ในช่วงนี้นักลงทุนหลาย ๆ ท่านคงปวดหัวกับการหาสินทรัพย์ให้เงินทุนของท่านได้ไปสิงสถิตอยู่และสร้างผลตอบแทนที่งอกเงยได้เช่นเคย โดยแม้แต่ตราสารหนี้ที่ว่าปลอดภัยก็ถือว่าผันผวนมากในช่วงนี้ แต่กลับกันกับ “ทองคำ” ซึ่งช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาสร้างผลตอบแทนได้ถึงราว ๆ 15%
ในวันนี้ผมจะพาทุกคนไปเจาะลึกว่าทำไมทองคำในช่วงนี้ถึงเป็นช่วงแห่งการ “เก็บสะสม” และกองทุนทองคำที่ผมแนะนำก็คือ SCBGOLD กองทุนทองคำผลตอบแทนเยี่ยม ค่าธรรมเนียมถูก คัดสรรโดย FINNOMENA Investment Team ถ้าพร้อมแล้วไปเจาะลึกพร้อม ๆ กันได้เลยครับ
ก่อนอื่นเรามาเช็กคุณภาพกองทุน SCBGOLD ไปกับ FINNOMENA 3D Diagram กันก่อนเลยครับ
Sources: FINNOMENA Fund
ในส่วนของผลตอบแทนย้อนหลัง (Past Performance) ถือว่าอยู่ในระดับที่ “ปานกลาง” เหากเทียบกับกองทุนทองคำอื่น ๆ รวมไปถึง ผลตอบแทนหลังหักความเสี่ยง (Risk Adjusted Return) ซึ่งค่าที่สูงนี้แสดงให้เห็นว่าหากเทียบกับระดับความเสี่ยงของกองทุนแล้ว ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าไหม ซึ่ง SCBGOLD ในส่วนนี้ก็อยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตามในส่วนของ จุดขาดทุนสูงสุด (Maximum Drawdown) อาจจะอยู่ในระดับปานกลาง แต่ส่วนตัวผมยังมองว่ายังยอดเยี่ยมอยู่ครับหากเป็นกองที่ไม่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน (Hedge) เพราะช่วงก่อนหน้าเงินบาทแข็งค่าเอามาก ๆ
ค่าธรรมเนียมโดยรวมที่ถูกที่สุด เพื่อให้คุณได้ผลตอบแทนแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย
Sources: FINNOMENA Fund
หลาย ๆ คนคงปวดหัวกับเรื่องค่าธรรมเนียม จะซื้อ จะขาย หรือจะย้ายสักทีก็โดนหักตลอด แต่ในส่วนของ SCBGOLD นั้นทาง FINNOMENA Investment Team ได้ไปขุดวิเคราะห์เจาะลึกจนได้กองทุนที่ค่าธรรมเนียมโดยรวมถูกที่สุดมาซึ่งผลออกมาก็คือตัว “SCBGOLD” ตัวนี้นั่นเองครับ
เมื่อทุกคนได้ทราบข้อมูลเบื้องต้นของกองทุน SCBGOLD ไปเรียบร้อยแล้ว ต่อไปผมจะพาทุกคนไปวิเคราะห์เจาะลึกทั้งในเชิงพื้นฐานและเทคนิคอลแบบแน่น ๆ กันครับ ว่าทำไม “ทองคำ” ถึงเป็นคุณค่าที่คุณคู่ควร ณ ตอนนี้
บทวิเคราะห์เจาะลึกทำไมตอนนี้ถึงต้องทองคำ
เวลาที่ตลาดอยู่ในภาวะตื่นตระหนกเช่นนี้ หลาย ๆ คนที่ต้องการความปลอดภัยคงจะนึกถึงตราสารหนี้ภาครัฐหรือไม่ก็ทองคำ ต่อไปเรามาเจาะลึกกันว่าตราสารหนี้กับทองคำอยู่ใน “สถานะ” ไหนกันแน่ และผมขอบอกว่าอยู่ในสถานะที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง พิสูจน์ได้จากข้อเท็จจริงที่ผมเตรียมมาให้ทุกคนได้เลยครับ
ตราสารหนี้ ตอนนี้ยังเติบโตได้จริงหรือ?
