เวลาผ่านไปแต่โลกการลงทุนไม่เคยหยุดเดิน
บริษัทที่ดียังคงเดินหน้าทำงานสร้างผลกำไร
พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้ที่ดียังคงจ่ายหนี้สร้างผลตอบแทนให้กับนักลงทุนต่อไป
ฟ้าหลังฝนย่อมงดงามเสมอ ทุกอย่างมีขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
ในวันนี้ผมจึงขอพาทุกคนมาสำรวจ 5 กอง RMF ในช่วง 5 ปีย้อนหลังที่ยังทำผลงานได้โอเคอยู่กันครับ
(แต่อย่าลืมนะว่าผลตอบแทนอย่างเดียวอาจไม่ได้เป็นตัวชี้วัดที่ดี อย่าลืมศึกษาพื้นฐานอื่น ๆ เพื่อประกอบการตัดสินใจกันด้วยครับ)
ย้อนเวลาเหตุการณ์สำคัญ 5 ปีย้อนหลัง
1. วิกฤตโควิด โหดกระชากกราฟ แต่ V-Shape (~2020)
เป็นหนึ่งในวิกฤตที่ทุกคนน่าจะได้สัมผัสกันมาในช่วงล่าสุด
วิกฤตโควิด-19 ถือเป็นอีกหนึ่งวิกฤตที่หลายคนน่าจะได้เรียนรู้กันเยอะมาก ๆ ในเรื่องของ “ความคาดไม่ถึง”
ถามว่าเพราะอะไร? เพราะเราไม่เคยได้เจอกับวิกฤตมีทรงแบบจัง ๆ นับตั้งแต่ปี 2008 ซึ่งที่ผ่านมาเราอาจจะเจอเรื่องของสงครามทางการค้า การปรับขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ลดสภาพคล่องกันไปบ้าง แต่วิกฤตโควิดคือวิกฤตที่คาดไม่ถึงและส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดลงทันทีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากการปิดเมือง
อีกทั้งหลังฟื้นขึ้นมาความอัดอั้นก็พุ่งทะลุปรอท หลังการเปิดเมืองส่งผลให้ความต้องการของผู้คน (Demand) เพิ่มสูงขึ้นกระทันหัน ในขณะที่ภาคการผลิตที่เพิ่งลุกจากเตียงได้ไม่นานต้องมาเร่งผลิต ก่อให้เกิดความไม่สมดุลระหว่าง Demand และ Supply ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “เงินเฟ้อ” ขึ้น
อย่างไรก็ดี การอัดฉีดแบบหว่านแหเผื่อรุนแรงของ Fed และรัฐอาจทำให้สถานการณ์ย่ำแย่ขึ้นไปอีก เพราะ ส่งผลให้คนอเมริกันมีเงินออมส่วนบุคคลมากถึงราว ๆ 6.393 แสนล้านเหรียญ ณ ระดับสูงสุดเมื่อเดือนเมษายน 2020 เทียบกับเมื่อเดือน เมษายน 2019 ที่ 1.233 แสนล้านเหรียญ ส่งผลให้กำลังซื้อสูงขึ้น จ่ายกันมันส์ ๆ เร่งเงินเฟ้อเข้าไปใหญ่ ซึ่งอาจนำเราไปสู่วิกฤตถัดไป
2. วิกฤตเงินเฟ้อ หลังหลับใหลมานาน (ดูมีทรง) กับการต่อสู้ของ Fed (~2022-???)
