“หากคุณใช้สีเทียน วาดผังธุรกิจของบริษัทที่คุณลงทุนไม่ได้ คุณอาจจะไม่เข้าใจธุรกิจนั้นอย่างแท้จริง” – Peter Lynch
ประโยคข้างต้นเป็นหนึ่งในประโยคที่ Peter Lynch หนึ่งในผู้จัดการกองทุนระดับโลกที่สร้างผลตอบแทนได้อย่างยอดเยี่ยม ในช่วงเวลาหนึ่งโดยการทุ่มเทและใส่ใจในธุรกิจอย่างแท้จริง
หลาย ๆ คนที่ยังไม่รู้จัก อาจจะไม่รู้ว่าคุณ Peter lynch เป็นหนึ่งในผู้จัดการกองทุนที่สร้างผลตอบแทนได้อย่างเหนือชั้นถึงปีละ 29.20% ตอนที่เขาจัดการกองทุนอย่าง Megellan Fund ของ Fedelity จากการเลือกหุ้นรายตัว โดยศึกษาและเข้าเยี่ยมชมบริษัท เพื่อเจาะลึกหาข้อมูลเพื่อจะได้ธุรกิจที่มีโอกาสเติบโตอย่างก้าวกระโดดในอนาคต
หากเรามาดูกองทุนหลาย ๆ กอง ณ ปัจจบันเราก็จะพบว่าผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่มักจะมองภาพรวมเศรษฐกิจ และเลือกภูมิภาคที่จะลงทุน ซึ่งมีน้อยรายนักที่จะมาขุดและเลือกหุ้นรายตัวด้วย Passion อย่างแท้จริง
หลาย ๆ คนอาจจะนึกถึงกองทุน ONE-UGG ที่รวบรวมผู้เชี่ยวชาญจากหลายสาขา มาเลือกธุรกิจในสาขาที่ตนเองชื่นชอบจริง ๆ แต่คุณอาจจะยังไม่รู้ว่ามีอีกหนึ่งกองทุนจาก Baillie Gifford ที่ใช้ความหลงใหลในการเลือกหุ้นเข้ากองไม่ต่างกัน
กองทุนนั้นคือ K-CHANGE-A(A) กองทุนที่ลงทุนในกองทุนแม่อย่าง Baillie Gifford Positive Change ซึ่งมีปรัชญาการลงทุนในธุรกิจที่จะเปลี่ยนโลกเรา “ให้ดีขึ้น” ในระยะยาว ที่ไม่เพียงแต่ให้ผลตอบแทนกับนักลงทุน แต่ให้ผลตอบแทนกับสังคมและสิ่งแวดล้อม
ก่อนอื่นเลยหลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่าธุรกิจที่เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาโลกให้ดีขึ้นเติบโตได้จริงหรือ? ดังนั้นเรามาเช็กผลตอบแทนย้อนหลังกัน…
ดูรีวิวกองทุนประหยัดภาษีธีม ESG คุณภาพทั้ง K-CHANGE-SSF และ K-CHANGERMF ได้ ที่นี่
สร้างแผนและเปิดบัญชีกองทุนรวมกับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนกว่า 1,000 กอง จาก 22 บลจ. ครอบคลุมทุกบลจ. ในประเทศไทย สร้างแผนและเปิดบัญชี คลิก:https://finno.me/open-plan
ผลตอบแทนย้อนหลังกองทุนแม่ Baillie Gifford Positive Change Fund ของกองทุน K-CHANGE-A(A) เอาชนะดัชนีต่อเนื่อง
ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังกองทุน Baillie Gifford Positive Change เทียบกับดัชนี MSCI AC World +2% (ข้อมูลวันที่ 31 ธันวาคม 2020 จาก Fund Fact Sheet กองทุน)
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: www.bailliegifford.com
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
จากภาพข้างต้นจะเห็นได้ว่าผลตอบแทนนั้นโดดเด่นเป็นอย่างมากและอาจจะเรียกได้ว่า Outperform ดัชนีเทียบเคียงอย่างดัชนี MSCI AC World (ดัชนีหุ้นโลก) โดยผลตอบแทนนับตั้งแต่มีการจัดตั้งกองทุน (Since inception) นั้นทำผลตอบแทนไปแล้วถึง 30.70% เทียบกับดัชนี MSCI AC World ที่ 8.80%
ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังกองทุน Baillie Gifford Positive Change (ข้อมูลวันที่ 31 ธันวาคม 2020 จาก Fund Fact Sheet กองทุน)
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: www.bailliegifford.com
