เป็นสัจธรรมของทุกอย่างในโลกนี้นะครับ อย่างที่พระพุทธเจ้าท่านว่าไว้เมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีก่อนว่าด้วยเรื่องโลกธรรม 8 ประการ

มีลาภ เสื่อมลาภ มียศ เสื่อมยศ มีสุข มีทุกข์ สรรเสริญ นินทา

ทุกอย่างในโลกมีของคู่กัน ตลาดหุ้นก็เช่นเดียวกัน ในเมื่อมีตลาดขาขึ้น ก็ย่อมมีตลาดขาลง เช่นกัน
กว่าหลายร้อยปีมาแล้ว ที่นักลงทุนในตลาดพยายามหาสัญญาณ และหาเหตุผลต่างๆเพื่อนตรวจสอบและตรวจจับสัญญาณการเปลี่ยนแนวโน้มของตลาด จากขาขึ้นเป็นขาลง หรือจากขาลง เป็นขาขึ้น และหนึ่งในเครื่องมือ ซึ่งเหมือนเป็นลายแทงในการดูการเปลี่ยนเทรน ก็คือ การดูรูปแบบของการเคลื่อนไหวของราคา (Pattern)

บทความนี้ขอพูดถึงเหตุการปัจจุบันที่กำลังเกิดขึ้นกับตลาดหุ้นไทย เพื่อเป็นกรณีศึกษา เนื่องจาก ตลาดหุ้นไทยในรอบที่ผ่านมา ไปทำจุดสูงสุดที่ระดับ 1,649 จุด แล้วเกิดแรงเทกระจาดลงมา จนมายืนตรง 1,400 จุด ณ ปัจจุบัน (วันที่ผมเขียนคือ 22 มิ.ย. 56)

ไม่ว่าหุ้นในตลาดไหนจะดีขนาดไหน การปรับฐานย่อยเล็กๆน้อยๆ จะเกิดขึ้นตลอดทาง และเพื่อให้มีแรงขยับขึ้นไปได้รุนแรง ก็ต้องมีการปรับฐานรุนแรง เพื่อเขย่าเอานักลงทุนที่วิ่งเข้ามาหวังเพียงแค่เก็งกำไรออกไป ให้เหลือแต่ผู้ที่มั่นใจ หรือผู้ที่กล้าวิ่งไปตามแนวโน้มเพื่อเก็บกำไรก้อนใหญ่

ใน Elliott Wave Theory นั้น มีกล่าวถึงรูปแบบการปรับฐาน ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายแบบ แต่ไม่ยากที่จะจดจำเพื่อเป็นลายแทงในการบริหารความเสี่ยงของพอร์ต และทยอยสะสมหุ้นกลับเมื่อถึงเวลาอันควรนะครับ เริ่มแรก Elliott มองว่า ขาขึ้นราคาหุ้น หรือดัชนี จะประกอบด้วย 5 คลื่น (1-2-3-4-5) และขาลง ประกอบด้วยคลื่น 3 คลื่น (a-b-c) ตามรูป
และในคลื่นหลัก แต่ละคลื่น ก็อาจประกอบไปด้วยคลื่นย่อยอีกหลายคลื่น โดยปกติ ในแง่ของการใช้ Elliott Wave ผมจะนับเฉพาะคลื่นลูกใหญ่ที่นับได้เท่านั้นพอ ไม่อย่างนั้น ไปนั่งนับคลื่นเล็กๆน้อยๆเสียเวลาครับ นับผิดนับถูกก็ไม่มีทางรู้ เพราะฉะนั้น เอาแค่ภาพกว้างๆก็พอ

ในขาลง (a-b-c) ฝรั่งเรียกขาลงนี้ว่า Corrective Wave เขาบอกว่า ขาลงประกอบด้วยคลื่น 3 ลูก
a จะเป็นคลื่นขาลงลูกแรกที่ลงเร็ว ลงแรง แบบไม่ทันตั้งตัว ซึ่งโดยปกติ ดัชนี หรือราคาหุ้น จะส่งสัญญาณก่อนกลับตัวด้วย Bearish Divergence ใน Indicator สำคัญๆอย่าง MACD หรือ RSI มาก่อนหน้านี้
b ภาษาง่ายๆ เราเรียกว่า รอบเด้ง เนื่องจาก a นั้นลงมาแรงและเร็วเกินไป นักลงทุนในตลาดที่ยังมีมุมมองเป็นบวกต่อดัชนี จะยังทยอยสะสม และซื้ออยู่ เพื่อหวังว่าดัชนีจะมีโอกาสขึ้นไปผ่านจุดสูงสุดเดิมก่อนที่จะลงมายังคลื่น a
c เป็นคลื่นสุดท้าย ที่มีจุดสังเกตุคือ คลื่น b ไม่สามารถทำจุดสูงสุดใหม่ได้ (Lower High) นักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่จะเริ่มรู้แล้วว่า ตลาดเริ่มตันๆ ข่าวร้ายจะเริ่มมาบ่อย และหนักขึ้น จนเกิดแรงขายอีกรอบ

