วันนี้ขอมา Review อีกแนวหนึ่งนะครับ หลังจากที่เคย Review Mutual Fund, Infrastructure Fund และ REITs ไปแล้ว ข้อมูลที่ผมเอามาเล่านี้ เป็นข้อมูลวิเคราะห์เบื้องต้นที่เพื่อนๆนักลงทุนสามารถหาได้จาก Fund Fact Sheet ของบริษัท ซึ่งต้องไปต่อยอดกันเองอีกทีนะครับ Review คราวนี้ คือหุ้น IPO ตัวใหม่ที่กำลังเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยใช้ชื่อย่อว่า “BRR” นั้นคือ บมจ.น้ำตาลบุรีรัมย์ นั้นเอง
งาน Roadshow ของหุ้นตัวนี้จัดขึ้นเมื่อวานที่ตลาดหลักทรัพย์ฯช่วงบ่ายนะครับ พี่ๆสื่อมวลชน และนักวิเคราะห์ทั้งหลายก็มากันหนาตาทีเดียว
ไปเล่าถึงตัวบริษัทดีกว่า
น้ำตาลบุรีรัมย์ ทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาวสีรำ และรวมถึงการนำผลพลอยได้ที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล เช่น กากอ้อย กากหม้อกรอง และกากน้ำตาล ไปต่อยอดธุรกิจแตกธุรกิจอื่นๆด้วย
ตัวบริษัทถือเป็น Holding Company มีธุรกิจหลักอีก 4 อย่างตามนี้ครับ
1. ธุรกิจโรงงานไฟฟ้าชีวมวล : บริษัท โรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (“BSF”)
กำลังการผลิตอ้อยในปัจจุบัน 17,000 ตันต่อวัน และมีแผนขยายกำลังการผลิตให้สอดคล้องกับปริมาญอ้อยที่ 20,000 ตันต่อวัน ภายในปีการผลิต 2557/58
จัดหาวัตถุดิบอ้อยผ่านการทำสัญญากับชาวไร่ โดยคาดว่าจะมีชาวไร่อ้อยเพิ่มขึ้นเป็น 10,500 ราย ในปี 2557
จำหน่ายผลิตภัณฑ์ 2 ประเภท ได้แก่ ทรายดิบและน้ำตาลทรายขาวสีรำ โดยจำหน่ายให้แก่ลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2. ธุรกิจโรงงานไฟฟ้าชีวมวล : บริษัท บุรีรัมย์พลังงาน จำกัด (“BEC”) และ บริษัท บุรีรัมย์เพาเวอร์ จำกัด (“BPC”)
ผลิตไฟฟ้าจากกากอ้อยที่ได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล กำลังการผลิตในปัจจุบัน 9.9 เมกะวัตต์
และกำลังจะมี โรงไฟฟ้าแห่งที่สอง (BPC) กำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ จะเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้ในเดือน กุมภาพันธ์ 2558 รวมโรงไฟฟ้า 2 แห่ง จะมีกำลังการผลิต 19.8 เมกะวัตต์
3. ธุรกิจผลิตและจำหน่ายปุ๋ย : บริษัท ปุ๋ยตรากุญแจ จำกัด (“KBF”)
ผลิตปุ๋ยจากกากหม้อกรองที่ได้กระบวนการผลิตน้ำตาล
จำหน่ายให้แก่ชาวไร่ในกลุ่ม 95%
4. ธุรกิจวิจัยและพัฒนา : บริษัท บุรีรัมย์วิจัยและพัฒนาอ้อย จำกัด (“BRD”)
ให้ความรู้และสนับสนุนชาวไร่อ้อย ในการพัฒนาศักยภาพด้านการปลูกอ้อย
ในส่วนของรายได้ของ BRR แบ่งตามประเภทธุรกิจได้ตามนี้ครับ
จะเห็นว่า รายได้จากธุรกิจหลักคือจากการขายน้ำตาลทรายและกากน้ำตาล เป็นสัดส่วนสูงเกินกว่า 80% ของรายได้ทั้งหมด แต่จากการที่บริษัทมีแผนจะสร้างมี โรงไฟฟ้าแห่งที่สอง (BPC) ต้นปีหน้า และกำลังศึกษาผลิตภัณฑ์ปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมในปีนี้ เราน่าจะเห็นสัดส่วนรายได้มาจากธุรกิจอื่นมาเพิ่มมากขึ้นในระยะยาว
ด้านอัตราส่วนทางการเงินนั้น ตัวที่น่ากังวลคือ D/E ของบริษัทนั้นสูงมากถึง 5.06 เท่า แต่ดูเทรนในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าลดลงต่อเนื่องซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีนะคับ และหลังจากเข้าตลาดแล้ว เงินทุนที่ได้จากการะดมทุนครั้งนี้จะช่วยลด D/E เหลือเพียง 1 เท่า ในขณะที่ ROE นั้น หากเทียบกับบริษัทที่อยู่ในธุรกิจเดียวกัน ถือว่ามีประสิทธิภาพทีเดียว