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ส่วนที่ให้อยากโฟกัสในภาพนี้คือผลตอบแทนนับตั้งแต่ปีที่แล้วก่อนเกิดวิกฤติโควิด จนถึงหลังวิกฤติผลตอบแทนของกองทุนปรับตัวเป็นบวกมากถึง 51.00% จากดัชนีหลักที่อยู่ที่ 5.70% เท่านั้น เรียกได้ว่าการเลือกหุ้นของผู้จัดการกองทุนแต่ละท่านนั้นทำผลงานได้ดีกว่าดัชนีเทียบเคียงมาก ๆ เลยทีเดียว
ก่อนที่เราจะลงไปในหมวดหมู่ธุรกิจที่กองทุนได้ลงทุน เรามาดูผู้จัดการกองทุนแต่ละท่านกันก่อนว่ามีความสนใจและ Passion ในธีมธุรกิจรักษ์โลกด้านไหนกันบ้าง
สัดส่วนหุ้นหลักของกองทุน
ภาพแสดงสัดส่วนหลักกองทุน Baillie Gifford Positive Change (ข้อมูลวันที่ 31 ธันวาคม 2020 จาก Fund Fact Sheet กองทุน)
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่: www.bailliegifford.com
หลัก ๆ แล้วอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น คงหนีไม่พ้นอุตสาหกรรมสุดแกร่งเติบโตสูงอย่าง “เทคโนโลยี” และ “Healthcare” ซึ่งทั้งสองอุตสาหกรรมนั้นจะเรียกว่าเป็นพี่น้องกันก็ว่าได้ เพราะ Healthcare เองก็มีส่วนผสมอย่างการสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อพลิกวงการและโลกเช่นเดียวกัน
ไม่ว่าจะเป็น Dexcom เจ้าของเทคโนโลยีเครื่องตรวจระดับน้ำตาล โดยไม่ต้องเจาะเลือดให้เจ็บตัว หรือจะเป็น Teledoc ผู้ให้คำปรึกษาทางการแพทย์แบบออนไลน์ที่พร้อมเข้ามาฉีกข้อจำกัดของการให้คำปรึกษาแบบเดิม ๆ
นอกจากนั้น Top Holding หลักของกองทุนยังเป็นหุ้นเทคโนโลยีฟอร์มร้อนแรง อย่าง Tesla ที่พร้อมเปลี่ยนโลกด้วยการใช้พลังงานต้นทุนถูกกว่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างพลังงานไฟฟ้า แทนที่นำ้มันซึ่งสร้างผลกระทบเชิงลบให้กับสิ่งแวดล้อมของโลก
ผู้จัดการกองทุนที่มีความหลงใหลในสิ่งที่ทำอย่างแท้จริง
ข้อมูลภาพจากเว็บไซต์: www.bailliegifford.com
1) Kate Fox
เชื่อว่าภาคธุรกิจการเงินมีส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาโลกและสนับสนุนคนรุ่นใหม่ให้ดีขึ้นในอนาคต โดยเชี่ยวชาญทางด้านการวิเคราะห์บริษัทขนาดเล็กที่มีโอกาสเติบโตในระยะยาว อีกทั้งยังหลงไหลในธุรกิจที่สร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่และให้ประสบการณ์ใหม่ ๆ กับผู้บริโภค
โดยคุณ Kate ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็นผู้จัดการฝ่ายลงทุนและวางกลยุทธ์สำหรับพอร์ตธีม Positive Change และจบการศึกษาในระดับปริญญาโทจาก University of Edinburgh ในสาขาเศรษฐศาสตร์และคณิตศาสตร์
2) Lee Qian
คุณ Lee เติบโตในประเทศจีนในช่วงเปลี่ยนถ่ายระบบเศรษฐกิจและสังคม และได้เห็นคนนับล้านรอบข้างอาศัยอยู่กับความยากจนและสภาวะความเป็นอยู่ที่ยากลำบาก จนมามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดังที่เราเห็นประเทศจีนในทุกวันนี้ และได้เห็นมากับตาว่าภาคธุรกิจนั้นมีความสำคัญต่อการยกระดับสภาพความเป็นอยู่และสังคมของผู้คน จึงแสดงให้เห็นถึงความเข้าใจกระบวนการยกระดับคุณภาพชีวิตคนผ่านธุรกิจต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี
ซึ่งคุณ Lee ก็ดำรงตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายการลงทุนเช่นเดียวกันในโปรเจค Positive change และจบการศึกษาระดับปริญญาตรีจาก BA (Hons) สาขาเศรษฐศาสตร์และการจัดการจากมหาวิทยาลัย Oxford
3) Julia Angeles