ต่อมา Corrective Wave บอกว่า รูปแบบการปรับฐาน เกิด a-b-c เนี่ยแน่ๆ แต่ a-b-c ก็มีหลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็มีตามนี้
Zigzags (5-3-5)
ก็คือ คลื่น a จะมี 5 คลื่นย่อย คลื่น b จะมี 3 คลื่นย่อย และ คลื่น c จะมี 5 คลื่นย่อยอีกที ซึ่งคลืน c จะลงมาต่ำกว่า a เสมอ แต่จะต่ำได้เท่าไหร่ ต้องใช้ fibonacci Retracement มาพิจารณาประกอบกับการดู Divergence ใน Indicator ประเภทอื่นๆ

 

 

 

 

Flats (3-3-5)
ต่างจาก Zigzag คือ คลื่น a มีแค่ 3 คลื่นย่อย และมีโอกาสที่คลื่น c อาจไม่ต่ำกว่าคลื่น a แล้วดีดขึ้นทันทีเป็นรูปแบบ Double Bottom (ในอดีตช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา หุ้นไทยเราชอบ Corrective Wave รูปแบบนี้มาก เกิดมาแล้วหลายครั้ง)

ขอหยุดแค่ สองรูปแบบนี้ก่อนนะครับ เพราะฉะนั้น หากดัชนีเข้าสู่ขาลง การปรับฐานจากคลื่น a เรานับคลื่นได้แค่ 3 คลื่นย่อย ให้สมมติฐานว่า Corrective Wave เป็นแบบ Flats โอกาสที่คลื่น c จะลงไปต่ำกว่า จุดต่ำสุดของ a อาจไม่มาก แต่ถ้าเมื่อไหร่ นับได้ 5 คลื่นย่อยในคลื่น a ก็ตัดรูปแบบ Flats ไปได้เลย งั้นไปดูอีก 2 รูปแบบ

 

 

 

 

 

 

Triangles (3-3-3-3-3)
รูปแบบนี้ เกิดจากการที่ข่าวร้ายที่ออกมา หรือความกังวลของนักลงทุนในการเทขายยังไม่มาก ทำให้มีพลังสะสม เกิดเป็นกรอบ Sideway ออกข้าง ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบตามภาพ กรณีนี้ จะเกิดเมื่อ ตลาดต้องการใช้เวลามีการตรวจสอบข้อมูล หรือมีประเด็นสำคัญที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ และทำให้เกิดการสู้กันระหว่างนักลงทุนที่มองว่า มีโอกาสไปต่อ กับนักลงทุนที่ต้องการขายเพื่อลดความเสี่ยง ซึ่งสุดท้าย ฝั่งไหนชนะ ก็จะหลุดออกจากกรอบฝั่งนั้น แล้วเริ่มขาขึ้น หรือ ชาลงรอบใหม่

 

 

 

 

 

 

 

 

Double threes and triple threes (combined structures)
เป็นรูปแบบของ Corrective Wave ที่ใช้ระยะเวลานานที่สุดเมื่อเทียบกับรูปแบบอื่นๆ โดยช่วงแรกของขาลง จะเป็นแบบ Flats (3-3-5) และเมื่อจบคลื่น c ของ Flats จะมีความพยายามดีดกลับเป็นขาขึ้น แต่ไม่สามารถผ่านขึ้นไปทดสอบจุดเดิมได้ (Any Three) แล้วปรับฐานอีกรอบด้วย Triangles (3-3-3-3-3) หรือ Zigzag อีกที

เพราะฉะนั้น ในคลื่น a คลื่นแรก จากจุดสูงสุดของขาขึ้น หากนับได้ 5 คลื่น จะถือเป็น Corrective Wave ที่ง่ายในการอ่านทิศทางที่สุด เพราะรู้แน่ๆว่าเป็น Zigzag แต่ถ้าเป็น 3 คลื่นย่อยใน a โอกาส อาจจะเป็น Flats หรือ Triangles หรือ Double threes and triple threes ก็ได้

 

 

 

 

มาวันนี้หากนับคลื่นย่อยในขาลงคลื่น a (ดูรูปด้านล่างประกอบ)

หากเจาะ TF ไปดูราย 15 นาที จะนับได้ 5 คลื่นย่อยในคลื่น a (รูปนี้ผมนับไว้ตั้งแต่วันที่ 18 มิ.ย.)
ก็แปลว่า Corrective Wave ที่เราเจออยู่นี้ น่าจะเป็นแบบ ZigZag และจุดต่ำสุดในคลื่น c น่าจะมีโอกาสลงมาต่ำกว่า 1,353 จุด (Low เดิมของคลื่น a) เมื่อเห็นอย่างนี้ นักลงทุนที่ใช้ Elliott Wave เป้นแนวทางในการบริหารพอร์ต จะลดพอร์จในคลื่น b หรือขาเด้ง นี้ และไปรอที่ระดับต่ำกว่า 1,353 จุด ในการเริ่มทยอยสะสมใหญ่

มาดูกันครับว่า Elliott Wave จะใช้ได้จริงกับเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ตอนนี้หรือไม่

ส่วนตัวแล้ว ผมก็ใช้เป็นแค่หนึ่งแนวทางในการประกอบการตัดสินใจ แล้วก็ไปดู Fundamental ไปใช้เครื่องมือทางเทคนิคตัวอื่น และดูการเกิด Bullish Divergence ประกอบการตัดสินใจทยอยสะสม เพราะถ้า Elliott Wave มันดีจริง ป่านนี้คงทั้งโลกก็คงจะใช้มันอย่างเดียว ไม่ต้องไปดูอย่างอื่นแล้ว ถูกไหม? ^^