หากว่ากันถึงหุ้นยอดนิยมหลาย ๆ คนอาจจะคิดถึงประเทศยักษ์ใหญ่อย่างสหรัฐฯ ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องเสมอมา หรือแม้แต่จีนเองที่ช่วงล่าสุดดูเหมือนจะมีความน่าสนใจสำหรับนักลงทุนหลาย ๆ ท่าน แต่ใครเล่าจะรู้ว่าหุ้นเอเชียเองก็มีความน่าสนใจเช่นเดียวกัน และมีกองทุนเจ๋ง ๆ ที่ทำผลตอบแทนได้เหนือค่าเฉลี่ยอีกด้วย ส่วนจะเป็นกองทุนอะไรนั้น อ่านไปพร้อม ๆ กันได้เลยครับ
1) PRINCIPAL APDI
เริ่มแรกถ้าพูดถึงกองทุนหุ้นเอเชียแล้ว ถ้าไม่พูดถึง PRINCIPAL APDI ก็คงจะไม่ได้
หนึ่งในกองทุนหุ้นเอเชียคัดเน้น รวมเสือแห่งภูมิภาคเอเชียไม่นับญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่เงียบงันมาก่อนหน้าหรือที่เราได้ยินนักลงทุนพูดกันจนติดหูว่า “Lost Decade” หรือทศวรรษที่สูญหาย
แต่ความน่าสนใจของ PRINCIPAL APDI นั้นไม่ได้อยู่ที่การคัดประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตเพียงอย่างเดียว จริง ๆ แล้วทางกองทุนยังมีแง่มุมสุดพิเศษที่น่าสนใจอีกมากมาย… พิสูจน์ผ่านข้อมูลด้านล่างได้เลยครับ
ส่วนผสมหลักในการลงทุน
กองทุน PRINCIPAL APDI มีความโดดเด่นอย่าง “ความไร้ขอบเขตในภูมิภาค” หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้จัดการกองทุนสามารถเลือกหุ้นตัวใดก็ได้ในภูมิเอเชีย ที่เข้าตาและเข้าเกณฑ์การวิเคราะห์ว่ามีศักยภาพ ไม่ยึดติดว่าหากนึกถึงเอเชียต้องเป็นเพียง “จีน” ประเทศยักษ์ใหญ่แต่เพียงเท่านั้น ซึ่งกระบวนการเลือกหุ้นแบบตัวต่อตัวนั้นจะถูกอธิบายในโมเดลการคัดเลือกหุ้นต่อไป
ภาพแสดงสัดส่วนการลงทุนล่าสุดของกองทุน PRINCIPAL APDI ที่มา: Morningstar วันที่ 30 กันยายน 2020
จากภาพจะเห็นได้ว่ามีการให้น้ำหนักหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีซึ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นหุ้นกลุ่มผู้นำในตอนนี้อย่างแท้จริง ที่มีศักยภาพอันโดดเด่นอย่างการเติบโตทางรายได้ รวมถึงความยืดหยุ่นในช่วงวิกฤติและยืนหยัดได้เหนือหุ้นกลุ่มอื่น ๆ แต่ถึงอย่างนั้นทางกองทุนเองก็ได้มีการลงทุนเชิงรับอย่างการลงทุนใน REITs ต่าง ๆ เพื่อลดความผันผวนในช่วงขาลง