ด้วยประสบการณ์การทำงานจาก McKinsey & Co บริษัท Consulting ชื่อดังและได้ให้คำปรึกษาธุรกิจกับประเทศต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็น Denmark, Russia รวมถึง Hungary จึงทำให้มีความรู้และความเข้าใจในกลยุทธการลงทุนในภูมิภาคต่าง ๆ อย่างแท้จริง อีกทั้งยังมีความหลงไหลในธุรกิจเทคโนโลยีการแพทย์ ซึ่งคุณ Julia มองว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเปลี่ยนแปลงโลก เพราะ โลกกำลังจะเปลี่ยนจากการรักษาแบบเชิงรับ (Reactive) หรือการรอให้เกิดเหตุการณ์แล้วค่อยแก้ไข เป็นการป้องกันเชิงรุก (Proactive) หรือล่วงหน้าแทนซึ่งจะถูกผลักดันด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์นั่นเอง
4) Kirsty Gibson
คุณ Kirsty มีพื้นเพการศึกษาในระดับปริญญาโทในสาขา การจัดการมลพิษและหลงไหลในการจัดการปัญหาภาวะโลกร้อนรวมถึงการพัฒนาโลกอย่างยั่งยืน (Sustainability) และเชื่อว่าสองปัจจัยหลักนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการลงทุนที่จะเติบโตในระยะยาว
5) Kieran Murray
เป็นหนึ่งในผู้จัดการพอร์ต Positive Change เช่นเดียวกัน โดยรับหน้าที่การวิเคราะห์ธุรกิจแบบ Bottom-up และมีความเชื่อว่าธุรกิจที่ให้คุณค่ากับ Stakeholders (ผู้มีส่วนเกี่ยวของกับธุรกิจทั้งหมด) และสิ่งแวดล้อมจะเป็นธุรกิจที่เติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต ซึ่งการให้ความสำคัญกับ Stakeholders นั้นก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มมูลค่าของแบรนด์ให้เข้าไปอยู่ในใจของทุกคนได้เช่นกัน
6) Michelle O’Keeffe
คุณ Michelle มีความเชี่ยวชาญในเรื่องปัญหาสภาพภูมิอากาศ (Climate change), การจัดการทรัพยากร, รวมถึงกฎเกณฑ์นโยบายต่าง ๆ ในยุโรป โดยจบการศึกษาจาก University College London’s Institute for Sustainable Resources, MSc in Climate Change, Risk Management จากมหาวิทยาลัย Exeter, และ BSc (Hons) สาขาสัตววิทยาจากมหาวิทยาลัย Cardiff
7) Will Sutcliffe
คุณ Will อาจจะมีพื้นเพแตกต่างจากคนอื่นสักหน่อยตรงที่มาสายการลงทุนโดยตรง โดยเป็นนักลงทุนในหุ้นตลาดเกิดใหม่ (Emerging markets) มาก่อน แต่สิ่งที่แตกต่างสำหรับนักลงทุนทั่วไปก็คือ Will มีความสนใจในการเปลี่ยนถ่ายฐานะทางสังคมของผู้คนจากผู้มีรายได้น้อยมาเป็นผู้มีรายได้มาก และเลือกที่จะมองหาบริษัทและสภาบันต่าง ๆ ที่มีส่วนสำคัญในการทำให้สิ่ง ๆ นี้เกิดขึ้น
หากดูพื้นเพรวมถึงความหลงไหล (Passion) ของผู้จัดการแต่ละคนแล้วก็จะเห็นได้ว่าแต่ละคนมีสิ่ง ๆ หนึ่งที่เหมือนกันคือ “ต้องการเห็นสิ่งต่าง ๆ พัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น” แต่ก็ยังมีความแตกต่างที่ลงตัว อย่างความรู้ทางด้านการวิเคราะห์การลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ ที่จะช่วยเสริมคม Passion ของแต่ละคนเพื่อให้ได้ธุรกิจที่ดีที่สุดมาใส่ในพอร์ตการลงทุน “Positive Change” กองนี้
ธีมการลงทุนหลักของกองทุน “เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมพัฒนาสังคม”
ทางกองทุนเองแบ่งธีมการเลือกหุ้นรายตัวเป็นธุรกิจที่ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลง (Positive change) ในหมวดหมู่ต่อไปนี้
