ในทุก ๆ วันนี้ ทุก ๆ กิจกรรมที่เราทำตอนนี้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ล้วนมีเซมิคอนดักเตอร์เป็นส่วนประกอบ ถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจซึ่งกองทุน LHSEMICON เป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับนักลงทุนที่เห็นโอกาสในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่กำลังเติบโต เซมิคอนดักเตอร์ใกล้ตัวเราแค่ไหน ลงทุนได้เลยหรือไม่ แพงไปหรือเปล่า โอกาสเติบโตมากแค่ไหน ติดตามผ่านสรุป LIVE จาก LH Fund ได้เลยครับ
เซมิคอนดักเตอร์คืออะไร
เซมิคอนดักเตอร์ คือ ชิ้นส่วนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน สำหรับใช้ผลิตแผงวงจรไฟฟ้า ใช้ในโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ รถยนต์ไฟฟ้า เครื่องจักรอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำ มีคุณสมบัตินำไฟฟ้า อยู่ระหว่างตัวนำไฟฟ้าและตัวฉนวน มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ
เซมิคอนดักเตอร์ใกล้ตัวแค่ไหน เติบโตได้หรือไม่
- หากยกตัวอย่างง่าย ๆ ถึงผลิตภัณฑ์ทั่วไปที่มีเซมิคอนดักเตอร์ประกอบอยู่ด้วย ก็จะมีผลิตภัณฑ์ เช่น หม้อหุงข้าว เครื่องปรับอากาศ ตู้ ATM เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเราและใช้กันในชีวิตประจำวัน อีกทั้งเซมิคอนดักเตอร์ยังอยู่ในวงจรของการพัฒนาเทคโนโลยีข้างหน้า และสอดคล้องไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของโลก
- เซมิคอนดักเตอร์สามารถเติบโตล้อไปกับแนวคิดรักษ์โลกได้ เช่น ในกลุ่มโลจิสติกส์ ที่ต้องใช้เซมิคอนดักเตอร์มาพัฒนาระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
- มีปัจจัยหนุนจากภาครัฐ เช่น มาตรการซีโร่คาร์บอนของ โจ ไบเดน หรือ ญี่ปุ่นที่มีมาตรการในการพัฒนาระบบรถยนต์ไร้คนขับ ซึ่งต้องใช้เซมิคอนดักเตอร์ในการขับเคลื่อน
ปัจจัยหนุนสตอรี่การขาดแคลนชิปในระยะสั้น-กลาง
- Intel เปิดเผยว่า การขาดแคลนชิปในตอนนี้จะรุนแรงกว่าที่คิด และใช้เวลาอีกหลายปีกว่าปัญหาจะจบลง อีกทั้งยังมีแรงหนุนจากแนวโน้ม Work From Home และการเรียนออนไลน์ ที่เน้นย้ำความต้องการของคอมพิวเตอร์
- TSMC มีการคาดการณ์ว่า แนวโน้มการขาดแคลนชิปจะยังคงอยู่ไปถึงปี 2022
- SIA เปิดเผยถึงกระบวนการว่าการผลิตชิป ดังนี้
- การผลิตชิปนั้นนั้นต้องใช้ความซับซ้อนสูง ใช้เงินลงทุนมหาศาล
- การผลิตใช้กระบวนการผลิตที่ซับซ้อนถึง 1,400 ขั้นตอน
- การเพิ่มกำลังการผลิตแต่ละครั้งต้องใช้เวลาสูงถึง 12 สัปดาห์
- กระบวนการผลิตต่อ 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 12 สัปดาห์
- ระยะเวลาในการผลิตชิป ในรูปแบบสั่งทำตามความต้องการของลูกค้า อาจใช้เวลาถึง 20 หรือ 26 สัปดาห์ และต้องผ่านกระบวนการทดสอบและบรรจุ อีก 6 สัปดาห์
- ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า เวลาที่ต้องใช้ทั้งหมดกว่ากระบวนการต่าง ๆ จะเสร็จสิ้นจะอยู่ที่ราว ๆ 26 สัปดาห์ จึงอาจมีผลให้ภาวะการขาดแคลนดำเนินต่อไปจากการผลิตที่ต้องใช้เวลาค่อนข้างมาก
- EEI เปิดเผยถึงสาเหตุที่ทำให้ชิปขาดตลาดดังนี้
- การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลต่อไลน์การผลิตของอุตสาหกรรมชิป
- ความต้องการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าสูงขึ้นจากแนวโน้ม Work From Home
- วิกฤติโควิด-19 ทำให้ออเดอร์การผลิตรถยนต์ค้างเต่อจากการปิดโรงงานอีกทั้งยังมี demand หลังการเปิดประเทศเป็นแรงหนุน
