หลังจากพูดถึงรูปแบบการกลับตัวของราคาไปทั้ง Double top, Double bottom, Triple top, Triple bottom, และ Head & shoulders ไปแล้ว วันนี้ Mr. Serotonin จะมาพูดถึงอีกรูปแบบหนึ่งของ price pattern ที่เกิดขึ้นระหว่างแนวโน้มกันบ้าง ซึ่งก็ยังคงคอนเซปต์เดิมคือ ละเอียดและเข้าใจง่าย แม้มือใหม่ก็สามารถเข้าใจได้แบบ EZ
การสะสมของราคาระหว่างแนวโน้มคืออะไร?
การสะสมของราคาระหว่างแนวโน้ม คือ การพักตัวระหว่างทางในขณะที่เกิดแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลง ซึ่งหลังจากที่ราคาพักตัวในรูปแบบต่างๆ แล้ว ราคาจะวิ่งตามแนวโน้มต่อไป ซึ่งการสะสมราคาในลักษณะนี้มีตัวอย่าง เช่น Pennants, และ Flags
Pennants
เป็นรูปแบบราคาที่จะเกิดขึ้นในระหว่างแนวโน้ม มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมที่บีบตัวลงเรื่อยๆจากกว้างมาแคบ โดยจะสังเกตุจากภาพได้ว่าหลังการเกิด Pennant ราคาจะวิ่งขึ้นต่อตามแนวโน้ม
สิ่งที่ส่งสัญญาณการวิ่งต่อของราคาหลังจากเกิดรูปแบบ Pennant คือ การ breakout จากภาพจะสังเกตได้ว่ามีแท่งเทียนสีเขียวที่มีราคาปิดเหนือกรอบราคาที่เราตีไว้ ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณเข้าซื้อให้กับเรา
วิธีสังเกตอย่างง่ายตามกราฟจริง
- ในช่วงแรกจะสังเกตได้ว่ากราฟจะเคลื่อนที่แบบไร้แนวโน้ม โดยไม่มีการทำ low, lower high, และ lower low ในกรณีแนวโน้มขาลง และไม่มีการทำ high, higher low และ higher high กรณีแนวโน้มขาขึ้น
- เมื่อเราสังเกตได้ว่ากราฟเคลื่อนที่แบบไม่ไปสักทางแบบที่กล่าวไว้ข้างต้น จุดต่อไปที่ต้องสังเกตก็คือราคาจะบีบตัวแคบลงเรื่อยๆ จากตอนต้น
- จากนั้นขั้นตอนสุดท้ายเราอาจจะเข้าซื้อหลังจากแท่งเทียนปิดเหนือแนวต้านของกรอบราคา Flag
อ่านแล้วคันมืออยากลองตีกราฟ กดได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างเลย ฟรี!!
https://www.finnomena.com/stock/setindex
การตั้งจุดทำกำไรและจุดตัดขาดทุนของรูปแบบ Pennants
โดยปกติเราจะตั้งจุดตัดขาดทุนหลังเส้นแนวต้านตามรูปด้านบน ส่วนจุดทำกำไรนั้นสามารถตั้งได้ที่บริเวณ sideway หรือ consolidation range ถัดไป หลังราคาได้พุ่งขึ้นไปจากการ breakout ของ pennant อย่างไรก็ตามในมุมมองส่วนตัว เราสามารถตั้งจุดทำกำไรที่มากกว่านั้นได้ หากเราวิเคราะห์ได้ว่าแนวโน้มนี้น่าจะไปได้ต่อ จากหลายๆ ปัจจัย เช่น เพิ่งเป็นจุดเริ่มต้น higher low หรือ indicators ต่างๆ ซึ่งเทคนิคการวิเคราะห์การไปต่อของแนวโน้ม ว่าไปได้อีกไกลแค่ไหน สามารถติดตามได้ที่บทความต่อไปของ Mr. Serotonin ได้เลย
รูปนี้เป็นรูปแสดงการตั้งจุดตัดขาดทุนที่คล้ายกับรูปก่อนหน้า โดยรูปนี้จะสังเกตข้อแตกต่างได้ว่าจุดตัดขาดทุนจะตั้งลึกลงไปกว่ารูปแรก โดยอยู่ที่หลังแนวรับของรูปแบบราคา Pennant ซึ่งการที่เราตั้งจุดขาดทุนที่ลึกลงไปกว่าเดิมนั้นอาจจะทำให้เรามีความเสี่ยงมากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันโอกาสสำเร็จของการเทรดครั้งนี้ก็สูงขึ้นด้วย เพราะ ในบางกรณีราคาอาจลงมาทดสอบที่แนวต้านหรือลึกกว่านั้นก่อนราคาจะวิ่่งขึ้นไปตามแนวโน้ม
ดังนั้น การตั้งจุดตัดขาดทุนแบบไม่ลึกมากจะให้ความเสี่ยงที่น้อยลง ในขณะที่โอกาสสำเร็จก็น้อยลงเช่นกัน ส่วนการตั้งจุดตัดขาดทุนแบบที่ลึกลงไปเราอาจจะมีความเสี่ยงมากขึ้นหากล้มเหลว แต่โอกาสสำเร็จก็มากขึ้นเช่นกัน
Flags
มาต่อกันที่รูปแบบต่อไปกันบ้าง ซึ่งก็คือรูปแบบ Flag หรือ รูปธงนั่นเอง ซึ่งสิ่งที่ส่งสัญญาณการไปต่อของรูปแบบราคานี้ก็คือ การ breakout หรือการปิดตัวของแท่งเทียนเหนือกรอบราคา โดยในรูปนี้เป็นรูปแบบ flag
วิธีสังเกตอย่างง่ายตามกราฟจริง
- ต้องมีการเกิดแนวโน้มขึ้นมาก่อน โดยจะเป็นแนวโน้มขาขึ้นหรือขาลงก็ได้ จากภาพเป็นแนวโน้มขาขึ้น โดยกราฟมีการทำ new high และ higher low และตามด้วยก้านธงที่ทำ higher high
- จากนั้นรูปแบบ Flag ที่ก่อตัวขึ้นจะมีลักษณะคล้ายแนวโน้มขาลงขนาดย่อย
- จากนั้นเราจึงตีเส้นแนวรับและแนวต้านของกรอบราคา Flag โดยราคาจะมีลักษณะไหลลงมาเรื่อยๆ
- ขั้นตอนสุดท้ายคือการรอการ breakout ของแท่งเทียน โดยรอให้แท่งเทียนปิดเหนือกรอบแนวต้านของ Flag
การตั้งจุดทำกำไรและจุดตัดขาดทุนของรูปแบบ Pennants
สามารถตั้งจุดตัดขาดทุนหลังเส้นแนวต้านของรูปแบบราคาลงไป โดยมีการตั้งจุดทำกำไรที่แนวต้านถัดไปของการพักช่วงราคา หรือตั้งจุดทำกำไรที่ไกลกว่านั้นโดยใช้ปัจจัยอื่นๆในการวิเคราะห์ ดังที่กล่าวไว้ก่อนหน้า
ภาพนี้เป็นวิธีการตั้งจุดตัดขาดทุนที่ลึกลงไปเช่นเคย โดยการตั้งจุดตัดขาดทุนที่ลึกกว่าเดิม หมายถึงโอกาสสำเร็จที่มากขึ้น แต่แลกมาด้วยค่าความเสียหายหรือการขาดทุนที่มากขึ้นเช่นกัน
อ่านแล้วคันมืออยากลองตีกราฟ กดได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างเลย ฟรี!!
https://www.finnomena.com/stock/setindex