ข้อมูลภาพจากรายงาน Positive Change Impact Report ปี 2018 ของกองทุน Baillie Gifford
1) ธุรกิจที่สนับสนุนการพัฒนาสังคมและการศึกษา (Social Inclusion and Education)
ในส่วนนี้จะเป็นการลงทุนในธุรกิจที่พัฒนาสังคมและระบบการศึกษาผ่านเทคโนโลยีเป็นหลัก โดยต้องเป็นธุรกิจที่สามารถลดความเหลื่อมลํ้าในด้านของโอกาสต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการเข้าถึงข้อมูล หรือโอกาสในการได้รับการศึกษาซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับการลดความเหลื่อมลํ้าทางสังคม
ตัวอย่างธุรกิจที่อยู่ในขอบเขตการลงทุนดังกล่าวก็จะเป็น Alphabets ที่มีบริการสำหรับการเข้าถึงข้อมูล แหล่งเรียนรู้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น Google Search ที่วัน ๆ หนึ่งคนเราต้องเปิดหาข้อมูลอะไรบางอย่างสักครั้งหนึ่ง, Google Maps คู่หูนักเดินทางสายไร้จุดหมายหรือสายหลงที่อาจช่วยชีวิตผู้คนมานักต่อนัก อีกทั้ง Youtube แหล่งความรู้ชั้นเยี่ยมที่ไม่ว่าคุณจะทำอะไรสักอย่างแล้วเกิดติดขัด ขอเพียงแค่คุณ Search หาวิธีทำก็ทำตามได้แบบไม่ยากเย็น โดยไม่ต้องเสียเงินสักบาทไปเข้าคอร์สเรียนยาก ๆ แพง ๆ
หรือจะเป็น Tencent ที่เชื่อมต่อการสื่อสารของคนนับล้านเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังอำนวยความสะดวกทางด้านการใช้จ่ายออนไลน์ ทำให้ผู้คนหลาย ๆ คนใช้ชีวิตในระบบเศรษฐกิจรูปแบบใหม่กันได้อย่างเท่าเทียม
ภาพแสดงความเหลื่อมลํ้าทางรายได้ที่เกิดขึ้น ซึ่งเราเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือได้ผ่านการลงทุนในธุรกิจ ที่เป็นส่วนหนึ่งในการศึกษาและเข้าถึงข้อมูล
(ข้อมูลจากรายงาน Positive Change Impact Report ปี 2018 ของกองทุน Baillie Gifford)
นอกจากนั้นในส่วนนี้ยังมีการสนับสนุนธุรกิจที่มีส่วนสำคัญในการลดต้นทุน ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมลํ้าได้ จากการผลิตที่อาจจะทำได้มากขึ้นและคุ้มทุนกว่าเดิม รวมถึงราคาสินค้าที่อาจลดลง จากต้นทุนที่ลดลง โดยตัวอย่างธุรกิจก็จะเป็น ASML หรือ TSMC ที่ผลิตชิพต่าง ๆ ในราคาถูกซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการผลิตอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จะเปิดโอกาสให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น
ข้อมูลภาพจากรายงาน Positive Change Impact Report ปี 2018 ของกองทุน Baillie Gifford
2) ธุรกิจที่สนับสนุนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร (Environment and Resource Needs)
ในส่วนนี้ทางกองทุนเลือกลงทุนในธุรกิจที่ช่วยประหยัดการใช้พลังงาน อาทิ Kingspan ที่ผลิตฉนวนกันความร้อนสำหรับโครงสร้างตึกที่จะช่วยลดอุณหภูมิและลดการใช้พลังงานหรือเครื่องปรับอากาศให้ลดลงได้ ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในกว่า 90 ประเทศทั่วโลก
อีกทั้งยังลงทุนในธุรกิจเปลี่ยนอนาคตทางอุตสาหกรรมการเดินทาง เช่น Tesla ที่ผลิตรถยนต์สุดลํ้าโดยใช้พลังงานไฟฟ้า
ภาพแสดงรถยนต์พลังงานไฟฟ้า Tesla Model 3 (วันที่ 19 มกราคม 2019)
หรือแม้แต่ธุรกิจที่ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับภาคส่วนที่ขาดแคลน เช่น การขนส่งพื้นฐานหรือการเข้าถึงนํ้าสะอาด ที่นอกจากจะได้ช่วยคนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว สิ่งจำเป็นเหล่านี้ยังมีความต้องการอย่างมากในเชิงธุรกิจอีกด้วย เพราะ เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินชีวิตของผู้คน