เมื่อเห็นดังนี้แล้วก็คงไม่ต้องอธิบายกันเยอะแล้วว่า ผู้จัดการกองทุนแต่ละท่านเอาใจใส่ในการเลือกสินทรัพย์ขนาดไหน หลังปรับการจัดสินทรัพย์ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
ปรัชญาการลงทุนมีสไตล์และเอกลักษณ์ที่โดดเด่นชัดเจน
ใช้การเลือกหุ้นเติบโตผสมผสานไปกับหุ้นปันผลพื้นฐานเยี่ยม สร้างการเติบโตในช่วงตลาดขึ้น พร้อมปกป้องความเสี่ยงขาลงไปกับหุ้นปันผล หรือ แม้แต่ REITs (อสังหาริมทรัพย์)
เลือกหุ้นแบบ Bottom-up คัดเน้นตัวต่อตัว
หากใครเป็นแฟนคลับคุณ A. Stotz เจ้าของพอร์ต All Weather Strategy อันเลื่องชื่อ การเลือก PRINCIPAL APDI ก็อาจจะเหมาะสมคู่ควรกับคุณเช่นกัน
ด้วยการใช้โมเดลการวิเคราะห์แบบ FVM ซึ่งคล้ายคลึงกับโมเดล FVMR ของคุณแอนดรูว์โดย…
F = ปัจจัยพื้นฐาน (Fundamental)
V = ปัจจัยเชิงมูลค่า (Valuation)
M = แรงซื้อของเงินลงทุน (Momentum)
ซึ่งการเลือกหุ้นแบบพิถีพิถันนี้ก็ไม่ทำให้ผิดหวัง ช่วงเวลาที่ผ่านมา การสูญเสียผลตอบแทนน้อยกว่าดัชนีหุ้นเอเชียไม่รวมญี่ปุ่นอย่าง MSCI Asia Ex Japan
ผลตอบแทนติดลบแปลว่ากองทุนนั้นแย่จริงหรือ?
ความจริงก็คือความจริง คงปฏฺิเสธไม่ได้ว่าในช่วงที่ผ่านมาเร็ว ๆ นี้ทางกองทุนอาจมีผลการดำเนินงานที่ดูเผิน ๆ อาจจะไม่ดีนัก แต่หากเราเทียบกับดัชนีหุ้นเอเชียทั้งภูมิภาคอย่าง (MSCI Asia Ex Japan) แล้ว PRINCIPAL-APDI ไม่ได้เป็นสองรองใครแน่นอน และยังรักษาผลตอบแทนทั้งในช่วงขาขึ้นและขาลงให้เหนือกว่าดัชนีรวมได้ ทั้ง ๆ ที่ทางกองทุนเองไม่ได้ใช้หลักการเทียบเคียงผลตอบแทนกับดัชนีเพียงอย่างเดียว
ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปีของกองทุน PRINCIPAL APDI (เส้นสีนำ้เงิน) กับ ดัชนี MSCI Asia Pacific Ex Japan (เส้นสีแดง) ที่มา: Morningstar วันที่ 31 มกราคม 2021
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
เมื่อเห็นข้อพิสูจน์ผ่านวิกฤติล่าสุดมากับตาแล้วก็คงปฏิเสธไม่ได้ว่า PRINCIPAL APDI น่าจะเป็นหนึ่งตัวเลือกในการลงทุนที่ยอดเยี่ยม สำหรับผู้ที่สนใจลงทุนในหุ้นเอเชียระยะยาว
ดังนั้นช่วงเวลานี้จะถือว่าเป็น “โอกาส” ในการเข้าลงทุนก็ว่าได้หลังของดีมีคุณภาพอย่าง PRINCIPAL APDI ได้ลงมาให้เราเข้าซื้อ!!
ภาพแสดงการให้คะแนนของ Morningstar ที่มา: Morningstar วันที่ 19 กรกฎาคม 2020
“การันตีคุณภาพ 5 ดาวโดย Morningstar!”
