มันมีสัญญาณทางเทคนิคตัวหนึ่ง เป็นที่รู้กันในสายเทคนิคว่า หากเกิดสัญญาณนี้ขึ้น นี่คือ อีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่า ตลาดหุ้น หรือ ราคาหุ้น ตัวนั้นๆ กำลังจะเปลี่ยนแนวโน้ม นั้นก็คือ
Golden Cross และ Dead Cross
Golden Cross เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ตลาดหุ้น หรือ ราคาหุ้นตัวนั้น กำลังเปลี่ยนแนวโน้มจากเดิมเป็นขาขึ้นระยะสั้น เป็นขาขึ้นระยะยาว (Long Term Bull) ทางตรงกันข้าม Dead Cross เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า ตลาดหุ้น หรือ ราคาหุ้นตัวนั้น กำลังเปลี่ยนแนวโน้มจากเดิมเป็นขาลงระยะสั้น เป็นขาลงระยะยาว (Long Term Bear)
สาเหตุที่บอกว่า เปลี่ยนจาก ระยะสั้น -> ระยะยาว ก็เพราะว่า ทั้ง Golden Cross และ Dead Cross นั้นให้สัญญาณช้ากว่าสัญญาณทางเทคนิคตัวอื่นๆ จนนักลงทุนสายเทคนิคส่วนใหญ่ ถึงขั้นบอกว่า Dead Cross คือ สัญญาณชีพสุดท้าย ของตลาดขาขึ้น และ Golden Cross คือ สัญญาณเริ่มต้นของขาขึ้นลูกใหม่
Golden Cross เกิดขึ้น บนเงื่อนไขว่า เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้น (Short-term Moving Average) ตัดขึ้นเหนือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะยาว (Long-term Moving Average)
Dead Cross ก็ตรงกันข้ามครับ เกิดขึ้น บนเงื่อนไขว่า เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะสั้น (Short-term Moving Average) ตัดลงต่ำกว่าเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ระยะยาว (Long-term Moving Average)
ซึ่งเส้นค่าเฉลี่ยระยะสั้น นิยมใช้ 50-day moving average ในขณะที่เส้นค่าเฉลี่ยระยะยาว บางคนก็ใช้ 100-day moving average หรือ บางคนก็ใช้ 200-day moving average (เส้นค่าเฉลี่ย 200 วัน) อันนี้แล้วแต่ว่า เชื่อแบบไหนครับ
ส่วนตัวแล้ว ผมใช้เส้น 50-day moving average กับ 200-day moving average ในการพิจารณาครับ
ตอนนี้ ดัชนีสำคัญทั่วโลก เกิด Dead Cross ไปแล้ว ส่วนใหญ่ เกิดตอนเดือน ส.ค. และมีบางตลาดที่เกิดตอนต้นเดือน ก.ย. นี่นะครับ ลองไปดูทีละตัว
** ทุกกราฟ 50-day moving average คือ เส้นสีแดง และ 200-day moving average คือ เส้นสีเขียว ครับ
SENSEX อินเดีย
เกิด Dead Cross รอบแรกเดือน ,มิ.ย. เหมือนจะกลายเป็น False Signal ตอน Index รีบาวน์ขึ้นมาจากจุดต่ำสุดเดือน มิ.ย. แล้วมีการเด้งกลับ กระทั่งตอนนี้ ก็แสดงให้ว่าตัดขึ้นทำ Golden Cross ไม่สำเร็จ แล้วก็ลงพร้อมกับโลกในช่วงเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา (ทั้งๆที่ถ้ามองจากปัจจัยพื้นฐานของอินเดียดีมากๆนะครับ)