3) ธุรกิจ Healthcare และธุรกิจที่ช่วยพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนให้ดีขึ้น (Healthcare and Quality of Life)
ธุรกิจกลุ่ม Healthcare ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ยืนหยัดได้ไม่แพ้หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในช่วงที่ผ่านมา และมีผลตอบแทนที่ติดลบไม่มาก จากการที่ช่วงวิกฤติที่ผ่านมาการพัฒนาวัคซีนและการรักษามีความสำคัญ
ข้อมูลภาพจากเว็บไซต์ Seeking Alpha (วันที่ 24 เมษายน 2020)
โดยหลัก ๆ แล้วในส่วนนี้จะเป็นการลงทุนในธุรกิจกลุ่ม Healthcare ที่เน้นการวิจัยโรคต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อนและรักษาได้ยาก ธุรกิจที่ช่วยในการตรวจโรคต่าง ๆ ให้มีความแม่นยำและรวดเร็วขึ้น ธุรกิจที่ช่วยพัฒนาการรักษาให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น ธุรกิจที่ช่วยพัฒนาระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงธุรกิจที่ช่วยลดต้นทุนการรักษาเพื่อให้ผู้คนเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น ซึ่งหากสังเกตจากธีมหลัก ๆ ดังนี้แล้ว จะเรียกได้ว่าเป็นธุรกิจแห่งอนาคตก็คงไม่ผิดนัก เพราะ เป็นการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้ดีขึ้น อีกทั้งยังพัฒนาสิ่งที่ยังไม่เคยมีมาก่อนอีกด้วย
4) ธุรกิจพัฒนาความเป็นอยู่พื้นฐาน (Base of the Pyramid)
หลัก ๆ แล้วในส่วนนี้จะเป็นการลงทุนในธุรกิจที่ให้การเข้าถึงบริการพื้นฐานต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นและควรจะมี โดยให้บริการในราคาที่ถูกกว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น Sysmex ที่ให้คำแนะนำและตรวจสุขภาพผ่านมือถือในระบบออนไลน์ที่มีประโยชน์กับประเทศที่อาจจะไม่มีระบบโครงสร้างสาธารณสุขที่ดีนัก (โรงพยาบาลหรือคลีนิคอยู่ไกล เข้าถึงยาก เป็นต้น)
ข้อมูลภาพจากรายงาน Positive Change Impact Report ปี 2018 ของกองทุน Baillie Gifford
สร้างเงินทุนของเราให้เติบโต ไปพร้อมกับสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของคนที่ดีขึ้น ไปด้วยกันดีกว่า…
หลังจากนี้ผมขอเสริมมุมมองการวิเคราะห์ส่วนตัวจากภาพใหญ่ ๆ (Top-down) เพิ่มสักนิดว่าช่วงนี้ภูมิภาคหลัก ๆ ที่ทางกองทุนได้ลงทุนในช่วงนี้เป็นจังหวะที่น่าเข้าซื้อหรือไม่ สำหรับคนที่ต้องการมุมมองเชิงลึก หลังมุมมองแบบการวิเคราะห์หุ้นรายตัว (Bottom-up) ทางกองนั้นทำได้อย่างยอดเยี่ยมอย่างไม่ต้องสงสัย
สำหรับใครที่ชอบข้อมูลเชิงลึกก็ลองอ่านต่อก่อนได้ครับ ก่อนตัดสินใจ…
สัดส่วนภูมิภาคการลงทุนหลักของกองทุน
ภาพแสดงสัดส่วนภูมิภาคการลงทุนหลักของกองทุน Baillie Gifford Positive Change (ข้อมูลวันที่ 31 ธันวาคม 2020) ที่มา : www.bailliegifford.com
มุมมองเชิงพื้นฐาน
เนื่องด้วยกองทุนมีสัดส่วนการลงทุนในอเมริกาเป็นหลัก หลังจากนี้จะเป็นการให้มุมมองภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐฯ
มุมมองสถานการณ์โควิด-19
