ปีนี้เป็นปีที่ Fund Flow ไหลเข้าลงทุนในตลาดหุ้นเกิดใหม่ดีที่สุดในรอบปลายปีทีเดียว
ในบทความ FINNOMENA ก็มีพูดถึงไปหลายครั้งเช่นเดียวกันว่า ตลาดเกิดใหม่ กำลังทำ New High และมีอะไรน่าสนใจลงทุนเยอะแยะมากมายด้วยหลายประเด็น
แต่พอพูดว่า “ตลาดเกิดใหม่” จริงๆคำจำกัดความมันกว้างมากเลยครับ ทั้งในเอเชีย ละตินอเมริกา แอฟริกา หรือแม้กระทั้ง ยุโรปตะวันออก ที่บอกมาทั้งหมดเนี่ย ก็คือ ตลาดเกิดใหม่ ทั้งหมดเลย
ถามต่อ ตลาดหุ้นที่ไหนในตลาดเกิดใหม่ ดูดีมีอนาคตมากที่สุด?
เอาเข้าจริง ผมก็ไม่รู้นะครับ แต่ถ้ามองจากมุมมองส่วนตัว ก็เชื่อว่า “North Asia” หรือ เอเชียเหนือ ดูมีศักยภาพ และเป็นภูมิภาคที่อยู่ใน Blind Spot ของนักลงทุนหลายคน
North Asia คือใคร
ถ้าถามนักภูมิศาสตร์ ก็อาจต้องรวมรัสเซียไปด้วยนะครับ แต่ในฝั่งของการลงทุน ประเทศฝั่งนี้คือ จีน เกาหลีใต้ ฮ่องกง และไต้หวัน ซึ่งอาจเรียก 4 ประเทศนี้ว่า “Northeast Asia” ก็ได้เหมือนกันครับ
4 ประเทศนี้ มีดีอะไร เดี๋ยวเราค่อยไปดู แต่ลองดูกราฟผลตอบแทนย้อนหลังของดัชนีหุ้นทั้ง 4 ประเทศกันก่อน
จะเห็นว่า ตลาดหุ้นที่ผลตอบแทนแย่ที่สุดใน 4 ประเทศ นับตั้งแต่ต้นปี ก็คือ CSI 300 ของจีน ก็ยังบวกไปถึง 12% ทีเดียวนะครับ
ที่มาของการปรับตัวขึ้นของแต่ละประเทศนั้นแตกต่างกัน แต่ก็มีจุดร่วมในบ้างจุด ก็คือ
- หุ้นในเอเชีย ภาพรวมแล้ว อยู่ในระดับราคาทีถูกกว่าตลาดพัฒนาแล้วฝั่งสหรัฐฯ ยุโรป และ ญี่ปุ่น พอสมควร เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา
- นับตั้งแต่ต้นปี นักวิเคราะห์มีการปรับกำไรบริษัทจดทะเบียนในเอเชียเพิ่มขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010 เป็นต้นมาเลยทีเดียว
PE ตลาดหุ้นพัฒนาแล้วได้กลับเข้าสู่ระดับก่อนเกิดวิกฤต ขณะที่ ตลาดหุ้นกำลังพัฒนา ยังมีมูลค่าถูกกว่าพอสมควร
ที่มา : สภาธุรกิจตลาดทุนไทย
จุดเด่น และปัจจัยขับเคลื่อนให้ตลาดหุ้นจีนน่าสนใจ ก็คือ ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี และ นวัตกรรม ที่เรียกว่า Tertiary Industry ซึ่งเกิดจากการวางหมากของรัฐบาลจีน ที่ปกป้องการคุมคาม หรือการเข้ามาของเทคโนโลยีทางฝั่งโลกตะวันตก แล้วพยายามผลักดัน สนับสนุน ทุกวิถีทางให้เกิดผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในจีนแผ่นดินใหญ่เองให้ได้ และที่จีนทำได้ ก็เพราะนโยบายที่ชัดเจน และขนาดตลาดที่ใหญ่มากพอนั้นเอง
มาที่เกาหลีใต้ ประเทศนี้มีนวัตกรรมด้านความงามที่ก้าวหน้าเร็วมากที่หนึ่งของโลก รวมถึง การใช้ผลิตภัณฑ์พวก Cosmetics ต่อ หัว ก็จัดว่า เป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากญี่ปุ่นเพียงประเทศเดียว ซึ่งการมีนวัตกรรมเหล่านี้ต่อเนื่องทำให้อัตรากำไรสูงขึ้น ในขณะที่ฝั่งเทคโนโลยี ก็มีบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง SAMSUNG เป็นหัวเรือขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ
ส่วนไต้หวัน ถือเป็น ผู้นำด้านการผลิตสินค้าประเภท Laptop, จอ LCD, เซมิคอนดักเตอร์และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ, เครื่องมือวัดความเที่ยงอุปกรณ์ไฟฟ้า, เครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องกลและไฟฟ้าเป็นฐานการผลิตให้ผลิตภัณฑ์ด้านเทคโนโลยีระดับโลก สรุปง่ายๆคือ ไต้หวันมีจุดเด่นคือ เอาไอเดียวคนอื่นมาผลิตเพื่อใช้งานจริง ในคุณภาพสูง และราคาจับต้องได้
ใช่ครับ นวัตกรรม Digital Lifestyle คือ ปัจจัยหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจเอเชียเหนือ
แต่ผมเชื่อว่า มันจะผลักดันเศรษฐกิจโลกไปอีก 10-20 ปีข้างหน้า เป็น Mega Trend ในระยะยาวอีกหนึ่งอย่างที่น่าสนใจ ไม่แพ้ธีม Aging Society, Hi-Speed & Coverage Logistics หรือ Urbanization เลย
สนใจลงทุนในตลาดหุ้นภูมิภาคนี้
ปัจจุบันนี้ กองทุนในไทย ก็มีหลายกองด้วยกันที่มี Exposure การลงทุนในเอเชียเหนือนะครับ ไปดูกันทีละกอง
- TISCONA : กองทุนเปิด ทิสโก้ นอร์ธ เอเชีย อิควิตี้
กองนี้ ไปลงทุนในกองทุกหลักที่เป็น ETF อีก 4 กอง ที่คาดหวังผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับตัวดัชนี โดยซื้อกองทุนดัชนี 4 ประเทศ ได้แก่ เกาหลีใต้, ไต้หวัน, จีน และ ฮ่องกง ผ่าน MSCI Index ในสัดส่วน ทีละ 25% เท่าๆกัน จุดเด่นคือ เป็น Passive Fund และ Focus ที่เอเชียเหนือจริงๆ ค่าธรรมเนียมถูกกว่า กองทุนประเภท Active Fund - ASP-ASIAN : กองทุนเปิดแอสเซทพลัสเอเชี่ยนสเปเชียลซิททูเอชั่นส์
กองทุนหลักคือ Fidelity Funds – Asian Special Situations Fund เป็นกองทุนสไตล์ Active Fund ลงทุนในตลาดหุ้นเอเชียทั้งหมด แต่เกินกว่า 60% ของพอร์ต ไปอยู่ในเอเชียเหนือ 4 ประเทศ เน้นลงทุนแบบ Bottom-up และ Stock Selection และ Overweight ในกลุ่มอุตสาหกรรม Technology, Financials และ Consumer Discretionary มากกว่าตลาด - SCBAEM : กองทุนเปิดไทยพาณิชย์ เอเชียน อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ต ฟันด์
มีกองทุนแม่คือ BGF Asian Growth Leaders Fund ของ Blackrock มีนโยบายเน้นลงทุนในเอเชียทั้งภูมิภาค ลงทุนในตลาดหุ้นจีนเยอะสุด 32.95% รองลงมาคือ เกาหลีใต้ 17.34% และ ไต้หวัน 10.57% ตามลำดับ โดยมีเอเชียกลาง อย่าง อินเดียในพอร์ตเช่นกันเกือบๆ 10% ให้น้ำหนักการลงทุนใน Technology , Financials และ Consumer Discretionary มากสุดตามลำดับ แต่ถ้าเทียบกับ ASP-ASIAN ก็ถือว่า มีกลุ่ม Technology และ Financials น้อยกว่าครับ แสดงว่า มีการกระจายการลงทุนที่มากกว่านิดหน่อย - B-ASIA : กองทุนเปิดบัวหลวงหุ้นเอเชีย
กองแม่คือ Invesco Asian Equity Fund ของ Invesco เน้นลงทุนในหุ้นเอเชียเช่นเดียวกับกองทุนอื่นๆ สไตล์เป็นแบบ Bottom-up และคุมด้วยการ Diversified ที่เหมาะสม ถือหุ้นไม่เกิน 60 ตัวในแต่ละรอบปีบัญชี และให้น้ำหนักไม่เกิน 6% ในแต่ละตัวที่ถือ ปัจจุบัน อยู่ใน Technology Sector สูงถึง 35.6% ซึ่งถือเป็นกองทุนที่ลงทุนในเอเชียและมีกลุ่มเทคเยอะที่สุดอันดับสอง แล้วนะครับ อยู่ในจีน , เกาหลีใต้, ไต้หวัน และ อินเดีย มากที่สุด ตามลำดับ - UOBSA : กองทุนเปิด ยูโอบี สมาร์ท เอเชีย
กองทุนแม่ มาจาก บลจ. เดียวกันก็คือ บลจ.ยูโอบี ชื่อ United Asia Fund ถ้ารองจาก TISCONA ที่มี 4 ประเทศใน North Asia กองทุนนี้ จัดว่ามีเอเชียเหนือเยอะที่สุดรองลงมาเลย คือ มากกว่า 70% ของพอร์ตเลยทีเดียว ปัจจุบัน อยู่ใน Technology Sector สูงถึง 36.34% ซึ่งถือเป็นกองทุนที่ลงทุนในเอเชียและมีกลุ่มเทคเยอะที่สุดอันดับ 1 เลยนะครับ จุดเด่นอีกอย่างของกองนี้ก็คือ กระจายการลงทุนในหุ้นมากกว่ากองทุนอื่น โดยใน Top 10 Holdings มีน้ำหนักรวมเพียงแค่ 32.15% ของมูลค่า ซึ่งน้อยกว่ากองอื่นๆที่มีน้ำหนักประมาณ 40-60%
ทำสรุปรายละเอียดแต่ละกองทุนคร่าวๆ ก็ตามตารางด้านล่างเลยครับ
ช่วงนี้ อาจเป็นจังหวะที่ดี ในช่วงที่คาบสมุทรเกาหลีมีความครุกรุ่นจากการปะทะคารมระหว่างสหรัฐฯ และ เกาหลีเหนือ แต่ผมเชื่อว่า โลกเรายังมีหนทางที่จะเจรจา และตกลงกันด้วยดีได้นะครับ ดังนั้นการปรับฐาน ก็คือ โอกาสในการลงทุน และสะสมไปในระยะยาว