- แผ่นดินไหวและภัยแล้งในไต้หวันส่งผลให้ TSMC ไม่สามารถผลิตชิปได้ พร้อมแรงกดดันจากทางรัฐที่กดดันให้ใช้น้ำซึ่งเป็นหนึ่งในหัวใจหลักของการผลิตชิปน้อยลง
- ผลกระทบจาก Tradewar กับ Huawei ทำให้ Huawei ไม่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้
- การขาดแคลนวัตถุดิบในการผลิตชิปอย่างทรายซึ่งเป็น Wafer (แผ่นเซมิคอนดักเตอร์แบบบาง) Substrate ในการผลิตชิป ถูกเทไปทางการผลิตขวดวัคซีนโควิด-19
ปัจจัยด้านคู่แข่ง
- ธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์มีต้นทุนในการ set up ธุรกิจที่สูง ตัวอย่างเช่น การตั้งโรงงานขนาดใหญ่หนึ่งโรงใช้เงินทุนถึง 2 หมื่นล้านเหรียญ และต้องใช้เวลาในการสร้างอีก 1-3 ปี มีลูกค้าที่ทำธุรกิจที่มีการจดสิทธิบัตร เพราะฉะนั้น ด้วย Barrier to Entry ที่สูง การที่ผู้เล่นรายใหญ่จะเข้ามาแข่งขันในอุตสาหกรรมจึงเป็นไปได้ยากในระยะเวลาอีก 4-5 ปีข้างหน้า
ปัจจัยกดดันอุตสาหกรรม
- หลายประเทศมหาอำนาจ มีแผนลงทุนสนับสนุนอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ จึงอาจทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงขึ้น และในระยะยาวการขาดแคลนอาจถูกปรับสมดุล
- ทางด้านของปัจจัยระยะกลาง หากคนกลับมาใช้ชีวิตดังเดิม คนอาจหยุดการบริโภคสินค้าลง และภาคการบริการอาจกลับมาสร้างสมดุล
คอนเซปต์กองทุน LHSEMICON
- LHFUND เลือกกองทุนที่ลงทุนใน ETF เซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งประกอบไปด้วยบริษัท ที่มีความสามารถในการทำกำไรสูง โดยธรรมชาตินั้นกำไรของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ จะไปกระจุกกับ ผู้ออกแบบและผู้ผลิตเป็นส่วนใหญ่ และผูกขาดอยู่กับไม่กี่บริษัท เช่น บริษัทผู้ออกแบบอย่าง Apple, Nvidia และ Intel ที่มีอัตรากำไรขั้นต้นที่สูง ถึง 50%
- ต่อมาผู้ออกแบบจะส่งต่อแบบการผลิตมาให้กับผู้ผลิต เช่น Samsung และ TSMC ซึ่งยังมีกำไรขั้นต้นที่สูงอยู่ดังเดิม
- แต่ในส่วนของขั้นตอนสุดท้ายอย่างการประกอบที่มี บริษัท อย่างเช่น HANA, SVI, Delta จะเป็นส่วนที่มีอัตรากำไรขั้นต้นน้อยที่สุด
- ดังนั้นเราจึงอาจสรุปได้ว่าในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ การลงทุนในผู้ผลิตและออกแบบ จะได้กำไรสูงที่สุด เพราะ อยู่ส่วนบนของห่วงโซ่ธุรกิจ (ธุรกิจต้นน้ำ) ซึ่งทางกองทุน LHSEMICON ได้คัดเลือกมาให้เรียบร้อยแล้ว
กองทุน ETF ที่กองทุน LHSEMICON ลงทุน
- ทาง LHFUND เลือก ETF ที่ให้ผลตอบแทนเทียบความเสี่ยงที่ดีที่สุด ซึ่งเป็นกองทุนของ BlackRock (SOXX) ชื่อ iShares Semiconductor ETF ซึ่งมีนโยบายลงทุนในกลุ่มเซมิคอนดักเตอร์ล้วน ๆ
- ปัจจุบัน กองทุนมีค่า PE ของหุ้นที่ราว ๆ 22 เท่า ซึ่งถือได้ว่าไม่แพง หากเทียบกับดัชนี S&P 500 มี PE ราว ๆ 22 เท่า และหากพูดถึงเรื่องการเติบโตของกำไรในอีก 3 ปีข้างหน้า ที่มีตัวเลขเฉลี่ยอยู่ที่ 26.3% อาจจะสรุปได้ว่าถ้าตัวเลขที่คาดการณ์เกิดขึ้นจริง อีก 3 ปี กำไรอาจเติบโตเกือบเท่าตัว
- กองทุนดังกล่าว แนะนำให้มีติดพอร์ตไว้ในสัดส่วน 10%-15% ของพอร์ต เพราะเป็นหุ้นเติบโตสูง มีความผันผวน และไม่ควรเกินสัดส่วนดังกล่าว และกระจายการลงทุนให้เหมาะสม
ผลตอบแทนย้อนหลังของ iShares Semiconductor ETF
- ผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 70% ในขณะที่แนวโน้มราคาอยู่ในช่วงขาขึ้นชัดเจน โดยราคาระยะสั้นยังเป็นระยะสะสม และรอสตอรี่ผลักดัน ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาในการสะสมที่ดี
- ผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปี อยู่ที่ 33% ต่อปี ในขณะที่ผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปี อยู่ที่ 37% ต่อปี
