หากใครสนใจคว้าโอกาสผ่านการลงทุนในญี่ปุ่น KF-HJPAND ถือเป็นอีกหนึ่งกองทุนที่นักลงทุนไม่ควรพลาด เพราะ ตัวกองทุนกวาดรางวัลในช่วงล่าสุดมาถึง 3 รางวัลถ้วน! ส่วนกลยุทธ์และผลงานแบบเจาะลึกของกองทุนที่ว่าจะเป็นอย่างไรนั้นผมขอพาทุกคนไปพิสูจน์พร้อม ๆ กันผ่านบทความนี้ครับ
5 เหตุผลทำไมหุ้นญี่ปุ่นถึงมีจังหวะที่น่าลงทุน
- นายทาโร โคโนะ ได้รับคะแนนนิยมสูงสุดในการเลือกตั้งนายกรัฐมนตรีครั้งถัดไปของญี่ปุ่น โดยมีการเปิดเผยว่า เขาจะพยายามผลักดันการเปิดใช้งานโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์อีกครั้ง เพื่อบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2050 สะท้อนให้เห็นถึงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและแผนการลงทุนขนาดใหญ่ที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
- ชาวญี่ปุ่นในตอนนี้ได้รับวัคซีนมากกว่า 50% ของประชากรทั้งหมดในขณะที่อัตราการฉีดวัคซีนเฉลี่ยในตอนนี้สูงถึง 1.2 ล้านโดส จึงอาจทำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่ภาวะภูมิคุ้มกันหมู่ในอีกไม่ช้า ซึ่งปัจจัยนี้อาจช่วยหนุนนำให้ญี่ปุ่นสามารถฟื้นตัวและเริ่มวัฏจักรเศรษฐกิจใหม่อีกครั้ง
- ปัจจัยนี้สอดคล้องกับปัจจัยก่อนหน้าโดยประมาณการ GDP จาก Bloomberg ชี้ให้เห็นว่าการเติบโตของ GDP ญี่ปุ่น ถูกปรับขึ้นต่อเนื่องนับตั้งแต่การระบาดระลอกใหม่ที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้
- ดัชนี TOPIX หนึ่งในตัวแทนหุ้นญี่ปุ่นมีประมาณการกำไรต่อหุ้น (EPS) ที่สูงกว่าดัชนี S&P 500 มาตั้งแต่ช่วงต้นปี 2021 และมีปัจจัยกระตุ้นทางด้านราคาอย่างการลาออกของคุณ โยชิฮิเดะ ซูงะ ในขณะที่ประมาณการกำไรของแต่ละอุตสาหกรรมในญี่ปุ่นก็ได้มีการปรับประมาณการขึ้นในเชิงบวกต่อเนื่องเช่นเดียวกัน
- เกิดสัญญาณทางเทคนิคอย่างการทำนิวไฮของราคาซึ่งหากนับจากสถิติตั้งแต่ปี 2005 นั้น สัญญาณที่ว่าเกิดขึ้นมาแล้ว 6 ครั้ง และสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้ 27.10% ในช่วง 8-14 เดือน ในขณะที่ใน Timeframe Weekly ดัชนี TOPIX ได้ทำจุดสูงสุดใหม่ในรอบ 30 ปี ในขณะที่ Indicators อย่าง MACD ได้ตัดขึ้นและสามารถยืนเหนือเส้น 0 ได้ บ่งบอกถึงสัญญาณในการเข้าซื้อ (Buy Signal)
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ผ่านบทความ Long Term Tactical จาก FINNOMENA ได้เลยครับ
https://www.finnomena.com/finnomena-ic/long-term-call-kf-hjapand/
โปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ เปิดบัญชีลงทุนครั้งแรกกับ FINNOMENA รับหน่วยลงทุน PCASH มูลค่า 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. – 31 พ.ค. 65 คลิก https://finno.me/havefund-promotion
ข้อควรรู้ของกองทุน KF-HJAPAND
- เป็นกองทุนที่เน้นลงทุนในหุ้นญี่ปุ่นขนาดใหญ่ที่สามารถเติบโตได้ สังเกตได้จากสัดส่วนการถือครอง 5 อันดับแรกที่เป็นหุ้นที่มี Market cap ถึงระดับ Trillions หรือล้านล้านเหรียญ และสามารถสร้างการเติบโตได้ต่อเนื่อง
- เน้นสร้างผลตอบแทนให้เติบโตในระยะยาว
- ผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนหลักในรูปแบบสกุลเงินเยนช่วงล่าสุดค่อนข้างโดดเด่น โดยในช่วง 3 ปี และ 5 ปีที่ผ่านมากองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้ราว ๆ 13.07% ต่อปีและราว ๆ 21.04% ตามลำดับ ถือได้ว่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานของผลตอบแทนหุ้นปกติที่ 10% ในขณะที่ผลตอบแทนย้อนหลังงานสามารถเอาชนะดัชนี TOPIX ดัชนีที่เปรียบเสมือนตัวแทนของประเทศญี่ปุ่นได้ค่อนข้างต่อเนื่อง