2) MATECH-A
มาต่อกันสำหรับกองทุนที่สองถัดมา ที่ถือว่าเป็นน้องใหม่ไฟแรง ทำผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่นในช่วงวิกฤติที่ผ่านมา ที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีดูจะเป็นพระเอกหลักฉุดกระชากตลาดหุ้นให้กลับมาได้ ซึ่งกองทุนที่ว่านั้นก็คือ MATECH-A กองทุนหุ้นเทคโนโลยีเอเชียที่มาแรงแซงทางโค้งกองทุนหุ้นเอเชียอื่น ๆ ในช่วงปี 2020 ที่ผ่านมา แม้จะมีการเปลี่ยนชื่อกองทำให้ผลตอบแทนในตอนนี้อาจดูไม่ดีนัก
ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังนับตั้งแต่จัดตั้งของกองทุน MATECH-A ที่มา: FINNOMENA Fund วันที่ 28 มกราคม 2021
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ทำไมหุ้นเทคโนโลยีถึงได้โดดเด่นกว่าหุ้นกลุ่มอื่น ๆ
1) เติบโตได้อย่างรวดเร็ว
เนื่องจากหุ้นเทคโนโลยีไม่ต้องมีกระบวนการยุ่งยากมากมายเช่นเดียวกับธุรกิจอื่น ๆ อย่างเช่นธุรกิจ ซอฟต์แวร์ที่ไม่ต้องรอการผลิต ตั้งหน้าร้านให้วุ่นวายเห็นผลกำไรได้ทันที ทำให้วัดผลสำเร็จและพัฒนาต่อเนื่องได้รวดเร็วยิ่งกว่า
2) หนี้สินที่น้อยกว่า
หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีไม่ได้มีส่วนหนี้สินที่มากบานเต่อเหมือนเช่น ธุรกิจอื่น ๆ ที่อาจจะต้องใช้การกู้ยืมเสริมแรง ซึ่งจะส่งผลเสียในช่วงวิกฤติหากขาดรายได้และธนาคารมาไล่เก็บดอกเบี้ย ซึ่งเป็นเหมือนการตอกยํ้าซํ้าแผลเข้าไปอีก
3) ไม่ยึดติดว่าต้องจ่ายปันผล
เนื่องด้วยหุ้นเทคโนโลยีเป็นหุ้นเติบโต จึงไม่จำเป็นต้องเน้นการจ่ายปันผลในอัตราสูง ๆ เพื่อดึงดูดเงินทุน เพราะ เพียงการเติบโตของราคาก็เรียกได้ว่า เอาชนะขาดหุ้นปันผลมั่นคง ได้สบาย ๆ
รายละเอียดกองทุนที่ถือครอง ณ ปัจจุบัน
ภาพแสดงสัดส่วนการลงทุนของกองทุน MATECH-A ที่มา: M-ATECH-A Fund Fact Sheet วันที่ 14 มกราคม 2021
หลัก ๆ แล้วลงทุนในกองทุนต่างประเทศอย่าง Wellington Asia Technology Fund
สไตล์การลงทุน
เน้นการเติบโตในระยะยาวผ่านการเลือกหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีอันโดดเด่นที่กำลังเติบโตในเอเชีย เช่น บริษัทผลิต Semiconductors ต่าง ๆ บริษัทผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และบริษัทซอฟต์แวร์
ไฮไลท์การจัดการ
- ไม่จำกัดตัวตนอยู่ภายใต้การลงทุนในหุ้นใหญ่เพียงอย่างเดียว มีการกระจายการลงทุนอย่างทั่วถึงในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยี
- ขับเคลื่อนการเลือกหุ้นด้วยปัจจัยพื้นฐาน เฟ้นหาหุ้นเทคโนโลยีที่มีศักยภาพ และเข้าลงทุนในช่วงแรกของการเติบโต เพื่อผลตอบแทนที่สูงกว่า
- กองทุนจัดการโดยผู้เชี่ยวชาญหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในเอเชีย พร้อมด้วยการเข้าถึงบริษัทที่ลงทุนได้อย่างใกล้ชิด
ผลตอบแทน
เนื่องจากตัวกองแม่เองเพิ่งเปิดได้ไม่นานนัก (ปี 2018) ซึ่งว่ากันตามตรงผลตอบแทนย้อนหลังคงยังบอกอะไรไม่ได้มาก
