จบจากเฟดแล้ว หุ้นสหรัฐฯ จะไปต่อได้ไหม

เมื่อวันที่ 2-3 พ.ย. สัปดาห์ที่แล้ว ที่ประชุม FOMC มีมติทยอยลดวงเงิน QE ลงเดือนละ $15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นไปตามที่ตลาดคาดการณ์กันไว้ก่อนหน้านี้ จากปัจจุบันที่เข้าซื้ออยู่เดือนละ $120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนสาเหตุนั้น เฟดให้เหตุผลว่า เกิดจากความไม่สมดุลระหว่าง “Demand” และ “Supply” อันเนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19 และการเปิดเศรษฐกิจหลาย ๆ ประเทศในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน

บทความนี้ ผมเลยจะขอพาไปดูหน่อยว่า เราควรมองตามเฟดไหม และปัจจัยอะไรที่น่าสนใจหลังจากนี้

1. ตัวเลขจาก EIA บอกเราว่า ความต้องการน้ำมัน (Demand) ยังคงสูงกว่ากำลังการผลิต (Supply) มา 8 เดือนติดต่อกัน แต่พบว่า ความไม่สมดุลนี้ ดูเหมือนจะลดลงจากระดับสูงสุดเมื่อต้นปี ซึ่งเราจะเห็นว่า Demand ที่มากกว่า เป็นตัวทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง

จบจากเฟดแล้ว หุ้นสหรัฐฯ จะไปต่อได้ไหม

2. ถามว่า Demand มาจากไหน? เฟดบอกเราแล้วว่า มาจากการเปิดเมือง แต่เหตุผลจริง ๆ น่าจะมาจากมาตรการกระตุ้นและอัดฉีดเงินเพื่อเยียวยาประชาชนในช่วงที่ผ่านมาของหลาย ๆ ประเทศ โดยเฉพาะสหรัฐฯ ทำให้อัตราการออมปรับตัวสูงขึ้นเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่เกิดวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ซึ่งมีการรวบรวมข้อมูลกันไว้ว่า Excess Saving ของทั้งโลก ถึงเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา ทะลุ $5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ไปแล้ว แปลว่า คนมีเงินออมเยอะขึ้น และมันคือ กำลังซื้อที่จะพยุงเศรษฐกิจโลกให้ขยายตัวต่อไปได้อีกหากประชาชนมีความมั่นใจมากขึ้น

จบจากเฟดแล้ว หุ้นสหรัฐฯ จะไปต่อได้ไหม

3. ส่วนเงินเฟ้อที่ทั้งโลกกังวลกันอยู่ตอนนี้ พอหลังการประชุมเฟดสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่า Breakeven Inflation 5 ปี และ 10 ปี เริ่มปรับตัวลดลงจากจุดสูงสุด สะท้อนว่า ตลาดกังวลกับเงินเฟ้อน้อยลง หรือ มองอีกมุมหนึ่งก็ได้ว่า ตลาดเชื่อเฟดว่า เงินเฟ้อจะไม่ได้อยู่กับเราไปตลอด แต่ถึงอย่างนั้น ก็ยังคงต้องติดตามไปเรื่อย ๆ นะครับ ว่าปัญหา Supply Shortage จะลากยาวกว่านี้ไหม

จบจากเฟดแล้ว หุ้นสหรัฐฯ จะไปต่อได้ไหม

4. ฝั่งภาคตลาดแรงงาน เราไปดูที่สหรัฐฯ เริ่มเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นเรื่อยๆ หลังตัวเลข Initial Jobless Claims ปรับตัวลดลงต่ำกว่า 300,000 ราย มา 3 สัปดาห์ติดต่อกันนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดปีที่แล้ว โดยปรับตัวลดลงสู่ระดับ 269,000 ราย และใกล้เคียงค่าเฉลี่ยในสภาวะปกติก่อนเกิดการแพร่ระบาด (ค่าเฉลี่ยปี 2019 จะอยู่ที่ 218,000) และเริ่มสะท้อนผลของ Unemployment Benefit ที่หมดลงตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา รวมถึงอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ที่ลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับก่อนการเร่งฉีดวัคซีนเมื่อปลายปีที่แล้ว

จบจากเฟดแล้ว หุ้นสหรัฐฯ จะไปต่อได้ไหม

5. เพื่อการันตีโมเมนตั้มเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อ จริง ๆ เราเห็นความพยายามของ ปธน.ไบเดน ในการเอาใจช่วย และเรียกร้องให้สภาคองเกรสผ่านร่างกม.กระตุ้นเศรษฐกิจมาต่อ ซึ่งล่าสุดเมื่อคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ลงมติผ่านกฎหมายงบประมาณพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานมูลค่า $2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ที่พรรคเดโมแครตและรีพับลิกันตกลงร่วมกัน ไปด้วยคะแนน 228 ต่อ 206 เสียง โดยร่างกม.นี้ แบ่งเป็น การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน งบประมาณในการสร้างถนน, สะพาน, ของส่งมวลชน, ทางรถไฟ, สนามบิน, ท่าเรือ และทางน้ำ ราวครึ่งหนึ่ง และที่เหลือลงทุนในพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในประเทศ และ นำไปสร้างเครือข่ายเครื่องชาร์จพลังงานรถยนต์ไฟฟ้าทั่วประเทศ ในระยะเวลา 8 ปีข้างหน้า