จุดเด่นและความแข็งแกร่งของ น้ำตาลบุรีรัมย์ เท่าที่เห็นก็คือ ปริมาณน้ำตาลที่ผลิตได้จากอ้อย (Yield) นั้น ถือเป็นโรงงานที่ทำได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยของโรงงานอ้อยซึ่งมีอยู่ 40 กว่าแห่งในไทย ดีขนาด เป็นอันดับ 3 ของธุรกิจน้ำตาลเลยทีเดียว
อีกเรื่องคือ น้ำตาลบุรีรัมย์ มี Connection กับชาวไร่อ้อยในระดับที่ดีมากๆ จากการที่มีการวิจัยและพัฒนาเป็นของตัวเอง และให้ความรู้และสนับสนุนชาวไร่อ้อย ในการพัฒนาศักยภาพด้านการปลูกอ้อย ทำให้ชาวไร่อ้อยเหล่านี้ ก็ไม่เปลี่ยนคู่ค้าด้วย จากข้อมูลย้อนหลัง จะเห็นว่า พื้นที่เพาะปลูกนั้นขยายตัวต่อเนื่อง และปริมาณอ้อยเข้าหีบ ก็โตขึ้นในระยะยาวเช่นกัน
มีจุดแข็ง ก็ย่อมมีจุดอ่อน ซึ่งจุดอ่อนก็คือ บริษัทพึ่งพารายได้จากธุรกิจหลักคือ การจำหน่ายน้ำตาล ค่อนข้างมาก ในขณะที่ น้ำตาล ถือเป็น Commodity ที่ผู้ขายกำหนดราคาเองไม่ได้ ความผันผวนของราคาในตลาดโลกจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ ซึ่งจริงๆ หาก บริษัทสามารถลงทุนในโรงงานและอุปกรณ์เพื่อผลิตน้ำตาลทรายขาว ซึ่ง Premium กว่า และราคาขายดีกว่า ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงได้ (แต่ปัจจุบันยังไม่มีแผน) แต่เลือกที่จะลงทุนในธุรกิจโรงงานไฟฟ้าชีวมวลจากกากน้ำตาลแทน ที่สอดรับกับแนวโน้มธุรกิจพลังงานที่กำลังเบ่งบานในไทยพอดีเลย
และที่น่าสนใจสำหรับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย คือ นอกจากจะเอาวัตถุดิบที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลมาทำโรงไฟฟ้าชีวมวลแล้ว ยังสามารถนำมาผลิตเป็นเอทานอลได้อีกด้วย งานนี้คงต้องตามดูว่า น้ำตาลบุรีรัมย์มีแผนจะทำ เอทานอลเพิ่มหรือไม่
พาไปดูภาพรวมราคาน้ำตาลในตลาดโลกกันครับ
จากรูปจะเห็นว่า ตั้งแต่ย่างเข้าปี 2011 นั้น ราคาน้ำตาลในตลาดโลกเป็นขาลงมาตลอด แต่บริษัทก็ยังสามารถมีกำไรสุทธิได้ ก็แสดงถึงฝีมือระดับหนึ่งเลย ดังนั้น ราคาน้ำตาลจะทรงอยู่ระดับนี้ซึ่งใกล้ๆจุดต่ำสุดในช่วงปี 2010 ต่อไปก็ไม่มีปัญหาต่อธุรกิจของน้ำตาลบุรีรัมย์ค่อนข้างแน่ ประเด็นคือ แนวโน้มราคาน้ำตาล อาจจะดีขึ้นกว่านี้ด้วยสิครับ นั้นคือสิ่งที่น่าสนใจ
ราคาน้ำตาลจะดีขึ้นได้ยังไง?
ปีนี้ ชาวไร่ในบราซิลเริ่มลดการปลูกอ้อยลงแล้ว (บราซิลเป็น Exporter อันดับ 1 ของโลก) ผลก็มาจากราคาน้ำตาลที่มันดิ่งลงมาแบบนี้ละ ถ้าคุมการปลูกไม่ดี บริหารต้นทุนไม่เก่ง มันก็เจ๊งกันไป ซึ่งพอหยุดปลูก พวกโรงงานน้ำตาลก็เริ่มหยุดกิจการ ประเมินกันว่า น่าจะเปิดไปไม่ต่ำกว่า 20 โรง จาก 400 โรง ซึ่งประเมินกันว่า จุดคุ้มทุนรวมค่าขนส่งในบราซิล ควรอยู่ที่ 21 เซ็นต์/ปอนด์ แต่ราคาปัจจุบัน จะเห็นว่า ต่ำกว่านะครับ
จุดนี้ถือเป็นข่าวดีสำหรับผู้ผลิตน้ำตาลที่อื่นของโลก และไทยเองก็เป็นผู้ส่งออกน้ำตาลทรายอันดับ 2 ของโลก สบายเลย
มาที่โครงสร้างเงินทุนนะครับ BRR จะมีราคาพาร์ที่ 1 บาท/หุ้น ส่วนจะ IPO ที่ราคาเท่าไหร่ คุ้มลงทุนไหม เรามารอราคากันอีกรอบ
แต่เท่าที่ดูผ่านตา ณ ตอนนี้ ถือเป็นหุ้นที่น่าสนใจ ในขณะที่ราคาน้ำตาลตลาดโลกยังมี Upside ได้อีกใน 1-2 ปีข้างหน้า กลุ่มธุรกิจนี้ก็น่าจะได้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน
เพิ่มเติม
BRR จะ ช่วง IPO คือ วันที่ 29-31 ตุลาคม นี้ และเข้าเทรดในตลาด (FirstTrade) คือ วันที่ 6 พฤศจิกายน นี้จ้า
สนใจข้อมูลเพิ่มเติม ตามไปเสพกันได้ที่ http://buriramipo.com/