การจัดสรรสินทรัพย์ (Asset Allocation) คือ การกระจายการลงทุนในพอร์ตโฟลิโอไปในหลายสินทรัพย์ เช่น ตราสารหนี้ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ หรือเงินสด ตามสัดส่วนที่ตั้งใจไว้ในแต่ละสินทรัพย์ ซึ่งขึ้นอยู่กับผลตอบแทนที่เราคาดหวังและความเสี่ยงที่รับได้ของแต่ละคน
เช่น นายซิมสันอายุ 22 ปี เป็นพนักงานประจำ ต้องการเก็บเงินสำหรับการเกษียณ อาจมุ่งเน้นไปที่การลงทุนระยะยาว และใช้สัดส่วนการลงทุนในหุ้น:ตราสารหนี้ ที่ 75:25 แต่หากนายซิมสันรู้ตัวว่า รับความเสี่ยงและความผันผวนที่เกิดขึ้นระหว่างการลงทุนได้น้อย ก็อาจจะใช้สัดส่วนการลงทุนที่ 50:50 ในหุ้นและตราสารหนี้
เช่น หุ้นขนาดใหญ่ หุ้นขนาดกลาง หุ้นขนาดเล็ก หุ้นมูลค่า หุ้นเติบโต
หุ้นขนาดใหญ่เป็นหุ้นที่มีความมั่นคง เป็นบริษัทขนาดใหญ่ กำไรมีความสม่ำเสมอ และอาจมีการจ่ายเงินปันผลต่อเนื่อง โดยที่การเติบโตอาจไม่สูงนักเนื่องจากธุรกิจได้ขยายตัวไปค่อนข้างมาก (ขายของไปทุกที่ เท่าที่จะขายได้แล้ว) และอาจมีมูลค่าในเชิงแบรนด์ที่แข็งแกร่ง เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป
ถึงอย่างนั้นหุ้นใหญ่บางหุ้น อาจจะยังสามารถเติบโตได้ต่อเนื่องต่อไป แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอย่างผู้บริหารและการวิจัยผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ
หากผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ มีพาสชั่น พัฒนาสิ่งใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่องก็จะสามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ มาสร้างรายได้เพิ่มเติมให้กับบริษัท ซึ่งจะช่วยผลักดันราคาหุ้นต่อไปได้ เช่น หุ้นอย่าง Apple ยอดบริษัทแห่งการสร้าง value ให้กับผลิตภัณฑ์ รวมถึงการหาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อสร้าง S-Curve
ข้อควรรู้: หุ้นใหญ่จะมีมูลค่าทางตลาด มากกว่า 50,000 ล้านบาท (> 50,000 ล้านบาท)
หุ้นที่มีคุณสมบัติอยู่ระหว่าง หุ้นขนาดใหญ่ และ หุ้นขนาดเล็ก มีโอกาสเติบโตขยายธุรกิจได้มากกว่าหุ้นใหญ่ แต่ธุรกิจอาจมีแนวโน้มมาประมาณหนึ่งแล้วต่างจากหุ้นเล็ก
โดยหุ้นขนาดกลางในบางตัว อาจเป็นหุ้นที่นักลงทุนบางคนยังไม่สนใจ จึงอาจทำให้มีหุ้นที่มูลค่าต่ำกว่าราคาจริง ๆ ได้
ข้อควรรู้: หุ้นใหญ่จะมีมูลค่าทางตลาด ระหว่าง 10,000 ล้านบาท – 50,000 ล้านบาท (10,000 ล้านบาท > หุ้นกลาง < 50,000 ล้านบาท)
เป็นหุ้นที่มีโอกาสเติบโตสูง จากการที่ธุรกิจยังสามารถเข้าถึงลูกค้าได้มาก หากบริษัทมีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีความโดดเด่น แต่ก็อาจแลกมาด้วยความเสี่ยงที่สูงกว่า เพราะ ธุรกิจยังไม่มีรายได้ที่มั่นคงแน่นอน และอาจยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก และหุ้นในบางตัวอาจเป็นหุ้นปั่นได้
อาจมีมูลค่าที่ต่ำกว่าพื้นฐานของบริษัท เนื่องจากบริษัทยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก
แต่หากหุ้นเล็กมีการเติบโตของรายได้และกำไรต่อเนื่อง มีงบการเงินที่แข็งแกร่ง เช่น หนี้สินน้อย ก็อาจกลายเป็นหุ้นพื้นฐานดีและสร้างกำไรกับนักลงทุนได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ
ข้อควรรู้: หุ้นขนาดเล็กจะมีมูลค่าทางตลาด น้อยกว่า 10,000 ล้านบาท (< 10,000 ล้านบาท)
เป็นหุ้นที่มีมูลค่าต่ำกว่าราคาที่แท้จริง โดยอาจเป็นมูลค่าในปัจจุบันหรือในอนาคต เช่น มูลค่าทรัพย์สินทั้งหมดของบริษัทที่มีในตอนนี้ ปริมาณเงินสดต่อหุ้น หรือประมาณการรายได้ของผลิตภัณฑ์หรือบริการหนึ่งในอนาคต
ซึ่งมูลค่าอาจมีการตีความหมายแตกต่างไปได้มากกว่านั้นและอาจไม่ต้องเป็นในเชิงตัวเลขเสมอไป เช่น มูลค่าในเชิงแบรนด์ หรือ มูลค่าทางจิตใจของลูกค้า
โดยหุ้นมูลค่าอาจหาได้ในธุรกิจจำพวก ธนาคาร ค้าปลีก อสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ที่ราคาหุ้นจะไม่สูงล้ำหน้าไปในอนาคตมากนัก
เป็นหุ้นที่มักจะมีราคาสูงกว่ามูลค่าในปัจจุบัน เพราะ ตลาดอาจตีความราคาไปถึงศักยภาพการเติบโตในอนาคตเป็นที่เรียบร้อย
ตัวอย่างเช่น หุ้นเทคโนโลยี หุ้น Healthcare หุ้นผลิตชิปต่าง ๆ ซึ่งมีการพัฒนานวัตกรรมในอนาคต
หุ้นเติบโตตอาจมีความผันผวนสูงกว่าหุ้นมูลค่า จากราคาที่ให้ค่ามูลค่าในอนาคต
https://www.finnomena.com/stock/setindex
เช่น ตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้เอกชน ตราสารหนี้ผลตอบแทนสูง
เช่น ตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้เอกชน ตราสารหนี้ผลตอบแทนสูง
ข้อแตกต่างสำคัญก็คือ “ความเสี่ยงของประเทศ” ว่าประเทศนั้น ๆ มีรายได้และมีความมั่นคงมากเพียงพอที่จะจ่ายหนี้มากแค่ไหน
หากประเทศที่เราอยู่เป็นประเทศพัฒนาแล้ว มีการเติบโต ความมั่นคง เป็นที่ยอมรับ ก็จะทำให้เวลาเราซื้อตราสารหนี้ในประเทศอาจมีความมั่นคงสูงกว่าตราสารหนี้ต่างประเทศ
และหากจะยกตัวอย่างก็เช่น สมมติว่าเราเกิดในอเมริกา การลงทุนในตราสารหนี้ประเทศเวเนซุเอล่า ก็อาจมีความเสี่ยงที่สูงกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ของประเทศตนเอง
ตราสารหนี้ภาครัฐ หรือ พันธบัตรรัฐบาลหรือตราสารหนี้ภาครัฐเป็นตราสารหนี้ที่มีความมั่นคงกว่าตราสารหนี้เอกชนหรือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัท (ประเทศล้มละลายยากกว่าบริษัท) ซึ่งทำการออกให้ซื้อขายโดยรัฐบาล
ตราสารหนี้เอกชนหรือหุ้นกู้เอกชนคือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทต่าง ๆ เพื่อใช้สำหรับการเพิ่มทุน เพื่อขยายหรือพัฒนาธุรกิจเพิ่มเติม และอาจมีความเสี่ยงมากกว่าตราสารหนี้ที่ออกโดยรัฐ และอาจแบ่งได้เป็น 2 เกรด คือ เกรดลงทุน (ออกโดยบริษัทที่มีความมั่นคงสูง) และ เกรดเก็งกำไร (ออกโดยบริษัทที่มีความมั่นคงน้อยกว่า แต่อาจสร้างผลตอบแทนได้สูงกว่า)
ตราสารหนี้เกรดต่ำหรือตราสารหนี้ผลตอบแทนสูง คือตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทที่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ที่สูงกว่า แต่ก็ชดเชยด้วยผลตอบแทนที่ให้ได้มากกว่าตามความเสี่ยง
