หากใครสนใจลงทุนในหุ้นนอกตลาด (Private Equity) แบบเท่ห์ ๆ คูล ๆ คนรู้จักเยอะ ๆ และยังไม่แพง ABPCAP ถือเป็นอีกหนึ่งกองทุนทางเลือกที่ไม่ควรพลาดทั้งสำหรับนักลงทุนสาย Value เน้นมูลค่าไปจนถึงสายเติบโตที่ต้องการรับโอกาสสร้างผลตอบแทนเพิ่มเติม กระจายความเสี่ยงของพอร์ต
กองทุนหน้าตาเป็นแบบไหน? คอนเซปต์เป็นอย่างไร? ไปดูกันเลย!!
ทำไมหุ้นแบบ Private Equity นอกตลาดถึงน่าลงทุน?
- หุ้นนอกตลาดมีโอกาสสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่มได้สูง (Upside return) และอาจมีความเสี่ยงขาลง (Downside risk) ที่จำกัดจากระดับราคาที่ไม่สูง หากวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้อง
- หุ้นนอกตลาดอาจจำกัดการเข้าถึงกับคนทั่วไปก็จริง แต่มองกลับกันแล้วการที่คนเข้ามาได้ไม่เยอะก็อาจช่วยให้ความผันผวนของราคาลดลงได้เช่นกัน เพราะ ยิ่งคนเข้ามาซื้อขายมากราคาก็ย่อมผันผวนมากขึ้นเนื่องจากราคาเป็นสิ่งที่สะท้อนพฤติกรรมของมนุษย์เรา
- อุ่นใจจากกระแสของข่าวร้าย เนื่องจากหุ้นนอกตลาดอาจเป็นหุ้นที่คนไม่สนใจมากนักจึงอาจทำให้คุณเห็นข่าวร้ายน้อยลงลดการตกใจขาย (Panic sell) ช่วยให้คุณลงทุนอย่างสงบสุขและโฟกัสกับการลงทุนในระยะยาวโดยแท้จริงได้มากขึ้น
โปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ เปิดบัญชีลงทุนครั้งแรกกับ FINNOMENA รับหน่วยลงทุน PCASH มูลค่า 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. – 31 พ.ค. 65 คลิก https://finno.me/havefund-promotion
คอนเซปต์การลงทุนของกองทุน ABPCAP
- เน้นลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนนอกตลาด (Private Equity)
- เน้นปรัชญาการลงทุนแบบให้ความสำคัญกับมูลค่าของหุ้น พยายามเข้าซื้อสินทรัพย์ในระดับราคาที่คิดว่าต่ำกว่ามูลค่าจริง ๆ ช่วยลดความเสี่ยงขาลงและเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่ม
- เน้นลงทุนในหุ้นนอกตลาดที่มีสภาพคล่องสูง ช่วยให้โยกย้ายเงินทุนได้สะดวก ลดโอกาสเงินติดเงกในกองถอนไม่ได้ลงไป
- เฟ้นหาหุ้นมีทรงที่บริษัทจะเคลื่อนไหวอะไรใด ๆ ที่เป็นประโยชน์ เช่น ขยับขยายเพิ่มเติมแล้วตลาดอาจจะยังไม่รับรู้?
- เข้าพบพูดคุยกับบริษัทที่เข้าไปลงทุนต่อเนื่อง (Company visit) อารมณ์เข้าไปพูดคุยกับบอร์ดผู้บริหาร ผู้บริหารรวมไปถึงผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอใกล้ชิด ช่วยให้เข้าใจบริษัทอย่างแท้จริงมากขึ้น
ลงทุนแบบซื้อต่ำ ขายสูงหน้าตาเป็นแบบไหน? ดียังไง?
