เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 4 ปีทีเดียว สำหรับทางการจีน ที่พยายามผลักดันให้ตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่สามารถเข้าไปคำนวนอยู่ในตะกร้าดัชนีที่เรียกว่า MSCI ให้ได้
ถ้าถามว่า ทำไมจีนต้องการให้หุ้นในจีนเข้าไปคำนวนใน MSCI ให้ได้ ก็ต้องย้อนกลับไปดูความสำคัญของดัชนี MSCI นะครับ
MSCI Index คือ ดัชนีวัดผลตอบแทนตลาดหุ้น แบ่งเป็นรายภูมิภาค หรือ รายประเทศ โดย MSCI ย่อมาจาก Morgan Stanley Capital International ชื่อก็บอกอยู่แล้วนะครับว่า Morgan Stanley เป็นผู้คำนวน โดยเริ่มคำนวนตั้งแต่ปี 1968 จนถึงปัจจุบัน มีดัชนีที่นำหน้าด้วย MSCI (คำนวนโดย MSCI) มากกว่า 160,000 ดัชนีไปแล้วจนถึงตอนนี้
MSCI Indexes นี่พอมีการคำนวนมากขึ้น นิยมมากขึ้น ก็มีเหล่าผู้จัดการกองทุนเอาตัวดัชนีนี้มาทำเป็น Exchange Traded Funds หรือที่เรารู้จักกันว่า “ETF”
ใช่ครับ สิ่งที่ทางการจีนหวังก็คือ พอ A-Shares เข้าคำนวนใน MSCI แล้ว น่าจะดึงดูดเงินจากทั่วทุกมุมของโลกไหลเข้ามาลงทุนได้อีกมหาศาลหลังจากนี้ และข่าวดีก็คือ จีนทำสำเร็จแล้ว หลังจากผลักดันมานาน ซึ่งเป็นผลมาจากที่ทางจีนผ่อนคลายเกณฑ์ให้ต่างชาติเข้าถึงมากขึ้น มีความโปร่งใสมากขึ้น และสภาพคล่อง การซื้อขายใน A-Shares ก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ทาง MSCI จึงเห็นว่า ได้เวลาแล้วสำหรับ A-Shares ที่จะมาอยู่ในการคำนวน MSCI รอบนี้
แต่ประเด็นคือ หุ้นในตลาด A-Shares จะเข้าไปคำนวนเพียง 222 ตัวเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด และไม่ให้มีผลกระทบต่อการคำนวน MSCI มากเกินไป ทาง MSCI แจ้งจะ จะทยอยเพิ่มน้ำหนัก โดยในรอบแรกจะ A-Shares เข้าไปคำนวนเพียงเพียงแค่ 5% ของ Market Cap ทั้งหมดใน หุ้น 222 ตัวที่ได้รับเข้าคำนวน ก็แปลว่า จะเพิ่มนำหนักใน MSCI เพียงแค่ 0.85% เท่านั้นในปีหน้า และค่อยๆ ทยอยปรับขึ้นหลังจากนั้น ดังนั้นสิ่งนี้จึงถือว่าเป็นพัฒนาการที่สำคัญทีเดียว
สำหรับนักลงทุนในหุ้นจีน ถ้าสนใจธีมการลงทุนเรื่องการเข้าคำนวน MSCI แนะนำให้ดูกองทุนที่พยายาม Track ดัชนี CSI 300 Index ซึ่งเป็นดัชนีที่ประกอบด้วยหุ้น A-Shares 300 หุ้น ซึ่งจดทะเบียนอยู่ที่ ตลาดหลักทรัพย์เซินเจิ้น และ/หรือ ตลาดหลักทรัพย์เซี่ยงไฮ้ โดยคัดเลือกจากหุ้นทั้งหมดกว่า 1,800 หลักทรัพย์ โดยหุ้น 300 หลักทรัพย์นี้ เป็นตัวแทนประมาณ 60% ของ Market Cap รวมทั้ง 2 ตลาดหลักทรัพย์ แน่นอนว่า เกินกว่าครึ่งหนึ่งของหุ้นใน CSI 300 นั้นเข้าไปคำนวนใน MSCI ด้วย จึงได้ประโยชน์จากการเข้าคำนวน MSCI
จริงๆ การเข้าคำนวน MSCI เป็นแค่ก้าวเล็กๆในอีกหลายๆก้าวที่จีนทำมาตลอดนะครับ ไม่ว่าจะเป็น การที่ IMF พิจารณาให้ ‘เงินหยวน’ เข้าไปอยู่ในตะกร้าเงินที่เรียกว่า “Special Draw Rights (SDRs)” เมื่อปลายปี 2015
รวมถึง การประกาศแผนปฏิรูปการเงินรวมตลาดหุ้น “เซินเจิ้น-ฮ่องกง” เร่งสู่สากล เชื่อมตลาดหุ้นเสิ่นเจิ้น-ฮ่องกง ให้นักลงทุนทั้งสองประเทศ สามารถเข้าถึงการลงทุนได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น สิ่งนี้ก็เพื่อปูทางให้หุ้นจีนเข้าคำนวนใน MSCI ได้มากขึ้นอีก
ในมุมมองส่วนตัวของผู้เขียน มองว่า นโยบายภาพใหญ่ๆของจีน รวมถึงนโยบายด้านทุนนิยมเสรีนี้ แนวคิดของชาวตะวันตก อาจมองว่า ขัดจากความเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ของจีน และยิ่งเปิดตลาดเสรี อาจทำให้อำนาจของพรรคลดลง และมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น … แต่การเปิดเสรีแบบนี้ นักคิดทางฝั่งตะวันออกหลายคน ก็บอกว่า นี่ละ คือ เครื่องมือในการรักษาอำนาจไว้ได้ต่อไป โดยกำหนดกรอบนโยบาย และกฏหมายไว้หลวมๆ และเอื้อให้เกิดนวัตกรรม และการแข่งขัน ผลลัพธ์คือ จะสร้างความมั่งคั่งแก่ชาวจีนโดยรวม และทำให้ประชาชนมีความสุขภายใต้การปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์นั้นเองนะครับ