แต่ถึงอย่างนั้นตัวกองทุนเองก็ยังสามารถทำผลตอบแทนเหนือดัชนีเทียบเคียงได้มาโดยตลอด
ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุนแม่ Welling Asia Technology Fund ที่มา: Wellington วันที่ (หมายถึงสิ้นสุดการคำนวณผลตอบแทน) 2020
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ข้อควรระวัง: ขนาดกองทุนที่อาจจะยังเล็กอยู่
ภาพแสดงมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน MA-TECH ที่มา: FINNOMENA Fund วันที่ 28 มกราคม 2021
จากภาพจะเห็นได้ว่ามีเม็ดเงินลงทุนเข้ามาเป็นจำนวนมากก็จริง แต่ขนาดของกองทุนเองก็ยังไม่ได้มีขนาดใหญ่มากอยู่ที่ราว ๆ 200 ล้านบาท ดังนั้นอาจต้องระวังความเสี่ยงในเรื่องของการปิดกองด้วย ถึงแม้กองทุนขนาดเล็กจะมีความคล่องตัวในการจัดการเงินทุนที่มากกว่า
3) TMBAGLF
มาถึงกองทุนยอดนิยมอันดับที่ 3 กันแล้ว และกองทุนนั้นก็คือ TMBAGLF ที่เน้นการลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย (Emerging Market) โดยมีเป้าหมายสำคัญอย่างการเอาชนะดัชนีอย่าง MSCI Emerging Markets Asia (ดัชนีผลตอบแทนรวมกลุ่มตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย) ส่วนเบื้องลึกเบื้องหลังจะเป็นเช่นไรติดตามชมข้อมูลด้านล่างได้เลย!
รายละเอียดกองทุนที่ถือครอง ณ ปัจจุบัน
ภาพแสดงสัดส่วน Sector และ ภูมิภาค การลงทุนหลักของกองทุนแม่ Schroder International Selection Fund: Emerging Asia ที่มา: Schroder วันที่ 31 ธันวาคม 2020
หลัก ๆ แล้วมีการลงทุนในกองทุนต่างประเทศเพียงกองเดียว โดยลงทุนใน Schroder International Selection Fund Emerging Asia โดยตัวกองแม่นั้นมีการลงทุนในหุ้นจีนกลุ่มเทคโนโลยีเป็นหลัก ซึ่งเป็น กลุ่มที่พิสูจน์ผ่านช่วงวิกฤติที่ผ่านมาแล้วว่าเติบโตได้อย่างทนทาน ยอดเยี่ยม
สไตล์การลงทุน
เน้นลงทุนในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย โดยลงทุนในสัดส่วนอย่างน้อย 2 ใน 3 ขึ้นไปในกลุ่มประเทศดังกล่าว โดยอาจลงทุนโดยตรงในหุ้นจีน B-shares และ H-shares และอาจมีการลงทุนโดยใช้ตราสารอนุพันธ์* (Derivatives) ในหุ้นจีน A-shares ในสัดส่วนที่น้อยกว่า 30% ของสินทรัพย์ทั้งหมด และอื่น ๆ
*พวก Futures หรือใช้ Leverage (อัตราทด) เพื่อเร่งผลตอบแทน
ผลตอบแทน
ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลัง 5 ปีของกองทุน Schroder International Selection Fund: Emerging Asia (เส้นสีนำ้เงิน) กับ ดัชนี MSCI EM Asia (เส้นสีม่วง) และ Morningstar Asia Ex Japan Equities Sector ที่มา: Schroder วันที่ 31 ธันวาคม 2020
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
ผลตอบแทน 5 ปีย้อนหลังก็ถือว่าอยู่ในระดับที่ยอดเยี่ยมโดยสร้างผลตอบแทนไปราว ๆ 60% หรือคิดเฉลี่ยกลม ๆ คร่าว ๆ ที่ 12% ต่อปี
ภูมิภาคเอเชียจะกลับมาได้หรือไม่?