โดยตราสารหนี้ประเภทนี้อาจต้องอาศัยความเชี่ยวชาญในการลงทุนจับจังหวะ และความเข้าใจในบริษัทนั้น ๆ อย่างแท้จริง
เงินสดนั้นถือได้ว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความคล่องตัวสูงสุด (สภาพคล่อง) สามารถนำมาใช้ได้ในเวลาอันสั้นหรือทันที
ดังนั้นการลงทุนในเงินสดจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้าสำหรับพอร์ตการลงทุนที่รอจังหวะและโอกาส สำหรับเข้าลงทุนเพิ่มเติม หรือเก็บไว้สร้างเสริมสภาพคล่องในภาวะวิกฤติ
ไม่มีสินทรัพย์ใดที่จะสร้างผลตอบแทนได้อย่างดีเยี่ยมทุกช่วงเวลา: ผู้ชนะเปลี่ยนแปลงไปเสมอ
ไม่มีสินทรัพย์ใดจะตอบโจทย์ความต้องการของนักลงทุนได้ทั้งหมด
จากภาพข้างต้นเราอาจสังเกตได้ว่าในแต่ละปีสินทรัพย์ที่ทำผลตอบแทนได้โดดเด่นนั้น เปลี่ยนไปเสมอ ในบางปีอาจเป็นหุ้นสหรัฐ หุ้นเอเชีย หุ้นลาตินอเมริกัน หรือ แม้แต่พันธบัตรรัฐบาล เพราะฉะนั้นการกระจายการลงทุนให้เหมาะสมในหลายสินทรัพย์ เป็นเรื่องที่สำคัญเสมอหากเราต้องการสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว
การจัดสรรสินทรัพย์ให้เหมาะสมกับแต่ละคนนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคนไม่ว่าจะเป็นเป้าหมาย ความเสี่ยงที่รับได้ รวมถึงทักษะความรู้ในสินทรัพย์ที่หลากหลาย
“ความรู้” เป็นสิ่งที่ทาง FINNOMENA ตั้งใจมอบให้กับนักลงทุนมาโดยตลอด เราถึงมีการร่วมมือกับบริษัทการลงทุนระดับโลกอย่าง Franklin Templeton เพื่อยกระดับการให้ความรู้กับนักลงทุนไปอีกขั้น หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับนักลงทุนทุกคนนะครับ
เพราะ เราไม่อาจรู้ได้ว่าอนาคตจะเป็นเช่นไร
ขอให้ทุกคนโชคดีครับ
เนื้อหาส่วนหนึ่งโดย Franklin Templeton Academy
เรียบเรียงและจัดทำโดย Mr. Serotonin
รายละเอียดเพิ่มเติม ความร่วมมือระหว่าง FINNOMENA x Franklin Templeton
FINNOMENA x Franklin Templeton : https://finno.me/ftxfinnomena
FINNOMENA x Franklin Templeton Investor Base : https://finno.me/investorbase
ข้อสงวนสิทธิ์
แฟรงคลิน เทมเพิลตัน (“Franklin Templeton”) ไม่รับผิดใด ๆ ต่อบุคคลภายนอก ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ บริการ เว็บไซต์ หรือเนื้อหาใด ๆ ที่ได้จัดทำหรือปรากฏในช่องทางต่าง ๆ ของบุคคลภายนอกนั้น อีกทั้ง Franklin Templeton ไม่ได้ให้คำรับรอง รับประกัน หรือเป็นตัวแทน ไม่ว่าจะโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายในเนื้อหาหรือความถูกต้องของข้อมูลในช่องทางต่าง ๆ ของบุคคลภายนอก และไม่รับผิดต่อสิ่งใด ๆ ที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากสิ่งที่กล่าวไว้ข้างต้น
ในกรณีที่มีความแตกต่างกันระหว่างเอกสารภาษาอังกฤษกับการแปลเป็นภาษาไทย ให้ยึดถือตามเอกสารภาษาอังกฤษ
แหล่งข้อมูล
Franklin Templeton Academy
Article, FINNOMENA Franklin Templeton, Infographic, Knowledge, Long Content, ศัพท์การเงิน