สำหรับใครสนใจลงทุนในจีนผ่านดัชนี CSI 300 ก็ลองดู SCBCHA ครับ
กองทุน SCBCHA หรือ SCB CHINA A-SHARES FUND ไปลงทุนใน Master Fund ที่เป็น ETF ชื่อว่า ChinaAMC CSI 300 Index ETF ซึ่งมีการจดทะเบียนอยู่ที่ตลาดฮ่องกง และลงทุนเป็นรูปสกุลเงินหยวน มีเป้าหมายคือ ต้องการ Tracking ดัชนี CSI 300 ของตลาดหุ้นจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเอง
โดยหุ้น 10 ตัวแรกในดัชนี CSI 300 ก็มีชื่อที่เราคุ้นเคยหลายตัวทีเดียว ตามรูปด้านล่าง
กลุ่มอุตสาหกรรมที่ CSI 300 ให้นำหนักเยอะที่สุดก็คือ Financials นะครับ แต่ก็ถือว่าเป็นดัชนีหุ้นจีนที่มีน้ำหนักใน Financials น้อยที่สุดแล้ว (อย่างกรณี H-SHares มี Financials ในพอร์ตเกือบๆ 80% ทีเดียว)
ข้อมูลฝั่งอื่นๆของ CSI 300 ก็มีตามนี้ครับ
จะเห็นว่า ค่า P/E ของ CSI 300 อยู่ที่ 13.77x ซึ่งลงมาอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำ (ต่ำกว่าหุ้นไทยเสียอีก)
ซึ่งถ้าดูในภาพใหญ่ๆ ย้ำกันอีกทีว่า การลงทุนในจีน โดยเฉพาะ ผ่านดัชนี CSI 300 จะได้ประโยชน์จากนโยบายเปิดเสรี (Liberalization) ในระยะยาว 3 ปัจจัยคือ
- Interest Rate Liberalization คือ การเปิดเสรีด้านนโยบายดอกเบี้ย ทำให้รัฐบาล และเอกชน สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น และใช้กลไกตลาดในการควบคุมได้ดีขึ้น
- Capital Account Liberalization คือ นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในจีนได้ง่ายขึ้น อย่างที่อธิบายไปข้างต้น
- Services Sector Reform คือ การเปิดให้เอกชน เข้ามาลงทุนในธุรกิจยุทธศาสตร์ และธุรกิจด้านพลังงาน ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้า เพื่อให้เกิดการพัฒนา และการแข่งขันอย่างต่อเนื่อง
ไปดูดัชนี CSI 300 เทียบกับกองทุน SCBCHA ก็จะเห็นการเคลื่อนไหวตามรูปด้านล่าง
SCBCHA เคลื่อนไหวตาม CSI 300 อยู่พอสมควร แต่พอเข้าปี 2007 ปั๊บ จะเห็นว่า แพ้ CSI 300 อยู่หลาย % ทีเดียว สาเหตก็มาจากการที่กองทุนนี้ไม่มีการทำความป้องกันความเสี่ยงระหว่างฮ่องกงดอลล่าร์ และไทยบาท
โดยอย่างที่เรารู้กันคือ ฮ่องกงดอลล่าร์ (HKD) ผูกค่าเงินตัวเองกับดอล่าร์สหรัฐฯ (USD) ปีนี้เป็นปีที่บาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับดอลล่าร์มาต่อเนื่อง ดังนั้น กองทุน SCBCHA จึงแพ้ดัชนี CSI 300 ด้วยประเด็นนี้ครับ
ใครสนใจดูการเคลื่อนไหวของกอง ChinaAMC CSI 300 Index ETF ก็สามารถเข้าไปดู Bloomberg Code “3188:HK” นะครับ
นี่ก็เป็นข้อมูลการวิเคราะห์อีกด้าน สำหรับท่านที่สนใจลงทุนใน A-Shares ผ่านกองทุนรวมครับ
แหล่งข้อมูล :-
https://www.scbam.com/th/fund/default/fund-information/scbcha/
http://www.csindex.com.cn/sseportal_en/csiportal/zs/jbxx/report.do?code=000300&subdir=1
คำเตือน
• การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูลก่อนการตัดสินใจลงทุน
• ผลการดำเนินงานในอดีตไม่ได้เป็นเครื่องยืนยันผลการดำเนินในอนาคต
• การนำเสนอข้อมูลข้างต้น มิใช่การให้คำแนะนำการลงทุน
• การลงทุนใดๆ ต้องเกิดจากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลและตัดสินใจลงทุน บนความเสี่ยงที่รับได้ของนักลงทุนเอง
• ทางผู้ให้ข้อมูลขอสงวนสิทธิ์ ไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสียในทุกกรณีที่อาจเกิดขึ้นจากการให้ข้อมูลข้างต้น
พิเศษ!!
สำหรับท่านที่สนใจลงทุนใน A-Shares ผ่านกองทุนรวม สามารถกรอกรายละเอียดสั้นๆ เพื่อรับคำแนะนำลงทุนจริงได้ที่