ปรากฎการณ์เงินเฟ้อ ดูเป็นสิ่งที่ไม่ร้ายแรงนักหากเรามองผ่าน ๆ ในช่วงชีวิตหลัง ๆ ของเรา จากการที่เงินที่อัดฉีดไม่ได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจริง ๆ พิสูจน์ผ่านการหมุนของเงินในระบบหรือ Money Velocity
แต่วิกฤตโควิด ดูเหมือนจะดลบันดาลให้สิ่งที่ว่าเกิดขึ้นแล้วในตอนนี้ โดย
ดัชนี CPI ปรับตัวมาที่ระดับ 8.5% ในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นการไต่ระดับที่รวดเร็วที่สุดในรอบ 40 ปี
ความไม่สมดุลของ Demand และ Supply ปัญหาคอขวดของห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงมาตรการกระตุ้นทางการคลังและการเงินอาจก่อให้เกิดประเด็นดังกล่าวขึ้น อีกทั้งยังมีแรงกดดันจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ที่อาจส่งผลต่อปริมาณน้ำมันในตลาด ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ประเทศที่อาจจะเตรียมการสำรองได้ไม่ดีอย่างศรีลังกา เผชิญแรงกดดันจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ไปแล้ว นอกจากนั้นยังมีเรื่องจำกัดการส่งออกน้ำตาลของอินเดียประเทศที่ส่งออกน้ำตาลมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ที่ดูจะสร้างแรงกดดันทางด้านเงินเฟ้อขึ้นไปอีก
ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ประธาน Fed อย่างนาย Jerome Powell ประกาศกร้าวอย่างจริงจังและจริงใจ ที่จะจัดการเงินเฟ้อให้อยู่หมัด ซึ่งเป็นเรื่องที่ถูกต้อง เพราะตาม Playbook ของ Ray Dalio แล้วเงินเฟ้อคือเรื่องต้องจัดการให้เด็ดขาดและการเอาใจตลาดและคนส่วนมากอัดฉีดไปเรื่อย ๆ มีแต่จะทำให้สถานการณ์แย่ลง
การมาแบบเข้มข้นและเข้มงวดของ Jerome Powell ทำให้ตลาดการเงินอกสั่นขวัญหายจากการปรับตัวขึ้นของดอกเบี้ยที่อาจส่งผลกระทบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจและมูลค่าของตลาดหุ้น (จาก Discount rate ในการคิดมูลค่าที่ปรับตัวขึ้น) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
เงินเฟ้อที่สูงเกินไป ปะทะ การขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ที่เปรียบเสมือนการจบ Cycle ย่อย ๆ ของตลาด ดูเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ตลาดกำลังเผชิญในตอนนี้และอาจกังวลถึงปัญหาซ้ำซ้อนที่อาจเกิดขึ้นผนวกกันได้ ซึ่งก็เป็นเรื่องที่เราคงต้องติดตามกันต่อไปเพราะล่าสุดเงินเฟ้อก้มีเค้าออกมาลดลงอยู่นะ
3. สงครามการค้าสหรัฐฯ vs จีน (~2018)
มวยคู่เอกเทียบชั้นกับการก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของจีนที่กำลังขับเคี่ยวกับอเมริกาในฐานะเบอร์หนึ่งของโลก
ไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่าจีนคือประเทศที่มีการเติบโตของเศรษฐกิจอันก้าวกระโดด มีการพัฒนาบริษัทเทคโนโลยีมาขับเคี่ยวกับสหรัฐฯ อีกทั้งยังมีการบริโภคในประเทศที่สูงจากประชากรจำนวนมาก (นึกภาพง่าย ๆ ขายสินค้าแค่คนในประเทศบริษัทก็ใหญ่แล้ว วันหนึ่งสเกลไปภูมิภาคอื่นหรือระดับโลกได้จะขนาดไหน)
สิ่งนี้ส่งผลให้ประธานาธิบดีสายสุดโต่งอย่างนาย Donald Trump ไม่รอช้าตั้งนโยบายกีดกันทางการค้ากับจีนผ่านการขึ้นภาษีที่หวังลดการขาดดุลทางการค้าของสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้น
ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นส่งผลให้ความกังวลแผ่ไปยังตลาด ส่งดัชนีหุ้นสหรัฐฯ S&P 500 ให้ปรับตัวลงจากจุดสูงสุดในเดือน กันยายน ปี 2018 จนถึงวันคืนคริมาสต์ของปีเดียวกันถึง -19.73%
แต่ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น อย่าลืมเสมอว่าโลกของการลงทุนนั้นแปลกประหลาด สิ่งที่เร้าอารมณ์มักพาเราไปทัวร์ดอย สิ่งที่น่ากลัวสุดขั้วหัวใจ หากเรากล้าเดินเข้าไปอาจได้รางวัลอย่างคาดไม่ถึง
ดังนั้น การลงทุนท่ามกลางวิกฤตถือเป็นอีกหนึ่ง โอกาส หากเราลองเปิดใจมอง (แต่อย่าลืมสแกนให้ดีว่ามีพื้นฐานรองรับหรือไม่ ถ้าไม่แน่ใจอาจปรึกษาทีมงานก่อนได้)
จบกันไปกับการย้อนวันวานเหตุการณ์วิกฤตในช่วง 5 ปีย้อนหลัง อย่าลืมว่าการออมในกองภาษีต้องมีวินัย หุ้นตกก็ลง หุ้นขึ้นก็ลง ถึงจะช่วยให้เราถึงเป้าหมายการเงินได้อย่างใจหวัง
แต่ถ้ายังไม่แน่ใจและยังหวั่น ๆ กับความผันผวนก็มาปรึกษาเราได้เลยตามลิ้งก์ด้านล่าง ฟรีนะ!
รับบริการผู้แนะนำการลงทุนกองภาษีส่วนตัวจาก FINNOMENA ฟรี! ไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนกองภาษี 200,000 บาทขึ้นไป
👉 ลงทะเบียน คลิก >>> https://finno.me/taxplanner-services
Mr. Serotonin
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน และควรศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่ระบุไว้ในคู่มือการลงทุนในกองทุนรวม | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนอาจลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”