ในช่วงที่ตลาดกำลังตื่นตระหนกจากปัจจัยกดดันรอบด้านไม่ว่าจะเป็นตลาดหุ้นที่เคยพุ่งขึ้นไปราวกับไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยจนอาจทำให้เกิดฟองสบู่ รวมถึงสถานการณ์ของไวรัสโคโรน่าที่อาจเป็นเหมือนเหตุการณ์ที่ยำ้ ซำ้แผลเดิม เรามาดูกันว่า 2 เซียน guru การเงินกับอีก 1 ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งออกของไทย ที่เพิ่งได้ให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อชื่อดังอย่าง CNBC ว่ามีมุมมองต่อสถานการณ์เหล่านี้ รวมถึงมุมมองต่อการลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ เป็นอย่างไรบ้าง
ก่อนอื่นคนแรกก็อุ่นเครื่องด้วยมุมมองภาพรวม จาก ดร. จิติพล พฤกษาเมธานันท์ กันก่อนเลยครับ
มุมมองเกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยของสหรัฐ
- สาเหตุที่ตลาดไม่ปรับตัวขึ้นหลังการลดดอกเบี้ยเป็นเพราะ ตลาดรับรู้และได้ปรับตัวมาก่อนหน้าแล้ว แต่ด้วยความเสี่ยงจากหลายด้าน อาทิเช่น ดอกเบี้ยนโยบายที่เหลือน้อย ความกังวลในเรื่องของ Yield curve จึงทำให้ตลาดปรับตัวลงมา
- Jerome Powell กำลังทำเหมือนผู้ว่าการ Fed คนเก่าอย่าง Ben Bernanke ที่ตอบสนองต่อตลาดขาลงอย่างรวดเร็วในยุค subprime แต่สถานการณ์ในตอนนี้ต่างกันลิบลับ เพราะในยุคของ Bernanke ด้วยการจัดการที่ยอดเยี่ยมเขาเหลือดอกเบี้ยนโยบายสำหรับการกระตุ้นถึง 3-4% ในขณะที่ Powell เหลือเพียง 1% ให้ใช้
- Fed อาจลดดอกเบี้ยในครั้งนี้เพื่อช่วยเหลือตลาดหุ้นให้ดำเนินต่อไปได้ ไม่ใช่เพื่อสนับสนุนพื้นฐานเศรษฐกิจ
- สรุปโดยรวม Fed ยังรับมือกับความเสี่ยงหลายอย่างมากเกินไป หากเทียบกับดอกเบี้ยที่เหลืออยู่น้อยนิด
มุมมองเกี่ยวกับตราสารหนี้
- ตราสารหนี้โดยเฉพาะตัวระยะยาว อาจต้องพึ่งพา Fed ให้ลดดอกเบี้ยอีกอย่างน้อย 75 basis points ถึงกลับมาได้ ซึ่งผลลัพธ์ที่น่าเศร้าก็คือ Fed จะเหลือดอกเบี้ยนโยบายเพียง 0.25% เท่านั้น
3 เครื่องมือหลักสำคัญสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจโลก
- การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม
- การใช้นโยบายการเงินร่วมกับประเทศอื่นๆ
- การปิดกั้นการเดินทางระหว่างประเทศ เพื่อควบคุมสถานการณ์ของไวรัสโคโรน่า
ทิศทางความเป็นไปของไทยหลังจากนี้
- อาจปรับประมาณการ การเติบโตของเศรษฐกิจลดลง โดยอาจอยู่ที่ราวๆ 1.5%
- นโยบายทางการคลังของไทย ณ ตอนนี้มีลูกเล่นเยอะมาก แต่ไม่ได้อยู่ในการควบคุมของแบงค์ชาติ จึงต้องดูการตัดสินใจจากภาครัฐ
- ถ้าเกิดภาวะถดถอยขึ้นจริง เครื่องมือกระตุ้นเศรษฐกิจของเราและของโลกอาจไม่เพียงพอ
ต่อมาเรามาเจาะลึกแบบเข้มข้นกันซักนิด ด้วยมุมมองการลงทุนแบบพื้นฐาน รวมถึงสินทรัพย์น่าลงทุนจากคุณ เจษฎา สุขทิศ (พี่เจ็ท Fundtalk)
มุมมองเกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยของสหรัฐ
- Fed อาจมองว่าเศรษฐกิจสหรัฐอาจจะไม่ไหวแล้ว จึงต้องลดดอกเบี้ย