- ข้อมูลผลตอบแทนทำให้เราเห็นภาพรวมในการเติบโต EPS Growth ของกลุ่มอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ยังเติบโตสองหลักถึง 20 กว่าเปอร์เซนต์ เทียบกับการเติบโตของหุ้นทั่วโลกที่ 10%
- ค่าความผันผวนที่ 25% ถือได้ว่าอยู่ในระดับที่ไม่สูงจนเกินไป หากเทียบกับกองทุนอื่น ๆ
รีวิวตัวอย่างหุ้นในกองทุน iShares Semiconductor ETF
Qualcomm
- เจ้าของโมเดมและชิ้นส่วนประมวลผลในอุปกรณ์มือถือระบบ 3G 4G และ 5G มีผู้ใช้ชื่อดังอย่าง Samsung
- มือถือเป็นอุปกรณ์ที่ต้องเปลี่ยนทุก 2 ถึง 3 ปี จึงอาจทำให้สร้างรายได้ ได้ต่อเนื่อง
- ปัจจุบันสัดส่วนการใช้มือถือ 5G ทั่วโลกอยู่ที่ 5% ซึ่งหมายถึงพื้นที่การเติบโตอีก 95%
NVIDIA
- การคาดการณ์ CAGR 3 ปี อยู่ที่ราว ๆ 50% หรือ มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยปีละราว ๆ 50% อีกนัยหนึ่ง
- บริษัทรถยนต์ชั้นนำ อาทิ Ford, Mercedes Benz กำลังวิ่งหาคนทำระบบรถยนต์ไร้คนขับ ซึ่ง NVIDIA เป็นตัวเลือกชั้นนำในการพัฒนาระบบดังกล่าว
- การพัฒนา Supercomputer หรือคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลได้ด้วยความเร็วสูง NVDIA ยังเป็นอันดับ 1 ของโลก มีตัวอย่างเป็นคอมพิวเตอร์ที่เร็วที่สุดในโลกทางด้าน AI อย่าง Perlmutter ที่เป็นของ NVDIA
สรุปประเด็นหลักกองทุน LHSEMICON
- เป็นกองทุนที่ลงทุนในกองทุนต่างประเทศอย่าง BlackRock (SOXX) ซึ่งมีนโยบายการลงทุนในเซมิคอนดักเตอร์ล้วน ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลงทุนแบบ Thematic
- มีสัดส่วนลงทุนในธุรกิจต้นน้ำ มีกำไรขั้นต้นที่สูง เป็นผู้นำตลาด
- มีแนวโน้มการเติบโตที่น่าสนใจ คาดการณ์ EPS Growth ใน 3 ปีข้างหน้า มีแนวโน้มเติบโตถึงสองหลัก และชี้ให้เห็นว่าระดับราคาในตอนนี้ยังไม่แพงเกินไป
- เซมิคอนดักเตอร์ กลายเป็นสิ่งที่แฝงอยู่ในข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันเป็นที่เรียบร้อย ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญและความมั่นคงทางกระแสเงินสด
- ผลตอบแทนย้อนหลังโดดเด่น โดยมีผลตอบแทนย้อนหลัง 1 ปี อยู่ที่ 70%, 3 ปี อยู่ที่ 33% ต่อปี, 5 ปี อยู่ที่ 37% ต่อปี ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยผลตอบแทนหุ้นโลกที่ 10%
สำหรับนักลงทุนที่สนใจกองทุน LHSEMICON
- กองทุน LHSEMICON เป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับนักลงทุนที่เห็นโอกาสในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ที่กำลังเติบโต หากต้องการลงทุน สามารถดาวน์โหลดหนังสือชี้ชวนข้อมูลสำคัญเพื่อศึกษาดูก่อนได้ โดยหากต้องการซื้อสามารถติดต่อได้ที่ บลจ. LHFund โทร 02 286 3484 หรือติดต่อเข้ามาที่ FINNOMENA โทร 02 026 5100
- พิเศษ! นอกจากกองทุน LHSEMICON-A (คลาส A ชนิดสะสมมูลค่า) และ LHSEMICON-D (คลาส D ชนิดจ่ายปันผล) ทาง บลจ. LHFund ยังเปิดขายกอง LHSEMICON-E (คลาส E) ด้วย สำหรับนักลงทุนที่ติดต่อซื้อกองทุนเข้ามาโดยตรงโดยไม่ผ่านผู้แนะนำ โดยคลาส E จะละเว้นค่าธรรมเนียม Front-End ให้กับนักลงทุน เหมาะกับนักลงทุนอิสระที่เลือกลงทุนด้วยตนเองครับ
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรม ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน |
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT” หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโดยตรงกับทาง LHFund โทร 02 286 3484 หรือ www.lhfund.co.th หรือ https://bit.ly/3gzFjrR