หากพูดถึงสถานการณ์ของตราสารหนี้ในตอนนี้ ผมเชื่อว่านักลงทุนคงต้องผวากันเป็นแน่ โดยล่าสุด ตราสารหนี้ระยะสั้น (Treasury bill) ของประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐได้ติดลบไปเป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้งแบบ 1 เดือน และ 3 เดือน ในวันพุธที่ 25 มีนาคม 2563 ที่ผ่านมา นอกจากนั้นตราสารหนี้ระยะยาวของสหรัฐก็ถือว่ายํ่าแย่ไม่แพ้กัน เพราะอัตราผลตอบแทน (yield) ก็อยู่ในระดับที่ตํ่ามาก ๆ
ภาพแสดงการติดลบของอัตราผลตอบแทน (Yield) พันธบัตรรัฐบาลระยะสั้นอเมริกา (1 เดือน)
Sources: ThaiBMA
และหากจะอธิบายเพิ่มเติมการที่อัตราผลตอบแทน (yield) ของตราสารหนี้อยู่ในระดับตํ่า จะส่งผลเสียต่อการเติบโตของตราสารหนี้เป็นอย่างมากครับ เพราะตราสารหนี้นั้นเติบโตจากการที่ตัวผลตอบแทน (yield) ลดลงไปเรื่อย ๆ จากการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางจนทำให้ราคาขึ้น แต่ธนาคารกลางในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก ณ ตอนนี้เหลืออัตราดอกเบี้ยในระดับที่ตํ่ามาก ๆ จึงอาจส่งผลให้ตราสารหนี้ในช่วงนี้ไม่อาจเติบโตได้ โดยไทยเราก็เหลืออัตราดอกเบี้ยนโยบายเพียง 0.75% เท่านั้น ก็จะเข้าสู่อัตราดอกเบี้ย 0.00% และเมื่อถึงจุดนั้นทางรัฐอาจไม่สามารถลดดอกเบี้ยได้อีกต่อไปซึ่งอาจทำตราสารหนี้นั้นไม่สามารถเติบโตได้
แล้วอะไรคือหลุมหลบภัยที่ยังเติบโตได้ในตอนนี้?
ผมขอยกให้ “ทองคำ” ครับ เพราะหากมาเทียบกับตราสารหนี้ในช่วงนี้แล้วเรียกได้ว่ายังมีปัจจัยหนุนจัดเต็มอีกมาก อย่างเช่น การประกาศอัดฉีดเงินแบบไม่จำกัดจำนวนของ Fed ณ ตอนนี้ซึ่งอาจทำให้ค่าเงินดอลลาร์นั้นอ่อนค่าและทำให้ทองคำเติบโตได้ เพราะค่าเงินดอลลาร์มักจะถูกนำไปจับคู่กับทองคำเสมอ ๆ รวมไปถึงการเทขายของหุ้นต่าง ๆ ณ ตอนนี้ที่แสดงถึงภาวะ “ความกลัว” ของตลาด จึงอาจทำให้สินทรัพย์ปลอดภัยอย่างทองคำนั้นมีโอกาสเติบโตขึ้นมาได้
ภาพแสดงดัชนี Fear & Greed สะท้อนให้เห็นถึงภาวะตลาดที่ตื่นตระหนกเป็นอย่างมาก
Sources: CNBC
การอัดฉีดเงิน กับ ทองคำเชื่อมโยงกันแค่ไหน?