- กองทุนกวาดรางวัลมามากมายตัวอย่างเช่น
- Best Fund over 10 Years – Equity Japan จาก Refinitiv Ripper หนึ่งในบริษัทชื่อดังของ Reuters ที่ให้บริการด้านการให้ข้อมูลประกอบการวิเคราะห์สำหรับกองทุนรวมต่าง ๆ
- AsianInvestor Asset Management Awards 2020 – Fund House of the Year – Hong Kong จาก AsianInvestor, 2020 Award จากผลการดำเนินงานในรอบปิดปีในปีก่อนหน้าที่มีความโดดเด่น
- Fund Selector Asia Awards Hong Kong 2021 – Japanese Equity – Platinum โดยได้รับรางวัลด้านการจัดการความผันผวนรวมถึงความต่อเนื่องในการสร้างผลตอบแทนในช่วง 3 ปี
- มีผู้จัดการกองทุนเป็นชาวญี่ปุ่นโดยตรงอย่างคุณ Miyako Urabe ที่มีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมมาถึง 13 ปีและคุณ Shoichi Mizusawa ที่มาประสบการณ์ในอุตสาหกรรมาถึง 28 ปีจึงอาจทำให้มีข้อได้เปรียบทางด้านความเข้าใจในการเลือกหุ้น
นโยบายการลงทุนของกองทุน KF-HJAPAND
ลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศชื่อกองทุน JPMorgan Japan (Yen) Fund, Class (acc) – JPY ในรอบปีบัญชีไม่ต่ำกว่า 80% โดยกองทุนหลักมีนโยบายลงทุนในหุ้นของประเทศญี่ปุ่นและสินทรัพย์อื่น ๆ ที่มีผลตอบแทนเกี่ยวเนื่องกับเศรษฐกิจญี่ปุ่น
ลงลึกสัดส่วน Sector หลักที่ลงทุน
ภาพแสดงสัดส่วนเซ็กเตอร์หลักที่ลงทุนของกองทุนหลัก JPMorgan Japan (Yen) Fund, Class (acc) – JPY ที่มา: JPMorgan Fund Fact Sheet วันที่: 31 กรกฎาคม 2021
สัดส่วนหลัก ๆ ของกองทุนจะเน้นไปที่ Electric Appliances หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งยังเป็นของใช้ที่เราต้องใช้กันอยู่ทุกวันนี้เช่น เครื่องปรับอากาศ หม้อหุงข้าว ไมโครเวฟ และยังเป็นอีกหนึ่งเซ็กเตอร์ที่น่าจะได้ประโยชน์หลังวิกฤตโควิด-19 ซึ่งจากผลสำรวจของ Nielsen ชี้ให้เห็นว่าแผนการใช้จ่ายเกี่ยวกับสินค้าคงทน (Durable Goods) เป็นสิ่งที่ผู้คนส่วนใหญ่จากกลุ่มสำรวจตัดสินใจซื้อเป็นอันดับแรก ๆ
ส่วนเซ็กเตอร์หลักอื่น ๆ ของกองทุนก็จะประกอบไปด้วยการบริการ (Services) และ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information & Communication) ซึ่งเป็นเซ็กเตอร์ที่ยังมีความสำคัญกับชีวิตเราทั้งสิ้น เพราะ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการทำงานต่าง ๆ เรายังคงต้องใช้ทั้งซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และการวางระบบต่าง ๆ เข้ามาช่วย ในขณะที่เซ็กเตอร์การบริการถือได้ว่าเป็นเซ็กเตอร์กว้าง ๆ ที่ปัจจุบันอาจมีการใช้เทคโนโลยีมาเกี่ยวข้องด้วย เช่น การให้บริการผ่านเทคโนโลยี การให้บริการเทคโนโลยีเฮลธ์แคร์ หรือการให้บริการสื่อสาร เป็นต้น
รีวิวหุ้นหลักที่ลงทุน
ภาพแสดงสัดส่วนหุ้นหลักที่ลงทุนของกองทุนหลัก JPMorgan Japan (Yen) Fund, Class (acc) – JPY ที่มา: JPMorgan Fund Fact Sheet วันที่: 31 กรกฎาคม 2021
Recruit Holdings (สัดส่วน 6.30%)
หลายคนอาจจะคุ้นหูหุ้นตัวนี้ผ่าน Glassdoor เว็บไซต์หางานพร้อมฐานข้อมูลค่าตอบแทนเฉลี่ยรายปีที่หากเสิร์ชใน Google และหากเห็นโลโก้บริษัท อาจจะนึกถึงหน้ารับสมัครงานผ่าน Jobs DB ภายใต้ชื่อ RGF HR Agent ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่มาจาก Recruit Holdings บริษัทผู้ให้บริการเทคโนโลยีด้าน HR ที่ช่วยทั้งนายจ้างและลูกจ้างในการจัดหางาน รวมถึงยังให้บริการในเชิงธุรกิจอย่างแพลตฟอร์มโฆษณาออนไลน์ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการธุรกิจ (SaaS) อีกด้วย