ผู้คนและตลาดหุ้นอาจได้รับรู้ความกังวลในส่วนนี้และอาจสะท้อนราคาในช่วงขาลงของตลาดที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นหากการระบาดเกิดขึ้นอีกรอบผู้คนอาจมีความกังวลลดลง และออกมาดำเนินกิจกรรมตามปกติ เว้นเสียแต่ว่าเชื้อไวรัสมีการทวีความรุนแรงมากขึ้น
ดังนั้นเราจึงอาจสรุปโดยรวมได้ว่า ผู้คนได้รับรู้ความกังวลไปแล้ว แต่หากเกิดการพัฒนาของเชื้อ ซึ่งประมาณการไม่ได้ ก็อาจทำให้เกิดวิกฤติรุนแรงอีกครั้ง
ดังนั้นหากเทียบกับสถานการณ์ในตอนนี้การระบาดของโควิด-19 ถือว่ามีทิศทางดีขึ้นมากจากยอดผู้ติดเชื้อที่ลดลง
ตลาดอาจกำลังวิ่งขึ้นรอบวัฎจักรใหม่ อย่างร้อนแรง
สาเหตุที่ผมมองเช่นนั้นก็เนื่องมาจากวิกฤติโควิด-19 ที่ผ่านมา ตลาดอาจไม่ได้พักฐานรุนแรงอย่างที่ควรจะเป็น (หากเทียบกับสถานการณ์ที่เลวร้าย)
รวมถึงยังมีมาตรการอัดฉีดที่เข้ามาจำนวนมากซึ่งอาจทำให้บริษัท ต่าง ๆ นั้นได้เงินทุนเยียวยาจัดการเพิ่มขึ้นก็จริง แต่ก็เป็นการเพิ่มหนี้ในอนาคตเช่นเดียวกัน
ดังนั้นสิ่งที่ต้องจับตาต่อไปอาจจะต้องเป็นทาง Jerome Powell และทางรัฐ ว่าจะจัดการปัญหาหนี้ต่าง ๆ ได้ดีแค่ไหนและทันก่อนเกิดภาวะถดถอยในรอบถัดไปหรือไม่ แต่ถึงอย่างนั้นมาตรการเข้าช่วยแบบสุดโต่งด้วยวิธีต่าง ๆ ของ Fed ก็อาจช่วยหนุนนำให้บริษัทต่าง ๆ ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว
ไม่ว่าจะเป็นมาตรการเข้าช่วยตราสารหนี้เอกชน หรือการให้เงินกู้กับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง สำหรับการฟื้นตัว จึงอาจทำให้วิกฤติครั้งนี้เริ่มคลี่คลายลงแล้ว และอาจเป็นรอบขาขึ้นรอบใหม่ของตลาดหุ้นที่ร้อนแรง จากมาตรการกระตุ้นต่าง ๆ ที่ผมได้กล่าวมาก่อนหน้า
สัญญาณการเริ่มต้นของวัฎจักรตลาด “ใหม่” (The New Market Cycle)
ดอกเบี้ยติด 0 หนุนการพัฒนาที่ “ร้อนแรง”
ช่วงที่ผ่านมาทาง Fed เองต้องลดดอกเบี้ยให้มาอยู่ในระดับที่ตํ่า เช่นเคยหลังเกิดวิกฤติ เพื่อหนุนการกู้ยืมให้ผู้คนกลับมานำเงินทุนไปขยับขยายธุรกิจเพิ่มเติมกันอีกครั้ง แต่ครั้งนี้จะเรียกได้ว่าอยู่ในระดับที่ตํ่าเป็นพิเศษก็ว่าได้
โดยอยู่ในระดับที่เเทบจะเรียกได้ว่าติด “0” (0.00%-0.25%) ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นต้นทุนการกู้ที่โคตรถูกและอาจทำให้เศรษฐกิจกลับมาฟื้นฟูได้อย่างรวดเร็ว หากบวกกับการอัด QE แบบจัดเต็มในช่วงที่ผ่านมา
มองผ่านสายตาประธานธนาคารกลาง สถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐฯ กำลังฟื้นตัว เป็น “ช่วงที่ดีในการเข้าซื้อหุ้น”
ผมเชื่อว่าในตอนนี้หากเราลองมองในมุมของผู้ว่าการแบงก์ ก็จะเรียกได้ว่า ภาวะเศรษฐกิจโดยรวมนั้นทำให้ “อุ่นใจ” แล้วก็ว่าได้
3 เป้าหมายของธนาคารกลางกำลังฟื้นตัว
1) การจ้างงานรากฐานหลักเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว
หากว่ากันถึงส่วนที่เรียกได้ว่าแทบจะสำคัญที่สุดในระบบเศรษฐกิจ ก็คงหนีไม่พ้นภาคการจ้างงาน ที่หากออกมาในทิศทางดี ก็จะทำให้ผู้คนมีรายได้แบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย จับจ่ายใช้สอยดัน GDP ให้ผู้ผลิตรีบผลิตสินค้าออกมา หรือ CPI รวมถึงดัชนีทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ให้พลุ่งพล่านในอนาคต
ดังนั้นผมเชื่อว่าการจ้างงานที่ดีขึ้นอาจแสดงให้เห็นถึง ตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีขึ้นได้ในอนาคตและอาจนำไปสู่สัญญาณการกลับตัว
