ช่วง 2-3 เดือนหลังมานี้ ผมเข้าไปอ่านบทความใน Blog ต่างประเทศเกี่ยวกับ Personal Finance มากขึ้น ซึ่งก็ได้ความรู้ในอีกมุมหนึ่งที่รู้สึกว่าตัวเองยังขาดอยู่ น่าสนใจดีนะครับุ
ในมุมมองของผม เป้าหมาย “เกษียณแล้วรอด” คือ เกณฑ์ขั้นต่ำของการวางแผนการเงิน และถ้าจะให้ดีก็ต้อง “เกษียณแล้วรวย” ให้ได้ ดังนั้นจึงให้ความสำคัญกับการวางแผนเกษียณพอสมควร และผมมองว่า มนุษย์เงินเดือนทุกคน ก็ควรมาคิดเรื่องนี้ให้หนัก โดยเฉพาะวัยเลยเลข 3 มาแล้วทุกคน
สัปดาห์ก่อน ไปอ่านเจอบทความใน Blog ของ Vanguard เขียนโดย Senior financial advisor ชื่อ Julie Virta แล้วคิดว่าน่าสนใจดี เลยอยากจะมาแชร์ให้อ่านกัน
Julie Virta ตั้งคำถามกับผู้อ่าน Blog ของเธอสำหรับผู้อ่านในเป็นวัยใกล้เกษียณ และวัยเกษียณ ว่า ถ้าเป็นไปได้ ย้อนเวลากลับไปได้ เค้าเหล่านั้นอยากเปลี่ยนอะไรในอดีต เพื่อการวางแผนเกษียณให้ดีมากกว่าที่เป็นอยู่
ที่มันน่าสนใจก็เพราะ มันไม่ใช่ความเห็นของผู้ให้คำแนะนำ หรือ ผู้เชี่ยวชาญ แต่มันคือ ความเห็นของคนที่เกษียณจริง จากประสบการณ์ตรงเขาเค้าเอง ซึ่งถ้าคุณไม่อยากเป็นแบบนั้น ก็ต้องฟังคำแนะนำของเขาละครับ
ผมเอาบางประเด็นที่น่าสนใจมาแชร์แล้วกันนะครับ
1. ระวังภาษี ตัวดี ดูดเงินออกจากกระเป๋า
สำหรับในประเทศไทย ถึงแม้เราจะมีฐานภาษีบุคคลธรรมดาที่ต่ำกว่าต่างประเทศ แต่สำหรับวัยใกล้เกษียณที่เป็นระดับผู้บริหาร เงินเดือนสูงๆ ภาษีคือ สิ่งที่ทำให้ Wealth ของคุณลดลง ดังนั้น จงใช้สิทธิลดหย่อนภาษี และวางแผนภาษีให้ดี ตั้งใจทำให้มันเข้มข้นครับ ความรู้เรื่องภาษี เอาจริงๆ มันไม่ได้ยากขนาดนั้น ยิ่งเดี๋ยวนี้ มีบทความ Infographic รวมถึงโปรแกรมช่วยการวางแผนภาษี ให้เราได้ศึกษาและใช้มากมาย อย่าได้ชี้เกียจเชียว
2. อย่ามีหนี้ทั้งที่ตัวเองเกษียณแล้ว
มีบางคน อายุ 40 ปีแล้ว ไปขอสินเชื่อซื้อบ้าน ผ่อนยาว 30 ปี นั้นแปลว่า ถ้าเคลียร์หนี้ไม่หมดตอนเกษียณ ยังต้องแบกค่าผ่อนชำระไปอีกอย่างน้อยๆ 10 ปี แล้วจะเอาเงินจากไหนครับ? ถ้าเราไม่ได้ทำงานแล้ว ค่าผ่อนก็คือ เงินเก็บที่คุณหามาทั้งชีวิตหลังจากนั้น ในวันที่ต้องจ่ายออกไป โดยที่ไม่มีรายรับเหมือนในอดีต มันพาให้เครียดเอาได้ง่ายๆเลย ดังนั้น ถ้าจะเป็นหนี้ อยากให้มันมีภาระผูกพันจนถึงวันที่คุณเกษียณไปแล้ว น่าจะดีที่สุด
3. มันมีเรื่องไม่คาดคิดเกิดขึ้นได้ตอน วางแผนเผื่อเหตุการณ์แบบนั้นไว้ด้วย