Hoya Corporation (สัดส่วน 6.10%)
ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เฮลธ์แคร์ เช่น เลนส์แว่นตา คอนแทคเลนส์ ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ยังมีความจำเป็นกับการใช้ชีวิตของมนุษย์ ผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ อึปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอื่น ๆ อีกทั้งยังเป็นผู้ผลิต Photomasks ชิ้นส่วนสำคัญในการถ่ายแผนผังวงจรที่ซับซ้อนของ Semiconductors ลงบนชิป
Keyence (สัดส่วน 6.10%)
บริษัท ผู้พัฒนา ผลิตและจัดจำหน่ายเซนเซอร์และเครื่องมือต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นต่อกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรม รวมไปถึงยังดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ มาเกตติ้งและการทำโฆษณาภายใต้บริษัทย่อยอีกด้วย
Tokyo Electron (สัดส่วน 4.40%)
บริษัท ผู้ผลิตอุปกรณ์สำหรับผลิตเซมิคอนดักเตอร์และอุปกรณ์สำหรับตรวจสอบแผนวงจรเซมิคอนดักเตอร์ จึงทำให้ Tokyo Electron ถือเป็นอีกหนึ่งหุ้นที่เรียกได้ว่าเติบโตล้อกันไปกับอุตสาหกรรมโตแรงแห่งอนาคต
Monotaro (สัดส่วน 3.80%)
บริษัท อีคอมเมิร์ซจากแดนอาทิตอุทัยผู้จัดจำหน่ายสินค้าแบบจับฉ่ายเหมือนร้านทุกอย่าง 20 บาทที่คุณภาพดีกว่า โดยใช้โมเดลการทำธุรกิจแบบคลาสสิคอย่างการนำสินค้าที่ตนเองซื้อในประเทศและต่างประเทศแบบค้าส่งมาขายบนเว็บไซต์และกินส่วนต่างกำไร
ผลตอบแทนย้อนหลังกองทุน KF-HJAPAND
ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังกองทุนหลัก JPMorgan Japan (Yen) Fund, Class (acc) – JPY ที่มา: JPMorgan Fund Fact Sheet วันที่: 31 กรกฎาคม 2021
กองทุนหลักสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่นในช่วง 6-7 ปีย้อนหลัง เป็นเครื่องพิสูจน์ความสามารถของทีมบริหารการลงทุนจาก JPMorgan
สรุปจุดเด่นกองทุน KF-HJAPAND
- ลงทุนในหุ้นใหญ่เติบโตได้ของญี่ปุ่น (ในอนาคตสามารถยืดหยุ่นได้ตามนโยบายของกองทุนหลัก) มีผลการดำเนินงานโดดเด่น และมีธุรกิจที่ยังเติบโตล้อไปกับโลกในตอนนี้ได้
- กองทุนได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมายเป็นการการันตีคุณภาพของผู้จัดการกองทุนและทีมงานที่ต้องสร้างผลตอบแทนในประเทศที่เผชิญกับความท้าทาย (Lost Decade) อย่างญี่ปุ่น
- ผู้จัดการกองทุนบางท่านของกองทุนหลักเป็นชาวญี่ปุ่นโดยตรงจึงอาจมีความเข้าใจในหุ้นท้องถิ่นมากกว่า
- มีผลการดำเนินงานย้อนหลังที่โดดเด่นเหนือเกณฑ์เทียบเคียง
- กองทุนหลักควบคุมความผันผวนได้ดีและสร้างผลตอบแทนได้อย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
- กองทุนมีการป้องกันความเสี่ยงค่าเงินทั้งหมด/เกือบทั้งหมด และมีการจ่ายปันผล
ค่าธรรมเนียมกองทุน KF-HJAPAND
- ค่าธรรมเนียมซื้อ 1.50%
- ค่าธรรมเนียมขาย -ไม่มี-
- ค่าธรรมเนียมสับเปลี่ยนเข้า 1.50%
- ค่าธรรมเนียมการจัดการ 0.8025%
- ค่าธรรมเนียมรวมรายปี 1.0039%
โปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ เปิดบัญชีลงทุนครั้งแรกกับ FINNOMENA รับหน่วยลงทุน PCASH มูลค่า 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. – 31 พ.ค. 65 คลิก https://finno.me/havefund-promotion
References
https://www.krungsriasset.com/DataWeb/AYFWeb/th/pdf/MTF_KF-HJAPAND.pdf?rnd=20210920121308
https://www.krungsriasset.com/DataWeb/AYFWeb/th/pdf/FFS_KF-HJAPAND_TH.pdf?rnd=20210920121308
https://recruit-holdings.com/what/services/
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”