โดยล่าสุดตัวเลขผู้ว่างงานขอรับสวัสดิการในสหรัฐฯ ปรับตัวดีขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงที่ผ่านมา และส่งผลเชิงบวกกับอัตราการว่างงาน (Unemployment rate) ให้ดีขึ้นในทันควัน
หลังช่วงที่ผ่านมาอัตราการว่างงานพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 14.7% และปรับตัวดีขึ้นในท้ายที่สุด อีกทั้งการประชุมของ Fed ในช่วงที่ผ่านมา ทาง Jerome Powell เองก็ได้มีการคาดการณ์ว่าอัตราการว่างงานในปี 2020 นี้อาจจะอยู่ที่ 9.3% ซึ่งก็ยังเป็นในทิศทางที่ดีขึ้นถึงแม้จะอยู่ในระดับที่สูงก็ตาม
ดังนั้นเราอาจจะสรุปได้ว่าตลาดแรงงานที่เรียกได้ว่าเป็นรากฐานของระบบเศรษฐกิจ กำลังฟื้นตัวก็คงจะไม่ผิดนัก
ภาพแสดงอัตราการว่างงาน (Unemployment rate) ในสหรัฐฯ (วันที่ 6 พฤศจิกายน 2020)
2) ความคาดหวังเงินเฟ้อที่ปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง
ภาพแสดงความคาดหวังเงินเฟ้อของสหรัฐฯ
ปัจจุบันความคาดหวังเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นมาที่เกือบ ๆ 1.86% และจะถึงเป้าหมายที่ 2.00% ในอีก 0.14% โดยรวมอัตราเงินเฟ้ออาจมีแรงหนุนมาจากมาตรการกระตุ้นต่อเนื่องของทาง Fed อย่าง unlimited qe ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งในอนาคต ทาง Fed เองก็ได้เปิดเผยว่าอาจมีการใช้มาตรการกระตุ้นอีกราว ๆ 500 ล้านดอลลาร์ในอนาคตรวมถึงมาตรการทางการคลังแบบจัดเต็มที่จะมีมาอีกด้วย
ดังนั้นหากดูจากแนวโน้มท่าทีของ Fed มาตรการกระตุ้นอาจมีต่อเนื่องจนกว่าจะทำให้การจ้างงาน เงินเฟ้อ และ เศรษฐกิจกลับสู่ภาวะปกติ และอาจส่งผลเชิงบวกต่อตลาดหุ้นในอนาคต หลังปัจจุบันพันธบัตรรัฐบาลเหลือพื้นที่ผลตอบแทนที่น้อยมาก ๆ จนทำให้เงินทุนไหลเข้าสู่หุ้น
3) ตลาดหุ้นที่กำลังฟื้นตัว
ช่วงที่ผ่านมาตลาดหุ้น NASDAQ ของอเมริกาปรับตัวฟื้นขึ้นมาได้อย่างร้อนแรง ซึ่งทางกองทุน K-CHANGE-A(A) ก็มีการลงทุนในหุ้นกลุ่มผู้นำเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น Tesla หรือ Google ที่นอกจากจะสร้างผลตอบแทนได้อย่างยอดเยี่ยมแล้ว ยังช่วยพัฒนาโลกให้ดีขึ้น (การช่วยให้ผู้คนเข้าถึงข้อมูล) และอนุรักษ์ทรัพยากรอันมีค่าให้กับคนรุ่นหลังอีกต่างหาก (รถยนต์ไฟฟ้าของ Tesla)
หรือแม้แต่ Moderna เองที่ช่วงวิกฤติก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่เรียกได้ว่า เป็นที่พูดถึงอย่างมาก ในการช่วยพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ดังนั้นจะเรียกได้ว่าการเลือกหุ้นรายตัวของผู้จัดการกองทุนแต่ละท่านด้วย Passion ไม่ทำให้ผิดหวังจริง ๆ
และด้วยสามปัจจัยบวกข้างต้นนี้เอง อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าเศรษฐกิจของอเมริกากำลังฟื้นตัว…
รัฐพร้อมสนับสนุนกระตุ้นธุรกิจเล็กใหญ่ต่อเนื่อง
ข่าวเด่นดังล่าสุดทางสภาสหรัฐฯ ได้อนุมัติงบมาอีก 2 ล้านล้านเหรียญ! เข้าช่วยธุรกิจทั้งเล็กและใหญ่ หลังมาตรการกระตุ้นชุดเก่ากำลังจะหมดลง รวมถึงจะมีการเข้าซื้อหุ้นยักษ์ใหญ่อีกต่อเนื่อง นี่จึงถือเป็นอีกหนึ่งโอกาสอันดีหลังทางรัฐและ Fed ดูจะไม่ยอมผ่อนการกระตุ้นง่าย ๆ จนกว่าจะมั่นใจได้ว่าเศรษฐกิจได้ฟื้นตัวอย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจหนุนให้ตลาดหุ้นวิ่งขึ้นต่อไปได้ในอนาคต!