ไม่ว่าจะอุบัติเหต ออกจากงาน ปัญหาสุขภาพ มันอาจจะเกิดขึ้นกับคุณหรือคนในครอบครัวคนไหนก็ได้ ซึ่งเหมือนมันเกิดขึ้น มีแต่ผู้ที่เตรียมตัว และวางแผนมาดีเท่านั้น ที่จะผ่านเหตุการณ์วิกฤตเหล่านั้นมาได้ด้วยดี ผู้ตอบคำถามของ Julie หลายคนบอกว่า ที่เขาต้องเกษียณแล้วมีเงินก้อนลดลง สาเหตุหลักที่อยากย้อนกลับไปแก้ไขก็คือ ต้องเตรียมเงินมากกว่านี้ ไม่งั้นก็ต้องมีแผนประกันที่ครอบคลุมนั้นเอง
4. คิดถึงชีวิตในระยะยาว และอยากให้ลูกหลานทำเช่นนั้น
หลายคน ผ่านชีวิตมาครึ่งชีวิตโดยที่ไม่มีความรู้เรื่องการวางแผนการเงิน เขาเหล่านี้เสียดายที่ตนเองไม่เคยรู้สิ่งนี้เมื่อ 20-30 ปีก่อน ซึ่งเค้ามั่นใจมากกว่า มันจะเปลี่ยนชีวิตให้ดีกว่าเดิมได้ เมื่อชีวิตการเงินของตัวเองมีปัญหา ถึงแม้ว่า วันนี้จะมีความรู้มากกว่าเดิม มันก็สายไปซะแล้ว และถึงอยากจะสอนลูกหลายว่ามันสำคัญอย่างไร ลูกหลานก็เห็นแต่เปลือกนอกว่า พ่อ แม่ คือ ผู้ที่มีปัญหาด้านการเงินมาก่อน ไม่น่าจะสอนเค้าได้
5. คิดถึงแผนการที่ต้องใช้เงินมากเกินไป แล้วแผนการที่ไม่ต้องใช้เงินล่ะ
ทุกอย่างมีทางสายกลางครับ ความเห็นของผู้ที่ตอบ Blog ของ Julie คนหนึ่งน่าสนใจดี เค้าบอกว่า “ฉันใช้เวลาคิดเกี่ยวกับแผนการเงินหลังเกษียณ พยายามเก็บเงิน พยายามหาทางลงทุน ประหยัดภาษี ทำโน้นทำนี่ เพื่อให้มีเงินตอนเกษียณให้พอเพียง แต่พอเวลาเกษียณมาถึงจริงๆ กลายเป็นว่า ฉันไม่รู้ว่าตัวเองจะทำอะไรหลังจากนั้น นั่นทำให้ฉันรู้ว่า ฉันควรมีเวลาคิดเรื่องการใช้ชีวิตหลังเกษียณในมุมอื่นๆที่ไม่แค่การเก็บเงินให้ไปถึงด้วย”
พูดง่ายๆ คือ ชีวิตมันไม่ใช่แค่เรื่องเงินครับ มันมีมากกว่านั้น การวางแผนหาอะไรทำหลังเกษียณ ทำให้ตัวเองรู้สึกมีคุณค่า และอยู่อย่างมีความสุขได้โดยไม่ต้องพึ่งพาเงิน ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน
จากข้อคิดที่ได้จากประสบการณ์ของวัยใกล้เกษียณ และวัยเกษียณในต่างประเทศ Julie สรุปไว้ว่า มันไม่มีสูตรลับในการวางแผนเกษียณให้ประสบความสำเร็จ มันเป็นเรื่องของวินัย และความตั้งใจจริง ในขณะเดียวกัน เราทุกคนก็ต้องเดินบนทางสายกลางที่ไม่ตึงเกินไป จำไว้ ชีวิตมันไม่ได้มีแค่เรื่องเงิน …แต่การไม่คิดถึงเงินเลย ก็เท่ากับ การใช้ชีวิตประมาท นะครับ
ที่มาบทความ : https://vanguardblog.com/2017/07/31/straight-from-vanguard-retirees-6-retirement-planning-tips/