- อาจมีการกระตุ้นจากการคลังเพิ่ม โดยโดนัลด์ ทรัมป์ เป็นหัวหอกหลัก
- เราอาจจะได้เห็น “QE4” หรือการอัดฉีดเงินเพิ่มในอนาคต หลังจากที่ Fed เคยใช้วิธีนี้ดึงตลาดกลับมาในช่วงวิกฤติ subprime
มุมมองเกี่ยวกับพื้นฐานเศรษฐกิจสหรัฐ
- ผลประกอบการไตรมาส 4 ที่ผ่านมาออกมาค่อนข้างดี โดยเฉพาะบริษัทกลุ่มเทคโนโลยี แต่หากผลประกอบการในอนาคตติดลบติดกัน 2 ไตรมาสติดเราอาจเข้าสู่ภาวะตลาดหมี (bear market) โดยตลาดอาจติดลบไม่แรงมากที่ราวๆ 20% และอาจฟื้นตัวกลับมาได้
- เราอาจไม่สามารถคาดการณ์อนาคตได้ แต่เราเรียนรู้จากอดีตได้ โดยในอดีตหากเป็นการระบาดของไข้หวัดอาจทำให้เศรษฐกิจถดถอยในระยะสั้นได้ แต่ระยะยาวอาจไม่
มุมมองหุ้นไทย
- ตลาดอาจ rebound กลับมาได้ในช่วง 3-6 เดือนที่ราวๆ 1,400 จุด แต่แนะนำให้ขายทำกำไร ณ จุดนั้น เพราะเนื่องจากกำไร (earnings) ของหุ้นไทยอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สู้ดีนัก
มุมมองหุ้นโลก
- โลกยังอาจไม่เข้าสู่ Great depression และเชื่อว่าขาลงของตลาดในครั้งนี้เป็นการปรับฐานและเป็นจังหวะทยอยเข้าสะสม โดยแนะนำหุ้นสหรัฐ และ หุ้นภูมิภาค Asia Ex. Japan (เอเชียไม่รวมญี่ปุ่น)
มุมมองตราสารหนี้
- แนะนำตราสารหนี้ระยะยาว กองทุนที่แนะนำคือ PHATRA G-UBOND และแนะนำให้ออกจากกองทุนตราสารหนี้ระยะสั้น
- ไม่แนะนำให้ลงทุนในตราสารหนี้เพื่อ hedge พอร์ตการลงทุน
มุมมองเกี่ยวกับ Property Fund and REITs
- อาจไปได้ต่อจากภาวะดอกเบี้ยตำ่เตี้ยเรี่ยดิน
มุมมองเกี่ยวกับทองคำ
- ทองคำน่าสนใจเป็นอย่างมาก จากปริมาณ ETFs ทองที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และเราอาจจะได้เห็นทองคำแตะราคาจุดสูงสุดเก่า
สรุปมุมมองการลงทุนจากคุณ เจษฎา สุขทิศ (พี่เจ็ท Fundtalk)
- แนะนำการลงทุนในหุ้นสหรัฐและกลุ่ม Asia Ex Japan, Property Fund and REITs, และทองคำ (เน้นว่าเยอะๆหน่อย)
ตบท้ายด้วยมุมมองการส่งออกของไทยเล็กๆน้อยๆ จากคุณกัญญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
- สถานการณ์ไวรัสโคโรน่าของจีนอาจส่งผลต่อภาคการส่งออกของไทยค่อนข้างมาก โดยยอดการส่งออกไปจีนในช่วง เดือน กุมภาพันธ์อาจลดลงไปถึง 75% และ 50% ในเดือนมีนาคม โดยรวมสองเดือนอาจลดลงถึง 60%
- แต่อย่างไรก็ตามหากจีนพลิกชะตากลับมาได้ สินค้าบางรายการของไทยอาจเกิด spike demand หรือความต้องการเพิ่มขึ้นมาอย่างก้าวกระโดด ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี
สำหรับเกมตลาดทุนแล้ว “Winners take all” คงเป็นคำนิยามที่ผมชอบที่สุด เพราะไม่ว่าคุณจะมีแบคหรือแนวคิดที่สุดยอดขนาดไหน คนที่ตัดสินใจสุดท้ายก็เป็นตัวคุณเองอยู่ดี ฉะนั้นหากคุณอยากเป็น The winner คุณก็ต้องกล้า take decision คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเป็นเพียงตัวช่วยในการตัดสินใจเท่านั้น ขอให้ทุกคนโชคดีครับ