Sources: FINNOMENA Investment Team
ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่า Fed ได้มีมาตรการทำ QE ไม่อั้นต่อเนื่องซึ่งอาจส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนลงและหนุนนำทองคำให้พุ่งทยานต่อเนื่อง ดังนั้นเรามาพิสูจน์ผ่านการสังเกตกันว่าเมื่อ Fed ทำ QE แล้วทองคำมีทิศทางสอดคล้องกันไปเป็นอย่างไร
จากภาพดังกล่าวจะถือว่าสอดคล้องเข้ากันใช้ได้เลย สำหรับการทำ QE กับทองคำ (เพิ่มเติมเล็กน้อยการทำ QE คือ การซื้อคืนสินทรัพย์ เช่น พันธบัตรรัฐบาล, ตราสารเงินผู้ลงทุนในสินเชื่อที่อยู่อาศัย (MBS) รวมถึงตราสารหนี้เอกชนระยะสั้น) ดังนั้นการทำ QE ก็คือการซื้อสินทรัพย์ต่าง ๆ ที่ว่าคืนกลับมาและสินทรัพย์จะถูกบันทึกลงใน Balance sheet ดังภาพ
แต่จุดสังเกตก็คือช่วงปี 2013-2014 ที่ดูจะไม่เข้ากันนัก เหตุผลอาจเป็นเพราะตลาดมองว่าการทำ QE ใกล้จะจบและเศรษฐกิจน่าจะรอดแล้วเงินจึงไหลเข้าไปในหุ้นแทน
ดังนั้นเราอาจต้องใช้เหตุผลอื่น ๆ ประกอบการตัดสินใจด้วย ซึ่งหากเสริมกับดัชนีความกลัวของตลาด (Greed & Fear Index) ข้างต้น และดัชนี VIX ในส่วนถัดไปในจุดนี้ทองคำก็ยังถือว่าน่าสนใจอยู่ครับ
VIX index กับ ทองคำ ตัวชี้วัดสำคัญ เข้าทอง รอช้อนหุ้น
Sources: FINNOMENA Investment Team
จากภาพจะสังเกตได้ว่าหากดัชนี VIX (ดัชนีวัดความผันผวนของหุ้น) กำลังขึ้น ทองจะลงมาก่อนซึ่งอาจจะสอดคล้องกับการพักตัวของทองคำก่อนหน้านี้ โดยมีผลมาจากการที่คนอาจเทขายทองคำทิ้งมาถือเงินสดแทนในช่วงวิกฤติ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อดัชนี VIX ถึงจุดพีค ราคาทองจะกลับดีดขึ้นอีกครั้ง ดังนั้นในช่วงที่ VIX ถึงจุดพีค ทองอาจจะกลับมาขึ้นอีกครั้ง โดย VIX ณ ตอนนี้นั้นเรียกได้ว่าอยู่ในจุดของวิกฤติ Subprime เรียบร้อยแล้ว
เมื่อวิกฤติผ่านพ้นทองคำยังเติบโตได้อยู่ไหม?
Sources: FINNOMENA Investment Team
หลายคนอาจจะติดกับการที่ทองคำคือสินทรัพย์ปลอดภัยและมีประโยชน์ยามวิกฤติเท่านั้น ซึ่งมันก็ใช่ครับ แต่อาจจะไม่เสมอไป…
เพราะฉะนั้น คำตอบของคำถามข้างต้นคือ ได้ครับ ใช่แล้วครับทองคำยังเติบโตได้แม้หุ้นจะกลับมาแล้ว โดยเมื่อเทียบกับวิกฤติ Subprime เมื่อปี 2008 ทองคำยังถือว่าเติบโตต่อเนื่องและเป็นอีกระยะหนึ่งด้วย (ราว ๆ 2 ปี ตามภาพ) ดังนั้นถึงแม้เราจะไม่สามารถคาดเดาอนาคตได้ว่าตอนนี้ตลาดใกล้ถึงจุดตํ่าสุดแล้วหรือยัง เราก็ยังอาจทยอยสะสมทองคำได้อยู่ครับ เพราะถึงแม้ตลาดหุ้นจะกลับมาแล้ว คนก็ยังไม่ได้รีบหนีไปไหนจากทอง (สังเกตได้จากราคาที่เติบโต) ดังนั้น timing ตอนนี้ถือว่าเหมาะเจาะมาก ๆ ครับ เพราะตลาดลงมาหนักระยะหนึ่งแล้ว
เปิดบัญชีลงทุน SCBGOLD ได้ที่นี่ ! คลิกเลย!!