ภาพแสดงขั้นตอนการลงทุนของกองทุนแบบเน้นซื้อต่ำขายสูงผ่านการลงทุนแบบ Private debt ของกองทุน ที่มา: เอกสารนำเสนอการขายกองทุน ABPCAP ณ เดือน กุมภาพันธ์ 2022
- จากภาพข้างต้นเราจะเห็นได้ว่ากองทุนเน้นหลีกเลี่ยงการลงทุนที่ร้อนแรงเกินไปและอาจส่งผลให้เกิดการติดดอยได้
- เริ่มแรกช่วงที่หุ้นมีการ IPO ซึ่งตามปกติหุ้นพวกนี้จะมีระดับราคาที่ร้อนแรง กองทุนก็จะเลือก Watch หรือรอดูเฉย ๆ ไปก่อน
- จากนั้นหลังกระแสความบูมลดลงจนราคาลดลง และอัตราผลตอบแทนสูงขึ้นตามกลไก กองทุนก็จะเริ่มทยอยสะสม
- จากนั้นหากกระแสบูม ๆ เกิดขึ้นอีกครั้ง กองทุนก็จะตามขายทำกำไร และสะสมอีกครั้งตอนราคาลดลง โดยในช่วงที่ระดับราคาอยู่ใกล้ ๆ มูลค่าที่ประเมินกองทุนก็จะถือไปก่อนเฉย ๆ
สัดส่วนภูมิภาคและอุตสาหกรรมหลักที่ลงทุน
ภาพแสดงสัดส่วนภูมิภาคหลักที่ลงทุนและสินทรัพย์หลักที่ลงทุน ที่มา: เอกสารนำเสนอการขายกองทุน ABPCAP ณ เดือน กุมภาพันธ์ 2022
สัดส่วนภูมิภาคหลักที่ลงทุนยังคงเน้นไปที่ประเทศอย่างสหรัฐฯ ประเทศแห่งความมั่งคั่ง อุดมไปด้วยเทคโนโลยีขับเคลื่อนโลก และนโยบายสนับสนุนที่อัดฉีดได้อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงกลุ่มภูมิภาคเก่าแต่เก๋าอย่างยุโรปที่ไม่เป็นสองรองใคร
ทางด้านสินทรัพย์หลักที่ลงทุนจะเน้นหลัก ๆ ไปที่สองส่วน ก็คือ หุ้นนอกตลาด (Private equity) รวมไปถึงบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการคัดเลือกหุ้นนอกตลาด (Listed managers)
รีวิวหุ้นหลักที่ลงทุน
- 3i Group (สัดส่วน 7.30%): บริษัทสัญชาติอังกฤษผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการลงทุนในหุ้นนอกตลาดที่มีโมเดลการทำธุรกิจที่มีคุณภาพดีและหุ้นกลุ่มโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่เปรียบเสมือนกระดูกสันหลังและเป็นของจำเป็นในทุกประเทศทั่วโลก
- Intermediate Capital Group (สัดส่วน 6.50%): บริษัทจัดการการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นหุ้นนอกตลาด หนี้สินภาคเอกชน สินทรัพย์รวมถึงหนี้สินต่าง ๆ
- KKR & Co (สัดส่วน 6.40%): บริษัทจัดการการลงทุนทั่วโลกให้บริการด้านการจัดการสินทรัพย์รวมถึงประกัน มีปรัชญาการลงทุนที่เน้นวินัยและการอดทนรอจังหวะที่เหมาะสม เน้นคัดบุคลากรที่มีคุณภาพเข้ามาบริหารจัดการ
- Brookfield Asset Management (สัดส่วน 6.30%): บริษัทจัดการสินทรัพย์ที่มีประวัติยาวนานมากว่า 100 ปี มีสินทรัพย์ภายใต้การจัดการ (AUM) ราว 6.9 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ เน้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีลักษณะเป็นหัวใจสำคัญของระบบเศรษฐกิจ
- Apollo Global Management (สัดส่วน 6.20%): บริษัทจัดการสินทรัพย์ทั้งหุ้น สินทรัพย์ผสมรวมถึงสินทรัพย์ประเภทสร้างผลตอบแทนปันผลต่อเนื่อง รวมถึงให้บริการออกแบบการลงทุนเกษียณตามความต้องการของแต่ละคนไปจนถึงพอร์ตการลงทุนสร้างกระแสเงินสดกิน Passive income
ผลตอบแทนย้อนหลัง
ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุน Aberdeen Standard SICAV I -Listed Private Capital Fund ที่มา: เอกสารนำเสนอการขายกองทุน ABPCAP ณ เดือน กุมภาพันธ์ 2022
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- กองทุนหลักทำผลงานย้อนหลังอย่างโดดเด่นในในช่วงที่ผ่านมาเหนือเกณฑ์ชี้วัดเทียบเคียง (Benchmark)
ผลงานดีทะลุความผันผวนเรื่องเงินเฟ้อและการทำ QT ของ Fed
ภาพแสดงผลตอบแทนย้อนหลังของกองทุน Aberdeen Standard SICAV I -Listed Private Capital Fund ในช่วงที่ตลาดมีปัจจัยกดดันให้เกิดความผันผวน ที่มา: เอกสารนำเสนอการขายกองทุน ABPCAP ณ เดือน กุมภาพันธ์ 2022
ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต
- จากภาพจะเห็นได้ว่าในช่วงที่ตัวเลข CPI ปรับตัวขึ้นหลังวิกฤต Subprime รวมไปถึงช่วงที่ Fed ทำการขึ้นดอกเบี้ยถึง 9 ครั้งกองทุนก็ยังสามารถเติบโตได้
สรุปจุดเด่นกองทุน ABPCAP
- เน้นลงทุนในหุ้นนอกตลาดที่มีความเชี่ยวชาญในการจัดการสินทรัพย์เป็นหลัก (ตามสัดส่วน ณ ปัจจุบัน)
- มีปรัชญาการบริหารแบบเน้นมูลค่า ซื้อต่ำ ขายสูง
- เน้นบริหารรอจังหวะ เวลา โอกาส ที่เหมาะสมถึง Take action ต่าง ๆ
- ทำผลงานโดดเด่นในช่วงที่เกิดเงินเฟ้อและเกิดการทำ QT ของ Fed
- เน้นสภาพคล่องซึ่งเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญของการบริหารหุ้นนอกตลาดหลักทรัพย์ที่อาจยังมีสภาพคล่องไม่มากนัก
กองทุน ABPCAP เหมาะกับนักลงทุนแบบไหน
- เหมาะสำหรับนักลงทุนผู้ชื่นชอบการลงทุนแบบเน้นมูลค่าไปจนถึงนักลงทุนที่สนใจในแนวทางดังกล่าว
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการเพิ่มลูกเล่นให้พอร์ตการลงทุนผ่านการลงทุนในหุ้นนอกตลาด
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในหุ้นนอกตลาดแต่มีความกังวลเรื่องสภาพคล่องซื้อขาย
- เหมาะสำหรับนักลงทุนที่อยากเตรียมพร้อมรับมือการดำเนินนโยบายที่เข้มขึ้นของ Fed
นโยบายการลงทุนของกองทุน ABPCAP
- เน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Aberdeen Standard SICAV I -Listed Private Capital Fund (กองทุนหลัก) โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อย กว่า 80% ของ NAV โดยกองทุนมีความเสี่ยงอยู่ที่ระดับ 6 นโยบายป้องกันความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นไปตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
ค่าธรรมเนียมและเงินลงทุนขั้นต่ำของกองทุน ABPCAP
- ค่าธรรมเนียมซื้อ: 1.5000%
- ค่าธรรมเนียมขาย: ยกเว้น
- ค่าธรรมเนียมการจัดการ: 1.8725%
- ลงทุนขั้นต่ำครั้งแรก: 1,000 บาท
- ลงทุนขั้นต่ำครั้งถัดไป: 1,000 บาท
- มูลค่าขั้นต่ำของการขายคืน: 1,000 บาท
ขอให้ทุกคนโชคดีครับ
Mr. Serotonin
หมายเหตุ: กองทุน ABPCAP-A เสนอขาย IPO ในช่วงวันที่ 18 – 29 เมษายน 2565 โดยสามารถซื้อได้ผ่านแอปฯ FINNOMENA
โปรโมชั่นพิเศษสำหรับลูกค้าใหม่ เปิดบัญชีลงทุนครั้งแรกกับ FINNOMENA รับหน่วยลงทุน PCASH มูลค่า 100 บาท ตั้งแต่วันที่ 16 มี.ค. – 31 พ.ค. 65 คลิก https://finno.me/havefund-promotion
ถ้านักลงทุนคนไหนสนใจลงทุนกองทุน ABPCAP ในตอนนี้กองทุนมีให้เลือก 2 รูปแบบ คือ แบบสะสมมูลค่า ABPCAP-A และแบบประหยัดภาษี ABPCAP-SSF
คำเตือน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน | ผลการดำเนินงานในอดีต และผลการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ในตลาดทุน มิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต | กองทุนนี้ลงทุนกระจุกตัวในหมวดอุตสาหกรรมและประเทศที่ลงทุน จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนจึงควรพิจารณาการกระจายความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุนโดยรวมของตนเองด้วย | ผู้ลงทุนอาจมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากการป้องกันความเสี่ยงขึ้นอยู่กับดุลพินิจของผู้จัดการกองทุน | สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือขอรับหนังสือชี้ชวนได้ที่บริษัทหลักทรัพย์นายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุน ฟินโนมีนา จำกัด ในช่วงเวลาวันทำการตั้งแต่ 09:00-17:00 น. ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02 026 5100 และทาง LINE “@FINNOMENAPORT”
References
เอกสารนำเสนอการขาย ABPCAP สำหรับช่วง IPO ในวันที่ 28 มีนาคม – 8 เมษายน 2022