มุมมองเชิงเทคนิคอล
ในมุมมองทางเทคนิคผมขอใช้ดัชนีที่เป็นตัวเทียบเคียง (Benchmark) ผลตอบแทนของกองทุน อย่างดัชนี MSCI AC World Index ซึ่งเป็นดัชนีหุ้นทั่วโลก สอดคล้องกับทางกองทุนที่เฟ้นหาหุ้นที่ดีที่สุดจากหลาย ๆ ภูมิภาคทั่วโลก
ภาพแสดงราคาดัชนี ISHARES TRUST MSCI ACWI ETF ที่เป็นดัชนีเทียบเคียงหลักของกองทุน
จากภาพจะเห็นได้ว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ MA 50 (สีฟ้า) กับ MA 200 (สีส้ม) ยังไม่ตัดกันลงมาสะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มขาขึ้นที่ยังมีอยู่ อีกทั้งราคายังทะลุ High เดิม และได้ทำจุดสูงสุดใหม่เป็นที่เรียบร้อย! แสดงถึงแนวโน้มขาขึ้นที่ยังอาจมีอยู่
หรือหลัก ๆ รวม ๆ แล้วระหว่างทางราคาอาจจะมีพักบ้าง แต่ยังอยู่ในช่วงแนวโน้มขาขึ้นอยู่
จะมีกองทุนสักกี่กองที่ผู้จัดการกองทุนใช้ “หัวใจ” ในการเลือกหุ้นเข้าพอร์ต อีกทั้งยังเติบโตได้อย่างโดดเด่น ดังนั้นการลงทุนในกองทุน K-CHANGE-A(A) นอกจากจะเพิ่มความมั่งคั่งให้คุณอย่างโดดเด่นแล้ว ยังทำให้คุณเป็นส่วนหนึ่งของการสนับสนุนธุรกิจที่พัฒนาโลกให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกด้วย
ขอให้ทุกคนโชคดีครับ
Mr. Serotonin
ดูรีวิวกองทุนประหยัดภาษีธีม ESG คุณภาพทั้ง K-CHANGE-SSF และ K-CHANGERMF ได้ ที่นี่
สร้างแผนและเปิดบัญชีกองทุนรวมกับ FINNOMENA สะดวก รวดเร็ว เปิดออนไลน์ ไม่ต้องส่งเอกสารให้ยุ่งยาก พร้อมเลือกซื้อกองทุนกว่า 1,000 กอง จาก 22 บลจ. ครอบคลุมทุกบลจ. ในประเทศไทย สร้างแผนและเปิดบัญชี คลิก: https://finno.me/open-plan
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | กองทุน K-CHANGE-A (A) มีการลงทุนแบบกระจุกตัว จึงอาจมีความเสี่ยงและความผันผวนของราคาสูงกว่ากองทุนรวมทั่้วไปที่มีการกระจายตัวในหุ้นจำนวนมาก ดังนั้น ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจลงทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนกสิกรไทย จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
References
https://fred.stlouisfed.org/series/T5YIFR
https://www.bailliegifford.com/en/uk/individual-investors/funds/positive-change-fund/about-the-fund/
https://www.investing.com/economic-calendar/federal-budget-balance-369
https://www.investing.com/economic-calendar/unemployment-rate-300
https://www.investopedia.com/terms/p/peterlynch.asp
https://www.kingspan.com/us/en-us/product-groups/insulation/insulation-boards
https://www.teslarati.com/tesla-model-3-destroys-ev-prejudice-germany-review/