ส่งท้ายบทวิเคราะห์ด้วยเทคนิคอลแบบเจาะลึก
ทองคำ
จากภาพจะเห็นได้ว่าราคานับตั้งแต่ช่วงเกือบ ๆ กลางปีของปี 2016 ไปจนถึงเกือบ ๆ กลางปีของปี 2019 มีการสะสมราคาแบบไร้ทิศทาง (Sideway) มาโดยตลอด จนมีการหลุดกรอบราคาออกไปอย่างรุนแรง แสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่ราคาทองจะเพิ่มขึ้นต่อไป เนื่องจากการสะสมราคาที่มีระยะเวลานาน (ราว ๆ 3 ปี) เพิ่มเติมสักนิดการหลุดออกจากรอบราคา (Breakout) ถ้ายิ่งเป็นกรอบที่สะสมนานราคาที่วิ่งขึ้นไปจะรุนแรงตามไปด้วยครับ
ถัดไปเรามาดูในกรอบเวลารายวันกันบ้างว่าทองคำจะเป็นเช่นไร
หากมาวิเคราะห์ในกรอบรายวันแล้วจุดสังเกตแรกก็คือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving average) เส้น 50 และ 200 มีการตัดกันเป็นขาขึ้นซึ่งในทางเชิงเทคนิคอลแล้วถือว่าเป็น “Golden cross” หรือการกลับตัวของแนวโน้มที่ชัดเจน โดยในที่นี้ตัดกันขึ้นก็จะเป็นขาขึ้นครับ สนับสนุนต่อด้วยการทะลุกรอบราคา (breakout) ที่จุดเดียวกับกรอบเวลารายสัปดาห์ก่อนหน้า หลังจากนั้นราคาได้ลงมาทดสอบที่เส้น Moving average 200 และไม่สามารถผ่านลงมาได้ พร้อมกับดีดตัวกลับขึ้นไป แสดงถึงความเป็นไปได้ที่ทองคำจะกลับตัวเป็นขาขึ้นต่อไป
ค่าเงินบาท
จากภาพที่กรอบราคารายวันจะสังเกตได้ว่ามีการสะสมของราคาด้านบนมาตั้งแต่ราว ๆ กลางปี 2015 จนถึงเกือบ ๆ กลางปี 2017 ก่อนเงินบาทจะแข็งค่าอย่างรุนแรงสังเกตได้จากราคาที่ร่วงลงมาเกือบ ๆ 30 บาท/ดอลลาร์ แต่มีความเป็นไปได้ว่าแนวโน้มขาลงได้สิ้นสุดลงแล้วสังเกตได้จาก corrective wave ที่ทำเป็น A, B และ C ครบเป็นที่เรียบร้อย แสดงให้เห็นว่าบาทจะกลับตัวเป็นอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ อย่างไรก็ตามอาจมีการพักตัวเล็กน้อยของราคา (บาทแข็งค่าขึ้น) ก่อนจะกลับขึ้นไปอ่อนค่าอีกครั้งในระยะยาว
สรุปโดยรวม ระยะยาวเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าครับ
ไขข้อสงสัย? ทำไมเราถึงต้องเลือก SCBGOLD ไม่ใช่ SCBGOLDH
การที่เราแนะนำกองทุน SCBGOLD แบบไม่ประกันความเสี่ยงค่าเงินก็เพราะค่าเงินบาทนั้นมีแนวโน้มที่จะอ่อนค่าต่อไปได้ จากมาตรการกระตุ้นต่าง ๆ ของรัฐ ตัวอย่างเช่น มาตรการล่าสุดในไทย อย่างการเข้าช่วยซื้อตราสารหนี้คุณภาพดีในตลาดเงินที่จะถือได้ว่าเป็นการทำ REPO หรือ QE ในแบบฉบับของไทยก็ว่าได้
รวมไปถึงการลดดอกเบี้ยที่คาดว่าน่าจะมีการลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีกในอนาคต เพราะทางแบงก์ชาติล่าสุดปรับประมาณการ GDP ไทยปี 2563 อยู่ที่ -5.3% เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยอาจมีผลมาจากการส่งออกที่ลดลงมากกว่าการนำเข้า ซึ่ง ณ จุดนี้หากไม่มีการกระตุ้นเพิ่มเติมก็คงจะแปลกเอามาก ๆ
นอกจากนั้น ในเชิงเทคนิคอลค่าเงินบาทก็ได้จบแพตเทิร์นเวฟขาลงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แสดงให้เห็นถึงการกลับตัวของค่าเงินบาทจาก “แข็งค่า” เป็น “อ่อนค่า”
