่ามันเกิดจากการเก็งกำไรเข้าออกอย่างว่องไว ซึ่งเป็น Fact ที่เกิดขึ้น แต่เรากลับวาดฝันว่าในอนาคต สิ่ง ๆ นี้จะเปลี่ยนไป พิสูจน์ผ่านผลตอบแทนอันใหญ่ยิ่ง หรือเทคโนโลยีในระดับสุดยอด ซึ่งถ้าสัดส่วนที่ว่ามันกลับกัน มันก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร

เราอาจอยู่ในจุดที่ความเสี่ยงไม่มีใครมอง และคนเลือกที่จะมองผลที่ได้จากสตอรี่ที่มีมากกว่าผลเสีย

The Next of Something: เป็นจริงหรือลวงโลก

แต่ก็ต้องบอกไว้ก่อนว่า ผมไม่ได้มีความรู้หรือเข้าใจในสิ่งดังกล่าวอย่างถ่องแท้ถึงแก่น ผมรู้แค่ว่า ผัดกะเพราร้านนี้อร่อยกว่าอีกร้านตรงไหน ชีสเค้กร้านนี้แตกต่างอย่างไรกับอีกร้าน นั่งรถไฟฟ้า Hybrid รุ่นหนึ่งเติมน้ำมันแค่ประมาณ 300 บาท วิ่งจากกรุงเทพฝั่งตะวันตกได้ถึงพัทยา (ไปกลับ) ก็แค่นั้น

อีกเรื่องก็คือ เรื่องของค่าเงิน ซึ่งตามประวัติศาสตร์ ค่าเงินใดจะยิ่งใหญ่ขึ้นมานั้น ประเทศต้องมีการค้าที่ยิ่งใหญ่ เป็นที่ยอมรับ มีนวัตกรรมที่ฉีกออกมา ร่ำรวยมีทองคำยึดมูลค่ามาก ๆ จนทำให้คนนับถือและใช้กันอย่างแพร่หลาย แต่ค่าเงินดังกล่าวอาจจะไม่ได้มีสตอรี่เช่นนั้นหรือเราไม่อาจสืบค้นได้ แต่ก็คงต้องยกเว้นในส่วนของคอยน์ที่ถูกค้ำโดยดอลลาร์ ซึ่งยังมีความเสี่ยงเรื่องการจ้องที่จะโดนแบนอยู่

ท้ายที่สุดแล้วผมยังเชื่อว่าโอกาสระดับยิ่งใหญ่อยู่ในขาลงมากกว่าขาขึ้น ซึ่งแน่นอนผมอาจจะผิดก็ได้ แต่สิ่ง ๆ หนึ่งที่เรารู้ได้ก็คือ Tendency หรือแนวโน้มที่ไม่ใช่ และอดีตก็พิสูจน์มาแล้วว่านักลงทุนที่สร้างผลตอบแทนได้อย่างยิ่งใหญ่ เลือกเดินทางสายเปลี่ยวในหลาย ๆ คน

บทความนี้คงเป็นบทความสั้น ๆ แต่หวังว่าจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ

ขอให้ทุกคนโชคดีครับ

Mr. Serotonin

References

https://www.bridgewater.com/research-and-insights/our-thoughts-on-bitcoin