มาถึงจุดนี้หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าเศรษฐกิจของทางเอเชียจะยังไปต่อได้อีกหรือไม่? ซึ่งเราก็จะมาสืบดูผ่านมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ยังเหลืออยู่และการประเมินมูลค่าคร่าว ๆ กัน
1) การใช้จ่ายภาครัฐ ในการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อาจขยายตัวได้อีก
ภาพแสดงสัดส่วนหนี้ภาครัฐต่อ GDP ของประเทศในเอเชีย ที่มา: Nikkei Asian Review วันที่ 19 พฤษภาคม 2020
หากไม่นับอเมริกาประเทศที่พิมพ์เงินได้อย่างอิสระและดูแล้วอาจจะไม่สนใจเรื่องการก่อหนี้ของตัวเองเท่าไรนัก เอเชียจะเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่น่าสนใจเป็นอย่างมากเนื่องด้วยหนี้สาธารณะต่อ GDP ที่ไม่สูง จึงอาจทำให้ทางรัฐยังสามารถอีดฉีดเงินเข้าระบบให้ผู้คนจับจ่ายใช้สอย กู้ยืมทำธุรกิจได้มากขึ้น
และหากดูจากภาพข้างต้นญี่ปุ่นอาจจะดูเป็นประเทศที่มีหนี้ภาครัฐต่อ GDP ที่สูง แต่หากเทียบกับกองทุนที่แนะนำข้างต้นก็ไม่ได้มีการลงทุนในญี่ปุ่นเป็นหลักแต่อย่างใด
2) ความน่าสนใจในเชิงมูลค่า (Valuation)
ภาพแสดงผลตอบแทนของดัชนีหุ้นภูมิภาคเอเชีย (เส้นสีขาว) เทียบกับดัชนีหุ้นภูมิภาคยุโรป STOXX 600 (เส้นสีนำ้เงิน) และดัชนีหุ้นอเมริกา S&P 500 (เส้นสีส้ม) ที่มา: Schroder วันที่ 16 กรกฎาคม 2020
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
จากภาพจะเห็นได้ว่าผลตอบแทนของหุ้นเอเชีย (เส้นสีขาว) นั้นยังมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ทั้งนี้และทั้งนั้นในส่วนของผลตอบแทนหุ้น (Earning yield) ตามภาพข้างต้น หากว่าง่าย ๆ ก็คือส่วนกลับของค่า PE ที่ใช้วัดความถูกแพงของหุ้น
จบกันไปนะครับสำหรับรีวิวกองทุนหุ้นเอเชียยอดนิยม ก็คงต้องทิ้งท้ายไว้ว่า ความนิยมนั้นอาจไม่ได้หมายถึงว่ากองทุนนั้นจะเป็นกองทุนที่มีศักยภาพโดดเด่นในอนาคตเสมอไป
ดังที่ Warren Buffett ได้กล่าวว่า
“จงลงทุนในตัวคุณเอง”
ยังไงก็ลองใช้ข้อมูลข้างต้นที่ทางผมได้จัดเตรียมมา ประกอบการตัดสินใจเลือกลงทุนกันดูนะครับ
ขอให้ทุกคนโชคดีครับ
Mr. Serotonin
*ข้อมูลความนิยมอิงจากการค้นหาใน FINNOMENA Fund
Jessada Sookdhis
Investment Analyst (IA)
ตรวจทานบทความ
คำเตือน
ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลสำคัญของกองทุนโดยเฉพาะนโยบายกองทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุน โดยสามารถขอข้อมูลจากผู้แนะนำก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน I ข้อมูลและการคาดการณ์ที่ปรากฏในบทความนี้จัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลในอดีตร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน แต่ทั้งนี้ไม่อาจรับรองความสมบูรณ์แท้จริงและความแม่นยำของการวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคตได้ กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มเทคโนโลยี ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT | สำหรับผู้ลงทุนในความดูแลของ Kept by krungsri ติดต่อทีม Kept help center ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 296 6299
References
https://www.morningstarthailand.com/th/funds/snapshot/snapshot.aspx?id=F00000OT55&tab=13
https://www.schroders.com/getfunddocument/?oid=1.9.62137
https://www.wellingtonfunds.com/gb/en/institutional/funds/Asia-Technology-Fund/USD-S-Acc-6Q47/