โดยรวม ทั้งการเพิ่มสภาพคล่อง การลดดอกเบี้ย และภาวะเศรษฐกิจนั้น จะเป็นปัจจัยหนุนนำให้ค่าเงินบาทอ่อนลง จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงไม่ป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน เพื่อให้ได้กำไรสูงสุด
ภาพแสดงการเปรียบเทียบผลตอบแทนกองทุน SCBGOLD กับ SCBGOLDH
จากภาพข้างต้นก็จะสังเกตได้ว่าตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมาที่ค่าเงินบาทมีการอ่อนค่าลงทางตัว SCBGOLD ให้ผลตอบแทนที่มากกว่าเป็นครึ่ง ๆ เลยทีเดียวครับ ซึ่งแตกต่างกันมากเลยทีเดียวกับ SCBGOLDH ที่มีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน
ความเสี่ยงที่ควรพึงระวัง
1) ความเสี่ยงในเรื่องของค่าเงิน
จริงอยู่ครับที่ว่ามาตรการกระตุ้นต่าง ๆ ของไทยสนับสนุนให้ค่าเงินบาทอ่อน แต่ทาง Fed ก็มีมาตรการกระตุ้นเช่นนี้ออกมาเช่นเดียวกัน ดังนั้นหากค่าเงินดอลลาร์เกิดอ่อนตัวมากกว่าค่าเงินบาทก็อาจทำให้เกิดความสูญเสียในส่วนนี้ได้
2) ความเสี่ยงในเรื่องของการลงทุนแบบกระจุกตัว
อันนี้คงต้องบอกไว้ก่อนครับ ด้วยความหวังดี ตัวกองทุน SCBGOLD นั้นมีสัดส่วนลงทุนที่เรียกได้ว่าแทบจะเป็นทองล้วนก็ว่าได้ โดยมีสัดส่วนอยู่ที่ 98.78% จากตัวกองทุนทั้งหมด ดังนั้นถือว่าเป็นการลงทุนในทองล้วน ๆ ไม่ได้กระจายความเสี่ยงไปในสินทรัพย์ส่วนอื่นครับ
สรุปโดยรวมทำไมต้อง SCBGOLD
1) ค่าธรรมเนียมถูกและผลตอบแทนเยี่ยม
กองทุนทอง SCBGOLD มีค่าธรรมเนียมโดยรวมทั้งการซื้อ ขาย และสับเปลี่ยนที่ถูกกว่ากองทุนทองคำตัวอื่น ๆ รวมถึงผลตอบแทนที่อยู่ในระดับ “ดีที่สุด” วัดจาก FINNOMENA Diagram
2) ทองคำเป็นช่วงแห่งการเก็บสะสม
ในช่วงที่ตลาดหุ้นเป็นขาลง ทองคำจะมีการพักตัวขึ้นมาชั่วครู่เช่นเดียวกัน เนื่องจากนักลงทุนขายทำกำไรและนำเงินสดมาใช้ยามวิกฤติ แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลข้างต้นก็พิสูจน์แล้วว่า ทองคำมีแนวโน้มจะกลับมาได้ก่อนหุ้น เพราะฉะนั้นช่วงพักตัวเช่นนี้ เป็นโอกาสที่น่าสนใจมาก ๆ ครับสำหรับทองคำ
3) มีคุณค่าในเชิงสินทรัพย์ปลอดภัย
ทองคำเป็นสิ่งที่ผู้คนให้คุณค่ากับมันเสมอ ๆในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัยที่มีค่า ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานแค่ไหน ดังนั้น การเก็บสะสมทองคำนั้นอาจไม่มีสิ่งที่เรียกว่า “หนี้สูญ” หรือ “ล้มละลาย” แตกต่างกับตราสารหนี้ภาคเอกชนต่าง ๆ แต่ข้อควรระวังก็คือเรื่องของราคาที่อาจเปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง
ทั้งหมดก็เปนการรีวิวและแนะนำในวันนี้ครับ เช่นเคย รักษาสุขภาพกันด้วย…
ขอให้ทุกคนโชคดีครับ
เปิดบัญชีลงทุน SCBGOLD ได้ที่นี่ ! คลิกเลย!!
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน
ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้
—————————-
Jessada Sookdhis
Investment Analyst (IA)
ตรวจทานบทความ
References
FINNOMENA Investment Team