Taiwan Weighted Index ไต้หวัน
เจอ Dead Cross เมื่อกลางเดือน ก.ค. ตอนจะไหลลงอย่างรวดเร็ว … แต่ก็รีบาวน์อย่างรวดเร็วเช่นกัน
H Share จีน (ในฮ่องกง)
เจอ Dead Cross เดือน ส.ค. เหมือนกับไต้หวัน และถึงแม้ลงมาหนักแล้ว จากจุดสูงสุดถึงเส้น 200 วัน แต่ก็ลงได้อีกเท่าตัวมาถึงระดับปัจจุบัน
A50 China จีน
เพิ่งจะมาเจอ Dead Cross ตอนปลายเดือน ส.ค. ช้ากว่า H Share ร่วมๆ 2 สัปดาห์ แล้วก็ลงต่อ
Bovespa บราซิล
เกิด Dead Cross เดือน ส.ค. เหมือนกับ H Share และ A Share (ชักเริ่มสงสัยไหมครับ? อยู่คนละฝั่งของโลก แต่เจอสัญญาณขายในเวลาไล่เลี่ยกัน)
Nikkei 225 ญี่ปุ่น
ถือเป็นดัชนีที่แข็งแกร่งที่สุดในปีนี้ ยังไม่เจอ Dead Cross นะครับ แต่ Moving Average 15 วัน วันตัดเส้น 200 ลงมาก่อนหน้าแล้ว คงต้องดูกันต่อยาวๆอีกซักระยะ
Dax เยอรมัน
เจอสัญญาณ Dead Cross ตอนต้นเดือน ก.ย. นี้เองครับ แต่ก่อนหน้านั้น ตั้งแต่เดือน เม.ย. ภาพรวมแล้วตลาดเตือนมาตลอดว่า อยู่ใน Downtrend และไม่สามารถทำ Higher High
Dow Jones สหรัฐฯ
พยายามสร้าง All Time High ใหม่อยู่ตั้งแต่ปลายปี 2014 สุดท้ายก็ไปไม่ได้ และได้ Dead Crossต้น เดือน ส.ค. ที่ผ่านมา ผลจากนั้น ก็อย่างที่เห็นในกราฟครับ
สุดท้าย SET Index ไทย
เราได้ Dead Cross ไปตั้งแต่เดือน พ.ค. ครับ เร็วกว่าทุกแห่งบนโลกเลย
ดูเสร็จแล้ว ฝากอยู่ 4 เรื่องครับ
- Golden Cross และ Dead Cross ควรเป็นแค่ตัวดูประกอบ เป็นแค่หนึ่งจิ๊กซอในการดูภาพรวมตลาด แน่นอนว่า การวิเคราะห์ทางเทคนิค มันมีโอกาสเกิด False Signal ได้
- ผมไม่ได้พยายามจะชี้นำว่า ตลาดหุ้นโลกอยู่ในขาลง และน่ากลัวมากขึ้น เพราะ Dead Cross เกิดแล้ว อย่างที่บอกครับ มันเป็นแค่ข้อมูลดูประกอบ จริงๆ ผมก็ดูมันทุกวันอยู่แล้ว วันนี้เปิดมา แล้วเห็นว่า อยากแชร์ให้หลายคนทราบว่า ผมดูอะไรบ้าง ก็นี่ละ ส่วนหนึ่งที่ต้องดู
- สัญญาณ Golden Cross และ Dead Cross นั้น กว่าจะเกิดขึ้น ตลาดมักจะลงมา หรือ ขึ้นไปแล้วพอสมควร ดังนั้น นักลงทุนระยะสั้น ไม่ควรใช้เป็นสัญญาณการเข้าทำครับ
- ถ้าจะให้ดี แนะนำให้ลองนั่งเปิดกราฟด้วยตัวเอง แล้วย้อนดูสัญญาณที่เกิดขึ้นในอดีต จะเห็นอัตราความแม่นยำของสัญญาณ ซึ่ง เป็นตัวหนึ่งครับ ที่จะเอามาประกอบว่า เราควรให้น้ำหนักกับ Golden Cross และ Dead Cross มากแค่ไหน สำหรับดัชนีหรือหุ้นแต่ละตัว
โชคดีในการลงทุนครับ