จบจากเฟดแล้ว หุ้นสหรัฐฯ จะไปต่อได้ไหม

6. ซึ่งแน่นอนว่า จะใช้เงินเยอะขนาดนี้ ก็ต้องมีแผนหาเงินด้วย แผนเดิมของ ปธน.ไบเดน คือ ปรับขึ้นภาษีบุคคลเป็น 28% จากปัจจุบันที่ 21%, ขึ้นภาษีกำไรจากนอกประเทศ (GILTI) เป็น 21% จากปัจจุบันที่ 10.5% และขึ้นภาษีกำไรจากการลงทุน (Capital gains tax) กับผู้ที่มีรายได้สูงเป็น 39.6% จากปัจจุบันที่ 20% ถ้าแผนหาเงินนี้ถูกบังคับใช้ มีการคาดการณ์กันว่า จะกระทบกับ EPS Growth ของดัชนี S&P 500 ถึง 7% จากเดิมคาดการณ์ว่าจะโต 9% เหลือ 2% ในปี 2022 เราก็ต้องติดตามดูกันต่อ

จบจากเฟดแล้ว หุ้นสหรัฐฯ จะไปต่อได้ไหม

7. อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจไม่แพ้กันก็คือ ทางบริษัท Pfizer เปิดผลการทดลองในระยะที่ 3 ยาเม็ด Paxlovid ซึ่งสามารถรักษาโรคโควิด-19 พบว่า ยานี้สามารถลดความเสี่ยงของผู้ป่วยโควิด-19 ในการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลหรือเสียชีวิตได้ถึง 89% โดยสูงกว่ายา Molnupiravir ของ Merck & Co ที่เพิ่งเปิดผลการทดลองไปเมื่อเดือน ต.ค. ซึ่งมีประสิทธิภาพเพียง 50% เท่านั้น ซึ่งทางไฟเซอร์ได้ระบุว่า จะเร่งสรุปรายงานผลการทดสอบนี้ ไปยังอย. ของสหรัฐฯ เพื่อทำการขออนุมัติในการใช้งานฉุกเฉินโดยเร็วที่สุด

และเร็วราวสายฟ้าแลบ ปธน.โจ ไบเดน แถลงว่า สหรัฐฯได้สั่งซื้อยาแพ็กซ์โลวิด (Paxlovid) จาก Pfizer จำนวนหลายล้านโดส เรียบร้อย และถือเป็นเรื่องน่ายินดีมาก เพราะองค์กรสิทธิบัตรยาร่วม (MPP) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก UN เปิดเผยว่า Pfizer กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจาขั้นคืบหน้ากับ MPP เกี่ยวกับการมอบช่วงสิทธิบัตรการผลิตยาแพ็กซ์โลวิด (Paxlovid) ให้แก่ประเทศต่าง ๆ เพื่อให้กลุ่มประเทศยากจนสามารถเข้าถึงยาดังกล่าว

ถ้าวัคซีน ช่วยให้เราเปิดเมือง กลับมาดำเนินชีวิตได้ ยาต้านไวรัส นี้จะเป็นจุดเปลี่ยนที่จะทำให้โลกกลับเป็นปกติได้นะครับ เราคงต้องมาดูกันต่อว่า ไทยเราจะสามารถเข้าถึงยาตัวนี้ได้เร็วแค่ไหนเหมือนกัน

8. มาดูฝั่งตลาด ที่น่าสนใจคือ US Treasury 10Y Yield ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ล่าสุดอยู่ที่ 455% ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านี้ตลาดยังกังวลกับเงินเฟ้อ และกลัวว่าเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าคาดในปีหน้าอยู่เลย กลับกลายเป็นว่า มีแรงซื้อกลับเข้ามาในพันธบัตรสหรัฐฯอีกครั้ง สาเหตุเป็นเพราะ พอจะมี Infrastructure Bill หลังผ่านสภา ก็แปลว่า รัฐเตรียมกู้เพิ่ม และงบประมาณลงทุนครั้งนี้ นักลงทุนมองว่ามันน่าจะเพียงพอที่ทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงขยายตัวไปได้ในระยะถัดไป

จบจากเฟดแล้ว หุ้นสหรัฐฯ จะไปต่อได้ไหม

9. ฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐฯ น่าจะชอบใจกับ Infrastructure Bill ล่าสุดนะครับ และจริงๆ ตลาดก็ปรับตัวขึ้นทำ All Time High มาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เข้าสู่ฤดูประกาศผลประกอบการไตรมาส 3/2021 เท่าที่ผมหาข้อมูล ณ ตอนนี้ มี Goldman Sachs ให้เป้าดัชนี S&P 500 ในปี 2022 อยู่ที่ 4,900 จุด Credit Suisse และ UBS ให้เป้าที่ 5,000 จุด

จบจากเฟดแล้ว หุ้นสหรัฐฯ จะไปต่อได้ไหม

ข้อสังเกตของผมก็คือ ในเดือน พ.ย. ปีที่แล้ว วัคซีนต้านโควิด-19 ของ Pfizer ผ่านการทดสอบเฟส 3 ทางบริษัทจึงทำเรื่องขออนุญาต เร่งผลิต และจัดส่งวัคซีน ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนของตลาดหุ้นสหรัฐฯในเวลานั้น มาวันนี้ ยาเม็ด ซึ่งในช่วงเดือนพ.ย. ปีหน้า จะกลายเป็นจุดเปลี่ยนของโลกอีกครั้งหรือเปล่า น่าสนใจครับ

แหล่งที่มาข้อมูล :

Mr.Messenger รายงาน

TSF2024